หัวข้อ: ต้นกำเนิด ประเพณีสงกรานต์ เริ่มหัวข้อโดย: Nattawut-LSV Team ที่ เมษายน 03, 2009, 07:55:37 am ประเพณีสงกรานต์
ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแต่โบราณ และเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่งดงาม ฝังลึกอยู่ในชีวิตของคนคำว่า สงกรานต์ มาจากภาษาสันสฤต แปลว่า ผ่านหรือเคลื่อนย้าย หมายถึง การเคลื่อนไทยมาช้านาน การย้ายของพระอาทิตย์เข้าไปจักรราศีใดราศีหนึ่ง จะเป็นราศีใดก็ได้ แต่ความหมายที่คนไทยทั่วไปใช้ หมายเฉพาะวันและเวลา ที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษในเดือนเมษายนเท่านั้น ตำนานเกี่ยวกับกำเนิดวันสงกรานต์ กล่าวไว้ว่า ก่อนพุทธกาลมีเศรษฐีครอบครัวหนึ่ง อายุเลยวัยกลางคนก็ยังไร้ทายาทสืบสกุล ซึ่งทำให้ท่านเศรษฐีทุกข์ใจเป็นอันมาก ข้างรั้วบ้านเศรษฐีมีครอบครัวหนึ่ง หัวหน้าครอบครัวเป็นนักเลงสุรา ถ้าวันไหนร่ำสุราสุดขีด ก็จะพูดเสียงดังแสดงวาจาเยาะเย้ยเศรษฐี สบประมาทในความมีทรัพย์มาก แต่ไร้ทายาทสืบสมบัติเสมอ วันหนึ่งเศรษฐีจึงถามว่ามีความขุ่นเคืองอะไร จึงแสดงอาการเยาะเย้ยและสบประมาท เฒ่านักดื่มจึงตอบ ถึงท่านมั่งมีสมบัติมากก็จริง แต่เป็นคนมีบาปกรรม ท่านจึงไม่มีบุตร ตายไปแล้วสมบัติก็ตกเป็นของผู้อื่นหมด สู้เราไม่ได้ถึงแม้จะยากจน แต่ก็มีบุตรคอยดูแลรักษายามเจ็บไข้ และรักษาทรัพย์สมบัติเมื่อเราสิ้นใจ นับแต่นั้นมา เศรษฐียิ่งมีความเสียใจ จึงพยายามไปบวงสรวงพระอาทิตย์และพระจันทร์ เพียรพยายามตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร ทำเช่นนี้เป็นเวลาติดต่อกันถึงสามปี ก็ไม่ได้บุตรดังที่ตนปรารถนา จนวันหนึ่งเป็นวันนักขัตฤกษ์สงกรานต์ ท่านเศรษฐีก็พาข้าทาสบริวารของตนมาที่โคนต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง ที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำที่อาศัยของนกทั้งหลาย ท่านเศรษฐีให้บริวารล้างข้าวสารด้วยน้ำสะอาดถึง 7 ครั้ง แล้วจึงหุงข้าวสารนั้น เมื่อสุกแล้วยกขึ้นบูชาพระไทร เทพเหล่านั้นเกิดความสงสาร จึงขึ้นไปเฝ้าพระอินทร์ ทูลขอบุตรแก่เศรษฐี พระอินทร์จึงบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ ธรรมบาล ลงมาเกิดในครรภ์ของภรรยาเศรษฐี เมื่อครบกำหนดภรรยาเศรษฐีก็คลอดบุตรเป็นชาย เศรษฐีจึงตั้งชื่อว่า ธรรมบาลกุมาร เพื่อตอบสนองพระคุณเทพเทวา เศรษฐีจึงสร้างปราสาทสูง 7 ชั้น ถวายเทพต้นไทร เมื่อธรรมบาลกุมารเจริญวัยขึ้น เป็นเด็กที่มีปัญญาเฉียบแหลม รอบรู้ และวัยเพียง 7 ขวบก็เรียนจบไตรเพท ยังมีเทพองค์หนึ่งชื่อ ท้าวกบิลพรหม ได้ยินกิตติศัพท์ทางสติปัญญาอันยอดเยี่ยมของเด็กน้อย จึงคิดทดลองภูมิปัญญาโดยการเอาชีวิตเป็นเดิมพันจึงถามปัญหา 3 ข้อ ถ้ากุมารน้อยแก้ปัญหาทั้ง 3 ข้อได้ กบิลพรหมจะตัดศีรษะของตนบูชา ถ้าธรรมบาลแก้ไม่ได้ ก็จะต้องเสียหัวเพื่อยอมรับความพ่ายแพ้ ปัญหานั้นมีว่า 1. ตอนเช้าราศีคนอยู่แห่งใด 2. ตอนเที่ยงราศีของคนอยู่แห่งใด 3. ตอนค่ำราศีของคนอยู่แห่งใด เ มื่อได้ฟังปัญหาแล้ว ธรรมบาลไม่อาจทราบคำตอบในทันทีได้ จึงผลัด วันตอบปัญหาไปอีก 7 วัน ครั้นเวลาล่วงจากนั้นไป 6 วัน ธรรมบาลกุมารก็ยังคิดหาคำตอบปัญหานั้นไม่ได้ จึงหลบออกจากปราสาทหนีเข้าป่า และไปนอนพักเอาแรงใต้ต้นตาล ขณะนั้นบนต้นตาลมีนกอินทรีคู่หนึ่งอาศัยอยู่ นางนกถามสามีว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารที่ไหน นกสามีก็ตอบว่า พรุ่งนี้เราไม่ต้องบินไปไกล เพราะจะได้กินเนื้อธรรมบาลกุมาร ซึ่งจะถูกท้าวกบิลพรหมตัดหัว เนื่องจากแก้ปัญหาไม่ได้ นางนกถามว่า ปัญหานั้นว่าอย่างไร นกสามีตอบว่า ปัญหามีอยู่ 3 ข้อ และหมายถึง ข้อหนึ่ง ตอนเช้าราศีของมนุษย์อยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุกๆ เช้า ข้อสอง ตอนเที่ยงราศีคนอยู่ที่อก มนุษย์จึงต้องเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ข้อสาม ตอนค่ำราศีคนอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน ธรรมบาลกุมาร ได้ยินการไขปัญหาของนกอินทรี และจำจนขึ้นใจ ทั้งนี้เพราะธรรมบาลรู้ภาษานก จึงกลับสู่ปราสาทอันเป็นที่อยู่แห่งตน รุ่งขึ้นเป็นวันครบกำหนดแก้ปัญหา ท้าวกบิลพรหมมาฟังคำตอบ ธรรมบาลกุมารกล่าวแก้ปัญหาตามที่นกอินทรีคุยกันทุกประการ ท้าวกบิลพรหมจึงเรียก ธิดาทั้ง 7 ของตนอันเป็นบริจาริกาคือหญิงรับใช้ของพระอินทร์มาพร้อมกัน แล้วบอกว่าตนจะตัดเศียรบูชาธรร มบาลกุมาร แต่ถ้าเอาศีรษะพ่อวางไว้บนแผ่นดินก็จะลุกไหม้ไปทั้งโลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ อากาศจะแห้งแล้งฟ้าฝนจะหายไปสิ้น ถ้าทิ้งลงไปในมหาสมุทร น้ำในมหาสมุทรจะแห้งแล้งไปเช่นกัน จึงสั่งให้ นางทั้ง 7 คน เอาพานมารองรับศีรษะ แล้วจึงตัดศรีษะส่งให้นางทุงษธิดาคนโต นางทุงษจึงเอาพานรับเศียรบิดาไว้แล้วแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วอัญเชิญไปไว้ในมณฑปถ้ำคันธุรลี เขาไกรลาส บูชาด้วยเครื่องทิพย์ พระเวสสุกรรมก็เนรมิตโรงประดับด้วยแก้ว 7 ประการ ชื่อภควดี ให้เป็นที่ประชุมเทวดา เทวดาทั้งปวงก็เอาเถาฉมูนวดลงมาล้างในสระอโนดาต 7 ครั้ง แล้วก็แจกกันเสวยทุกๆ องค์ ครั้นครบ 365 วัน โลกสมมุติว่าเป็นหนึ่งปีเป็นสงกรานต์ ธิดา 7 องค์ ของเท้ากบิลพรหมก็ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของพระบิดาออกแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุทุกปี แล้วจึงกลับไปเทวโลก ที่มา http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=2&post_id=6846 lsv-smile หัวข้อ: Re: ต้นกำเนิด ประเพณีสงกรานต์ เริ่มหัวข้อโดย: Nattawut-LSV Team ที่ เมษายน 03, 2009, 07:57:17 am แล้วท่านทั้งหลายจะไปเที่ยวสงกรานต์ กันที่ไหนบ้างน้อ......... lsv-smile
