พิมพ์หน้านี้ - ทดสอบโพสภาพใหญ่...

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

นานาสาระ => ตากล้อง-ท่องเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: ช่างเล็กๆ(เล็กซาวด์) ที่ มีนาคม 25, 2007, 03:53:05 pm



หัวข้อ: ทดสอบโพสภาพใหญ่...
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็กๆ(เล็กซาวด์) ที่ มีนาคม 25, 2007, 03:53:05 pm
ผมกำลังเปลี่ยนหน้าตา ห้องกล้องใหม่ ..ให้โพสภาพได้กว้างยิ่งขึ้นเหมาะสมกับขนาดจอ1024 และพื้นดำเพื่อให้ภาพเด่นกว่าเดิม... ท่านใดยังดูภาพกว้างไม่ได้ หรือเจอปัญหาอื่นๆกรุณาโพสให้ทราบด้วย..ขอบคุณมากครับผม   :D
วัดแจ้ง..


หัวข้อ: Re: ทดสอบโพสภาพใหญ่...
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็กๆ(เล็กซาวด์) ที่ มีนาคม 25, 2007, 03:56:41 pm
ใช่ดอกสาละหรือเปล่า....  ;)


หัวข้อ: Re: ทดสอบโพสภาพใหญ่...
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็กๆ(เล็กซาวด์) ที่ มีนาคม 25, 2007, 04:24:11 pm
สัญญลักษณ์วัดแจ้ง ...


หัวข้อ: Re: ทดสอบโพสภาพใหญ่...
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็กๆ(เล็กซาวด์) ที่ มีนาคม 25, 2007, 04:30:42 pm
ขาแต่ละข้าง รถสิบล้อยังต้องหลบ .. :P


หัวข้อ: Re: ทดสอบโพสภาพใหญ่...
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ มีนาคม 25, 2007, 06:32:28 pm
อีกมุมมองของพระปรางค์ยามเย็น ใช้iso400... :P


หัวข้อ: Re: ทดสอบโพสภาพใหญ่...
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ มีนาคม 25, 2007, 06:37:22 pm
 แดดยามเย็นเริ่มโรยรา  ต้องกลับที่พักแล้ว ...แวะซื้อกับข้าวในซอยด้านหน้าวัดแจ้ง ..อร่อย+ถูกเหลือเชื่อครับ ว่างๆลองไปไปชิมดูครับ  :P
..ประวัติวัดอรุณ ฯ

วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเรียกว่า "วัดมะกอก" ตามชื่อตำบลบางมะกอกซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งวัด ภายหลังเปลี่ยนเป็น "วัดมะกอกนอก" เพราะมีวัดสร้างขึ้นใหม่ในตำบลเดียวกันแต่
อยู่ลึกเข้าไปในคลองบางกอกใหญ่ชื่อ "วัดมะกอกใน" ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชม
พระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ
กรุงธนบุรีจึงเสด็จกรีฑาทัพล่องลงมาทาง
ชลมารคถึงหน้าวัดมะกอกนอกนี้เมื่อเวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยนชื่อวัดมะกอกนอกเป็น "วัดแจ้ง" เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งนิมิตที่ได้เสด็จมาถึงวัด
นี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง         เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้ง ณ กรุงธนบุรีและได้ทรงสร้างพระราชวังใหม่  มีการขยายเขตพระราชฐาน  เป็นเหตุให้วัดแจ้งตั้งอยู่กลาง
พระราชวังจึงไม่โปรดให้มีพระสงฆ์จำพรรษา 
นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่กรุงธนบุรีเป็น
ราชธานี ถือกันว่าวัดแจ้งเป็นวัดคู่บ้าน
คู่เมือง เนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐาน
พระแก้วมรกตและพระบาง ซึ่งสมเด็จ
พระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ได้
อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์นี้มา
จากลาวในคราวที่เสด็จตีเมืองเวียงจันทร์
ได้ในปี พ.ศ. ๒๓๒๒โดยโปรดให้อัญเชิญ
พระแก้วมรกตและพระบางขึ้นประดิษฐานเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มหาราช รัชกาลที่ ๑ เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ ได้โปรดให้สร้างพระนครใหม่ฝั่งตะวันออก
ของแม่น้ำเจ้าพระยา และรื้อกำแพงพระราชวังกรุงธนบุรีออก วัดแจ้งจึงไม่ได้อยู่ในเขตพระราชวังอีกต่อไป พระองค์จึงโปรดให้วัดแจ้งเป็นวัดที่มี
พระสงฆ์จำพรรษาอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้นพระองค์ทรงมอบหมายให้สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
(ร. ๒) เป็นผู้ดำเนินการปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง
    ไว้ในมณฑป  และมีการสมโภชใหญ่ ๗ คืน ๗ วัน(ในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ พระแก้วมรกตได้ย้ายมาประดิษฐาน ณ วัด
พระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมหาราชวัง  ส่วนพระบางนั้นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรด
พระราชทานคืนไปนครเวียงจันทร์)
แต่สำเร็จเพียงแค่กุฎีสงฆ์ก็สิ้นรัชกาลที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๓๕๒ เสียก่อน ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ พระองค์ทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อจนเสร็จ
ทั้งได้ทรงปั้นหุ่นพระพุทธรูปด้วยฝีพระหัตถ์ และโปรดให้หล่อขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธาน
ในพระอุโบสถ และโปรดให้มีมหรสพสมโภชฉลองวัดในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ แล้วโปรดพระราชทาน
พระนามวัดว่า "วัดอรุณราชธาราม"
          ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ
      ใหม่หมดทั้งวัด พร้อมทั้งโปรดให้ลงมือก่อสร้างพระปรางค์ตามแบบที่ทรงคิดขึ้น
      จนสำเร็จเป็นพระเจดีย์สูง ๑ เส้น ๑๓ วา ๑ ศอก ๑ คืบ กับ ๑ นิ้ว ฐานกลมวัดโดยรอบได้
      ๕ เส้น ๓๗ วา ซึ่งการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ภายในวัดอรุณฯ นี้สำเร็จลงแล้ว
      แต่ยังไม่ทันมีงานฉลองก็สิ้นรัชกาลที่ ๓ ในปี พ.ศ. ๒๓๙๔
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๔ เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ
พระองค์ได้โปรดให้สร้างและปฏิสังขรณ์
สิ่งต่าง ๆ ในวัดอรุณฯ เพิ่มเติมอีกหลายอย่าง
ทั้งยังได้อัญเชิญพระบรมอัฐิของ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
มาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของ
พระประธานในพระอุโบสถที่พระองค์
ทรงพระราชทานนามว่า
"พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก"
และเมื่อได้ทรงปฏิสังขรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว
จึงได้พระราชทานนาม
วัดเสียใหม่ว่า"วัดอรุณราชวราราม" ดังที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน
             ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เกิดเพลิงไหม้พระอุโบสถ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถใหม่เกือบทั้งหมด โดยได้โปรดให้กรมหมื่นปราบปรปักษ์เป็นแม่กองในการบูรณะ และโปรดเกล้าฯให้นำเงิน
ที่เหลือจากการบริจาคของพระบรมวงศานุวงศ์ไปสร้างโรงเรียนตรงบริเวณกุฎีเก่า
ด้านเหนือ ซึ่งชำรุดไม่มีพระสงฆ์อยู่เป็นตึกใหญ่แล้วพระราชทานนามว่า "โรงเรียนทวีธาภิเศก" นอกจากนั้นยังได้โปรดให้พระยาราชสงครามเป็นนายงานอำนวยการปฏิสังขรณ์พระปรางค์
องค์ใหญ่ และเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงโปรดให้มีการฉลองใหญ่รวม ๓ งานพร้อมกันเป็นเวลา
๙ วัน คือ งานฉลองพระไชยนวรัฐ งานบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุสมมงคล คือ มีพระชนมายุเสมอพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ งานฉลองพระปรางค์
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มีการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายอย่าง โดยเฉพาะพระปรางค์วัดอรุณฯ ได้รับการปฏิสังขรณ์
เป็นการใหญ่มีการประกอบพิธีบวงสรวงก่อนเริ่มการบูรณะพระปรางค์ใน
วันพุธที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๑๐ และการบูรณะก็สำเร็จด้วยดีดังเห็นเป็นสง่างามอยู่จนทุกวันนี้

         ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิสังขรณ์และฉลองวัดและพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดอรุณราชธาราม" ครั้นถึงรัชการพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์
เพิ่มเติมอีก แล้วทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดอรุณราชวราราม" ดังที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน
www.watarun.org/