พิมพ์หน้านี้ - 20 โปรแกรมตรวจสุขภาพผู้หญิง

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

นานาสาระ => นานาสาระ => ข้อความที่เริ่มโดย: แวมไพร์-LSVteam♥ ที่ สิงหาคม 12, 2008, 02:03:59 pm



หัวข้อ: 20 โปรแกรมตรวจสุขภาพผู้หญิง
เริ่มหัวข้อโดย: แวมไพร์-LSVteam♥ ที่ สิงหาคม 12, 2008, 02:03:59 pm
วันนี้ ย่างเท้าก้าวเข้าสถานพยาบาลแห่งหนึ่งแห่งใด โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชน สิ่งหนึ่งจะพบเจออยู่ตามรายทาง คือ ป้ายเชิญชวนตรวจสุขภาพโปรแกรมต่างๆ ทั้งตรวจหัวใจ ตรวจเลือด ตรวจฟัน ตรวจตั้งครรภ์ ตรวจเต้านม ไล่เรียงกันไปจนถึงตรวจกระดูก เช็คเบาหวาน ด้วยราคาตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพันพาลให้สงสัย โปรแกรมการตรวจสุขภาพที่ดี และเหมาะสมสำหรับทุกคนมีไหม แล้วควรตรวจอะไร เมื่อไหร่

และเขาตรวจกันอย่างไร

การตรวจสุขภาพเป็นเรื่อง ของการป้องกัน ตามแนวทางสุขภาพแบบสร้างนำซ่อม ตามหลักการเราทุกคนควรได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี แต่ในความเป็นจริงของเมืองไทยแล้วยังไม่ใช่ โดยเฉพาะในชนบทเรียกได้ว่ายังห่างไกลทีเดียว อย่าว่าแต่ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีเลย แค่การไปพบแพทย์เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยหลายท่านยังไม่สามารถทำได้

แต่ สำหรับในต่างประเทศ การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นเรื่องที่บ้านเขาให้ความสำคัญ เพราะทำให้ตรวจพบโรคร้ายแต่เนิ่นๆ เพื่อการรักษาที่ง่ายขึ้น โอกาสหายก็มีสูง แล้วการตรวจต่างๆ ในอเมริกาก็มีออกมาอย่างหลากหลาย คล้ายๆ กับที่เราได้เห็นโปรแกรมการตรวจสุขภาพตามโรงพยาบาลเอกชนใหญ่ๆ

แล้วการตรวจสุขภาพที่จำเป็นมีอะไรบ้าง ?

เรื่องอย่าง นี้ก็ต้องขอแบ่งเพศชาย-หญิง เพราะหลายสิ่งไม่เหมือนกัน และก็ขอเลือกผู้หญิงก่อน ตามหลักสากลที่ว่า "เลดี้ เฟิร์ส" บทความพิเศษฉบับนี้จึงขอนำเสนอเรื่องราวของ 20 โปรแกรมตรวจสุขภาพที่ผู้หญิงควรรู้ ตั้งแต่ระยะเวลาที่จะตรวจ ไปจนถึงความถี่ต่อการตรวจแต่ละประเภท ซึ่งก็แน่นอนว่าแต่ละบุคคลมีความจำเป็นในการตรวจแตกต่างกันตามปัจจัยพื้นฐาน ของแต่ละคน อันได้แก่ อายุ ประวัติครอบครัว ปัจจัยเสี่ยงพื้นฐานอื่นๆ รวมไปถึงอาการบ่งชี้ถึงความผิดปกติของแต่ละบุคคล

แล้วผู้หญิงต้องตรวจอะไรบ้าง ?

สิ่ง หนึ่งที่ผู้หญิงมี แต่ผู้ชายไม่มี ก็คือ ทรวงอก มดลูก อวัยวะเพศหญิง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นอวัยวะที่มักจะเกิดโรคทั้งนั้น อาทิ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก โรคจากเพศสัมพันธ์ เป็นต้น ดังนั้นอวัยวะเหล่านี้จึงสมควรได้รับการตรวจเป็นประจำ

รองลงมา จากอวัยวะบ่งบอกเพศก็เป็นสุขภาพร่างกายทั่วไปของผู้หญิง เช่น ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจสายตา ตรวจผิงหนัง ตรวจฟัน ซึ่งในความจริงทั้งเพศหญิงและเพศชายก็ต้องตรวจเหมือนกัน แต่เนื่องจากต้องการให้บทความนี้ครอบคลุมการตรวจที่ผู้หญิงควรรู้จักทั้งหมด จึงได้รวมเข้ามาเป็น "20 โปรแกรมตรวจสุขภาพที่ผู้หญิงควรรู้"

1. ตรวจมะเร็งเต้านม (Clinical breast exam)