หัวข้อ: Re: ต้นกำเนิด ประเพณีสงกรานต์ เริ่มหัวข้อโดย: hnow007 ♥ ที่ เมษายน 05, 2009, 02:04:46 pm ผมจะกลับไปเยี่ยมบ้านครับ
หัวข้อ: Re: ต้นกำเนิด ประเพณีสงกรานต์ เริ่มหัวข้อโดย: Nattawut-LSV Team ที่ เมษายน 05, 2009, 08:28:46 pm ผมอยู่บ้านนอกอยู่แล้ว ก็เที่ยวที่บ้านตัวเองเนี่ย...แหละครับ..
สนุกดี..แต่ปีนี้ผมคาดว่าคนเล่นสงกรานต์มี ไม่ค่อยเยอะเหมือนปีที่ผ่านๆ มาเลย( ที่เพชรบูรณ์ )........... embarrassed7 lsv-smile THANK!! หัวข้อ: สงกรานต์ล้านนา เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็กๆ(เล็กซาวด์) ที่ เมษายน 11, 2009, 01:18:45 pm สงกรานต์ล้านนา
ใน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือ ปี๋ใหม่เมือง ทุก ๆ ปี นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศต่างก็หลั่งไหลสู่จังหวัดเชียงใหม่ เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางแหล่งอารยธรรมล้านนาไทย เพื่อมาสัมผัสกับประเพณีที่งดงาม แต่ก็มีนักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่อยากมาเชียงใหม่เพื่อเล่นสาดน้ำ และเล่นปะแป้งรอบคูเมือง ด้วยเพราะเหตุใด จึงทำให้ความเข้าใจความหมายของประเพณีสงกรานต์ล้านนาแปรเปลี่ยนไปเช่นนั้น ประเพณี ปี๋ใหม่เมือง หรือ เทศกาลสงกรานต์ล้านนาในอดีต ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความงดงาม และเป็นศูนย์รวมกิจกรรมของวิถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณีของคนในภาคเหนือ โดยเฉพาะชาวเชียงใหม่ เป็นมนต์เสน่ห์ที่ดึงดูดใจให้ผู้คนจากทั่วทุกสารทิศให้อยากมาเยือนเมือง เชียงใหม่ในช่วงนี้ ตาม ประเพณีโบราณชาวล้านนาเชื่อว่า วันสงกรานต์ถือเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนศักราชใหม่ การล่วงเลยของปีเก่าและการมาเยือนของปีใหม่ในช่วงเวลาประมาณ 5 วัน ชาวล้านนาจะหยุดงานเพื่อเฉลิมฉลองในวาระอันสำคัญนี้ เพื่อประกอบพิธีทางศาสนาและพิธีกรรมตามความเชื่อดั้งเดิม แต่ ในปัจจุบัน ภาพของวัยรุ่นหนุ่มสาวเล่นปะแป้ง และสาดน้ำรอบคูเมือง เสียงโห่ร้องด้วยความสะใจ ความสนุกสนานรูปแบบใหม่ ได้รับการเผยแพร่ออกไปตามสื่อต่าง ๆ กลายเป็นภาพลักษณ์งานปี๋ใหม่เมืองที่อยู่ในความทรงจำของผู้คน โดยเฉพาะวัยรุ่นหนุ่มสาวต่างตั้งหน้าตั้งตาอย่างใจจดใจจ่อเพื่อจะได้ออกมา เล่นสาดน้ำสงกรานต์กันปีละครั้ง ภาพ รถที่ติดเป็นแนวยาวรอบคูเมือง ภาพของวัยรุ่นหญิงสาวนุ่งน้อยห่มน้อยโดยไม่สะทกสะท้ายต่อสายตาที่มอง