พิมพ์หน้านี้ - "นมข้นจืดมะลิ" อันตราย! อย.พบเมลามีนเกินมาตรฐาน 37 เท่า

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

นานาสาระ => เตือนภัย => ข้อความที่เริ่มโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ ตุลาคม 15, 2008, 07:13:09 pm



หัวข้อ: "นมข้นจืดมะลิ" อันตราย! อย.พบเมลามีนเกินมาตรฐาน 37 เท่า
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ ตุลาคม 15, 2008, 07:13:09 pm
"นมข้นจืดมะลิ" อันตราย! อย.พบเมลามีนเกินมาตรฐาน 37 เท่า
โดย ผู้จัดการออนไลน์    15 ตุลาคม 2551 18:04 น.
   
       อย.ตรวจพบเมลา มีนปนเปือนในนมข้นจืดตรามะลิ เกินมาตรฐานถึง 37 เท่า สั่งอายัดที่โรงงาน 1.5 แสนกระป๋อง – ที่วางจำหน่ายในท้องตลาดสั่งเก็บห้ามขายหมด เนยเค็ม ครีมเทียม นมข้นหวาน ยี่ห้อเดียวกันรอลุ้นผล ส่วนยี่ห้ออื่นเก็บตรวจแล้วแต่ยังไม่ทราบผล
       
       เมื่อวันที่ 15 ต.ค. ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รมช.สาธารณสุข แถลงว่า อย.ได้รับผลการตรวจวิเคราะห์สารเมลามีนจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบสารเมลามีน 1 รายการ คือ นมข้นแปลงไขมันไม่หวาน สูตรน้ำมันปาล์ม ตรามะลิ ชนิดกระป๋อง เลขสารบบ อย. 14-1-02323-1-0037 น้ำหนักสุทธิ 385 กรัม วันหมดอายุ 160109 ผลิตโดยบริษัท อุตสาหกรรมนมไทย จำกัด ตรวจพบปริมาณ สารเมลามีน 92.82 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งเกินค่ามาตรฐานที่อย.กำหนดในผลิตภัณฑ์นมต้องมีเมลามีนไม่เกิน 2.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
       
       รมช.สธ. กล่าวอีกว่า อย. ได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของบริษัทนี้ มาตรวจสอบทั้งสิ้นจำนวน 10 รายการ พบ 1 รายการ ,ไม่พบการปนเปื้อนของสารเมลามีนจำนวน 6 รายการ คือ 1. นมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก อายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 3 ปี ชนิดละลายทันทีสูตร 2 นูโอ-พลัส เครื่องหมายการค้าสโนว์แบรนด์ 2. นมผงดัดแปลงสำหรับทารกชนิดละลายทันที สูตร 1 สำหรับทารก ตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ปี นูโอ เครื่องหมายการค้าสโนว์แบรนด์ 3. ผลิตภัณฑ์นมชนิดละลายทันที สูตร 3 ผลิตภัณฑ์นมชนิดละลายทันที สำหรับเด็กวัย 1 ปีขึ้นไป และทุกคนในครอบครัว นูโอ-คิดส์ เครื่องหมายการค้าสโนว์แบรนด์
       
       4. นมข้นแปลงไขมันหวานสูตรน้ำมันปาล์มผสมมันเนย ตรามะลิ นมผงขาดมันเนย 20% 5.Foster Farms Dairy NON FAT DRY MILK MADE FROM PASTEURIZED MILK และ 6. Skimmed Milk Powder และอีก 3 รายการ รอผลการตรวจสอบ ได้แก่ เนยชนิดเค็ม ตราออร์คิด ครีมเทียมข้นหวานชนิดพร่องไขมัน ตรา เบิดวิงซ์ นมข้นแปลงไขมันหวาน ตรามะลิ
       
