หัวข้อ: บทความ...ที่เกี่ยวกับตู้(ภาค2) เริ่มหัวข้อโดย: aj anucha ที่ มิถุนายน 06, 2008, 09:52:12 pm ปุจฉา ? ถามว่า ตู้เปิด ตู้ปิด
เลียนแบบแถบความถี่เสียงของตู้แบนด์พาสส์ได้หรือไม่ ? เกริกชัย ธีรตยาคีนันท์ แค่ขึ้นต้นหัวเรื่อง อย่านึกว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ Mr.Manville Smith แชมป์ Iasca และกรรมการตัดสินคุณภาพเสียงอีกตำแหน่งหนึ่งเคยเปรียบเปรยนักเล่นเครื่องเสียงบ้านและรถยนต์ได้อย่างน่าฟัง คำเปรียบเปรยที่ว่านั้น เขาเปรียบว่าอย่างนี้ครับ นักเล่นเครื่องเสียงบ้านเหมือนมีหูใบใหญ่คับห้อง เพราะนอกจากไซส์ขนาดของห้องที่โอ่โถ่งแล้วยังมีขนาดของตู้ลำโพงหลากหลายให้เลือกเล่นได้ตามความเหมาะสม ส่วนนักเล่นเครื่องเสียงรถยนต์อย่างเราต้องหน้าชื่นอกตรม ต้องหมกตัวตนอยู่ในห้องไม่ต่างไปจากแค๊ปซูลเสียง เพราะจะต้องซุกตัวเองอยู่ในห้องโดยสารขนาดกว้างคูณยาวคูณสูงไม่กี่ฟุต ประมาณว่าขนาด 4 ? ฟุต x 4-8 ฟุต x 4 ฟุต ขึ้นอยู่กับรถเล็กหรือรถใหญ่โดยประมาณ เพื่อเงี้ยหูฟังเสียงที่หลุดออกจากลำโพงคู่หน้าซ้ายและขวาและคู่หลัง ( ถ้ามี ) โอ้แม่เจ้า ทำไมถึงทรมานอย่างนี้ ? คำเปรียบเปรยที่ว่านี้ ผมค่อนข้างจะคล้อยตามอย่างมาก แต่ก็ขออนุญาติผสมความคิดเห็นส่วนตัวไปบ้างเพื่อแสดงวิสัยทัศน์ของผมบางประการ คงไม่ว่ากันนะ เพราะไม่เพียงแต่จะต้องซุกตัวเองอยู่ในห้องโดยสารขนาดเล็กเท่านั้น ยังยากลำบากในการมองหาความลึกของขอบหน้าของเวทีเสียง (Stage Depth) อีกด้วย เพราะเหตุใด ? ผมจะกระซิบข้างหูให้ คำตอบนั้นไซร้คือ ลำโพงอยู่ประชิดตัวมากเกินไปนั่นเอง ผมจะเดินเรื่องลงลึกแล้วนะ จะได้ระทึกทุกนาทีของการอ่าน เริ่มมีข้อสงสัย อะไรกัน ? การที่ลำโพงอยู่ประชิดตัวมีผลต่อการแสดงผลของความลึกของขอบหน้าเวทีเสียงหรือ ? เกริกชัยแมงโม้หรือเปล่า ? อาจจะมีคนปรารภเช่นว่านี้ เรื่องนี้ไม่ว่ากัน แต่ยืนยันว่ามีเหตุผลมารองรับเพราะผมไม่นิยมหลับตาเขียน ไม่เหมียนกับนักเขียนบางคน ( ฮา ) เอาละ เพื่อให้การอธิบายของผมชัดเจน ผมจะแยกเปรียบเทียบให้เห็นอย่างเด่นชัด ชนิดไม่มีสิทธิ์คัดค้านไม่ว่าหน้าไหนในโลกนี้ เมื่อคุณฟังเครื่องเสียงในห้องฟังเพลง ขอสมมุติว่าห้องฟังเพลงมีขนาด 4 x 8 x 2.5 เมตร ลำโพงอยู่ห่างจากกำแพงห้อง 2 เมตร และตำแหน่งที่คุณนั่งฟังอยู่ห่างจากตู้ลำโพง 4 เมตร เมื่อเสียงสเตอริโอแสดงผล ภาพเสียง (Sound Stage) จะเกิดอยู่ด้านหลังลำโพงทั้งหมด เมื่อวัดจากตำแหน่งของจุดนั่งฟังไปยังภาพเสียงที่เกิดขึ้นด้านหลังของลำโพง จะมีระยะของความยาว 6 เมตร นั่นหมายความว่าขอบหน้าของภาพเสียงในความหมายของเครื่องเสียงบ้านหรือเวทีในความหมายของเครื่องเสียงรถยนต์ จะมีระยะห่างจากคนนั่งฟัง 6 เมตร นี่วัดตัวเลขอย่างง่ายๆให้เห็นเพื่อความเข้าใจ เมื่อคุณกลับมาฟังเครื่องเสียงในรถยนต์ และสมมุติว่ากระจกหน้ารถคือผนังห้อง คุณจะพบว่าตำแหน่งของลำโพงเสียงแหลมบนแดชบอร์ด จะมีระยะห่างจากกระจกหน้ารถประมาณ 6 20 โดยประมาณแล้วแต่ยี่ห้อรถ และเมื่อเทียบจากตำแหน่งของวูฟเฟอร์ที่ประตูจะมีระยะห่างจากกำแพงห้องเครื่องด้านในห้องโดยสารรถประมาณ 12 นิ้ว 18 นิ้ว จากตำแหน่งที่คุณนั่งฟังกับตำแหน่งของลำโพง ถ้าจะวัดด้วยวิธีการเทียบอย่างคราวๆดู โดยวัดตั้งฉากจากใบหู เล็งไปยังลำโพงวูฟเฟอร์ที่ยึดอยู่ที่ประตูรถ จะมีความห่างประมาณ 6 นิ้ว เมื่อวัดระยะทางจากกระจกหน้ารถมายังตำแหน่งของคนนั่งฟัง จะห่างกันไม่กี่ฟุตเท่านั้นเอง เมื่อเสียงสเตอริโอแสดงผลของเวทีเสียง คุณจะพบว่าขอบหน้าของเวทีเสียงจะอยู่ใกล้ตัวเรามาก ทำให้ขอบหน้าของเวทีเสียง ไม่ถอยล่นไปไกลจากสายตาจากจุดที่นั่งฟังตามความเป็นจริงที่ถูกบันทึกลงในแผ่นมา แม้ใช้เพลงเดียวกันเล่นก็ตาม ดังนั้นการแข่งขันมาตรฐานเสียง Iasca จึงกำหนดงานติดตั้งที่ได้มาตรฐานจะต้องมีขอบหน้าเวทีเสียงถ่อยล่นได้ไกล จากตัวอย่างที่ยกมา คุณยอมรับหรือยังว่า การที่ลำโพงอยู่ประชิดตัวมีผลต่อความลึกของขอบหน้าเวทีเสียง (Stage Depth) ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบงานติดตั้งของเครื่องเสียงรถยนต์ในปัจจุบัน เพราะเหตุนี้เอง การแข่งขันมาตรฐานงานติดตั้งเครื่องเสียงรถยนต์ของ Iasca จึงกำหนดหัวข้อสเตจดิพมาด้วย ใครทำขอบหน้าเวทีเสียงได้ไกลสุดเอาไปเลย 15 คะแนนเต็ม เมื่อเราพูดถึงนัยของภาพเสียงหรือเวทีเสียง ถ้าหากไม่คุยเฟื่องถึงเรื่องมิติเสียง (Image) คงเป็นบทความที่ไร้ค่าอย่างมหันต์ เพื่อไม่ให้เป็นเช่นนั้น เราหันมาดูความหมายของมิติเสียงกัน เมื่อเรามองภาพการแสดงดนตรีบนเวที คุณจะพบกับตำแหน่งของนักเล่นดนตรี ใช่หรือไม่ ? ตำแหน่งของนักดนตรีก็คือตำแหน่งของชิ้นดนตรี เมื่อนักดนตรีอยู่ซ้ายและขวา ชิ้นดนตรีก็จะอยู่ซ้ายและขวา ตำแหน่งใครตำแหน่งมัน หรือตำแหน่งนักร้องอยู่กลาง ตำแหน่งของเสียงร้องก็อยู่ตรงกลางเช่นกัน แต่ความหมายของมิติเสียง ไม่ได้บ่งบอกเพียงตำแหน่งซ้ายหรือขวาหรือกลางเท่านั้น แต่ยังรวมความหมายไปถึงลำดับชั้นของชิ้นดนตรีอีกด้วยด้วย (Imaging) อาทิเช่น เครื่องสายแถวหน้า เครื่องเป่าแถวสอง เปียโนแถวสาม และตำแหน่งกลองหลังสุด เป็นต้น เครื่องเสียงรถยนต์มีอุปสรรค จึงยากต่องานติดตั้ง ความแตกต่างของเครื่องเสียงบ้านและรถยนต์ไม่ใช่อยู่ที่ระบบ เราจะพบว่า แท้จริงแล้วทั้งบ้านและรถยนต์เป็นสายพันธุ์เดียวกัน มีจุดเริ่มต้นเหมือนกันคือเฮดยูนิทเป็นแหล่งกำเนิดเสียง มีเพาเวอร์แอมป์เป็นอุปกรณ์ขยายเสียง ปลายทางคือลำโพงที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเสียง แต่ที่มันมีความแตกต่างของโทนเสียงตลอดจนภาพของเวทีเสียงและลำดับชั้นของชิ้นดนตรีขึ้นอยู่กับเหตุผลดังต่อไปนี้ 1.- ลำโพงหลักคือวูฟเฟอร์ยึดอยู่ที่ประตูรถ จึงทำให้เวทีเสียงอยู่ต่ำจากระดับของการฟังจริง เมื่อเทียบกับเครื่องเสียงบ้าน 2.