เต้า นมเป็นอวัยวะที่เพศหญิงต้องหวงและห่วง เพราะเป็นที่เชิดหน้าชูตาสำหรับบางท่าน ขณะที่บางท่านอาจไม่คิดเช่นนั้น แต่เอาเถอะมีเต้าก็ยังดีกว่าไม่มี ฉะนั้นจึงควรเข้ารับการตรวจมะเร็งเต้านมเป็นประจำ แพทย์จะคลำหาก้อนในเต้านม ซึ่งก้อนที่มีอันตรายจะเป็นก้อนที่มีการขยายขนาดโตขึ้น หรือมีน้ำเหลืองหรือน้ำหนองไหลออกมาจากเต้านม รวมไปถึงเรื่องสีของเต้านม หรือหัวนมที่มีสีผิดปกติ ก็เป็นสัญญาณเตือนภัยให้รู้ได้ว่า มีความผิดปกติเกิดขึ้น

ทำไมต้องตรวจ

เพื่อหาก้อนมะเร็งเต้านม ซึ่งหากตรวจพบแต่เนิ่นๆ จะสามารถรักษาได้ง่ายกว่า โอกาสสูญเสียเต้านมจะน้อยกว่า

ตรวจบ่อยแค่ไหน

แนะนำว่า ควรตรวจเต้านมตั้งแต่อายุ 20 ปี และตรวจทุก 3 ปี แต่เมื่ออายุมากกว่า 40 ปี ควรตรวจมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปี

2. การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม (Mammogram)

นอก จากการตรวจโดยการคลำหาก้อนเนื้อแล้ว ยังมีเทคนิคการตรวจมะเร็งเต้านมทางด้านรังสีรักษา เรียกว่า การตรวจแมมโมแกรม (mammogram) โดยคุณจะต้องแนบทรวงอกเข้ากับแผ่นพลาสติกใส แล้วจึงเอกซเรย์เพื่อดูความผิดปกติของเนื้อเยื่อเต้านม

ทำไมต้องตรวจ

เพื่อ ค้นหาก้อนผิดปกติในเต้านม หรือก้อนที่สงสัยว่าอาจจะกลายเป็นมะเร็ง โดยมุ่งที่จะหาให้พบตั้งแต่ยังเป็นก้อนเล็กๆ เมื่อพบก้อนเนื้อต้องสงสัยก็จะตัดบางส่วนของก้อนที่พบนำมาตรวจสอบซึ่งเป็น วิธีการที่ทำให้ตรวจพบเซลล์มะเร็งตั้งแต่เริ่มแรกได้แม่นยำวิธีหนึ่ง

ตรวจบ่อยแค่ไหน

หลังจากอายุมากกว่า 40 ปี ควรตรวจแมมโมแกรม ทุก 1 หรือ 2 ปี ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของแต่ละบุคคล

3. การตรวจมะเร็งปากมดลูก (PAP Test)

มะเร็ง ปากมดลูก เป็นอีกหนึ่งโรคที่ผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงสูง การทำการตรวจหามะเร็งปากมดลูกนั้นแพทย์จะใช้วิธีเก็บเนื้อเยื่อบริเวณปาก มดลูกด้วยอุปกรณ์เครื่องมือที่คุณจะไม่รู้สึกเจ็บ และใช้เวลาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเก็บเนื้อเยื่อได้แล้ว จะส่งเข้าห้องแล็บเพื่อตรวจวิเคราะห์ต่อไป

ทำไมต้องตรวจ

การ ทำ PAP Test เพื่อตรวจหามะเร็งปากมดลูกตั้งแต่ระยะเริ่มต้นก่อนที่เซลล์มะเร็งจะเข้าคุก คามปากมดลูก ผู้ที่ควรได้รับการตรวจเป็นอย่างยิ่ง คือ ผู้ที่มีประวัติเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อ HPV รวมทั้งการเปลี่ยนคู่นอนหลายคน หรือมีประวัติเคยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับมดลูก ช่องคลอด อวัยวะเพศ และในรายที่สูบบุหรี่ก็พบว่ามีโอกาสสูงกว่าคนที่ไม่สูบ

ตรวจบ่อยแค่ไหน

ผู้หญิง ทุกคนควรได้รับการตรวจ PAP Test ภายในระยะเวลา 3 ปี หลังจากการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก หรือกรณีที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์ ก็ควรได้รับการตรวจเมื่ออายุครบ 21 ปี และตรวจซ้ำทุก 2-3 ปี โดยเลิกตรวจได้เมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป

ความถี่ในการตรวจ PAP Test นั้น จะไม่ค่อยแน่นอน ขึ้นอยู่กับอายุและปัจจัยเสี่ยง เช่น หากเป็นผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง ก็ควรเข้ารับการตรวจเป็นประจำทุกปี ซึ่งการจะทราบว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีโอกาสเสี่ยงหรือไม่ ก็ต้องมีการตรวจเช็คหรือปรึกษาแพทย์ และแพทย์จะแนะนำความถี่สำหรับการตรวจ PAP Test ที่เหมาะสม

