หัวข้อ: การป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง เริ่มหัวข้อโดย: Nattawut-LSV Team ที่ มีนาคม 05, 2009, 11:30:28 am การป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง
การดำเนินงานเชิงรุกในด้านการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูงนั้นพบได้ทั่วโลกทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา คาดว่ามีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งโลกประมาณ 1,500 ล้านคน ประชากรไทยประมาณ 5 ล้านคนเป็นโรคความดันโลหิตสูง ในบางประเทศพบโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าครึ่งของประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปี มีเพียงหนึ่งในสามของผู้ป่วยโรคความดันสูงที่ได้รับการรักษาเท่านั้นที่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ จุดประสงค์ของวันความดันโลหิตสูงโลกคือ การถ่ายทอดไปสู่ประชาชนทั่วไปให้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคความดันโลหิตสูงและผลแทรกซ้อนที่รุนแรง รวมถึงการให้ข้อมูลในแง่ของการป้องกัน การตรวจหาและการรักษา การจะทำสิ่งเหล่านี้ได้อาศัยความร่วมมือของบุคลากรทางการแพทย์ สื่อมวลชนหน่วยงานอาสาสมัคร และหน่วยงานของรัฐในแต่ละประเทศ ขั้นแรกของการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงก็คือ การตรวจหาผู้ที่เป็นโรคซึ่งสามารถทำได้โดยตั้งจุดตรวจวัดความดันโลหิตในสถานที่ต่างๆ ได้แก่ ศูนย์การค้า โรงเรียน วัด โบสถ์ สุเหร่า สมาคม ความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสมาชิกของ WHI ได้จัดกิจกรรมในประเทศและให้บุคลากรทางการแพทย์และอาสาสมัคร มีส่วนร่วมในกิจกรรมตรวจหาโรคความดันโลหิตสูงของชุมชนของตน ผลของการไม่ควบคุมความดันโลหิตสูงให้ดี ความดันโลหิตสูงสามารถทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน โรคหัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลวและไตวายโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายรวมในสหรัฐอเมริการ้อยละ 40 และอาจมากกว่านั้นในบางประเทศความสัมพันธ์ของโรคความดันโลหิตสูงและความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงอื่น ความดันโลหิตยิ่งสูง ความเสี่ยงต่อสภาวะหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน โรคหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย และโรคไตวาย ก็จะสูงขึ้นด้วย ท่านควรทราบระดับความดันโลหิตของท่านเอง ความดันโลหิตสูง หมายถึงภาวะที่แรงดันของเลือดที่อยู่ในหลอดเลือดมีค่าสูงเกินปกติ โรความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่สามารถคร่าชีวิตคนได้โดยไม่มีอาการใดๆ นำมาก่อนนับได้ว่าเป็น ฆาตกรเงียบ ความดันโลหิตที่สูงมากจะก่อให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น หัวใจ สมอง หลอดเลือด หรือไต ทุกคนต้องมีความดันโลหิตอยู่ระดับหนึ่งในหลอดเลือด ในขณะที่หัวใจบีบตัวจะสูบฉีดเลือดผ่านไปทางหลอดเลือดแดงเพื่อนำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงร่างกาย แรงดันของเลือดต่อผนังหลอดเลือดเรียกว่าความดันโลหิต ความดันตัวบน(systolic blood pressure) หมายถึงค่าความดันโลหิตที่สูงกว่าซึ่งตรงกับช่วงการบีบตัวของหัวใจ ส่วนความดันตัวล่าง (diastolic blood pressure) หมายถึงค่าความดันโลหิตที่ต่ำกว่าซึ่งจะตรงกับช่วงการคลายตัวของหัวใจ ดังนั้นในกรณีที่หลอดเลือดตีบแคบลงหรืออุดตัน หัวใจจึงจำเป็นจะต้องบีบตัวให้แรงขึ้นเพื่อส่งเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้ได้คงเดิม ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ในกรณีที่ความดันโลหิตของท่านเท่ากับหรือ สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทอยู่ตลอดเวลาแสดงว่าท่านมีโรคความดันโลหิตสูง กฏเกณฑ์ทั่วไปในการวัดความดันโลหิต - ควรพักอย่างน้อย 5 นาทีก่อนทำการวัด - หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างน้อย 30 นาทีก่อนทำการวัด - นั่งโดยวางเท้าให้ราบอยู่บนพื้น หลังพิงพนักแขนวางลงที่รองแขนให้เหมาะสมกับขนาดของแขน - เลือกขนาดของแถบผ้าพันแขนให้เหมาะสมกับขนาดแขน - ใช้เครื่องมือที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน - ควรวัดความดันโลหิตอย่างน้อย 2 ครั้ง (ห่างกันอย่างน้อย 2 