- ตำแหน่งที่นั่งฟังเพลงไม่ได้อยู่ตำแหน่งของการฟังเพลง (Sweet Spot) ที่ถูกต้อง ต้องเอียงกระเท่เร่สุดโด่งทางใดทางหนึ่ง คือ ถ้าไม่นั่งที่ด้านขวาคนขับก็นั่งด้านซ้ายของคนขับ เกิดระดับความต่างของระยะทางและเวลาของเสียงที่มาถึงหูของคนฟังทันที เมื่อคุณนั่งเบาะนั่งด้านใด ลำโพงด้านนั้นจะส่งเสียงถึงหูคุณก่อนเสมอ เพราะเหตุนี้เอง ไม่ว่าคุณจะนั่งฟังเพลงด้านใดของเบาะนั่งหน้ารถ คุณจะพบว่า ตำแหน่งของเสียงร้องไม่อยู่ตรงกึ่งกลางของเวทีเสียงตามความเป็นจริง แต่จะไปปรากฏตัวอยู่ตรงลำโพงที่คุณนั่งใกล้ที่สุด เมื่อมองจากตำแหน่งที่คุณนั่งฟังเพลง ลักษณะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เกิดช่องว่างระหว่างลำโพงคู่ซ้ายและลำโพงคู่ขวา ศัพท์ทางการเรียกช่องว่างนี้ว่าหลุมดำ (BLACK HOLE) 3.- สภาพของห้องโดยสารรถยนต์มีกระจกรายล้อม กระจกเป็นวัสดุที่มีการซึมซับย่านเสียงกลางถึงกลางสูงได้น้อยมากคือประมาณ 0.12% ที่ความถี่ 1000 Hz และประมาณ 0.04% ที่ความถี่ 4000 Hz เหตุผลนี้เอง ระบบเสียงในรถยนต์ จึงมีโทนเสียงที่ออกไปในลักษณะแข็งและออกกร้านนิดๆ อันเนื่องมาจากความไม่สามารถซึมซับ (Absorbtion) พลังงานย่านนี้ได้ตามความเป็นจริง แต่ตรงกันข้ามกับเครื่องเสียงบ้าน มีวัสดุรายล้อมที่กำหนดให้มีการซึมซับย่านความถี่ดังกล่าวได้มาก เช่น ใช้ผ้าม่านหนา เป็นต้น เครื่องเสียงบ้านจึงให้เสียงที่นุ่มนวลกว่าเครื่องเสียงรถยนต์ นี่คือเหตุผลประการหนึ่ง เหตุผลประการที่สองที่ทำให้เครื่องเสียงบ้านมีความละมุนภัณฑ์กว่าเครื่องเสียงรถยนต์คือ ระยะห่าง ของลำโพงกับตำแหน่งของการนั่งฟัง เนื่องจากมันมีระยะห่าง จึงมีการเดินทางของคลื่นเสียง อากาศที่เรียงตัวก่อเป็นมวลที่กั้นกลางระหว่างดอกลำโพงกับคนฟัง จะทำหน้าที่สลายความรุนแรงของเสียงให้มีความอ่อนโยนลงไปก่อนถึงหูของคุณ นี่อีกเหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนให้การฟังเพลงในบ้านมีความละเมียดละมัยจนคุณดื่มด่ำได้ เขียนมาเสียยืดยาว เข้าเรื่องเข้าราวดีกว่า เมื่อเรามองตู้ลำโพงซับ นักเล่นในบ้านเมืองของเราจะมองภาพของตู้ลำโพงซับเพียงมิติเดียวคือความดัง ถามว่าผิดหรือไม่ ? ไม่ผิดแต่ไม่ถูกทั้งหมด เพราะเหตุใด ? เพราะเหตุว่าภายใต้รูปคลื่นที่ผลิตออกมาจากตัวดอกลำโพงมีหลายมิติให้มองกัน เหมือนกับการแทงสนุกเกอร์ จะแก้ชิ่งไหน ? หรือจะไซด์ก้อยไซด์โป้งก็ว่ามา เพราะฝรั่งเขามองหลายๆมิติ ดังนั้นการเล่นระบบตู้ซับของเขาจึงมีความหลากหลาย เป็นการลองของใหม่ตลอดเวลา รูปแบบการเล่นแบบไหนดีกว่าก็จะได้รับความนิยมไปในที่สุด ผมจำได้ว่าไปอ่านเจอบทความบทนี้ในนิตยสาร Car Stereo Review ของประเทศสหรัฐอเมริกา ฉบับเดือนมกราคม ปี ค . ศ . 2000 โน้น เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจและที่ประทับใจที่สุดก็คือ วิธีการเล่นเหมือนเส้นผมบังภูเขา ไม่รู้คิดได้ไง แม้เวลาจะผ่านไปนานแล้ว แต่ผมก็ยังจำได้อยู่จนถึงทุกวันนี้ แต่ก่อนที่เห็นรูปแบบในการเล่นของเขา เรามาทำความเข้าใจรูปคลื่นของตู้แต่ละประเภทก่อน การอ่านจะได้แจ่มแจ้ง ตู้ปิด (Closed Box) คือตู้ที่ไม่มีอากาศรั่วซึมทั้ง 6 ด้าน ความสำคัญของตู้ปิดอยู่ที่ค่า Qtc ค่า Qtc ไม่มีหน่วย