การนำเครื่องเสียงมาติดตั้งตามจุดต่าง ๆ เปิดเพลงเร้าใจ และการนั่งล้อมวงดื่มของมึนเมาบนแนวกำแพงเมืองเก่า เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมานับสิบปี โดยปราศจากการควบคุมอย่างแท้จริง ความ งดงามของประเพณีสงกรานต์อันทรงคุณค่าของล้านนา เปรียบเสมือนสายใยความผูกพันแห่งอดีตกับปัจจุบัน สิ่งที่แสดงถึงความเป็นไทยอย่างแท้จริง กำลังจะถูกลบเลือนไป ด้วยกิจกรรมบางอย่างที่เปลี่ยนแปลง บิดเบือน และถูกยกเลิกไป ความ เอื้ออาทร ความห่วงใย และความปรารถนาดีที่จะให้ผู้อื่นมีความสุขโดยการประพรมน้ำ ถูกแทนที่ด้วยการสาดน้ำและขว้างปา ด้วยกิริยาก้าวร้าวรุนแรง ไม่สนใจความเจ็บปวดและอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น กับผู้อื่น สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของประเพณีสงกรานต์ล้านนาแทบ ทั้งสิ้น ด้วย เหตุนี้จึงทำให้ผู้ที่ห่วงใยและเห็นความสำคัญของวิถีชีวิตที่งดงามของล้านนา พยายามหาแนวทางอนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีสงกรานต์แบบดั้งเดิมให้กลับคืนมาสู่ ความหมายและความเข้าใจที่ถูกต้องอีกครั้ง ประเพณี สงกรานต์ หรือ วันขึ้นปีใหม่ของคนล้านนาสมัยโบราณนั้น จะถือเอาวันที่ 13 เมษายน เป็นวันส่งท้ายปีเก่า ชาวล้านนาเรียกว่า วันสังขานต์ล่อง วันนี้จะได้ยินเสียงยิงปืนดังตั้งแต่เช้ามืด ด้วยความเชื่อว่า เป็นการขับไล่สิ่งที่ไม่ดีออกไปจากชีวิต จากนั้น ก็จะปัดกวาดเช็ดถูบ้านเรือนให้สะอาด ซักเสื้อผ้า เก็บกวาดที่นอนหมอนมุ้ง แล้วจึงอาบน้ำชำระร่างกายให้ผ่องใส ที่ สำคัญในวันนี้จะมีการดำหัว หรือ สระผมเป็นกรณีพิเศษ ชำระล้างสิ่งอัปมงคลโดยหันหน้าไปทางทิศที่กำหนดไว้ตามตำราโหราศาสตร์ เสื้อผ้าที่นุ่งห่มก็มักจะเป็นเสื้อผ้าใหม่ รวมทั้งยังมีการนำเครื่องรางของขลังประจำบ้านมาสระสรง เพื่อชำระขัดล้างด้วยน้ำขมิ้นส้มป่อย ใน วันสังขานต์ล่อง ที่จังหวัดเชียงใหม่จะอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญประจำเมือง จัดขบวนแห่ไปตามถนนสายต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้นมัสการและสรงน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคลร่วมกัน วัน ที่สองของประเพณีสงกรานต์ล้านนา เรียกว่า วันเนา หรือ วันเน่า โบราณล้านนาเชื่อว่า วันนี้เป็นวันต้องห้ามทำสิ่งที่ไม่ดี เช่น ห้ามด่า ห้ามทะเลาะวิวาท เพราะจะทำให้เกิดความไม่เป็นมงคลไปตลอดชีวิต ว่ากันว่าผู้ที่ประสงค์จะตัดไม้ไผ่ไปใช้งานก็มักจะตัดในวันนี้ด้วยเชื่อว่า ไม้ที่ตัดในวันเน่าจะไม่มีมอดและปลวกมารบกวนตลอดอายุการใช้งาน วันเนา ถือเป็นวันสุกดิบ หรือเป็นวันจับจ่ายซื้อของเพื่อเตรียมไว้ทำบุญในวันรุ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงเรียกได้อีกอย่างว่า