นาที) แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยในบางกรณีอาจจำเป็นที่จะต้องวัดความดันโลหิตในท่ายืนและท่านอนหงายตามความจำเป็น ความดันโลหิตสูงป้องกันได้ การปฏิบัติต่อไปนี้สามารถช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ - การลดน้ำหนัก - การลดปริมาณเกลือในอาหาร - การงดหรือลดการดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์ - การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากการปรับพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้นไม่สามารถป้องกันหรือควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการก็มีความจำเป็นต้องใช้ยา บ่อยครั้งต้องใช้ยามากกว่า 1 ชนิด การควบคุมความดันโลหิต จะมีผลต่อดีสุขภาพอย่างเห็นได้ชัดช่วยลดอัตราตายแล้วยังช่วยลดอัตราการเกิดโรคหัวใจร้อยละ 25 ภาวะหัวใจวายร้อยละ 50 และโรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 35 นอกจากการควบคุมความดันโลหิตสูง การควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ก็มีความสำคัญเพราะการ สูบบุหรี่ ระดับคลอเลสเตอรอลที่สูงในเลือดและโรคเบาหวานจะเร่งให้เกิดการทำลายต่อหัวใจและหลอดเลือดจากความดันโลหิตสูง ดังนั้นจึงต้องรักษาและควบคุมปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ด้วย จำไว้ว่าโรคความดันโลหิตสูงอาจไม่มีอาการแสดงใดๆ ที่ชัดเจน ดังนั้นจึงควรที่ท่านจะต้องรับการตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง การควมคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่พึงประสงค์จะเพิ่มอายุยืนยาวให้แก่ชีวิตที่เป็นสุขได้ ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก http://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=51 lsv-smile ท่านสามารถหาข้อมูลของโรคความดันโลหิตสูงได้ที่ www.worldhypertensi onleague.org และ www.thaihypertensio n.org หัวข้อ: Re: การป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง เริ่มหัวข้อโดย: Nattawut-LSV Team ที่ มีนาคม 30, 2009, 09:50:49 am ดื่มชา...ลดความดัน
คนที่ขาย ชาเขียว ชาอูหลง เตรียมเฮได้แล้ว เพราะมีข้อมูลการศึกษาล่าสุดที่ทำในประทเศไต้หวันพบว่าคนที่ดื่มทั้ง ชาเขียว และ ชาอูหลง มีแน้วโน้มมี ความดันโลหิต ลดลงเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ดื่ม อย่างที่พวกเราทราบกันดีว่า โรคความดันโลหิตสูง เป็นอาการเริ่มต้นที่จะนำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บมากมาย เช่น โรคหัวใจ อาการเส้นเลือดแตกในสมอง แต่จากการศึกษาที่ทำโดยผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติ Cheng Kung ในเมือง Tainan ประเทศไต้หวัน พบว่าคนที่ดื่ม ชาเขียว หรือ ชาอูหลง จะมีแน้วโน้มมีความดันโลหิตที่ลดต่ำกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม ได้มีการค้นพบว่าสารต่างๆ มากมายกว่า 4,000 ชนิดที่มีอยู่ในน้ำ ชา รวมทั้งสารฟลาโวนอยด์จะช่วยป้องกันการเกิดหัวใจล้มเหลว อาการเส้นเลือดแตกในสมอง และอาการไตวาย ทั้งนี้การศึกษานี้ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร The Archives of Internal Medicine โดย Yi-Ching Yang ซึ่งวารสารดังกล่าวเป็นวารสารที่มีชื่อเสียงที่แพทย์ทั่วโลกต่างให้การยอมรับ การศึกษานี้ได้ทำการทดลองในอาสาสมัครกว่า 1,500 คนที่ไม่เคยมีอาการของโรคความดันโลหิตสูง ให้ดื่มน้ำ ชา 120-599 ซีซีต่อวัน (4-20 ออนซ์ต่อวัน) เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี พบว่าสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดอาการ โรคความดันโลหิตสูง ได้ถึง 46% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ดื่ม ชา นอกจากนี้การศึกษานี้ยังระบุอีกว่า หากดื่ม ชา มากกว่า 600 ซีซีต่อวัน ก็จะสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดอาการ โรคความดันโลหิตสูง ได้ถึง 65% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ดื่ม ชา ในจำนวนผู้เข้าร่วมการทดลองพบว่า 40% ของผู้ร่วมการทดลองเป็นที่ดื่ม ชา เป็นประจำ และในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นชายที่อายุยังไม่มาก ส่วนใหญ่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า และรับประทานอาหารพวกพืชผักน้อย ที่มาของบทความ : www.healthdd.com lsv-smile |