หลายคนเชื่อว่า เมื่อเข้ารับการผ่าตัดบริเวณมดลูก หรือเคยตั้งครรภ์ จำเป็นต้องตรวจ PAP Test เป็นประจำ
แต่ ในความเป็นจริงอาจไม่เกี่ยวข้องกัน หากการผ่าตัดนั้นไม่เอื้อกับการเป็นมะเร็ง เพราะฉะนั้นควรสอบถามแพทย์ประจำของคุณถึงความจำเป็นในการตรวจ PAP Test

การตรวจ PAP Test เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการตรวจภายใน ซึ่งจะช่วยบอกข่าวสารต่างๆ จากร่างกายของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก

4. การตรวจภายใน (Pelvic exam)

ถึง แม้จะชื่อว่า "ตรวจภายใน" แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ "ตรวจภายนอก" เสียเลย แพทย์จะทำการตรวจภายนอกร่างกายก่อน เพื่อดูความผิดปกติของอวัยวะเพศภายนอก โดยดูขนาด รูปร่าง และสี พร้อมทั้งสอบถามอาการว่ามีการปวดบวมหรือไม่ แล้วจึงทำการตรวจภายในร่างกาย

การ ตรวจภายในแพทย์จะตรวจดูผนังด้านในช่องคลอด และปากมดลูก โดยการสอดเครื่องมือที่เรียกว่า กล้องสเปกตรั้มเข้าไปในร่างกาย แล้วขูดผนังช่องคลอดบางส่วนออกมา เพื่อตรวจสอบดูสัญญาณแสดงความผิดปกติของเซลล์

หลังจากนั้นแพทย์จะ นำเครื่องมือออกจากช่องคลอด แล้วสอดนิ้วมือซึ่งสวมถุงมือเรียบร้อยแล้ว เข้าไปในช่องคลอด โดยจะใส่เข้าไป 2 นิ้ว เพื่อตรวจสอบภายใน พร้อมทั้งกดบริเวณช่องท้องเพื่อตรวจหาความผิดปกติ

ทำไมต้องตรวจ

เพื่อ ตรวจหาความผิดปกติของร่างกาย อาทิ ซีสต์ เนื้องอก ภาวะการติดเชื้อ ความหย่อนยานของกล้ามเนื้อ อันจะก่อให้เกิดภาวะมดลูกหย่อนในภายหลัง

ตรวจบ่อยแค่ไหน

แนะ นำว่าผู้หญิงทุกคนควรเริ่มตรวจภายในเมื่ออายุ 18 ปี หรือเมื่อเริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก และปรึกษาหมอเรื่องความถี่ของการตรวจภายในที่เหมาะสมสำหรับตัวเอง

5. การตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Disease)

การ ตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยวิธีสกรีนนิ่ง เทสต์ (Screening Test) ทำเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ STDs (sexually transmitted disease) เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV) โรคหนองในโกโนเรีย (gonorrhea) โรคเริม (genital herpes) และโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ (chlamydia)

ทำไมต้องตรวจ
โรคเหล่านี้จะก่อกวนระบบภูมิคุ้มกันและระบบต่างๆ ของร่างกาย อันจะนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

ตรวจบ่อยแค่ไหน

แพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำการตรวจ STD screening tests โดยวิเคราะห์จากปัจจัยเสี่ยงส่วนบุคคล

6. การตรวจโคเลสเตอรอลในเลือด

การ ตรวจเลือดพื้นฐานรูปแบบหนึ่งคือ การตรวจหาค่าของโคเลสเตอรอลรวมในเลือด ทั้งโคเลสเตอรอลชนิด LDL (Low Density Lipoprotein) ซึ่งถือว่าเป็นโคเลสเตอรอลร้าย และค่าของโคเลสเตอรอลชนิด HDL (High density lipoprotein) ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลชนิดดี และไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglycerides)

โคเลสเตอรอล คือ ไขมันในร่างกายในรูปแบบของไลโพโปรตีน ซึ่งมีหลายรูปแบบ โดย LDL จะก่อให้เกิดโคเลสเตอรอลอุดตันในเส้นเลือด ส่วน HDL จะช่วยนำพาโคเลสเตอรอลในเส้นเลือดออกจากร่างกาย และจากตับ ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อ LDL สะสมในร่างกายเป็นจำนวนมาก เพราะ HDL ไม่สามารถพาโคเลสเตอรอลออกจากร่างกายได้อย่างสมดุล จะทำให้โคเลสเตอรอลเหลือสะสมในร่างกาย และไปเกาะตามผนังหลอดเลือด เป็นสาเหตุให้เส้นเลือดอุดตัน

