พิมพ์หน้านี้ - ธนินท์ เจียรวนนท์ คำต่อคำ"ทางรอดประเทศ"

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

นานาสาระ => เศรษฐกิจ => ข้อความที่เริ่มโดย: แวมไพร์-LSVteam♥ ที่ มิถุนายน 03, 2008, 12:42:50 pm



หัวข้อ: ธนินท์ เจียรวนนท์ คำต่อคำ"ทางรอดประเทศ"
เริ่มหัวข้อโดย: แวมไพร์-LSVteam♥ ที่ มิถุนายน 03, 2008, 12:42:50 pm
(http://www.matichon.co.th/khaosod/images/ks.gif)

(http://www.matichon.co.th/news-photo/khaosod/2008/06/eco01030651p1.jpg)

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 2 มิ.ย. ที่โรงแรมดุสิตธานี หนังสือพิมพ์มติชน หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ และหนังสือพิมพ์ข่าวสด ร่วมกันจัดสัมมนา "ทางเลือกสุดท้าย ทางรอดประเทศไทย" ผู้ร่วมสัมมนาประกอบด้วย น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซีพี)

นายธนินท์ แสดงปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "ทฤษฎี 2 สูงทางเลือก สุดท้ายทางรอดของประเทศ" ดังนี้

วันนี้เป็นอีกครั้งที่จะพูดถึงเกษตร พวกเราเป็นลูกหลานเกษตรกรทุกคน เพราะโลกนี้มาจากเกษตร และลองคิดดูสิว่า ผู้ที่มีบุญคุณคือชาวนาที่ปลูกข้าวให้เราบริโภค ยากจนได้อย่างไร

เรื่องนี้ผมมีคำถามตลอดเวลาและวันนี้อยากจะหาคำตอบ

ไม่ต้องห่วงเรื่องราคาข้าวตกต่ำ

มีหลายคนห่วงเรื่องราคาข้าวจะลง เมื่อสูงแล้วราคาจะลง ซึ่งเรื่องจริง หากราคาข้าวจะลง ราคาน้ำมันจะลงก่อน และที่ถูกอาหารมนุษย์จะถูกกว่าอาหารเครื่องจักรได้อย่างไร เพราะหากเป็นอย่างนี้ผู้บริหารประเทศมีปัญหา จึงอยากฝากเรื่องนี้ถึงผู้บริหารประเทศ

ผมอยากยกย่องข้าราชการ ที่วันนี้แม้เกษตรกรจะยากจนแต่ประเทศไทยพัฒนาประเทศไปได้ไม่น้อยกว่าประเทศฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, เขมร, ลาว ผมถือว่า ยังดีกว่าหากรัฐบาลเข้าใจว่า สินค้าเกษตร คือทรัพย์สมบัติของชาติ หรือพืชที่ปลูกบนดิน เป็นน้ำมันบนดิน

ผมอยากชี้ให้เห็นว่า พวกเรามีหน้าที่ตอบแทนบุญคุณชาวนาที่เลี้ยงเราเติบโต โดยเฉพาะชาวนาปลูกข้าว หากไม่มีน้ำมันอยู่ได้แต่หากไม่มีข้าวอยู่ได้อย่างไร

มีบางท่าน หวังดีต่อชาวนา ห่วงว่า ถ้าวันนี้ราคาแพงทุกคนหันไปปลูกข้าวมากขึ้น เหมือนในประวัต ิศาสตร์ ห่วงว่าข้าวจะขายไม่ได้ ผมขอโอกาสนี้กราบเรียน ให้ข้อมูลสั้นๆ ว่า ทำไมข้าวจะไม่ลงราคายกเว้นราคาน้ำมันลง หรือยกเว้นผู้บริหาร บริหารผิดพลาด

ข้าวเปลือกทั้งประเทศ ตัวเลขจากทางการ ผลผลิตไร่ละ 448 กิโลกรัม รัฐบาลบอกว่าข้าวเกวียนละ 14,000 บาท แต่ประกาศแล้วไม่ได้ทำอะไร เห็นชัดว่าผู้บริหารไม่สนใจ พูดอย่างทำอย่างได้

เกษตรกรขายข้าวได้กิโลกรัมละ 40 บาท เท่ากับมีรายได้ 3,750 บาท มากกว่าเมื่อก่อนที่ได้ประมาณหนึ่งพันบาท