       นายวิชาญ กล่าวด้วยว่า เมื่อได้รับผลการตรวจวิเคราะห์พบสารเมลามีน เจ้าหน้าที่ อย. จึงรีบเข้าไปตรวจสอบยังโรงงาน เลขที่ 158 นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อตรวจสอบการใช้วัตถุดิบ โดยบริษัทได้แจ้งว่า วัตถุดิบที่นำมาใช้มาจากหลายแหล่ง หลายประเทศ เช่น เบลเยี่ยม สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย เยอรมนี อินเดีย และพม่า เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ อย. อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริง นอกจากนี้ ยังได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบของบริษัทมาตรวจสอบเพิ่มเติมอีก จำนวน 15 รายการ และได้ประสานด่วนโดยทำหนังสือถึงบริษัทฯ ผู้ค้าปลีก และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ให้เรียกคืนผลิตภัณฑ์รุ่นที่มีปัญหาดังกล่าว รวมทั้งทุกผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้วัตถุดิบเดียวกัน พร้อมทั้งนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบเดียวกันออกจาก ชั้นวางจำหน่ายทุกแห่งทันที
       
       นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า จากการตรวจสอบที่โรงงานเบื้องต้น เจ้าหน้าที่ได้ทำการอายัดนมชนิดนี้ทั้งสิ้น 1.5 แสนกระป๋อง ซึ่งทราบว่าในรอบปีนี้บริษัทมีการผลิตสินค้าชนิดนี้ทั้งสิ้น 4 ล็อต โดยล็อตที่มีการตรวจพบสารเมลามีนปนเปื้อนเป็นล็อตที่ผลิตเมื่อราววันที่ 16 มกราคม 2551 ซึ่งผลิตจำนวนทั้งสิ้น 4 หมื่นกระป๋องอย.ได้สั่งเก็บออกจากท้องตลาดทั้งหมด ส่วนอีก 3 ล็อตได้สั่งการให้นำออกจากชั้นวางจำหน่ายเป็นการชั่วคราวจนกว่าผลการตรวจสอบ จะออกมาว่ามีการปนเปื้อนหรือไม่ หากไม่มีก็ให้นำมาวางจำหน่ายได้ตามปกติ
       
       “ในการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าวัตถุดิบที่บริษัทใช้มีการนำเข้าจากหลาย ประเทศ แต่ไม่มีประเทศจีนแน่นอน จึงต้องสอบย้อนกลับไปว่าประเทศที่ขายวัตถุดิบให้กับบริษัทนี้นำเข้าวัตถุดิบ จากประเทศไหนต่อไป ส่วนระยะยาวอย.จะขอความร่วมมือให้บริษัทนี้ เฝ้าระวังและตรวจสอบวัตถุดิบเข้มข้นมากขึ้น ในขณะที่อย.ก็จะเก็บสินค้าของบริษัทที่วางจำหน่ายในท้องตลาดมาตรวจสอบเป็น ระยะๆเช่นกัน ส่วนสินค้าที่มีผู้บริโภคซื้อไปแล้ว หากเกิดอะไรขึ้นบริษัทต้องรับผิดชอบ ส่วนผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันของยี่ห้ออื่นๆ อย.ได้เก็บตัวอย่างมาตรวจแล้วแต่ยังไม่ทราบผล”นพ.พิพัฒน์กล่าว
       
       เลขาธิการอย. กล่าวอีกว่า สำหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับร่างกาย จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณภาพไตของแต่ละบุคคล ปริมาณที่รับประทาน และน้ำหนักตัวของผู้บริโภค ทั้งนี้ ตามเกณฑ์มาตรฐานมีการระบุว่าสามารถบริโภคเมลามีนได้ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัมต่อวัน หากน้ำหนักตัว 40 -50 กิโลกรัม ก็บริโภคได้ไม่เกิน 25 มิลลิกรัม ซึ่งนมชนิดนี้ 1 กระป๋องน่าจะมีปริมาณประมาณ 500 กรัม เพราะฉะนั้น หากบริโภคนมหมดใน 1 กระป๋อง จะได้รับสารเมลามีนประมาณ 45 มิลลิกรัม แต่โดยมากไม่มีใครบริโภคหมด 1 กระป๋องใน 1 วัน เพราะอย่างมากคงใส่ในกาแฟเพียงเล็กน้อย แต่หากเป็นในเด็กเล็กจะมีอันตรายมากกว่าเพราะระบบย่อยอาหารยังไม่ดี
       