เพราะเป็นผลที่ได้จากค่าความต้านทานต่อความต้านทาน ดังนั้นค่า Qtc จึงเป็นค่าแฟคเตอร์ (Factor) ของตัวเลขใดตัวเลขหนึ่ง ที่บ่งบอกถึงผลการตอบสนองความถี่ของระบบนั้นๆ มีความรุนแรงมากน้อยระดับใด เช่นให้เสียงเบสที่โด่งหรือเสียงเบสที่ตอบสนองความถี่ได้ราบเรียบ เป็นต้น ซึ่งมีนักเขียนท่านหนึ่งได้ให้ความจำกัดความในเชิงเปรียบเทียบว่า กำลังสะท้านของตู้ ค่า Qtc ยิ่งสูงยิ่งให้ค่าเรโซแนนซ์สูงหรือเสียงเบสจะโด่ง เช่น Qtc 1.2 ค่า Qtc ยิ่งต่ำเสียงเบสก็จะลงลึก เช่น Qtc 0.5 เป็นต้น ค่า Qtc มีหลายระดับ ตั้งแต่ 0.577, 0.707 ไล่ระดับจนไปถึงค่า Qtc1.2 ซึ่งเป็นค่า Qtc สูงสุดในระบบของการคำนวณตู้ปิด โดย Qtc 0.577 ได้มาจากผลลัพธ์ของ 3 ถอดสแควร์รูท 2 ไปหาร 1 Qtc 0.707 ได้มาจากผลลัพธ์ของ 2 ถอดสแควร์รูท 2 ไปหาร 1 ตู้เปิด (Vented Box) ความสำคัญของตู้เปิดอยู่ที่ท่อที่ให้อากาศภายในตู้ออกมา (Tuning Port) โดยอากาศที่ถ่ายออกมานั้นมีความถี่กำกับชัดเจนอยู่ความถี่หนึ่งซึ่งเรียกว่าค่า Fb(Frequency Box) ซึ่งค่า Fb นี้จะต้องทำงานสอดคล้องกับค่า F3 ในระบบตู้ เมื่อมองภาพในแง่ของเสียงและการใช้งาน ท่ออากาศนี้ทำหน้าที่คล้ายการยกลาวด์เนสส์ (Loudness) ในย่านความถี่ต่ำของวิทยุ ยกตัวอย่างเช่น ความถี่ที่จูนออกมาคือความถี่ที่ 32 Hz ความถี่ที่ 32 Hz จะถูกยกให้ดังขึ้น ดังขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับระบบของตู้ที่ใช้ในการคำนวณ ซึ่งมีสูตรรองรับอยู่ คำนวนได้แน่นอน จากเหตุผลดังกล่าวนี้เอง ไม่ว่าคุณจะเล่นเพลงอะไร ความถี่ย่าน 32 Hz จะถูกยกออโตเมตริก ขอให้นึกถึงการยกลาวด์เนสส์บนตัววิทยุนะ คุณจะเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ตู้แบนด์พาสส์ ( Band Pass ) ความสำคัญของตู้แบนด์พาสส์ คือการนำเอาจุดเด่นของตู้ปิดและตู้เปิดมาผสมผสานโดยใช้คุณสมบัติเฉพาะตัวของตู้แต่ละประเภทมากรองความถี่ เนื่องจากมีวิธีการกรองความถี่ของระบบตู้มีรูปแบบไม่เหมือนกับตู้ปิดและตู้เปิด ดังนั้นการตอบสนองความถี่ของตู้แบนด์พาสส์จึงมีรูปแบบเฉพาะตัว ขอให้ดูภาพประกอบเรื่องในการอ่านด้วย จะทำให้คุณเข้าใจยิ่งขึ้น จากภาพประกอบเรื่อง คุณจะพบการโรยตัว (Roll Off) ของความถี่ย่านสูงของตู้แบนด์พาสส์ไม่เหมือนกับตู้ปิดและตู้เปิด การโรยตัวในย่านความถี่สูงในลักษณะดังกล่าว ทำให้ตู้แบนด์พาสส์มีรูปแบบของการกรองความถี่เฉพาะย่านออกมาอย่างภาพที่คุณเห็น เช่นตอบสนองความถี่ 80 120 Hz ดังนี้เป็นต้น จุดที่เริ่มมีการโรยตัวลงในย่านความถี่ด้านสูง เรียกว่าค่า FL (F3 of low frequency roll off) จุดที่เริ่มมีการโรยตัวลงในย่านความถี่ด้านต่ำ เรียกว่าค่า FH (F3 of high frequency roll off) ขอให้คุณทอดสายตาไปดูการตอบสนองความถี่ของตู้แบนด์พาสส์อีกครั้ง ถ้าเราไม่คิดต่อนะ เราก็จะเห็นเป็นรูปคลื่นความถี่งั้นๆ แต่ถ้าเรานำรูปคลื่นการตอบสนองความถี่ของตู้แบนด์พาสส์มาเทียบกับวงจรเน็ท เวิร์คดู เราจะพบว่าระบบการกรองความถี่ของตู้แบนด์พาสส์อยู่ในรูปแบบของออเดอร์ที่ 