ชาวนา หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน ยากลำบากมาก ต้องแบกของสุดลูกหูลูกตา ไมมีถนนเข้าไป

ส่วนข้าวหอมมะลิ กิโลกรัม 20 บาท ปลูกได้ 400 กิโลกรัม ต่อไร่ ได้รายได้ 4,500 บาท หากรัฐบาลลงทุนทำเรื่องชลประทานปีหนึ่งปลูกข้าวได้ สองครั้งครึ่งหรือ สามครั้งหากได้สองครั้งครึ่งจะได้ประมาณ 16,760 บาท

ส่วนยางพารา ราคากิโลกรัมละ 90 บาท จะได้ผลตอบแทน 24,300 บาทต่อไร่

มันสำปะหลัง ผลผลิตต่อไร่ 3,500 กิโลกรัม ได้ผลตอบแทน 5,000 บาทต่อไร่ ยังสูงกว่าข้าวหอมมะลิที่ได้ผลตอบแทน 4,500 บาทต่อไร่

ส่วนอ้อยได้ผลผลิตต่อไร่ 10,000 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 0.80 บาท ได้ ผลตอบแทน 1,342 บาท

ปาล์ม ได้ผลผลิตต่อไร่ 2,700 กิโลกรัม ได้ผลตอบแทนสุทธิ 8,175 บาท

เหตุที่ผมเชื่อว่าราคาข้าวไม่มีวันลงเพราะพื้นที่ข้าวเหมาะกับปลูกปาล์ม มันสำปะหลัง ราคาล้วนแล้วแต่แพงกว่าข้าวทั้งนั้น แต่พื้นที่ปลูกมัน ข้าวโพด จะมาปลูกข้าวไม่ขึ้น

จากตรงนี้จะเห็นว่า การที่ข้าวจะถูกลงมีอีกทฤษฎี คือในโลกนี้มีการบริโภคข้าว ประมาณ 400 กว่าล้านตัน ประเทศส่งออกทำได้แค่ 5 หรือ 6 เปอร์เซ็นต์ ไทยส่งออกประมาณ 9 ล้านตันเท่านั้น และผู้บริโภคเพิ่มขึ้นทุกปีแต่ผลผลิต ผลิตไม่ทัน

ในสงครามเวียดนาม ประเทศเวียดนามไม่ได้ปลูกข้าว วันนี้เป็นเบอร์ 2 ของโลกแต่ข้าวยังขาดแคลน

ทำอย่างไรไม่ให้ข้าวถูก รัฐบาลต้องเข้ามาแนะนำ ชี้แนะ ต้องจับเป็นกลุ่มไปเจรจากับผู้ซื้อข้าว ไม่ใช่ให้คนส่วนใหญ่ไปเจรจากับคนส่วนน้อย ตรงนี้อยากฝากให้รัฐบาลช่วยดูว่าจะผนึกกันอย่างไรให้ไปขายแพงซื้อแพง

ในส่วนนักธุรกิจคิดว่า ซื้อถูกขายถูกง่าย ไม่เสี่ยงแต่หากซื้อแพง ขายแพงยาก

วันนี้ผู้ที่ทำธุรกิจข้าว ต้องตอบแทนบุญคุณที่ชาวนายากลำบากและเลี้ยงพวกเราเติบโต ต้องช่วยกันซื้อแพงขายแพง

มีบางท่านถามว่า หากผู้ซื้อไม่ซื้อทำอย่างไร ผมขอกราบเรียนว่า ยิ่งข้าวจะแพง 400 ล้านกว่าตัน หากทุกประเทศกลัวแพงเก็บ 10 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 40 ล้านตัน มากกว่าประเทศผู้ส่งออกรวมกัน อย่างไรก็ตามในส่วนไทยหากปีหนึ่งปลูกได้สองครั้งปีหนึ่ง ควรเก็บหนึ่ง อย่างไทยเก็บไว้ประมาณสี่เดือนอย่าขายหมดเพราะหากประชาชนกลัวว่าข้าวไม่มี จะไม่มีข้าวขายให้ประชาชน

หากเราเก็บไว้ 5 ล้านตัน แต่หากวิกฤตจริงๆ แล้วข้าวลงราคาเก็บจะมากขึ้น ผมคิดว่า ขายน้อยดีกว่าขายมาก แต่ราคาถูกเพราะที่เหลือเท่ากับเราได้ฟรี ไม่มีต้นทุน