ทำไมต้องตรวจ

เพื่อหาค่าของโคเลสเตอรอลในเลือด และนำมาวิเคราะห์หาความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และสโตรค

ตรวจบ่อยแค่ไหน

เมื่อ อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจวัดค่าโคเลสเตอรอลในเลือดทุก 5 ปี แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจวัดค่าโคเลสเตอรอลถี่กว่านี้ หากพบความผิดปกติของค่าโคเลสเตอรอล

7. การตรวจวัดความดันโลหิต

ด้วย การคุกคามของโรคความดันโลหิตสูง ทำให้การตรวจวัดความดันโลหิตถูกบรรจุอยู่ในโปรแกรมการตรวจสุขภาพเบื้องต้น แค่เพียงคุณเข้าไปโรงพยาบาล ไม่ว่าจะที่ใด หรือป่วยด้วยโรคใด พยาบาลจะทำการตรวจวัดความดันโลหิตให้ทันที เพื่อดูค่าแรงดันเลือดที่ออกมาจากหัวใจเมื่อหัวใจบีบตัว ซึ่งจะได้ค่าตัวเลขความดันเลือดตัวสูง (systolic pressure) และเมื่อหัวใจคลายตัวจะได้ค่าตัวเลขตัวต่ำ (diastolic pressure)

ทำไมต้องตรวจ

เพราะ ค่าความดันโลหิตเป็นค่าที่อ่านมาจากความแรงของการบีบตัวของหัวใจต่อความต้าน ทานการไหลของเลือดภายในเส้นเลือด ดังนั้น หากมีบางอย่างกีดขวางอยู่ในเส้นเลือด เช่น โคเลสเตอรอล ซึ่งทำให้เส้นเลือดตีบลง ค่าความแรงของการไหลของเลือดก็จะไม่ปกติ หากเส้นเลือดตีบมาก หัวใจยิ่งต้องเพิ่มแรงในการสูบฉีดเลือดเข้าสู่เส้นเลือดมาก ทำให้ความดันโลหิตสูง และเมื่อความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการแก้ไขและดูแลที่ถูก วิธี โอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจวายเฉียบพลัน (Heart Attack) โรคเส้นเลือดในสมอง (Stroke) รวมไปถึงโรคที่เกิดจากปัญหาของหลอดเลือดจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้สูง

ตรวจบ่อยแค่ไหน

เริ่มตรวจเมื่ออายุ 21 ปี และตรวจเป็นประจำทุก 2 ปี

8. การตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer screening)

บางครั้งแพทย์จะแนะนำให้ตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งลำไส้ เพื่อป้องกันแต่เนิ่นๆ วิธีการตรวจมีหลายขั้นตอน ดังนี้

- การตรวจเบื้องต้นด้วยการตรวจอุจจาระ (Fecal occult blood test)

แพทย์ จะนำอุจจาระของคุณไปตรวจสอบด้วยวิธีทางเคมี เพื่อหาเลือดที่อาจถูกขับถ่ายออกมาพร้อมอุจจาระ ซึ่งจะตรวจพบแม้ในปริมาณน้อยมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น การเก็บอุจจาระทำโดยการป้ายอุจจาระปริมาณเล็กน้อยลงบนแผ่นเก็บตัวอย่าง ตรวจสอบแล้วส่งไปตรวจยังห้องแล็บ ผ่นการวิเคราะห์ด้วยกระบวนการทางเคมี เพื่อบอกว่ามีเลือดปนมาในอุจจาระหรือไม่ และหากพบว่ามีเลือดปะปนอยู่ แพทย์จะแนะนำการตรวจขั้นต่อ

- การตรวจด้วยการส่องกล้องเฟลกซิเบิล ซิกมอย์โดสโคปี้ (Flexible sigmoidoscopy)

แพทย์ จะตรวจวิเคราะห์บริเวณส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ ด้วยการสอดกล้องขนาดเล็ก ที่สามารถโค้งงอได้ตามการบังครับของแพทย์เข้าไปทางบริเวณทวารหนัก ซึ่งกล้องนี้เรียกว่าเฟลกซิเบิล ซิกมอยโดสโคปี้ ซึ่งการตรวจนี้ใช้เวลาประมาณ 15 นาทีเท่านั้น โดยอาจใช้ร่วมกับการตรวจสอบด้วยวิธีการเอกซเรย์ลำไส้ใหญ่


- การตรวจด้วยวิธีการเอกซเรย์ลำไส้ใหญ่ (Colon X-ray double contrast barium enema)

