หัวข้อ: ไมโครเวฟ TURBORA TRX-1974 เริ่มหัวข้อโดย: kaewtawee ที่ มีนาคม 17, 2009, 09:20:00 pm ไมโครเวฟ TURBORA TRX-1974
ลูกค้าเอามาให้บอกไม่ร้อนครับ ตรวจสอบพบ ไดโอด HVR-1X 3 ช้อต ผมใช้ HVR-1X 4 แทน ครับไม่รู้ได้หรือเปล่า (ใช้ไดโอดตัวเดียวครับ) 1 ผมสังเกตุเสียบสายของ FA กับ F เข้าที่ขั้ว Mag. สลับกันจะมีปัญหาหรือไม่ครับ(ไดโอดต่อ+เข้าCกับขั้วFมาครับ) ปรกติขั้วไดโอด+ ต้องต่อที่ขั้ว Cกับ FA ใช่ใหมครับ 2 บางวงจรทำไมถึงต่อไดโอดที่ขั้ว F ครับ ถ้าสลับกันจะมีปัญหาหรือไม่ shocked2 หัวข้อ: Re: ไมโครเวฟ TURBORA TRX-1974 เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มีนาคม 17, 2009, 10:15:59 pm (http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?action=dlattach;topic=15508.0;attach=27169;image)
หัวข้อ: Re: ไมโครเวฟ TURBORA TRX-1974 เริ่มหัวข้อโดย: kaewtawee ที่ มีนาคม 18, 2009, 09:28:55 am :D ดูวงจรพอจะเข้าใจแล้วครับ แต่ที่เครื่องผมขั้วไดโอดต่อกับขั้ว F ซึ่งออกทางด้านหลังของหม้อแปลงครับขั้ว FA ออกทางด้านหน้าหม้อแปลง เลยงง อาจจะเป็นเพราะสลับสายเสียบของ Mag มาก่อน
thank2 หัวข้อ: Re: ไมโครเวฟ TURBORA TRX-1974 เริ่มหัวข้อโดย: unclewave ที่ มีนาคม 23, 2009, 01:41:51 am ไดโอดไฮโวลต์เบอร์ HVR-1X ทนแรงดันได้ 8 KV 350mA ส่วนจะต่อด้วยเลขอะไรไม่สำคัญ "ใช้ได้"
การต่อขั้ว F, FA ของแม็กนีตรอนในเตาไมโครเวฟหลายยี่ห้อต่อไม่เหมือนกัน แต่เตาไมโครเวฟยังทำงานได้ แต่ส่วนใหญ่จะต่อตรงตามขาที่เขียนไว้ คือ FA ต่อเข้ากับขดลวดจุดไส้หลอดที่มี Anode ของไดโอดไฮโวลต์ต่อรวมอยู่ หากเราผ่าดูภายในไส้หลอดของแม็กนีตรอน จะพบว่า การพันขดลวดไส้หลอดของแม็กนีตรอน ไม่เหมือนกับไส้หลอดสูญญากาศโดยทั่วไป ซึ่งจะพันเป็นขดเกลียว เมื่อจะสอดใส่ในท่อแคโธด ก็จะทำการหักครึ่งลวดที่พันออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน และนำส่วนปลายทั้งสองลงไปต่อเชื่อมขาสำหรับนำไฟเลี้ยงเข้าจุดไส้หลอด แต่การพันขดลวดของแม็กนีตรอน จะแตกต่างออกไป จะพันเป็นเกลียวเช่นกัน แต่ตอนจะนำไปสอดในท่อแคโธด แทนที่จะหักแบ่งครึ่ง เขาใช้วิธี พันไปจนสุด และหักที่ปลายสุดเกลียว งอลงเป็นเส้นตรง นำไปต่อขาสำหรับไฟจุดไส้หลอด ผมจำไม่ได้แล้วว่าส่วนใดต่อกับ F, FA ซึ่งการกำหนดขาที่แน่นอนย่อมมีผลกับการทำงานของแม็กนีตรอน อาจส่งผลให้เวลาในการปล่อยคลื่นไมโครเวฟหลังจากสั่งงาน ช้าลงไป หรือส่งผลให้อายุการทำงานของแม็กนีตรอนสั้นลง ส่วนจะเป็นกรณีใด ฝากพวกเราลองคิดดูเล่น ๆ (ให้พิจารณาถึงความต้านทานในขดลวด และแรงดันไฟกระโชกขนาด 4 KV ที่จะวิ่งสู่ตัวขดลวด และเส้นลวดที่ไม่ได้ขด) |