แทนที่จะขาย 9 ล้านตัน สมมติได้เงินประมาณแสนล้านแต่ขายแค่ 4 ล้านตัน ได้เงินแสนตัน แล้วยังมี 5 ล้านตันเหลือในสต๊อกอีก

ต้องจับมือกับเวียดนาม, จีน, อินเดีย, พูดคุยกันว่า จะขายข้าวราคาเท่าไหร่ เราเป็นผู้กำหนดราคาขายไม่ใช่ให้ผู้ซื้อมากำหนด ผมเชื่อมั่นว่าทำได้ หากจับมือกันขายแพงและขายน้อยที่เหลือแปรสภาพไปทำอย่างอื่นเหมือนนมผง ในยุโรปเมื่อมีราคาถูก รัฐบาลอียูซื้อแพง นำมาย้อมสีแล้วขายมาทางเอเชีย ราคาไม่ลดลง ทำให้ผู้ผลิตนมได้ราคาคงที่ ทรัพย์สมบัติของชาติไม่หดตัวลง

ผมขอฝากว่า ในโลก ประเทศที่เจริญแล้ว ไม่แทรกแซงสินค้าเกษตรให้ถูกลง มีแต่ เอาเงินไปแทรกแซงให้สูงขึ้น

หากแทรกแซงให้ถูกลง สิ่งที่เกิดขึ้นคือเกษตรกรไม่มีเงินไปจับจ่าย เมื่อไม่มีเงินไปจับจ่าย ธุรกิจอุตสาหกรรม บริการ ทุกอย่าง ไม่หมุนสุดท้ายโรงงานต้องปิด แม่ค้าหาบเร่ มีปัญหา

หากคนส่วนใหญ่มีเงินไปจับจ่ายสิ่งที่จะเกิดขึ้นธุรกิจทุกอย่างเกิดขึ้น รวมทั้งไปจับจ่ายอย่างอื่นที่ผลิตในไทย รัฐบาลจะได้ภาษีทวีคูณ หากรัฐบาลทำให้สินค้าเกษตรสูงขึ้นผมเชื่อว่าทุกสินค้ากระเตื้องหมดจะทำให้ภาคท่องที่ยว บริการ ได้ประโยชน์ ทำให้เกษตรกรมีรายได้แน่นอนซึ่งหากเป็นแบบนี้เกษตรกรจะยิ่งรวย

อย่าเชื่อผม ทุกท่านลองศึกษา ดูอเมริกา เกษตรกรจาก 100 เปอร์เซ็นต์ แต่วันนี้เหลือ 1 เปอร์เซ็นต์ แล้วทำไมประเทศเขามั่งคั่งร่ำรวย

ผมจะพูดอีกสูงหนึ่ง อีกสูงหนึ่งมันอยู่ตรงนี้ ปัญหาคือเงินเฟ้อ ผมจะอธิบายอาจจะผิดก็ได้นะครับเมื่อสินค้าเกษตรสูง มันคือทรัพย์สมบัติของเรา ประเทศที่มีน้ำมัน น้ำมันยิ่งสูงเขายิ่งรวย รัฐบาลก็มีเงินจากภาษี จากการขายน้ำมัน ทำไมเราไม่ใช้น้ำมันบนดิน

สองสูงคือต้องให้ เงินเดือนสูงเท่ากับน้ำมันบนดิน จะต้องไม่ต่ำกว่าน้ำมันที่ใช้เลี้ยงเครื่องจักร ถ้าทำอย่างนี้ไม่ใช่เงินเฟ้อ

เรามีทรัพย์สมบัติของเรา เรามีเงินเดือน สิ่งที่น่ากลัวคือ มีเงินแต่ไม่มีของให้ซื้อ อย่างนั้นเรียกเงินเฟ้อ แต่มันหมดสมัยแล้ว

การให้เงินเดือนสูงและสินคาเกษตรปรับขึ้นตามความเป็นจริง ฐานเงินเดือนปรับตาม ถึงจุดหนึ่งจะมีความสมดุล ถ้าปรับสินค้าแต่เงินเดือนไม่ปรับตาม นั่นอันตราย

อเมริกา จึงได้ลดภาษี เพราะกลัวคนไม่จับจ่ายใช้สอย และรัฐจะได้ภาษีน้อยลง แต่ลดภาษี มีคนจับจ่ายใช้สอย รัฐจะได้รายได้มากขึ้น