       “ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ที่ตรวจพบมีสารเมลามีนปนเปื้อน ประชาชนไม่ได้บริโภคปริมาณมากในแต่ละวัน และไม่ได้บริโภคเป็นประจำทุกวัน หากบริโภคทางสายกลางก็ไม่น่าจะมีอันตรายมาก ส่วนผู้บริโภคที่สงสัยว่าตนเองบริโภคนมหรือผลิตภัณฑ์นมที่มีการปนเปื้อนของ สารเมลามีนเข้าไปแล้ว แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ เพราะสารชนิดนี้สามารถขับออกได้ทางไต แต่หากเกรงจะเป็นนิ่วหรือโรคไต ก็ให้สังเกตตัวเอง ขณะที่ผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของบริษัทเอสแอนด์พี ที่อย.เก็บตัวอย่างมาตรวจเมื่อเร็วๆนี้ยังไม่ทราบผล”นพ.พิพัฒน์กล่าว
       
       เล ขาธิการอย. กล่าวต่ออีกว่า สำหรับความผิดที่จะได้รับคือ โทษฐานผลิตอาหารไม่บริสุทธิ์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ อย. จะเข้มงวด ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่มีปัญหา และจะถือว่าเข้าข่ายต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค ขณะเดียวกันจะให้บริษัทมีมาตรการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ให้ปราศจากสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย โดยเฉพาะสารเมลามีน เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนซ้ำ และหาก อย. ตรวจสอบพบการปนเปื้อนซ้ำอีก จะมีโทษที่รุนแรงขึ้น และไม่เป็นผลดีต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของบริษัท
(http://pics.manager.co.th/Images/551000013230601.JPEG)


หัวข้อ: Re: "นมข้นจืดมะลิ" อันตราย! อย.พบเมลามีนเกินมาตรฐาน 37 เท่า
เริ่มหัวข้อโดย: ถาวร-LSVteam ที่ ตุลาคม 15, 2008, 08:39:56 pm
ผลจากการทำFTA นี่แหละ นมในประเทศล้นตลาด นำเข้านมผงจากต่างประเทศ พอหน้าแล้ง คนเลี้ยงวัวนมต้องเอานม มาเททิ้งทุกปี


หัวข้อ: คณะวิทย์ จุฬาฯ ชี้โทษ "เมลามีน" มหันตภัยใกล้ตัว
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ ตุลาคม 19, 2008, 09:22:29 pm
(http://pics.manager.co.th/Images/551000013302601.JPEG)

คณะวิทย์ จุฬาฯ ชี้โทษ "เมลามีน" มหันตภัยใกล้ตัว
โดย ผู้จัดการออนไลน์    17 ตุลาคม 2551 11:56 น.
   
       คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดแถลงข่าว “เมลามีน... มหันตภัยใกล้ตัว” เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสารเมลามีน ซึ่งเป็นประเด็นที่สังคมกำลังหวาดวิตกเกี่ยวกับการปนเปื้อนในอาหารอยู่ในขณะนี้ โดยมี ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาตร์ จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน
       
       ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในคณะวิทยากร กล่าวถึงสารเมลามีนปนเปื้อนที่ตกเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมปัจจุบัน “เมลามีน เป็นสารอินทรีย์สังเคราะห์ ที่มีลักษณะเป็นผงสีขาว ประกอบด้วยไนโตรเจนจำนวนมาก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตพลาสติก จานเมลามีน เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ เมลามีนบริสุทธิ์จะไม่มีความเป็นพิษ แต่หากคนหรือสัตว์ได้รับเมลามีนไม่บริสุทธิ์ที่ปนเปื้อนกรดไซยานูลิกจะก่อให้เกิดการตกผลึกในไต ทำให้เกิดนิ่วและมีโอกาสเป็นไตวายได้
       
       ทั้งนี้หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารของสหภาพยุโรปได้กำหนดค่าปริมาณสารปนเปื้อนสูงสุดที่ร่างกายได้รับต่อวัน โดยไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพที่ 0.50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน จากข่าวที่เกิดขึ้นในประเทศจีน ซึ่งประสบปัญหาการปลอมปนเมลามีนที่ไม่บริสุทธิ์ลงในนมผง ส่งผลให้เด็กป่วยเป็นโรคไตกว่า 50,000 ราย และเสียชีวิตไปแล้ว 4 ราย ได้สร้างความหวดวิตกต่อประชาชนทั่วโลก และส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมอาหารที่นำเข้ามาจากประเทศจีน”
       