แพทย์ จะทำการฉีดแบเรียมชนิดเหลวเข้าสู่ร่างกายทางทวารหนักด้วยท่อบางๆ แบเรียมจะให้สีขาวปรากฏบนแผ่นฟิล์ม เมื่อผ่านกระบวนการเอกซเรย์ รูปภาพที่ได้จากการเอกซเรย์ภายในลำไส้ใหญ่จะแสดงผลของความผิดปกติภายในให้ ทราบ ระยะเวลาในการตรวจสอบด้วยวิธีนี้ใช้เวลาประมาณ 20 นาที และอาจก่อให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเป็นตะคริวได้ การตรวจสอบวิธีนี้อาจทำไปพร้อมการตรวจด้วยกล้อง sigmoidscope

- การตรวจด้วยวิธี ส่องกล้องโคโลโนสโคปี้ (Colonoscopy)

แพทย์ จะตรวจหาความผิดปกติ ด้วยวิธีการสอดกล้องเข้าไปตรวจลำไส้ใหญ่คล้ายกับการตรวจด้วยกล้องเฟลกซิเบิล ซิกมอย์ดสโคป (Flexible sigmoidscope) แต่กล้องที่ใช้สำหรับการตรวจแบบนี้ จะมีความยาวมากกว่า ซึ่งทำให้แพทย์สามารถตรวจสอบได้ตลอดความยาวของลำไส้ใหญ่ ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 30 นาที และอาจก่อให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวด แพทย์จึงมักให้ยาสลบก่อนการตรวจสอบด้วยวิธีนี้

ทำไมต้องตรวจ

เพื่อ ตรวจหาความผิดปกติอันอาจก่อให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่แต่เนิ่นๆ รวมทั้งตรวจหาเนื้องอกที่อาจจะขยายขนาดมากขึ้น และกลายเป็นมะเร็งภายหลัง ซึ่งอาจพบได้ตามผนังของลำไส้ใหญ่ และหากพบก้อนเนื้อผิดปกติ แพทย์จะทำการผ่าออกเพื่อลดอันตรายจากการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

ตรวจบ่อยแค่ไหน

การตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือการตรวจหาเนื้องอกนั้นไม่จำเป็นต้องทำทุกคน แต่เหมาะสำหรับผู้ที่มีโอกาสเสี่ยง

9. การตรวจหามวลความหนาแน่นของกระดูก (Bone density measurement)

เป็น การตรวจที่บ้านเรานิยมกันมากทุกวันนี้ เพราะความหนาแน่นของกระดูกจะบอกได้ถึงสุขภาพ ความแข็งแรงของกระดูกของคุณ การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกเป็นวิธีการที่รวดเร็ว ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด โดยบริเวณที่จะตรวจสอบนั้น คือบริเวณหลังส่วนล่าง บริเวณสะโพก บริเวณข้อมือหรือข้อเท้า ซึ่งค่าที่วัดได้ จะแสดงความหนาแน่นของกระดูกของคุณ และสามารถประเมินความแข็งแกร่งของกระดูก และโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก กระดูกร้าวได้

ทำไมต้องตรวจ

เพื่อ ป้องกันโรคกระดูกพรุนซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการสูญเสียมวลความหนาแน่น ของกระดูก ทำให้กระดูกเปราะและแตกหักง่าย โดยเฉพาะกระดูกบริเวณสะโพก

ตรวจบ่อยแค่ไหน

หญิง วัยทองที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ควรได้รับการตรวจมวลความหนาแน่นของกระดูกเป็นประจำ เพราะจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ และสำหรับผู้ที่ยังอายุน้อยๆ หากสนใจเข้ารับการตรวจหามวลความหนาแน่นของกระดูก เพื่อลดโอกาสเสี่ยงด้วยการป้องกันแต่เนิ่นๆ ก็สามารถทำได้ โดยปัจจัยที่มีผลต่อภาวะกระดูกพรุน คือ ประวัติครอบครัว และประวัติการใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์

10. การตรวจสุขภาพฟัน (Dental checkup)

การ ตรวจสุขภาพที่ทุกเพศทุกวัยควรทำ คือ การตรวจสุขภาพฟัน โดยแพทย์จะตรวจเช็คลิ้น ริมฝีปาก และเนื้อเยื่ออ่อนภายในปาก เพื่อหาความผิดปกติไปพร้อมกันกับการตรวจสุขภาพฟัน พร้อมกำหนดนัดหมายการตรวจครั้งต่อไป และให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพฟัน

ทำไมต้องตรวจ

ตรวจฟันเพื่อตรวจรักษาฟันผุ และปัญหาที่อาจเกิดกับฟัน เหงือก ลิ้น และปาก

ตรวจบ่อยแค่ไหน

ควรไปพบทันตแพทย์เป็นประจำ ตามกำหนดนัดหมายของแพทย์

11. การตรวจสุขภาพตา (Eye examination)

เพราะ ความผิดปกติของตาอาจเกิดขึ้นได้ทุกวัย จักษุแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะให้คุณอ่านแบบทดสอบการมองเห็น แล้วจึงตรวจการขยายตัวของรูม่านตา ตรวจสอบความเคลื่อนไหวของตา การมองเห็น การรับรู้สีและความคมชัดของการมอง รวมไปถึงขอบเขตการมองเห็นของสายตา

คุณอาจจะได้รับการตรวจภายในลูกตาด้วยเครื่องมือเฉพาะที่เรียกว่า "ophthalmoscope" เพื่อวัดความดันภายในลูกตา

ทำไม ต้องตรวจเพื่อตรวจสอบสายตา และให้คำปรึกษาในกรณีที่คุณอาจมีปัญหาทางสายตา และต้องตัดแว่นหรือใส่คอนแทคเลนส์ และเพื่อตรวจหาปัญหาในการมองเห็นอื่นๆ ปัญหาที่พบบ่อยเมื่ออายุมากขึ้น คือ

- โรคต้อหิน (Glaucoma) โรคนี้เกิดจากแรงดันภายในลูกตาเพิ่มมากขึ้น จนทำให้มองไม่เห็น

- โรคต้อเนื้อ (Macular degeneration) เกิดจากความเสื่อมของเรตินา ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อชั้นในสุดที่มีหน้าที่รับภาพจากแก้วตา ทำให้การรับภาพค่อยๆ เสื่อมลงทีละน้อย

- โรคต้อกระจก (Cataracts) โรคต้อกระจกเกิดจากการมีฝ้ามาปกคลุมเลนส์ตา ทำให้มองเห็นไม่ชัด

ตรวจบ่อยแค่ไหน

อย่างน้อย 1 ครั้ง ระหว่างอายุ 20-39 ปี ทุก 2-4 ปี ระหว่างอายุ 40-64 ปี และทุก 1-2 ปี เมื่ออายุมากกว่า 65 ปี

การ ตรวจทั้ง 11 โปรแกรมที่กล่าวมา เป็นการตรวจที่ค่อนข้างจำเป็นสำหรับเพศหญิง แต่ยังมีกลุ่มโปรแกรมการตรวจอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังไม่ถือว่าจำเป็นมากนัก แต่ก็ควรรู้จักและทำความเข้าใจไว้คือ

12. การเอกซเรย์ (Chest X-ray)

การ ตรวจเอกซเรย์ทรวงอก คุณจะเข้าไปยืนระหว่างกล้องเอกซเรย์และฟิล์มเอกซเรย์ แพทย์จะถ่ายภาพทั้งด้านหน้าและด้านข้าง การตรวจเอกซเรย์ทรวงอกจะทำให้ทราบรูปทรงของหัวใจและปอด ซึ่งแพทย์จะสามารถตรวจหาโรคของปอดและหัวใจได้จากการตรวจดูฟิล์มเอกซเรย์ แพทย์อาจแนะนำการตรวจทรวงอกรวมอยู่ในโปรแกรมการตรวจสุขภาพ ในกรณีที่คุณมีอาการหายใจหอบ ไอ เจ็บหน้าอก หรือในกรณีที่แพทย์ต้องการตรวจดูขนาดของหัวใจ เพื่อดูประกอบกับระดับความดันโลหิตในกรณีของการป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับ หัวใจ

13. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram : ECG)

สำหรับ การตรวจด้วยเทคนิควิธีการนี้ แพทย์จะใช้เครื่องมือซึ่งจะส่งอนุภาคไฟฟ้า เข้าสู่ทรวงอก แขน และขา เพื่อที่จะเก็บบันทึกกระแสไฟฟ้าที่ผ่านมาจากหัวใจ การตรวจ ECG จะตรวจพบอาการผิดปกติของหัวใจ หลังจากการเกิดหัวใจวายได้ (Heart Attack) รวมทั้งตรวจพบการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ หรือหัวใจโต แพทย์จะแนะนำให้ตรวจ ECG ในกรณีที่มีเหตุบ่งชี้ที่แน่นอน หรือกรณีที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเท่านั้น

14. การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (Blood sugar test)

การ ตรวจวัดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด (glucose) ปัจจุบันทำได้รวดเร็วทราบผลภายใยระยะเวลา 8 ชั่วโมง ซึ่งระดับกลูโคสสูงในเลือดจะบอกถึงความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (the American Diabetes Association) แนะนำว่า กรณีที่คุณมีอายุมากกว่า 45 ปี ควรที่จะได้รับการตรวจระดับน้ำตาลกูลโคสในเลือดทุกๆ 3 ปี แต่ในกรณีที่คุณมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน คุณควรได้รับการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเร็วขึ้น รวมทั้งอาจให้ตรวจถี่ขึ้น หรือในกรณีที่คุณมีสัญญาณของเบาหวาน เช่น หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลดลงโดยหาสาเหตุไม่ได้ เป็นแผลแล้วหายช้ากว่าปกติ ควรได้รับการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดทันที

15. การตรวจหาส่วนประกอบของเลือด (Complete blood count (CBC) with differential)

การตรวจนี้ทำเพื่อหา

- ระดับฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งจะหมายถึงปริมาณของออกซิเจนที่เลือดพาไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

- การตรวจแยกเม็ดเลือด (Hematocrit) เพื่อหาปริมาณของเม็ดเลือดแดงต่อปริมาณเลือด

- การตรวจหาเม็ดเลือดขาว ทั้งชนิดและปริมาณ

- การตรวจหาปริมาณเกล็ดเลือด

การตรวจ CBC นี้สามารถที่จะบอกอาการได้หลายอย่าง รวมทั้งภาวะโลหิตจาง โรคติดเชื้อ และโรคลูคีเมีย

16. การตรวจเคมีเลือด (Blood chemistry test)

การ ตรวจเลือดด้วยวิธีการทางเคมี เพื่อหาส่วนประกอบสำคัญในเลือด อาทิ โซเดียม โปแตสเซียม แคลเซียม และฟอสฟอรัส ซึ่งจะบอกถึงการทำงานของตับ และไต ได้ดี

17. การตรวจผิวหนัง (Skin examination)

เพื่อ ตรวจหามะเร็งผิวหนัง แพทย์จะตรวจผิวหนังของคุณเพื่อหาไฝ ฝีที่ผิดปกติ เช่น สีผิวเปลี่ยนไป หรือมีขนาดที่เปลี่ยนไปมากกว่าเดิม คุณควรได้รับการตรวจผิวหนังทุก 3 ปี เมื่อมีอายุระหว่าง 20-40 ปีและรับการตรวจทุกปีเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป

18. การตรวจวัดฮอร์โมนธัยรอยด์ (Thyroid-stimulating hormone (TSH)

การ ตรวจวัดฮอร์โมนธัยรอยด์ เป็นการตรวจเลือดเพื่อหาระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมธัยรอยด์ (TSH) ในเลือด ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้สร้างมาจากต่อมพิทูอิทารี ซึ่งจะทำหน้าที่กระตุ้นต่อมธัยรอยด์ให้ผลิตฮอร์โมนธัยรอกซินออกมา การตรวจ THS นี้จะทำให้ทราบว่าคุณป่วยเป็นโรคธัยรอยด์หรือไม่ และเป็นชนิดผลิตฮอร์โมนน้อย (Hypothyroidism) หรือชนิดผลิตฮอร์โมนมาก (Hyperthyroidism) ซึ่งโรคธัยรอยด์นี้จะเป็นในเพศหญิงจำนวนมาก

19. การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis)

การ ตรวจเพื่อหาสารในปัสสาวะ ซึ่งจะทราบถึงโรคที่เกิดขึ้น เช่น ปริมาณกลูโคส แสดงผลมาจากโรคเบาหวาน ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาว แสดงว่าร่างกายเกิดการติดเชื้อ ปริมาณเม็ดเลือดแดงแสดงว่าอาจป่วยเป็นโรคตับ โรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ หรือ Ureter ปริมาณ bilirubin อาจบอกความเจ็บป่วยของไตได้ เป็นต้น

20. การตรวจวัดปริมาณธาตุเหล็ก (Transferrin saturation test)

การ ตรวจเลือด เพื่อหาจำนวนไออน บอนด์ (iron bound) ซึ่งจะเปลี่ยนหน้าที่ไปเป็นธาตุเหล็ก (iron) ที่ทำหน้าที่นำพาโปรตีนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายทางกระแสเลือด เพื่อช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากการมีปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายมากเกินไปหรือ ที่เรียกว่า iron overload มีอาการความจำเสื่อม ซึ่งโรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ และหากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกวิธี จะก่อให้เกิดโรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบ โรคหัวใจ และโรคตับตามมา ตามปกติแพทย์จะไม่ทำการตรวจหา hemochromatosis แต่คุณอาจจะขอให้แพทย์ตรวจได้ในกรณีที่คุณมีพี่น้อง พ่อ แม่ หรือญาติพี่น้องที่ใกล้ชิดป่วยเป็นโรคนี้