ทำไมเราไม่ดูมาตรการต่างๆ ของโลกว่า ทำไมเขาลด ทำไมรัฐบาลประเทศญีปุ่น ซึ่งจนที่สุดในโลก พูดอย่างนี้อาจตกใจเพราะเขามีหนี้มากที่สุด แต่หนี้รัฐบาลเป็นหนี้ของประชาชน เพราะเขาฉลาดให้สินค้าและเงินเดือนสูง แต่หากลบกลบแล้วมีรายได้มากกว่าคนอเมริกา อเมริการายได้ต่อหัว น้อยกว่า สินค้าถูกกว่า

ทำไมญี่ปุ่นทำ 2 สูง เพราะเมื่อราคาสินค้าแพง รัฐบาลก็เอาสินค้าไปขาย ได้กำไรกลับมาลงทุน เมื่อประชาชนมีเงินเดือน ให้ของแพงไม่เป็นไรเพราะมีเงินในกระเป๋า แต่คนสงสารเงิน เห็นเงินมีค่า จึงไม่อยากใช้ รัฐก็กู้เงินจากประชาชนด้วยดอกเบี้ยต่ำให้รัฐตระหนักว่า เงินมาจากการกู้จากประชาชน เวลาจะใช้อะไรต้องมีประสิทธิภาพจึงบอกว่า รัฐบาลญี่ปุ่นฉลาดบางอย่างเราต้องเรียนรู้จากเขา

เรื่ององค์การการค้าโลกที่คุยไม่จบเพราะทุกประเทศปกป้องราคาสินค้าเกษตร ราคาสินค้าเกษตรไม่ลง อย่างกรณีญี่ปุ่น ไทยไปขายข้าวราคาสิบบาทไม่ได้ แต่คนญี่ปุ่นกินข้าวกิโลกรัมละสองร้อยบาท เพราะเขาต้องการปกป้องทรัพย์สินของประเทศ แต่ชาวนาไทย ยากจน ต้องขายที่ ไม่เหมือนชาวนาญี่ปุ่นไปเที่ยวทั่วโลกได้

สองสูง มีแต่ดีเพราะหากได้เงินเดือนสูงและข้าวแพง คนจะประหยัดเงิน ร่างกายสุขภาพก็ดีด้วย แต่หากข้าวถูก คนไม่ประหยัด

อย่างรองนายกฯพูดน้ำมันต้องปล่อยให้ลอยตัว แต่ทำไมสินค้าเกษตรไม่ปล่อยให้ลอยตัว อย่างนม รัฐบาลควบคุมมา 12 ปีเพิ่งจะปล่อยให้ลอยตัว ให้ขึ้นราคา

ดังนั้นทุกอย่างต้องให้สมดุล สองสูงดีกว่าสองต่ำ เพราะประชาชนมีทางเลือก อย่างเช่น จะไปอุดหนุนไก่ไข่ ให้คนกินไก่ไข่หากปล่อยให้ราคาสูงตามธรรมชาติ แล้วขึ้นเงินเดือนให้กินไข่ ได้สองฟอง ผมเชื่อว่าหลายท่านจะประหยัด

หรือรัฐบาลจะไปช่วยเวลาน้ำท่วม อย่าไปช่วยเป็นของให้ประกาศช่วยเป็น เงิน 1,000 หรือ 2,000 บาท หากซื้อของไปช่วยจะรู้ได้อย่างไร ว่า ชาวบ้าน ต้องการอะไร แล้วรั่วไหลหรือเปล่า หากให้เงิน ผมเชื่อว่าสตางค์เดียวก็ไม่รั่วไหล

ส่วนข้าวธงฟ้า ทำไปทำไม แทนจะเอาเงินไปอุดหนุน เอาเงินส่วนนี้ไปขึ้นเงินดือนให้ผู้มีรายได้น้อย

อยากฝากรองนายกฯว่า หากขึ้นเงินต้องคิดถึงข้าราชการที่เกษียณไปแล้วด้วย ต้องยกย่องข้าราชการที่ช่วยพยุงประเทศให้เจริญ

ไทยโชคดี มีน้ำมันบนดินจึงอยากฝากท่านรองนายกฯว่าเราน่าจะปล่อยให้เกษตรตัดต่อยีนให้ก้าวไปอีกก้าวหนึ่ง ไม่ใช่ใช้วิธีแบบเก่า อย่างอเมริกา ตัดต่อยีนมานานแล้ว