4 หรือมีความลาดชัน 24 ดีบี / ออคเตป กรองความถี่ด้วยกลไกของระบบตัวตู้เอง เพราะฉะนั้นระบบเสียงของใครมีตู้แบนด์พาสส์อยู่ในระบบเสียง คุณจะพบว่าเสียงเบสของคุณจะห้วนสั้น แต่คมชัด เป็นลักษณะเด่นของระบบตู้ ที่มีลักษณะเช่นนี้เพราะระบบตู้ของแบนด์พาสส์จะให้ช่วงความถี่ที่แคบ (Bandwidth) แม้จะมีลักษณะเด่นดังที่บอกมา แต่ถ้าคำนวณไม่ดีหรืองานติดตั้งไม่สมบูรณ์ เสียงเบสจะมีความเพี้ยนสูง เบสจะแข็งกระด้างอย่าบอกใครเชียว อย่าลืมเหลียวหลังมาดูเสียงเบสของตัวเองบ้างนะ เป็นเช่นนี้หรือไม่ ถ้าใช่ ให้แก้ไขด่วน ไม่เช่นนั้น อึดอัดตาย มาดูวิธีการเล่น เห็นแล้วต้องร้องอ๋อ ง่ายมาก วิธีการเล่นของฝรั่งง่ายมาก เขาใช้วิธีการหันหน้าตู้ลำโพงซับเข้าประชิดกับผนังของรถนั่นเอง โดยตัวตู้จะถูกยึดไว้อยู่แถวๆท้ายรถจุดไหนก็ได้ เพื่อให้ตำแหน่งของตู้ลำโพงไกลจากจุดที่นั่งคนขับ เมื่อหน้าลำโพงซับประชิดกับผนังรถ ผนังรถ + กับพรมของรถซึ่งเป็นวัตดุซับเสียงในย่านความถี่ปลายๆของเสียงเบส จะทำหน้าที่เหมือนสิ่งกรีดขวางการเดินทางของรูปคลื่นเสียงพร้อมกับซึมซับเสียงไปในตัว ด้วยวิธีการนี้ รูปคลื่นของเสียงจึงถูกกรองไปบางส่วนโดยเฉพาะในส่วนของฮาร์มอนิค ซึ่งเป็นส่วนปลายๆของความถี่ ที่ง่ายต่อการถูกกรองมากที่สุด เพื่อพิสูจน์ให้เห็นข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ คุณสามารถพิสูจน์ได้ โดยเอาฝ่ามือมาป้องตรงปากในขณะที่พูด แล้วถามเพื่อนคุณว่า เสียงคุณเป็นอย่างไร ? เมื่อเทียบกับเสียงพูดในสภาวะที่คุณพูดด้วยน้ำเสียงปกติ เพื่อนคุณจะตอบคุณว่า เมื่อเอ็งเอาฝ่ามือมาป้องไว้ตรงปาก เสียงเอ็งจะห้วนและสั้นหว่ะ เมื่อส่วนปลายของความถี่ได้ถูกกรองทิ้งไป ช่วงกว้างของรูปคลื่นความถี่ที่ส่งมาจากหน้าลำโพงก็จะสั้นลง เมื่อเทียบลักษณะของรูปคลื่น เราจะพบว่า มันทำงานคล้ายๆกับความถี่ของตู้แบนด์พาสส์ ผมจำได้ว่า เมื่อเริ่มแรกของวงการเครื่องเสียงรถยนต์บ้านเราประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา การติดตั้งของช่างไทยมาตรฐานต่ำมาก ไม่ว่างานติดตั้งและการเซ็ทเสียง โดยเฉพาะในส่วนของงานติดตั้งลำโพงซับ เพราะยุคนั้นระบบการตีตู้ไม่มีร้านติดตั้งร้านไหนรู้เรื่อง จึงใช้วิธีการแขวนลอยเป็นหลัก เสียงเบสยุคนั้นจึงไม่เอาไหน พล่าเบลอ จนกระทั้งนิตยสาร Car Stereo Review(CSR) ที่ผมเป็นเจ้าของ นำสูตรการตีตู้มาเผยแพร่ ด้วยวิธีการเปิดอบรมหลักสูตรวิศวกรเครื่องเสียงรถยนต์ขึ้น ปัจจุบันนี้มีการเปิดอบรมหลายเจ้าโดยมีผมเป็นต้นแบบของการเปิดอบรมหลักสูตร นอกจากผมแล้วใครที่อ้างว่าตัวเองเป็นคนแรก โกหกทั้งนั้น ฟ้าดินเป็นพยาน เมื่อการติดตั้งลำโพงซับไม่ถูกวิธี ปัญหาของช่างส่วนใหญ่ที่พบสมัยนั้นคือ การอั้นของเสียงเบส พอเบสอั้น ทำให้เสียงเบสนั้นไม่กลมกลืนกับลำโพงกลางแหลม สาเหตุของเบสอั้นสมัยก่อนโน้น มีสาเหตุหลักอยู่ 2 ประการ 1.- ครอสซ้อนครอส ครอสซ้อนครอสมีผลต่อช่วงกว้างของความถี่อย่างไร ? เรามาพิจารณาเหตุผลกันเวลาเราต่อเล่นระบบไบแอมป์ ช่างไทยมักจะต่อผ่านแอคทีพครอสโอเวอร์กรองความถี่ต่ำ เพื่อส่งผ่านไปยังตัวเพาเวอร์แอมป์เพื่อขับลำโพงซับ และเพาเวอร์แอมป์ดังกล่าวมีครอสโอเวอร์ในตัว ช่างก็ก็กำหนดจุดตัดความถี่อีกครั้งที่ตัวเพาเวอร์แอมป์ แนวทางนี้คุณจะเห็นชัดเจนว่า มันจะมีจุดตัดของความถี่ต่ำอยู่ 2 จุดคือ จุดแรกที่แอคทีพ ครอสโอเวอร์และจุดที่สองตรงครอสโอเวอร์ที่อยู่ในตัวเพาเวอร์แอมป์ จุดตัดทั้ง 2 จุดนี้ ทำหน้าที่เหมือนกำแพงกั้น ไม่ให้ย่านความถี่เสียงต่ำอื่นๆผ่านเข้ามา เสียงเบสจึงอั้นเพราะเหตุนี้ 2.- เกิดจากงานติดตั้งไม่ถูกต้อง อาทิเช่น การหาจุดตัดความถี่ที่ไม่เหมาะสมหรือใช้ลำโพงซับที่ไม่ถูกกับโครงสร้างของการใช้งาน แม้จะมีการแก้ไขปัญหาตั้งแต่เข้าจรดค่ำ ก็เอาไม่อยู่ หรือถึงขั้นเปลี่ยนลำโพซับตัวใหม่ก็ไม่ได้ผล สุดท้ายไปลงตรงไหนรู้หรือไม่ ? บรรดาช่างติดตั้งไทยก็ใช้วิธีคว้านเหล็กจนเป็นรูพรุนใหญ่ เพราะเข้าใจว่า เบสอั้นเกิดจากเสียงเบสไม่มีที่ออก รถเสียหายมาก คิดได้ไงก็ไม่รู้ ไม่มีผู้โวยวายในยุคนั้น แต่ยุคนี้ต้องแตกหักกันทิ้งบทความช่วงสุดท้ายกับความหลากหลายของเครื่องเสียงรถยนต์ เมื่อพิจารณาแนวความคิดของนักเล่นฝรั่ง ยังมีเหตุผลมารองรับถึงความคิดนั้นว่า เป็นไปได้ที่ตู้ปิดหรือ ตู้เปิดก็สามารถเลียนแบบแถบความถี่ของตู้แบนด์พาสได้ แต่จะใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดอย่างไร คงต้องขึ้นกับลำดับความรู้ต่อไปว่า จะเซ็ทเสียงลำโพงซับให้กลมกลืน (Tonal Balance) กับลำโพงกลางแหลมได้อย่างไร ? เมื่อใดเราพูดถึงการเซ็ทเสียง เราต้องหวนกลับมามองตัวเราเองก่อนว่า เราเข้าใจเรื่องราวของความถี่และโทนเสียงหรือยัง ? ความยากของการเซ็ทเสียงไม่ใช่อยู่ที่ความถี่หลัก (Fundamental) แต่ความยากของการเซ็ทเสียงอยู่ที่ 2 ความถี่นี้ 1.- ความถี่ที่เป็นทวีคูณของความถี่หลัก (Harmonics) 2.- เสียงที่เกิดร่วมกับความถี่เสียงหลัก (Over Tone) อุปกรณ์ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหานี้ คงหนีไม่พ้นอิควอไลเซอร์และอาจจำเป็นจะต้องมีจำนวนมากถึง 30 แบนด์และคำถามที่ติดตามมาคือ จำนวน 30 แบนด์ที่ครอบคลุมความถี่คลอดย่านตั้งแต่ 20-20,000 Hz นั้น จะเริ่มต้นที่ตรงไหน ? หรือบางครั้งการแก้ไขปัญหาเสียงของเครื่องเสียงรถยนต์ อาจจำเป็นจะต้องเปลี่ยนตัวอุปกรณ์เพื่อความสมมาตร (Match Pair) ระหว่างตัวอุปกรณ์ ก็เคยมีให้เห็นในระดับการแข่งขันแชมป์เปี้ยนโลกของ Iasca การแก้ไขปัญหาของเสียงของเครื่องเสียงบ้าน จะไม่ใช้อิควอไลเซอร์ แต่จะใช้วัสดุทางอคูสติกส์แทน อาทิเช่น ดิพฟูเซอร์ (Diffuser) รูมจูน (Room Tune) ทูบทิวท์ (Tube Tilt) เป็นต้น อุปกรณ์เหล่านี้ คงไม่สามารถนำมาไว้ในรถยนต์ได้ เกะกะตาย แต่ถ้ามี ใครจะเป็นคนเริ่มต้นก่อน ? คนเริ่มต้นก่อนดังแน่นอน แต่ก็ต้องทนยอมให้เขาว่า บ้า ก่อนนะแล้วค่อยชื่นชมที่หลังว่า เออ เอ็ง tongue3 thank2 หัวข้อ: Re: บทความ...ที่เกี่ยวกับตู้(ภาค2) เริ่มหัวข้อโดย: aj anucha ที่ มิถุนายน 06, 2008, 09:56:20 pm วิจารณ์กันหน่อยครับ...พี่ thawatch ว่าอย่างไง :( ;)
