หัวข้อ: พระไตรปิฎก เริ่มหัวข้อโดย: kusol-LSV team ที่ เมษายน 10, 2007, 10:30:01 am พระไตรปิฎก:พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรคยักขสังยุตต์ เล่มที่ ๗
ยักขสังยุตอินทกสูตรที่ ๑ สมัยหนึ่ง พระพุทธองค์ประทับอยู่บนภูเขาอินทกูฏ ซึ่งอินทกยักษ์ ครอบครอง เขต กรุงราชคฤห์ ฯ ครั้งนั้น อินทกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าถึงที่ประทับได้ กราบทูลด้วยคาถาว่า ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่า รูปหาใช่ชีพไม่ สัตว์นี้จะประสพ ร่างกายนี้ได้อย่างไรหนอ กระดูกและก้อนเนื้อ จะมาแต่ไหน สัตว์นี้จะ ติดอยู่ในครรภ์ได้อย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า รูปนี้เป็นกลละก่อนจากกลละเป็นอัพพุทะ จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ จากเปสิเกิดเป็นฆนะจากฆนะเกิดเป็น ๕ ปุ่ม (ปัญจสาขา) ต่อจากนั้น มีผมขนและเล็บ (เป็นต้น) เกิดขึ้น มารดาของสัตว์ในครรภ์บริโภคข้าวน้ำโภชนาหารอย่างใด สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ มารดา ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารอย่างนั้นในครรภ์นั้น ฯ สักกสูตรที่ ๒ สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ฯ ครั้งนั้น ยักษ์มีชื่อว่าสักกะเข้าไปเฝ้าพระองค์ถึงที่ประทับ แล้ว ได้กราบทูลด้วยคาถาว่า การสั่งสอนคนอื่นนั้น ไม่เหมาะแก่สมณะเช่นท่าน ผู้ละกิเลสได้ ทั้งหมด ผู้พ้นจากไตรภพ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูกรสักกะ ธรรมเครื่องอยู่ร่วมกัน ย่อมเกิดด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คนมีปัญญาไม่ควรที่จะไหวตามเหตุนั้นด้วยใจ ถ้าคนมีใจผ่องใสแล้วสั่งสอนคนอื่นบุคคลนั้นย่อมไม่เป็นผู้พัวพันด้วย เหตุนั้น นอกจากจะอนุเคราะห์เอ็นดูฯ สูจิโลมสูตรที่ ๓ สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับบนเตียงชนิดมีเท้าตรึงติดกับแม่แคร่ อัน หัวข้อ: Re: พระไตรปิฎก เริ่มหัวข้อโดย: kusol-LSV team ที่ เมษายน 10, 2007, 10:31:24 am เป็นที่ครอบครองของสูจิโลมยักษ์ เขตบ้านคยา ฯ
สมัยนั้นยักษ์ชื่อขระและยักษ์ชื่อสูจิโลมะเดินผ่านเข้าไปไม่ไกลพระองค์ ครั้งนั้น ยักษ์ชื่อขระได้พูดกับสูจิโลมยักษ์ว่า นั่นสมณะ ฯ นั่นไม่ใช่สมณะ เป็นสมณะน้อย แต่จะเป็นสมณะหรือสมณะน้อยเราพอจะรู้ได้ ฯ ครั้งนั้น สูจิโลมยักษ์ได้เข้าไปใกล้พระพุทธเจ้ายังที่ประทับ แล้ว ได้เข้าไปเหนี่ยวพระกายของพระองค์ ฯ พระพุทธเจ้าทรงกระเถิบถอยพระกายไปเล็กน้อย ฯ ครั้งนั้น สูจิโลมยักษ์ได้ถามพระองค์ว่า ท่านกลัวเราไหมสมณะ ฯ พระพุทธเจ้าตรัสตอบไปว่า เราไม่กลัวท่านเลย แต่สัมผัสของท่านเลวทราม ฯ สูจิโลมยักษ์ทูลว่า สมณะ เราจักถามปัญหากะท่าน ถ้าท่านไม่กล่าวแก้แก่เรา เราจักทำจิตของท่านให้ พลุ่งพล่าน หรือจักฉีกหัวใจของท่าน หรือจักจับที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำคงคา ฯ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เราไม่เห็นใครเลยในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อม ทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะพึงทำจิตของเราให้พลุ่งพล่าน หรือฉีกหัวใจเรา หรือจับเราที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำคงคาได้ เอาเถอะ ท่านจงถามตามที่ท่านจำนงเถิด ฯ สูจิโลมยักษ์ จึงถามว่า ราคะและโทสะ มีอะไรเป็นเหตุความไม่ยินดี ความยินดี และความสยดสยอง เกิดแต่อะไรความตรึกในใจเกิดแต่อะไรแล้วดักจิตไว้ได้ เหมือนพวกเด็กดักกา ฉะนั้น ฯ พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ราคะและโทสะมีอัตภาพนี้เป็นเหตุ ความไม่ยินดี ความยินดี และความ สยดสยองเกิดแต่อัตภาพนี้ ความตรึกในใจเกิดแต่อัตภาพนี้แล้ว ดักจิต ไว้ได้เหมือนพวกเด็กดักกา ฉะนั้น ฯ อกุศลวิตกเป็นอันมาก เกิดแต่ความเยื่อใยคือตัณหา เกิดขึ้นในตน หัวข้อ: Re: พระไตรปิฎก เริ่มหัวข้อโดย: kusol-LSV team ที่ เมษายน 10, 2007, 10:32:19 am แล้วแผ่ซ่านไปในวัตถุกามทั้งหลาย เหมือนย่านไทร เกิดแต่ลำต้นไทรแล้วแผ่ซ่านไปในป่า ฉะนั้น ฯ
ชนเหล่าใดย่อมรู้ อัตภาพนั้นว่าเกิดแต่สิ่งใด ชนเหล่านั้นย่อมบรรเทา เหตุเกิดนั้นเสียได้ ดูกรยักษ์ ท่านจงฟัง ชนเหล่านั้นย่อมข้ามห้วง กิเลสนี้ ซึ่งข้ามได้ยาก และไม่เคยข้ามเพื่อความไม่มีภพอีกต่อไป ฯ มณิภัททสูตรที่ ๔ สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เจดีย์ชื่อมณิมาฬกะ อันเป็นที่ครอบครอง ของยักษ์ชื่อมณีภัท ในแคว้นมคธ ฯ ครั้งนั้น ยักษ์ชื่อมณิภัททะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ว่า ความเจริญย่อมมีแก่คนมีสติทุกเมื่อ คนมีสติย่อมได้ความสุข ความดี ย่อมมีแก่คนมีสติเป็นนิตย์ และคนมีสติย่อมหลุดพ้นจากเวร ฯ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความเจริญย่อมมีแก่คนมีสติทุกเมื่อ คนมีสติย่อมได้ความสุข ความดี ย่อมมีแก่คนมีสติเป็นนิตย์ แต่คนมีสติยังไม่หลุดพ้นจากเวร ฯ แต่ผู้ใดมีใจยินดีในความไม่เบียดเบียนตลอดวันและคืนทั้งหมด และ เป็นผู้มีส่วนแห่งเมตตาในสรรพสัตว์ ผู้นั้นย่อมไม่มีเวรกับใครๆ ฯ สานุสูตรที่ ๕ สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตเมืองสาวัตถี ฯ สมัยนั้น บุตรของอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสานุ ถูกยักษ์เข้าสิง ฯ ครั้งนั้น อุบาสิกานั้นได้คร่ำครวญกล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า ฉันได้สดับต่อพระอรหันต์ทั้งหลายว่า ชนเหล่าใดเข้าอยู่อุโบสถอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการด้วยดี ตลอดดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์ ทั้งตลอดปาริหาริกปักษ์ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ยักษ์ ทั้งหลายย่อมไม่เล่นกับชนเหล่านั้นบัดนี้ ฉันเห็นในวันนี้ ยักษ์เล่น กับสามเณรสานุ ฯ ยักษ์กล่าวว่า หัวข้อ: Re: พระไตรปิฎก เริ่มหัวข้อโดย: kusol-LSV team ที่ เมษายน 10, 2007, 10:33:02 am ท่านได้สดับต่อพระอรหันต์ทั้งหลายว่า ชนเหล่าใดเข้าอยู่อุโบสถอัน
ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่ง ปักษ์ ทั้งตลอดปาริหาริกปักษ์ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ยักษ์ทั้งหลาย ย่อมไม่เล่นกับชนเหล่านั้น เป็นการชอบ ท่านพึงบอกสานุผู้ฟื้นขึ้นแล้ว ว่า ยักษ์สั่งคำนี้ไว้ว่าท่านอย่าได้กระทำกรรมอันลามกทั้งในที่แจ้งและ ที่ลับ ถ้าท่านจักกระทำหรือกำลังกระทำกรรมอันลามกไซร้ ถึงท่านจะ เหาะหนีไปก็ไม่พ้นจากทุกข์ ฯ สามเณรสานุฟื้นขึ้นแล้วกล่าวว่า โยม ญาติ และมิตรทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงคนที่ตายแล้ว หรือยังเป็นอยู่ แต่หายไป โยมยังเห็นฉันเป็นอยู่ ไฉนเหตุไรโยมจึงร้องไห้ถึงฉัน ฯ อุบาสิกากล่าวว่า ลูกเอ๋ย ญาติและมิตรทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงคนที่ตายแล้วหรือยังเป็นอยู่ แต่หายไป แต่คนใดละกามทั้งหลายแล้วจะกลับมาในกามนี้อีก ลูกรัก ญาติและมิตรทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงคนนั้น เพราะเขาเป็นอยู่ต่อไปอีกก็เหมือนตายแล้ว แน่พ่อเรายกท่านขึ้นจากเถ้ารึงที่ยังร้อนระอุแล้ว ท่านอยากจะตกลงไปสู่เถ้ารึงอีก แน่พ่อ เรายกท่านขึ้นจากเหวแล้ว ท่านอยากจะตกลงไปสู่เหวอีก เราจะโพนทะนาแก่ใครเล่าว่า ขอท่านจง ช่วยกัน ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน ประดุจสิ่งของที่ขนออกแล้วจาก เรือนที่ไฟไหม้ แต่ท่านอยากจะเผามันเสียอีก ฯ ปิยังกรสูตรที่ ๖ สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ฯ สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี กล่าวบทแห่งพระธรรมอยู่ ฯ ครั้งนั้น นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระปลอบบุตรน้อยอย่างนี้ว่า ปิยังกระ อย่าอึกทึกไป ภิกษุกำลังกล่าวบทพระธรรมอยู่ อนึ่ง เรารู้แจ้ง บทพระธรรมแล้วปฏิบัติ ข้อนั้นจะพึงมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา ฯ เราสำรวมในเหล่าสัตว์มีปราณ เราไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ เราศึกษา ทำตนให้เป็นผู้มีศีลดีนั่นแหละ เราจะพ้นจากกำเนิดปีศาจ ฯ หัวข้อ: Re: พระไตรปิฎก เริ่มหัวข้อโดย: kusol-LSV team ที่ เมษายน 10, 2007, 10:33:50 am ปุนัพสุสูตรที่ ๗
สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ฯ สมัยนั้น พระองค์ทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงอยู่ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยพระนิพพาน ฯ ภิกษุเหล่านั้นตั้งใจมนสิการ ประมวลไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงสดับพระธรรม ฯ ครั้งนั้น นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปุนัพสุปลอบบุตรน้อยอย่างนี้ว่า นิ่งเสียเถิดลูกอุตรา นิ่งเสียเถิดลูกปุนัพสุ จนกว่าแม่จะฟังธรรมของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้เป็นพระศาสดาจบ พระผู้มีพระภาคตรัสนิพพานอันเป็นเครื่องเปลื้องตนเสีย จากกิเลสเครื่องร้อยกรองทั้งปวง เวลาที่ปรารถนาในธรรมนั้นจะล่วงเลยแม่ไปเสีย ลูกของตนเป็นที่รักในโลกผัวของตนเป็นที่รักในโลก แต่ความปรารถนาในธรรมนั้น เป็นที่รักของ แม่ยิ่งกว่าลูกและผัวนั้น เพราะลูกหรือผัวที่รัก พึงปลดเปลื้องจากทุกข์ไม่ได้ เหมือนการฟังธรรมย่อมปลดเปลื้องเหล่าสัตว์จากทุกข์ได้ ในเมื่อโลกอันทุกข์วงล้อมแล้วประกอบด้วยชราและมรณะ แม่ปรารถนาจะฟังธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เพื่อพ้นจากชราและมรณะจงนิ่งเสียเถิดลูกปุนัพสุ ฯ ปุนัพสุพูดว่า แม่จ๋า ฉันจักไม่พูด อุตราน้องสาวของฉันก็จักเป็นผู้นิ่งเชิญแม่ฟังธรรมอย่างเดียวการฟังพระสัทธรรมนำความสุขมาให้ แม่จ๋า เราไม่รู้พระสัทธรรมจึงได้เที่ยวไปลำบาพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ เป็นผู้ทำความสว่างไสวแก่เทวดาและมนุษย์ผู้ลุ่มหลง มีพระสรีระครั้งสุดท้าย มีพระจักษุ แสดงธรรมอยู่ ฯ ยักษิณีพูดว่า น่าชื่นชมนัก ลูกผู้นอนบนอกของแม่เป็นคนฉลาด ลูกของแม่ย่อมรักใคร่พระธรรมอันบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ปุนัพสุเจ้าจงมีความสุขเถิด วันนี้แม่เป็นผู้ย่างขึ้นไปในพระศาสนา แม่และเจ้าเห็นอริยสัจแล้ว แม้แม่อุตราก็จงฟังแม่ ฯ สุทัตตสูตรที่ ๘ สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าภาคประทับในสีตวัน เขตกรุงราชคฤห์ ฯ สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีไปถึงกรุงราชคฤห์ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ฯท่านคฤหบดีได้สดับว่า เขาลือกันว่าพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้วในโลก หัวข้อ: Re: พระไตรปิฎก เริ่มหัวข้อโดย: kusol-LSV team ที่ เมษายน 10, 2007, 10:39:30 am ขณะนั้นเอง ปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระองค์ ฯ
ครั้งนั้น ท่านคฤหบดีได้ดำริว่า วันนี้เป็นกาลไม่ควรเพื่อจะเข้าเฝ้าพระองค์ พรุ่งนี้เถิด เราจึงจักเข้าเฝ้าท่านคฤหบดีนอนรำพึงถึงพระพุทธเจ้า สำคัญว่าสว่างแล้วลุกขึ้นในราตรีถึง ๓ ครั้ง ฯ ลำดับนั้น ท่านคฤหบดีเดินไปทางประตูป่าช้า พวกอมนุษย์เปิดประตูให้ ฯ ครั้นเมื่ออนาถบิณฑิกคฤหบดีออกจากเมืองไป แสงสว่างก็อันตรธานไป ความ มืดปรากฏขึ้น ความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้าบังเกิดขึ้น ท่านคฤหบดี จึงใคร่ที่จะกลับเสียจากที่นั้น ฯ ครั้งนั้น ยักษ์ชื่อสีวกะไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง รถเทียมด้วยม้าอัศดรแสนหนึ่ง หญิงสาว ที่สอดสวมแก้วมณีและกุณฑลแสนหนึ่ง ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อัน จำแนกแล้ว ๑๖ ครั้ง แห่งการยกย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง ท่านจงก้าวหน้า ไปเถิดคฤหบดี ท่านจงก้าวหน้าไปเถิดคฤหบดี การก้าวหน้าไปของท่าน ประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย ฯ ครั้งนั้น ความมืดได้หายไป แสงสว่างปรากฏขึ้นแก่ท่านคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป ฯ แม้ครั้งที่ ๒ แสงสว่างหายไป ความมืดปรากฏขึ้นแก่ท่านคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าบังเกิดขึ้น ท่านคฤหบดีจึงใคร่ที่จะกลับ เสียจากที่นั้นอีก ฯ แม้ครั้งที่ ๒ ยักษ์ชื่อสิวกะไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง ฯลฯ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖อันจำแนก แล้ว ๑๖ ครั้ง แห่งการยกย่างเท้าไปก้าวหนึ่งท่านจงก้าวหน้าไปเถิด คฤหบดี ท่านจงก้าวหน้าไปเถิดคฤหบดีการก้าวหน้าไปของท่าน ประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย ฯ ครั้งนั้น ความมืดได้หายไป แสงสว่างปรากฏขึ้นแก่ท่านคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป ฯ แม้ครั้งที่ ๓ แสงสว่างหายไป ความมืดปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าบังเกิดขึ้น ท่านคฤหบดีจึงใคร่ที่จะกลับ เสียจากที่นั้นอีก ฯ หัวข้อ: Re: พระไตรปิฎก เริ่มหัวข้อโดย: kusol-LSV team ที่ เมษายน 10, 2007, 10:40:14 am แม้ครั้งที่ ๓ ยักษ์ชื่อสิวกะไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า
ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง ฯลฯ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันจำแนก แล้ว ๑๖ ครั้ง แห่งการยกย่างเท้าไปก้าวหนึ่งท่านจงก้าวหน้าไปเถิด คฤหบดี ท่านจงก้าวหน้าไปเถิดคฤหบดีการก้าวหน้าไปของท่านประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย ฯ ครั้งนั้นแล ความมืดได้หายไป แสงสว่างได้ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป ฯ ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีเดินเข้าไปถึงสีตวัน ฯ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี เสด็จจงกรมอยู่ในที่ แจ้ง พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นอนาถบิณฑิกคฤหบดีผู้มาแต่ไกลครั้นแล้วเสด็จลงจากที่ จงกรมประทับบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสเรียกคฤหบดีว่า มานี่เถิดสุทัตตะ ฯ ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีคิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงทักเราโดยชื่อ จึงหมอบลง แทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าในที่นั้นเอง แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ พระองค์ประทับอยู่เป็นสุขหรือพระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ผู้ดับกิเลสเสียได้แล้วไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย เป็นผู้เย็น ปราศจากอุปธิ ย่อมอยู่เป็นสุขเสมอไป ผู้ที่ตัดตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องได้ หมดแล้ว กำจัดความกระวนกระวายในใจเสียได้ เป็นผู้สงบอยู่เป็นสุข เพราะถึงสันติด้วยใจ ฯ ปฐมสุกกาสูตรที่ ๙ สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่ให้เหยื่อ แก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ฯ สมัยนั้นภิกษุณีชื่อสุกกา บริษัทเป็นอันมากแวดล้อมแสดงธรรมอยู่ ฯ ครั้งนั้น ยักษ์ผู้เลื่อมใสยิ่งในสุกกาภิกษุณีจากถนนนี้ไปยังถนนโน้น จากตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในกรุงราชคฤห์ ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า มนุษย์ทั้งหลายในกรุงราชคฤห์ ไม่เข้าไปนั่งใกล้สุกกาภิกษุณี ผู้แสดง อมตบทอยู่ มัวทำอะไรกัน เป็นผู้ประดุจดื่มน้ำผึ้งหอมแล้วก็นอน ก็แล หัวข้อ: Re: พระไตรปิฎก เริ่มหัวข้อโดย: kusol-LSV team ที่ เมษายน 10, 2007, 10:41:03 am อมตบทนั้นใครจะคัดค้านไม่ได้ เป็นของไม่ได้เจือปรุง แต่มีโอชา ผู้มี