ผมอยากเล่าเรื่องตัดต่อยีนให้ฟัง เรื่องตัดต่อยีนฝ้ายกลัวว่า จะทำให้ผีเสื้อในโลกตายหมดเพราะผีเสื้อไปกินฝ้าย ทีแรกผมเชื่อ แต่พอคิดอีกทีตัดต่อยีนถูกต้องเพราะผีเสื้อ ต้องบินมากินฝ้ายจึงจะตายแต่หากใช้ยาพ่น ผีเสื้อก็ตายหมด

บางทีทฤษฎีไม่รู้จริง ที่ยังไม่รู้อีกเรื่องคือทุกประเทศปลูกฝ้ายไม่ได้ ดังนั้นผีเสื้อจะตายหมดทั้งโลกไม่ได้

ผมขอพูดเรื่องสองต่ำว่า ทำไมไม่ดี อยากให้ลองดูว่า ประเทศไหนใช้ 2 ต่ำ แล้วประเทศมั่นคงไม่มี ประเทศสังคมนิยม ใช้ 2 ต่ำสุดท้าย ก็ต้องเปลี่ยน ยักษ์ใหญ่ รัสเซียต้องเปลี่ยนมาใช้ 2 สูง

อย่างคนจีนเมื่อก่อนขี้เกียจทั้งประเทศเพราะทำมาก น้อย ได้เงินเท่ากัน สุดท้าย ได้เงินเท่ากัน เมื่อเติ้ง เสี่ยว ผิง มาปรับเปลี่ยนใหม่ สุดท้ายมีข้าว เหลือและข้าวไม่พอส่งออก

ถ้า 2 สูงประชาชนมีทางเลือกรัฐบาลมีภาษี และเมื่อใช้ 2 สูงเทคโนโลยีเกิด และสุดท้าย สินค้าเกษตรจะต่ำลงมาด้วย

ผมขอยกตัวอย่าง เรื่องไก่ สมัยก่อนแพงกว่าหมูเท่าตัว และสมัยก่อน ตอน ผมเด็กๆ ไปกินไก่ ชายทะเลจันทร์เพ็ญต้องเป็นเศรษฐี วันนี้ถูกกว่าหมูประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ เพราะรัฐบาลไม่คุมราคา หากปล่อยตามกลไกตลาด เมื่อมีกำไร ผู้ลงทุนกล้าลงทุนธนาคารกล้าปล่อยกู้เพราะมีเจ้าภาพรับความเสี่ยงไปแล้ว

ดังนั้นสินค้าทั่วไป รัฐบาลไม่ควรไปกำหนดราคา แต่รัฐบาลในโลกนี้ต้องไปแทรกแซงไม่ให้ราคาถูกลงเพราะถูกลงเมื่อไหร่ ทรัพย์สมบัติหดตัว ปัญหาจะเกิดเพราะเงินจะมากกว่าของ ตรงนี้แหละเงินเฟ้อ แต่หากปรับโครงสร้างสินค้าและเงินเดือนให้เท่ากันไม่เฟ้อ

หากน้ำมันควบคุมไม่ได้ต้องปรับน้ำมันบนดินของเราให้เพิ่มตามราคาน้ำมัน ต้องหาวิธีรุกอย่ารับ ให้มองวิกฤตเป็นโอกาส อย่างน้อยเราฝึกฝนทำวัคซีนตัวเองให้เข้มแข็งเผื่อว่ามีวิกฤตจะได้ไม่มีปัญหา

ให้คิดว่า เมื่อมืดต้องมีสว่าง ที่สุดต้องมีมืด ตอนที่กำลังสนุกมีกำไรดีต้องคิดว่า เมื่อวิกฤตมาต้องทำอย่างไร ผมใช้เรื่องนี้เป็นหลักในการทำงานมาตลอด

เรื่องข้าว ผมมองว่า เป็นโอกาสทอง ยกเว้นว่า น้ำมันจะลงราคา แต่เราถือโอกาสนี้ทำกำไรและนำมาพัฒนา

ผมดีใจที่รองนายกฯบอกว่า จะลงทุนสามแสนล้านบาท ทำเรื่องชลประทาน ผมมองว่าคุ้มชาวนาไม่มีความเสี่ยง