หัวข้อ: Re: บทความ...ที่เกี่ยวกับตู้(ภาค2) เริ่มหัวข้อโดย: Thawach ที่ มิถุนายน 11, 2008, 03:57:30 am จริงๆเเล้วพี่ไม่อยากจะวิจารณ์ใครหรอก เขาเขียนอะไรมาตัวเรานั้นสามารถตรึกตรองได้เองอยู่เเล้วว่าจะเชื่อหรือไม่ เเต่เท่าที่อ่านมาพี่จับไม่ค่อยได้ว่าเขาต้องการเขียนอะไร แปลกใจพอสมควรว่าทําไมเขาจะต้องไปเลียนเเบบเเถบความถี่เเบนพาสด์ ถ้าคิดอย่างนี้ตู้ลําโพงบ้านทุกตัวที่เป็นตู้เปิดตู้ปิด จะต้องไปเลียนเเบบเเถบความถี่เสียงแบนพาสด์หมดทุกตัวเลยซิ รู้สึกว่าจะเขียนเรื่อยเปื่อยเเบบไม่ค่อยจะได้ประโยชน์อะไรเท่าไร พี่ยิ่งอ่านก็ยิ่งรําคาญอย่างไรไม่ทราบโอเค คนที่ไม่รู้อ่านเเล้วสนุกเเน่ เเต่คนที่รู้ไม่มีใครอยากอ่านหรอก การนําเรื่อง image soundstage ในรถยนต์มาพูดมันค่อนข้างจะเพี้ยนมาตั้งนานเเล้ว มันเกิดขึ้นมาจากเมืองนอก ฝรั่งไม่ใช่รู้ไปหมดทุกคน บางคนอย่างเเสบเลย มันหาเรื่องให้คนซื้อของจนได้ กับรถยนต์สามารถหากินได้เป็นลํ่าเป็นสัน ในสมัยเเรกๆทําเเค่ไว้ฟังพอจะหมดหนทางทํามาหากิน คราวนี้เเหละทําเพื่อเเข่ง ทั้งที่เสียงไม่ได้เรื่องก็เเข่งกันได้ ต่อมาคงจะเริ่มรู้ว่าคนจะเบื่อกลัวจะขายของไม่ได้ ผลักดันเรื่องimage soundstage โผล่ขึ้นมาอีก ตอนเเรกก็เเค่คุยการติดตั้งเพื่อให้มีมิติตําเเหน่งเสียง ตอนหลังๆเริ่มเพี้ยน เเข่งขันความใกล้ไกลของ soundstage กันใครจะไม่ทําผลประโยชน์มหาศาล ทําคนดีๆให้บ้าตามได้เสียเงินไม่รู้เท่าไหร่ถ้าบ้าตาม ถามจริงๆเคยเห็นลําโพงบ้านเขานํามาเเข่งกันมั๊ยเรื่อง soundstage คนที่เล่นเรื่องเสียงบ้านเขารู้ทุกคนว่าเสียงที่เเฟลตเป็นอย่างไร ถึงเขาจะมาเล่นเครื่องเสียงรถยนต์เขาย่อมรู้ถึงความพอดี ไม่ใช่ติดตั้งเเบบมีอะไรยัดใส่ให้เยอะเเน่ๆ เพราะเขาต้องการฟังเพลง เขาต้องการรายละเอียด เข้าถึงนํ้าเสียงของนักร้องที่เขาชอบทุกรูขุมขนเขาต้องการความละเมียดละมัยเเห่งดนตรี พี่ยอมรับคนพวกนี้อย่างหนึ่งว่าเขาเป็นนักฟังจริงๆมากกว่าจะไปเเข่งกับคนอื่น เขาต้องการเสพให้มีความสุขความบันเทิงใจเมื่อฟังเเล้วจะอยากฟังอีกโดยไม่มีเบื่อ เขาจะรักsystem ของเขามากเท่าที่พี่เคยเจอการที่เราจะมาคุยเรื่องsoundstage หรือ image ในรถยนต์พี่ว่ามันค่อนข้างจะเพ้อเจ้อ ในพื้นที่เเคบๆไม่สามารถถ่ายทอดค่า time domain ของห้องอัดได้หรอกการติดตั้งค่า time alignment ก็ยังจัดสรรไม่ลงตัว เราไม่น่ามาคุยถึงเรื่องนี้ ระยะวางลําโพงก็ยังไม่ดี ค่า early refecting ยิ่งไม่ต้องพูดถึง สรุปเเล้วพี่ไม่อยากจะพูดถึงเรื่องนี้อีกเลย ยิ่งพูดจะยิ่งรําคาญตัวเอง ยิ่งไปคุยถึง bass trap หรือ diffuserในรถยนต์ยิ่งไปกันใหญ่ พี่ว่าถ้าน้องอยากได้ความรู้จริงๆไปที่บอร์ดของ audioconsultancs ดีกว่า เเม้ว่าเขาจะพูดถึงเรื่องลําโพงบ้านมากกว่า เราสามารถนําความรู้มาประยุกต์ใช้ในรถยนต์ได้ อยากรู้อะไรเขามีบอร์ดถามตอบเหมือนกัน
