พิมพ์หน้านี้ - อันตรายจากของกินเล่น

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

นานาสาระ => เตือนภัย => ข้อความที่เริ่มโดย: P-LSV team ที่ พฤศจิกายน 27, 2008, 10:32:13 pm



หัวข้อ: อันตรายจากของกินเล่น
เริ่มหัวข้อโดย: P-LSV team ที่ พฤศจิกายน 27, 2008, 10:32:13 pm
อันตรายจากของกินเล่น [28 พ.ย. 51 - 15:01]

ช่วงนี้เด็กๆเปิดเทอมกันแล้วและมีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลปีใหม่

แต่บางแห่งอาจหยุดกันตั้งแต่คริสต์มาสกันเลย ว่าไปแล้วเป็นเด็กก็ดีไปอย่าง ไม่ต้องคิดอะไร ไม่ต้องทำงาน เรียนหนังสืออย่างเดียว

การที่สมองจะปลอดโปร่ง สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง เรื่องของอาหารการกินนับว่าสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ถ้ายังคิดไม่ออก ไม่ว่าจะทานอะไรดี ลองอ่านบทความนี้ดู

เพื่อผู้ปกครองจะได้ช่วยลูกหลานตัดสินใจเลือกทานได้ เพราะวันนี้มีเรื่องราวของโลหะหนักในขนมมาฝาก

สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างขนมหรือของกินเล่น จำนวน 5 ตัวอย่าง มีสาหร่าย เกาลัด เวเฟอร์สอดไส้ช็อกโกแลตและช็อกโกแลต เพื่อนำมาวิเคราะห์หาสารหนูและปรอทตกค้าง

ผลปรากฏว่า สาหร่ายพบทั้งสารหนูและสารปรอทตกค้าง ตรวจทีไรพบโลหะหนักปนเปื้อนทุกที

จึงมีคำถามตามมาว่า สารหนูและปรอทเป็นสารที่โรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยใช้ โดยมีโรงงานอยู่ 5 ประเภท ที่มักใช้ปรอทเป็นวัตถุดิบคือ โรงงานผลิตก๊าซและโซดาไฟ โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ พลาสติก ผลิตสีและโรงงานหลอมโลหะต่างๆ

ซึ่งโรงงานพวกนี้จะปล่อยควันและน้ำเสียฟุ้งกระจายไปตามที่ต่างๆ เมื่อปล่อยลงน้ำ สัตว์น้ำและพืชต่างๆจะได้รับโลหะหนักไปด้วย

ส่วนสารหนู เป็นธาตุเหล็กกึ่งโลหะ เป็นสารที่มีลักษณะเป็นผงโลหะสีเทา มีมากเป็นอันดับที่ 20 ของธาตุที่พบมากในโลก

โลหะหนักทั้ง 2 ชนิดนี้ สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางผิวหนัง ซึ่งมักทำให้เกิดอันตรายกับร่างกาย อย่างเบาสุดคือหายใจติดขัด ชาริมฝีปาก หายใจเร็ว กระวนกระวาย กล้ามเนื้อมือและเท้าไม่สัมพันธ์กัน

หนักสุดก็คือชักกระตุกจนถึงขั้นหมดสติ เมื่อผลเป็นอย่างนี้ ผู้ปกครองควรจะต้องเป็นผู้ช่วยเหลือลูกหลานในการเลือกซื้อขนมเหล่านี้มารับประทาน

วันนี้ผลการตรวจอาจพบในปริมาณน้อยและไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ แต่ถ้าเกิดไปสะสมในร่างกายของบุตรหลาน เป็นระยะเวลานานๆและเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ

แล้วเราจะทำอย่างไร?

(http://www.thairath.co.th/2551/agriculture06/Nov/library/28/food.jpg)