สำหรับ 2 ต่ำนอกจากรัฐบาลไม่มีภาษี เงินเดือนข้าราชการขึ้นไม่ได้ อุตสาห กรรมผลิตแล้วขายสินค้าไม่ได้ แต่ไทยยังโชคดีที่มีท่องเที่ยวเข้ามาช่วย มีแรงงานขายไปทั่วโลก แต่เรื่องขายแรงงานถูก หมดสมัยแล้วต้องทำอย่างไรให้คนไทย ขายบริการได้ราคาสูง

ดังนั้นรัฐบาลต้องวางแผนไม่ใช่กดแรงงานต่ำๆ เพื่อขายแรงงาน วันนี้ต้องยกระดับคนงานเป็นพนักงาน แต่งตัว อยู่ห้องแอร์ ไม่ใช่หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน

ผมห่วงที่สุดเรื่องข้าราชการประจำ ซึ่งมีบทบาทกับประเทศมาก แต่ห่วงเรื่องกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ไม่มีใครไม่เคยทำผิด แต่ราชการผิดไม่ได้ แล้วต้องถูกฟ้อง ต้องแก้ หากเป็นอย่างนี้ ใครจะกล้ารับราชการ คนจะคิดว่า ทำมากผิดมาก แล้วจะหาคนเก่งๆ มารับราชการได้อย่างไร

ผมเคยพูดว่า สมัยก่อน ข้าราชการเงินเดือน 1,200 บาท ซื้อทองได้สามบาท แต่วันนี้ราคาทองขึ้นไปมาก จะเห็นได้ว่า เงินเดือนข้าราชการต่ำไป หากประสิทธิภาพต่ำ ต้องโทษผู้นำว่า ให้เงินเดือนต่ำแล้วทำให้ประสิทธิภาพต่ำ

กฎหมายต้องมองให้ทุกคนๆ เป็นคนดีก่อนแต่กฎหมายไทยมองคนเป็นผู้ร้าย

ผมเชื่อมั่น อีสานต้องเขียว หากปลูกยางเพราะฝนจะชุก ยางคือป่า ดังนั้นขอฝากรัฐบาลไว้ว่า เราต้องเตรียมที่ 25 ล้านไร่ทำชลประทาน และอีสานน่าจะปลูกยาง หรืออ้อย ซึ่งอ้อยผลผลิตยังต่ำ น่าจะทุ่มเงินวิจัยเรื่องพันธุ์อ้อย

คนส่วนใหญ่ยังมองว่า เป็นไปไม่ได้ ยังไม่ได้ทำแล้วบอกว่า เป็นไปไม่ได้ แต่จริงๆ เกษตรกร ของไทย หากมีผู้นำที่ดีรับรองว่า เกษตรกรเราไม่แพ้ใคร และยืนยันว่าเกษตรกรไทยไม่ขี้เกียจ และเชื่อฟัง ทำตามทุกอย่าง แต่เราขาดผู้นำ

เรื่องที่มองว่า ซีพีผูกขาดเพราะทำก่อนล่วงหน้า แต่ไม่ได้หมายความว่า ทำก่อนล่วงหน้า ไม่มีใครทำ พอคนอื่นเห็นทำสำเร็จ คนอื่นทำ เมื่อก่อนเราเป็นที่หนึ่ง ตอนหลังเราเป็นที่สองเพราะสหฟาร์มเข้ามา แล้วผูกขาดอย่างไร

ลองย้อนกลับไป ซีพีคิดว่า เราถอยไปหาข้างนอกดีกว่า ถอยจาก 10 เปอร์ เซ็นต์ไปหา 100 เปอร์เซ็นต์ดีกว่า นโยบายของเราไม่ได้แกล้งให้คู่แข่งให้ล้มละลายแต่คิดว่า หากมีการแแข่งขันจะไปหาตลาดอื่นไปสู้กับตลาดต่างประเทศ

นโยบายของซีพี ไปประเทศไหน คิดเรื่องสามประโยชน์ ประเทศ ประชาชน และซีพี ต้องได้ประโยชน์ ซึ่งคาถาสามตัวนี้ดีมากเพราะไปประเทศไหนถูกยกย่องว่า มาช่วยประเทศนั้นพัฒนาในเรื่องสัตว์น้ำ สัตว์ปีก พืช

"..เราอยู่ในจุดที่มืด...กำลังสว่าง.."