หัวข้อ: Re: บทความ...ที่เกี่ยวกับตู้(ภาค2) เริ่มหัวข้อโดย: rittichai ที่ มิถุนายน 11, 2008, 07:47:08 am ได้ใจจริงๆ...ดูอยู่ห่างอิอิอิอิๆๆๆ
หัวข้อ: Re: บทความ...ที่เกี่ยวกับตู้(ภาค2) เริ่มหัวข้อโดย: aj anucha ที่ มิถุนายน 12, 2008, 10:02:22 am รับทราบครับ..ผมก็เป็นคนนึงที่อยากหาความรู้ เกี่ยวกับเรื่องราวของเครื่องเสียง
ไม่ว่าจะเป็น ในบ้านหรือรถยนต์ก็ตาม พยายามค้นคว้าจากในหนังสือบ้าง และ ในอินเตอร์เน็ตบ้าง เพื่อที่จะเกิดการพัตนาความรู้ของตนเองให้สูงขึ้น(อยากเก่ง) มีเรื่องประเด็นไหนที่ควรเก็บไว้ก็จะจำ เหมือนที่พี่ thawach ได้นำเรื่องราวการใช้ โปรแกรม win isd มาสอน ผมก็สนใจอยู่ไม่น้อยอย่างไงมีอะไรมานำเสนอผมจะรับไว้ อ้อพี่...เรื่องโปรแกรมคำนวณตู้ซับ(bass box pro) จะมีมาสอนไหม๊ครับ ให้ดีขอโปรแกรม มาลองเล่นประกอบการสอนด้วยจะดีมากๆ ปล....ยังติดตามเรื่องราวดีๆอยู่เสมอ(bass box pro)..อิอิ :( thank2 หัวข้อ: Re: บทความ...ที่เกี่ยวกับตู้(ภาค2) เริ่มหัวข้อโดย: Thawach ที่ มิถุนายน 13, 2008, 02:37:39 am น้อง aj โปรเเกรมไหนๆก็คล้ายๆกันหมดมันมาจากสูตรคณิตศาตร์เดียวกัน ที่พี่เคยใช้มาเกือบ 50 โปรเเกรมไม่เคยเห็นข้อเเตกต่างเลย จะมีต่างกันบ้างตรงการใช้งานง่ายหรือยาก เเต่ผลขั้นตอนสุดท้ายก็เท่ากัน bass box proไม่ใช่จะเหนือกว่า win isd เลยเท่าที่ใช้มา มีบางกรณีที่ดูเหนือกว่าที่พี่เคยได้ไปตอบปัญหาที่เมืองนอก มีเพื่อนใช้ x-over pro 3
ทําวงจร network ตรงนี้เเหละที่ดูดี หลังจากเห็นวงจรที่ x-over pro 3จําลองขึ้นมา คนที่ใช้เขาไม่ค่อยเเน่ใจว่ามันผิดหรือเปล่า พี่เลยตอบเขาไป แต่ x-over pro 3 เขาไม่ค่อยปล่อยให้โหลดเลยตาม internet สิ่งสําคัญไม่ใช่ที่ตัวโปรเเกรมหรอกที่มีความสําคัญ มันอยู่ที่ว่าเราอ่านกราฟเเละติดสินใจได้ดีเเค่ไหน ถ้าขาดตรงนี้เเม้จะใช้โปรเเกรมอะไรก็ไม่เก่งขึ้นได้เลย มีโปรเเกรมมากมายที่เป็น demoหลังจาก formate Pc พี่ขี้เกียจหาเเผ่นเลยเล่น demo อย่างเดียวซึ่งเเล้วเเต่จะใช้ เช่นโปรเเกรมนี้ก็เป็น demo เเตกต่างจากตัวจริงเเค่ save ไม่ได้เท่านั้น สําหรับพี่ไม่มีความจําเป็นจะต้อง save ดาต้าเบส เราจะใช้เราก็ใส่ข้อมูลไปใหม่ พี่ไม่ซีเรียสตรงนี้ว่าตัวจริงหรือ demo Lab 2 ที่นํามาลงครั้งก่อนก็เป็นdemo หาขนาดตู้ได้มีกราฟให้ดูอีกต่างหาก การอ่านข้อความจากทาง internet ระวังให้มากๆบางทีอาจนําพาเรามั่วทางความคิดได้ ศาสตร์ทางนี้ลึกมากที่เขาพูดมามันพื้นๆพูดให้ดูสนุกมากกว่า บางครั้งมันลึกจนพี่ท้อใจ ต้องกลับไปรื้อวิชาคณิตสาสตร์เเละฟิกสิกส์ใหม่เเต่มีหลายเวบจากต่างประเทศช่วยรื้อวิชาคณิตสาสตร์เเละฟิกสิกส์ให้พี่ พี่เข้าไปถามบ่อยๆ ซึ่งบางครั้งก็เบื่อ มันมีเยอะมากกว่าที่เราคิด หัวข้อ: Re: บทความ...ที่เกี่ยวกับตู้(ภาค2) เริ่มหัวข้อโดย: rittichai ที่ มิถุนายน 13, 2008, 08:23:16 am น้องอยากได้เจ้าตัวนี้มังคับพี่ขอหน่อยครับ rittchai.l.vnw@thaiairways.com ขอบคุณครับ จะเอาไปศึกษาดูครับ
|