เป็นวันดา ของที่เตรียมนอกจากจะเป็นไทยทานแล้ว ยังมีตุงสำหรับก่อเจดีย์ทราย ไม้ค้ำสรี และน้ำส้มป่อยสำหรับดำหัวผู้ใหญ่ เป็นต้น จากนั้นในช่วงบ่ายก็จะช่วยกันขนทรายเข้าวัดเพื่อก่อเจดีย์ทราย วัน ที่สาม เป็นวันเถลิงศก หรือ วันเปลี่ยนศักราชใหม่ เรียกว่า วันพระญาวัน วันนี้ชาวบ้านล้านนาชื่อว่าเป็นวันดีที่สุดของปี เป็นวันแห่งการทำบุญทางศาสนา โดยตั้งแต่เช้ามีการทานขันข้าวที่วัด เสร็จจากนั้น ก็จะนำข้าวปลาอาหารไปทานขันข้าวคนเฒ่าคนแก่ที่เคารพนับถือเพื่อขอพรปีใหม่ ตอนสายจึงนำตุงไปปักเจดีย์ทรายในวัด และร่วมฟังเทศน์รับอานิสงส์ปีใหม่ พร้อมกับนำน้ำขมิ้นส้มป่อย น้ำอบ น้ำหอมไปสรงน้ำพระพุทธรูป สถูปเจดีย์ บางแห่งก็จะมีพิธีถวายไม้ค้ำโพธิ์ในโอกาสเดียวกัน ส่วนในช่วงบ่ายจะเป็นการดำหัวผู้อาวุโส บิดา มารดา พระเถระผู้ใหญ่ เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษในสิ่งที่เคยล่วงเกิน วัน ที่สี่ เรียก วันปากปี ถื วันแรกของการเริ่มต้นปีใหม่ บางคนจะพยายามใช้จ่ายเงินให้น้อยที่สุด เพราะเชื่อว่าหากเริ่มต้นจ่ายมาก จะมีเรื่องต้องจ่ายไปตลอดทั้งปี ในวันนี้ยังคงมีการรดน้ำดำหัวบุคคลสำคัญ และ เจ้าอาวาสที่วัด ยัง ความเชื่ออีกอย่างของชาวล้านนา ในวันปากปี อาหารมื้อเย็นมักเป็นแกงขนุน เพราะเชื่อว่าจะช่วยค้ำจุนชีวิตให้มีความเจริญรุ่งเรือง ไม่ตกต่ำ และ วันที่ห้า ซึ่งเป็นวันส่งท้ายเทศกาลสงกรานต์ล้านนา เรียกว่า วันปากเดือน ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นของเดือนใหม่ ชาวบ้านล้านนามักจะประกอบพิธีกรรม การส่งเคราะห์ต่าง ๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ความหมายของธรรมเนียมปฏิบัติของเทศกาลสงกรานต์ล้านนา แก่นแท้แล้ว คือ เทศกาลแห่งการทำบุญเริ่มต้นชีวิตใหม่ การเล่นสาดน้ำเป็นเพียงกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายและเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น หากแต่ในปัจจุบันการเล่นสาดน้ำกลับหลายเป็นจุดขายของธุรกิจการท่องเที่ยวใน ช่วงสงกรานต์ โดยเฉพาะเมืองเชียงใหม่ เมืองที่เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมล้านนา รอบคูเมืองเก่า โบราณ สถานที่สำคัญของเมืองจะคาคร่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่ลงเล่นน้ำ บ้างก็ดื่มของมึนเมา และประพฤติปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม ด้วยเข้าใจความความหมายที่เปลี่ยนไปของประเพณีสงกรานต์ล้านนา ฉะนั้น คนเชียงใหม่จะทำอย่างไร ในการฟื้นฟูและจรรโลงประเพณีสงกรานต์ล้านนา ด้วยความหมายที่ถูกต้องให้อยู่คู่กับล้านนาสืบไป http://www.fm100cmu.com/blog/Lanna/content.php?id=155 |