หลังจากการปาฐกถา นายธนินท์ ตอบข้อซักถามของผู้เข้าร่วมสัมมนาถึงกรณีการคิดว่าการปล่อยให้ราคาสินค้าสูงขึ้นและปรับเงิน
เดือนสูงขึ้นจะทำให้ทุกอย่างไปถึงจุดสมดุลในอนาคต ว่า เงินเดือน โดยเฉพาะข้าราชการถือว่าต่ำเกินไป และไม่ควรละเลย ผู้เกษียณอายุด้วย ขณะที่การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 9 บาท ถือว่าไม่เพียงพอ น่าจะศึกษาใหม่ให้มีการปรับตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้น และควรปล่อยให้ราคาสินค้าสูงขึ้น เพื่อให้ผู้ผลิตจะมีกำลังใจในการผลิต มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มผลผลิต

ขณะที่ธนาคารพาณิชย์จะกล้าปล่อยสินเชื่อ มีทุนวิจัยศึกษาผลผลิตที่ดี และเมื่อถึงจุดหนึ่ง เมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้นมาก ประชาชนจะประหยัดลงและถึงจุดอิ่มตัว และทำให้ราคาสินค้าหยุดเพิ่มขึ้นเอง ถือว่าเป็นจุดที่อุปสงค์และอุปทานจะมาเจอกันเอง

เมื่อถามถึง กรณีที่มีข่าวว่าต่างชาติจะมาปลูกข้าวในไทย นายธนินท์กล่าวว่า ไม่คิดว่าจะเป็นเช่นนั้น โดยเฉพาะประเทศซาอุดีอาระเบีย น่าจะมาซื้อข้าวมากกว่าปลูกข้าว เพราะไม่รู้จะเอาที่ไหนมาปลูก คนร่ำรวยแบบนี้จะทำนาเป็นที่ไหน น่าจะเจรจาแลกเปลี่ยนเป็นซื้อข้าวถูกเพื่อแลกกับการขายน้ำมันให้ในราคาถูกด้วย หรือมาทำสัญญาว่าจะรับซื้อข้าว ไม่เชื่อว่าคนอาหรับจะมาปลูกข้าวในไทย ถ้าจะมาซื้อก็ไม่มีอะไรมากมาย

ถ้าจะซื้อที่ดิน เพื่อปลูกข้าว น่าจะเป็นกัมพูชาหรือสาธารณรัฐประชา ธิปไตยประชาชนลาวมากกว่า

ส่วนข้อถามว่า อุตสาหกรรมเกษตรที่เข้าไปจะทำให้วิถีชีวิตชาวบ้านเปลี่ยนไปหรือไม่ นายธนินท์ กล่าวว่า "ผมเข้าไปมีแต่ทำให้เกษตรกรดีขึ้น เพราะต้องเข้าไปรับความเสี่ยง เพราะถ้าเข้าไปรับความเสี่ยง ชาวนาก็ได้ดี มีความรู้จริง เพราะราคาข้าว มันสำปะหลังที่สูงขึ้น เราไม่มีอำนาจไปบังคับเกษตรกรได้ เกษตรกรต้องเข้าร่วมด้วยความสมัครใจ และซีพีเองไม่สามารถยึดตลาดทั่วไทยได้ ทำได้แค่เพียง 20-30 เปอร์เซ็นต์ ก็ดีแล้ว และโลกนี้ไม่มีใครใหญ่คนเดียว เพราะเข้าไปต้องทำประโยชน์ให้เกษตรกรถึงจะเลือก ซึ่งปีแรกที่ร่วมก็พอใจ แต่ปีที่ 2 ชักไม่พอใจ สุดท้ายเราก็ต้องเพิ่มผลผลิตและเพิ่มรายได้ให้"