ปัญญาคงได้ดื่มอมตธรรมเหมือนคนเดินทางได้ดื่มน้ำฝน ฉะนั้น ฯ ทุติยสุกกาสูตรที่ ๑๐ สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่ให้เหยื่อ แก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ฯ สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งได้ถวายโภชนาหารแก่สุกกาภิกษุณี ฯ ครั้งนั้น ยักษ์ผู้เลื่อมใสยิ่งในสุกกาภิกษุณีจากถนนนี้ไปยังถนนโน้น จาก ตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในพระนครราชคฤห์ ได้ภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า อุบาสกผู้ได้ถวายโภชนะแก่สุกกาภิกษุณีผู้หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องร้อย รัดทั้งปวง เป็นคนมีปัญญาแท้ ประสพบุญมากหนอฯ จิราสูตรที่ ๑๑ สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวันอันเป็นที่ให้เหยื่อ แก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ฯ สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งได้ถวายจีวรแก่จิราภิกษุณี ฯ ครั้งนั้น ยักษ์ผู้เลื่อมใสยิ่งในจิราภิกษุณี จากถนนนี้ไปยังถนนโน้น จาก ตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในพระนครราชคฤห์ ได้ภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า อุบาสกผู้ได้ถวายจีวรแก่จีราภิกษุณีผู้หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวง เป็น คนมีปัญญาแท้ ประสพบุญมากหนอฯ อาฬวกสูตรที่ ๑๒ สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ เขตเมืองอาฬวี ฯ ครั้งนั้น อาฬวกยักษ์เข้าไปใกล้พระองค์ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ท่านจงออกมา สมณะฯ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดีแล้วผู้มีอายุ แล้วก็เสด็จออกมา ฯ ยักษ์กล่าวว่า ท่านจงเข้าไป สมณะฯ พระพุทธเจ้าตรัสว่า หัวข้อ: Re: พระไตรปิฎก เริ่มหัวข้อโดย: kusol-LSV team ที่ เมษายน 10, 2007, 10:41:49 am ดีแล้วผู้มีอายุ
แล้วก็เสด็จเข้าไป ฯ แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓ อาฬวกยักษ์ก็ได้กล่าวพระผู้มีพกะพระพุทธเจ้าเช่นนั้น ครั้นครั้งที่ ๔ อาฬวกยักษ์ได้กล่าวว่า ท่านจงออกมา สมณะฯ พระพุทธเจ้าว่า ผู้มีอายุ เราจักไม่ออกไปละท่านจะทำอะไรก็จงทำเถิดฯ อาฬวกยักษ์กล่าวว่า สมณะ เราจักถามปัญหากะท่าน ถ้าท่านพยากรณ์แก่เราไม่ได้ เราจักทำจิตของท่านให้ฟุ้งซ่าน หรือฉีกหัวใจของท่านหรือจักจับที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปยังแม่น้ำคงคาฝั่งโน้นฯ พระพุทธเจ้าว่า อาวุโส เราไม่เห็นใครเลยในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่ สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ที่จะพึงทำจิตของเราให้ฟุ้งซ่านได้ หรือขยี้หัวใจของเรา หรือจับเราที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปยังแม่น้ำคงคาฝั่งโน้น เอาเถิด อาวุโส เชิญถามปัญหาตามที่ท่านจำนงเถิดฯ อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า อะไรหนอ เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐของคนในโลกนี้ อะไร หนอที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้ อะไรหนอเป็นรสอันล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตของผู้ที่เป็นอยู่อย่างไร ว่าประเสริฐสุดฯ พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ศรัทธาเป็นทรัพย์ อันประเสริฐของคนในโลกนี้ ธรรมอันบุคคลประพฤติ ดีแล้ว นำความสุขมาให้ ความสัตย์แลเป็นรสอันล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตของผู้ที่เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประเสริฐสุดฯ อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า คนข้ามโอฆะได้อย่างไรหนอ ข้ามอรรณพได้อย่างไร ล่วงทุกข์ได้อย่างไร บริสุทธิ์ได้อย่างไร พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า คนข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา ข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท ล่วง หัวข้อ: Re: พระไตรปิฎก เริ่มหัวข้อโดย: kusol-LSV team ที่ เมษายน 10, 2007, 10:42:50 am ทุกข์ได้ด้วยความเพียร บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญาฯ
อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า คนได้ปัญญาอย่างไรหนอ ทำอย่างไรจึงจะหาทรัพย์ได้ คนได้ชื่อเสียง อย่างไรหนอ ทำอย่างไรจึงจะผูกมิตรไว้ได้ คนละโลกนี้ไปสู่โลกหน้า ทำอย่างไรจึงจะไม่เศร้าโศกฯ พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์ เพื่อบรรลุนิพพาน ฟังอยู่ด้วยดีย่อมได้ ปัญญา เป็นผู้ไม่ประมาท มีวิจาร คนทำเหมาะเจาะ ไม่ทอดธุระ เป็นผู้หมั่น ย่อมหาทรัพย์ได้ คนย่อมได้ชื่อเสียงเพราะความสัตย์ ผู้ให้ ย่อมผูกมิตรไว้ได้ บุคคลใดผู้อยู่ครองเรือนประกอบด้วยศรัทธา มีธรรม ๔ ประการนี้คือ สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ บุคคลนั้นแล ละโลก นี้ไปแล้วย่อมไม่เศร้าโศก เชิญท่านถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากเหล่า อื่นดูซิว่าในโลกนี้มีอะไรยิ่งไปกว่าสัจจะ ทมะ จาคะและขันติฯ อาฬวกยักษ์กราบทูลว่า ทำไมหนอ ข้าพเจ้าจึงจะต้องถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากในบัดนี้ วันนี้ข้าพเจ้ารู้ชัดถึงสัมปรายิกประโยชน์ พระพุทธเจ้าเสด็จมาอยู่เมือง อาฬวี เพื่อประโยชน์แก่ข้าพเจ้าโดยแท้วันนี้ข้าพเจ้ารู้ชัดถึงทานที่บุคคล ให้ในที่ใดมีผลมาก ข้าพเจ้าจักเที่ยวจากบ้านไปสู่บ้าน จากบุรีไปสู่บุรี พลางนมัสการพระสัมพุทธเจ้าและพระธรรมซึ่งเป็นธรรมที่ดีฯ จบยักขสังยุตบริบูรณ์ __________ รวมพระสูตรแห่งยักขสังยุต ๑๒ สูตร คือ อินทกสูตรที่ ๑ สักกสูตรที่ ๒ สูจิโลมสูตรที่ ๓ มณิภัทสูตรที่ ๔สานุสูตรที่ ๕ ปิยังกรสูตรที่ ๖ ปุนัพสุสูตรที่ ๗ สุทัตตสูตรที่ ๘ สุกกาสูตร ๒ สูตร จีราสูตร ๑๑ อาฬวกสูตร ๑ รวม ๑๒ สูตร ฯ หัวข้อ: Re: พระไตรปิฎก เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ เมษายน 10, 2007, 12:13:28 pm :-X :)
|