ตารางแนะนำโปรแกรมการตรวจสุขภาพสำหรับเพศหญิง

คราว นี้เราก็มีความรู้พื้นฐานบ้างแล้ว ในเรื่องของโปรแกรมการตรวจแต่ละอย่าง ก็อาจจะเพียงพอที่จะพิจารณาเข้ารับการตรวจพื้นฐานบางประการ อาทิ ตรวจเลือด ตรวจความดัน ตรวจระดับน้ำตาล แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะกำหนดโปรแกรมการตรวจร่างการพื้นฐานที่ควรตรวจเป็นประจำทุกปีหรือทุก 2 ปีนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรึกษาแพทย์ เพราะข้อสรุปของการตรวจที่จำเป็นนั้น ในปัจจุบันก็ยังไม่เป็นที่ยุติ ไม่ว่าจะในบ้านเรา หรือในประเทศผู้นำอย่างสหรัฐอเมริกา ทางที่ดีคือ ศึกษาหาความรู้ให้มาก หรือปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเข้ารับการตรวจในแต่ละครั้ง เพื่อไม่ให้ต้องเสียเงินเสียทองมากเกินไป แต่ขณะเดียวกันก็ได้รักบารตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมกับตัวคุณเอง ไม่แน่ว่า คุณอาจจะได้รับคำแนะนำให้ตรวจการทำงานของตับ Alkaline phosphatase, ตรวจการทำงานของอวัยวะภายในช่องท้องส่วนบน Ultrasound Upper Abdomen หรือ ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งในตับ Alpha-Fetoprotein หรืออื่นๆ ที่เข้าใจยากกว่านี้ ให้ได้เปิดสมองรับทราบความเคลื่อนไหวทางการแพทย์ใหม่ๆ ยิ่งกว่านี้ก็เป็นได้ใครจะรู้

เครดิตท่าน thanaset


หัวข้อ: Re: 20 โปรแกรมตรวจสุขภาพผู้หญิง
เริ่มหัวข้อโดย: jokerzero ที่ กันยายน 24, 2010, 04:32:38 pm
Meaning of heart หัวใจมีความหมายมากกว่าที่คิด
(http://women.sanook.com/story_picture/b/41441_002.gif)
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง จัดกิจกรรมเกี่ยวกับโรคหัวใจเต้นผิดปกติเรื่อง ดูแลหัวใจไม่ให้เต้นผิดปกติ ตอน ไฟฟ้าหัวใจกับอาการหัวใจเต้นผิดปกติ  ในวันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน 2550 เวลา 06.30 - 11.45 น. ณ อาคารลีลาศ สวนลุมพินี ภายในงานมีบริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น สมัครสมาชิก Heart Center Club ไม่เสียค่าใช้จ่าย ท่านใดสนใจสามารถ สำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ที่ 02-3740200 - 16 ต่อ 2680,2688,2699 กำหนดการเสวนา ดูแลหัวใจไม่ให้ลัดวงจร ในวันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน 2550 ณ อาคารลีลาศ สวนลุมพินี - 06.30-08.00 น. ลงทะเบียน ร่วมเล่นเกมส์ และตรวจสุขภาพ สมัครeart Center Club ไม่เสียค่าใช้จ่าย - 08.00-08.30 น. เสวนาหัวข้อที่ 1 โรคหัวใจกับ คนไทย และ อาการหัวใจเต้นผิดปกติ บอกอะไรเรา โดย นพ.สมศักดิ์ เอกปรัชญากุล - 08.30-09.00 น. เสวนาหัวข้อที่ 2 สุขภาพดี วัดได้ด้วยหัวใจที่เต้นปกติ โดย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และดารารับเชิญพิเศษ - 09.00-09.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง - 09.30-10.30 น. เสวนาหัวข้อที่ 3 หัวใจเต้นผิดปกติ เสียชีวิตเฉียบพลัน โดย นพ. บัญชา ศันสนีย์วิทยกุล - 10.30-11.00 น. เสวนาหัวข้อที่ 4 นาทีวิกฤต เฉียดตายด้วยอาการหัวใจเต้นผิดปกติ โดย นพ. บัญชา ศันสนีย์วิทยกุล และ คนไข้ที่ผ่านการรักษาจริง ร่วมชมเทคโนโลยี CARTO ที่วิเคราะห์และรักษาโรคหัวใจเต้นผิดปกติ - 11.00-11.45 น. ตอบข้อซักถาม และมอบของรางวัลแก่ผู้โชคดี จบการเสวนา
สนับสนุนเนื้อหา (http://btgsf1.fsanook.com/weblog/category/1/5291/sanook-women-2.gif)                                                                                                      (http://women.sanook.com/story_picture/m/41441_003.gif)

คำที่เกี่ยวข้อง : สุขภาพ (http://www.smilefine.com/index.php/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.html)   รอบรู้เรื่องสุขภาพ (http://www.smilefine.com/index.php/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.html)   มะเร็ง (http://www.smilefine.com/index.php/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87.html)   เมื่อยคอ (http://www.smilefine.com/index.php/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%AD.html)   ปวดหลัง (http://www.smilefine.com/index.php/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87.html)   เชื้อโรค (http://www.smilefine.com/index.php/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84.html)