พิธีกรถามว่า ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นคิดว่าจะไปถึงราคาเท่าใด นายธนินท์กล่าวว่า คาดยาก ขอเรียนว่า วันนี้ที่ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น มีประเทศยุโรปและตะวันออกกลางร่ำรวยขึ้น มีรถยนต์เต็มท้องถนน อย่างจีนแต่ก่อนมีแต่จักรยาน แต่ตอนนี้รถติดไม่แพ้ไทย เพราะคนมีเงินมากขึ้น โอกาสจะใช้รถยนต์มีมากขึ้น ทั้งจีน อินเดีย ล้วนแต่ต้องการใช้พลังงานทั้งนั้น จึงยังมองไม่เห็นฝั่ง อยู่ที่ว่าราคาแพง คือ ประหยัด ซึ่งที่จริงมีการใช้พลังงานมาก คือ บ้าน ไม่ใช่รถยนต์ เพราะบ้านหลังใหญ่ มีการใช้ไฟฟ้า 24 ชั่วโมง ขณะที่รถยนต์แค่ขับไปทำงานแล้วจอดทิ้งไว้ ดังนั้นมันดีที่สุดที่จะมีการประหยัดพลังงานที่บ้าน

ถามว่าภาคธุรกิจเจอต้นทุนที่สูง จากราคาน้ำมันที่สูงมาก มีวิธีการประหยัดและลดต้นทุนอย่างไร นายธนินท์กล่าวว่า ต้องหาวิธีการประหยัดและเพิ่มประสิทธิภาพ หาวิธีเพิ่มผลผลิตจำนวนต่อหน่วยเพิ่มขึ้น อย่าคิดว่า ราคาน้ำมันจะถูกลงเท่าไหร่ แต่ต้องคิดว่าถ้าน้ำมันจะแพงอีก จะทำอย่างไร

เมื่อถามถึงประเทศไทยอยู่ในจุดที่มืดหรือสว่าง นายธนินท์ ตอบว่า เราอยู่ในจุดที่มืดกำลังสว่าง ถ้าเราใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในภาวะที่น้ำมันสูงขึ้น และใช้นโยบาย 2 สูงคือ เงินเดือนข้าราชการต้องสูงขึ้น และอย่าไปแทรก แซงราคาสินค้าให้ลง แต่ควรปล่อยให้สูงขึ้น เพื่อให้รัฐรวยขึ้น เพราะหากแทรก แซงให้ราคาลง รัฐจะเสีย 2 ต่อ คือ การจัดเก็บภาษีไม่ได้และจะนำเงินไปแทรกแซงไม่ให้สูงก็ไม่ได้ด้วย เพราะหากปล่อยให้ราคาสูง พอถึงจุดหนึ่งก็จะหยุดเอง ด้านพลังงานควรหาพลังงานทดแทนมากขึ้น ทั้งน้ำ ลม และนิวเคลียร์ เราคงต้องปั่นไฟด้วยนิวเคลียร์ เราต้องศึกษาการตัดต่อยีน เพื่อพัฒนา แม้ว่าเราจะมองว่าจะกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ แต่สหรัฐไม่สำคัญกว่าเราเหรอ แต่มีการพัฒนามากกว่าไทยเยอะมาก

ต่อข้อถามว่าจะแก้ปัญหาผลไม้ราคาตกต่ำ ได้อย่างไร นายธนินท์กล่าวว่า เราไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตผลไม้รายใหญ่ แต่ปัญหาราคาที่ตกต่ำเป็นเรื่องของการจัดการ ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างปลูก ทั้งที่ผลไม้เก็บเกี่ยวปีละครั้ง จึงออกมาชนกันเยอะ เราต้องสร้างทีมเก็บเกี่ยวที่เป็นอาชีพและตามฤดูกาล

เมื่อถามถึงสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน มีผลกระทบอย่างไร นายธนินท์ กล่าวว่า ท่องเที่ยวเสียหายแน่ มีอย่างที่ไหน ตอนนี้น้อย กว่ามาเลเซีย ท่องเที่ยวไทยเหมาะสมที่สุด ใครมาก็ประทับใจ เพราะบริการจากใจจริง ยิ้มแย้มแจ่มใส ซึ่งจีนมีประชากร 1,300 ล้านคน ที่กำลังรวยขึ้น หาก 100 ล้านคนมาไทย เราจะมีโรงแรมรองรับหรือไม่ ซึ่งท่องเที่ยวแจ่มใสแน่ ถ้าการเมืองสงบ ทั้งอินเดีย ยุโรป รัสเซีย ต่างก็มาไทยทั้งนั้น อาหรับก็มาไทย เพราะเป็นจุดศูนย์กลางการท่องเที่ยว ซึ่งจะดีที่สุด หากการเมืองนิ่ง

แต่โชคดีที่เรามีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เราต้องเทิดทูน มีศาสนาพุทธ ที่จะทำให้สิ่งที่วุ่นวายอยู่จะสงบ