       ผศ.ดร. ณัฐชนัย ลีพิพัฒน์ไพบูลย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ กล่าวเสริม “การใส่เมลามีนลงในอาหารเป็นการเพิ่มค่าการตรวจพบปริมาณโปรตีน เนื่องจากการวิเคราะห์ประมาณโปรตีนในอาหารจะวิเคราะห์จากประมาณไนโตรเจน ซึ่งจะคำนวณกลับได้ถึงปริมาณโปรตีนในอาหาร ดังนั้นการเติมเมลามีน ซึ่งมีราคาถูกและมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบอยู่มากลงในอาหาร เช่น นม อาหารสัตว์ จะทำให้เกิดผลการวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนมีค่าสูงเกินความเป็นจริง"
       
       สำหรับการตื่นตัวถึงพิษภัยของการปลอมปนสารเมลามีนในอาหารของประเทศไทย เริ่มเมื่อปี 2550 โดยสหรัฐอเมริกาได้ตรวจพบสารเมลามีนในไตของสัตว์ ทำให้สัตว์เจ็บป่วยล้มตายเป็นจำนวนมาก ต่อมาประเทศไทยได้ออกมาตรการตรวจสอบต่างๆ จนกระทั่งอาหารสัตว์มีความปลอดภัย ไม่มีการปนเปื้อนเมลามีนเกือบ 100 %
       
       "เราพบการปลอมปนเมลามีนในนมผงเด็ก ในประเทศจีนมีเด็กป่วยเป็นโรคไตมากผิดปกติเมื่อปลายปีที่แล้ว จึงมีการออกคำเตือนไปยังบริษัทนมผงต่างๆ หลังจากนั้นบริษัทได้ยกเลิกการส่งนมผงออกขาย แต่กลับไม่เรียกสินค้าที่วางขายแล้วคืน ส่งผลให้เด็กป่วยเป็นโรคไตจำนวนมาก ทำให้เริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นมจากประเทศจีน เช่น ลูกอม ครีมเทียม ที่ส่งขายไปทั่วโลก ในขณะที่ประเทศไทยของเรามีสินค้าของจีนนำเข้ามาเป็นจำนวนมากและเข้าในหลายระบบ เพราะมีราคาถูกก็ได้เริ่มมีการตรวจสอบสินค้าเหล่านี้เช่นกัน หากมีเมลามีนปนเปื้อนมากกว่า 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมถือว่าผิด” ผศ.ดร. ณัฐชนัย ชี้แจง
       
       ด้าน ผศ.นสพ.ดร.เดชฤทธิ์ นิลอุบล ภาควิชาจุลชีววิทยาลัย คณะสัตวแพทยศาสตร์ กล่าวถึงโทษของเมลามีนที่ถูกพบในร่างกายมนุษย์ “สำหรับอันตรายจากการบริโภคอาหารที่มีเมลามีนนั้น เด็กจะได้รับอันตรายได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กต้องดื่มนมทุกมื้อและทุกวัน ส่วนผลิตภัณฑ์จากนมจะมีปริมาณการปนเปื้อนเมลามีนน้อยมาก เพราะถูกลดสัดส่วนไปกับส่วนผสมอื่นๆ และต้องบริโภคในปริมาณมากๆ จึงจะเกิดผลต่อร่างกาย
       
       หากเป็นเมลามีนที่ปลอมปนในอาหารสัตว์ เมลามีนจะก่อให้เกิดผลที่เฉพาะไตของสัตว์เท่านั้นจึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคเนื้อสัตว์ ขณะที่จานเมลามีน หากใช้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนด เช่น ไม่ใส่ของร้อนเกิน 65 องศาเซลเซียสหรือเข้าไมโครเวฟก็จะไม่มีผลเสียต่อร่างกาย”
       
       ทั้งนี้ ห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ พร้อมให้บริการวิชาการแก่สังคมในการตรวจสอบเมลามีนในอาหาร และสารเคมีต่างๆ