หัวข้อ: บทสรุป ตู้ซับแบนด์พาสและตู้เปิด เริ่มหัวข้อโดย: aj anucha ที่ มิถุนายน 01, 2008, 10:27:12 pm ตู้เปิด vs ตู้แบนด์พาส
ผมยังคงใช้เวลาหลายวันในการตรึกตรอง สมควรสนองตอบกระทู้ท่านนี้หรือไม่ ? แม้เจ้าของกระทู้ได้ใช้สิทธิ์อันชอบธรรมในการอ้างสิ่งที่ผมได้พูดไปในรายการไฮไฟประดับยนต์ว่า ตู้แบนด์พาสดังกว่าตู้เปิด และหลังจากนั้นก็มีคนตอบแย้งผมมาว่า ตู้เปิดดังกว่าตู้แบนด์พาส ในรายการเดียวกัน โดยคนที่พูดแย้ง ได้แจงจากภาพที่เห็น จากการแข่งขันความดังหลายสถาบัน ที่ส่วนใหญ่ใช้ตู้เปิดกันนั้น คืนนั้น ทำให้เกิดข้อสงสัยในหมู่นักฟังรายการดังกล่าวทั่วล้า ผมได้รับรู้กระทู้นี้มาหลายวันจากคุณชานนท์ เจนกิตติยนต์ ในฐานะเจ้าของเว็บ แต่ ผมยังคงรักการเก็บตัวมากกว่าที่จะกระทู้ตอบ เพราะอาจถูกลอบโจมตี จากฝ่ายไหน ผมยังไม่รู้อยู่ถึงทุกวันนี้! จากการตรวจสอบ คุณชานนท์ เจนกิตติยนต์ ในฐานะเจ้าของเว็บไซต์ อยู่ระดับที่ไว้ใจได้ คงไม่ปล่อยให้เว็บไซต์ของตัว กลายเป็นเว็บไซต์ที่ด่าทอกันมั่ว กลายเป็นเว็บไซต์ถั่วๆในที่สุด ที่สุดผมคงต้องตอบ และเนื่องจากว่ากว่าผมจะตอบก็เสียเวลาไปหลายวัน ดังนั้นเพื่อไม่ให้กระทู้ตกหล่น ผมจึงหยิบเฉพาะกระทู้ขึ้นมาใหม่โดยไม่ได้สนใจคำตอบของอีกหลายท่านที่ตามหลังเข้ามาแสดงความคิดเห็น เมื่อพิจารณาอย่างเป็นธรรม วลีคำที่ผมได้พูดออกไปหรือแม้แต่คำพูดของบุคคลที่เห็นแย้งกับผมล้วน ถูกทั้งคู่ แต่สิ่งที่พูด ผูกเหลี่ยมไว้คนละเหลี่ยม จึงดูเหมือนว่า มีการขัดแย้ง แต่ข้อเท็จจริง เราเล่นกันคนละสนาม การตีความจึงเป็นคนละเรื่อง สนามที่ผมเล่นคือ สนามของการฟังเพลงทั่วไปในรถ ซึ่งมีเมโรดี้และโน๊ตเพลงกำกับ ส่วนสนามของคนที่พูดแย้งเป็นสนามการแข่งขัน ซึ่งผู้เข้าแข่งขัน ย่อมรู้แก่ใจว่า การแข่งขันความดังนั้น ใช้ความถี่เดียวเพียวๆในการตัดสิน ไม่ใช่โน๊ตเพลงและไม่มีเมโรดี้ เราเรียกความถี่ที่ใช้สำหรับการแข่งขันว่า รูปซายน์(sine wave) เรามาดูรายละเอียด หลักการและเหตุผลกันต่อไป ซึ่งผมจะพยายามใช้ภาษาให้ง่ายที่สุด ตู้แบนด์พาส เริ่มเล่นกันเมื่อประมาณ 74 ปีที่ผ่านมา เพื่อการฟังเพลง ลำโพงที่ใช้รูปแบบของตู้แบนด์พาสที่โด่งดังคือลำโพง Bose โดยใช้คุณสมบัติของตู้ปิดและตู้เปิดในแต่ละส่วน กรองความถี่ด้วยระบบตัวตู้เอง จึงทำให้ลำโพง Bose ซึ่งมีขนาดเล็ก แต่ผลิตกำลังงานได้ดังมาก โดยในส่วนของตู้เปิดใช้ค่าตัวเลขใดตัวเลขหนึ่งในการคำนวณ เรียกว่า S หรือ Band pass Ripple หรือ Variation in magnitude response หรือระดับการกระเพื่อมของขนาดของรูปคลื่น ส่วนตู้ปิดนั้น ใช้ค่าตัวเลขใดตัวเลขหนึ่งเป็นฐานคำนวณเช่นกันเรียกว่าค่า Qbp ค่า Qbp ที่ว่า จะเป็นค่าที่ใช้เป็นฐานการคำนวณ เพื่อกำหนดช่วงกว้างของความถี่สำหรับการใช้งาน(Band pass) ดังนั้น เมื่อระบบตู้มีการกรองความถี่ในตัวมันเองทั้ง 2 ส่วน คือตู้ปิดและตู้เปิด การตอบสนองความถี่ของตู้แบนด์พาส จึงมีความแตกต่างไปจากตู้เปิดและตู้ปิด ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัวของตู้แบนด์พาส เราจะพบว่าการตอบสนองความถี่ของตู้แบนด์พาสเป็นไปลักษณะของช่วงความถี่แคบๆ เช่น ตอบสนองความถี่ระหว่าง 40 160 Hz เป็นต้น ลักษณะการตอบสนองความถี่ช่วงแคบๆเช่นนี้ รูปคลื่นจึงมีลักษณะของการ พีค(Peak) ของรูปคลื่นหรือมีลักษณะเป็นภูเขาแหลมพุ่งสู่ท้องฟ้า ซึ่งมีผลต่อความดังที่มาพร้อมกับตัวของรูปคลื่นอย่างปราศจากข้อสงสัย เพราะเหตุใด ? เพราะเหตุว่า เมื่อลำโพงในตู้แบนด์พาสต้องทำงานภายในกรอบของตู้ปิดและตู้เปิดนั้น กำลังงานที่พุ่งตัวออกจากดอกลำโพง จะถูกกักด้วยระบบตู้ปิดและตู้เปิดไม่ให้ไปไหน แต่จะไหลออกจากท่อที่กำหนดเพียงทางเดียวเท่านั้น เมื่อกำลังงานที่เกิดจากหน้าดอกลำโพงทั้งหมด ถูกบังคับให้ออกเพียงทางเดียว อากาศจึงอยู่ในสภาวะถูก รีด อย่างแรงและฉับพลัน การรีดอากาศอย่างแรงและฉับพลันนี้เอง จึงทำให้ตู้แบนด์พาสมีประสิทธิภาพสูง นั่นก็คือมีความดังมากกว่าระบบตู้เปิด ซึ่งรูปคลื่นของตู้เปิด ไม่อยู่ในสภาวะของการถูกรีดอากาศเหมือนกับตู้แบนด์พาส เพราะการทำงานของตู้เปิด ดอกลำโพงจะถูกยึดอยู่ที่หน้าตู้อย่างเปิดเผย ไม่ได้อยู่ในตู้ที่ปิดทึบเหมือนตู้แบนด์พาสนั่นเอง ขอยกอุปมาอุปมัยง่ายๆ เพื่อเทียบเคียงให้เห็นภาพดังนี้ เหมือนเวลาพวกเรารดน้ำต้นไม้ เมื่อเราเปิดก๊อกน้ำ น้ำจะไหลมาตามสายยาง จะแรงมากแรงน้อยก็ขึ้นอยู่กับแรงดันของน้ำจากน้ำก๊อกที่เราเปิดเอาไว้ แต่เมื่อเราทำการบีบปากสายยางให้ตีบลงเมื่อไร เราจะพบว่า น้ำนั้น พุ่งแรงขึ้น ฉันใด รูปคลื่นที่ผ่านจากท่อ ที่บังคับให้อากาศออกทางเดียว จึงไม่ต่างไปจากการรีดของน้ำ เมื่อเราบีบสายยางให้ตีบลง ฉันนั้น เพราะรูปคลื่นถูกรีดออกมาจากตัวท่อเพียงทางเดียว อากาศที่ถูกรีดออกเพียงทางเดียวโดยผ่านท่อ จึงมีลักษณะของการพีคของรูปคลื่น เมื่อเราฟังเพลง เสียงเบสจากตู้แบนด์พาสจึงดังกว่าตู้เปิดด้วยเหตุผลนี้ แม้จะมีความดังมากกว่าตู้เปิดในแง่ทฤษฎีทางเสียง แต่เป็นความดังที่ได้จากตู้แบนด์พาส เสียงเบสจะดังแบบตึงๆ ห้วนๆสั้นๆ โด่งๆ ถ้าการคำนวณผิด เสียงเบสจะอื้ออึง เหมือนดังเพราะแรงลมมากกว่า ดังมาจากหน้าดอกลำโพง เพราะเหตุนี้ เสียงเบสที่ได้จากตู้แบนด์พาสจึงขาดน้ำหนักของเนื้อเบส โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงปะทะ ซึ่งเป็น 1 ในอุดมคติของเสียงเบสที่ดี ขอให้พวกเราสังเกตให้ดีจากรถของคุณหรือของเพื่อนฝูง ตั้งใจว่าจะอ้างสูตร แต่เปลี่ยนใจ เนื่องจากมันต้องอ้างอิงหลายสูตร ยากต่อการเข้าใจ จึงขออ้างอิงสำนวนฝรั่งที่พูดไว้ในตำรา ซึ่งผมขอตัดมาแค่บางประโยคเท่านั้น พิจารณาอ่านด้วยตัวของคุณเอง the efficiency of the subwoofer system within that bandwidth increases and can reach gains of up to 8 dB(sometime even higher) จาก JL Audio: Tutorials: Magic box Page 1 of 3 Acoustical gain can be built in. This means that one speaker can be as loud as four of more at a limited part the spectrum. จาก Kicker Enclosure Training ดังนั้น ตู้แบนด์พาสจึงดังกว่าตู้เปิด ไม่ว่าเราจะมองทางกายภาพของตู้ หรือมองจากสูตรการคำนวณ แต่พวกเราอาจจะสงสัย ทำไม! ตู้แบนด์พาส จึงไม่นิยมใช้ในการแข่งขันทั้งๆที่มันดังกว่าตู้เปิด แต่จะใช้ตู้เปิดเสียส่วนใหญ่ คำตอบมีให้ ณ บัดนี้ และตั้งใจอ่านให้ดี อ่านช้าๆ และจินตนาการตามด้วย แม้ตู้แบนด์พาสจะใช้วิธีรีดอากาศออกจากตู้โดยผ่านท่อ ก่อให้เกิดความดังกว่าตู้เปิดในแง่ของสูตรและการใช้งานในการฟังเพลง แต่ตู้แบนด์พาสก็ไม่ได้รับความนิยมสำหรับการแข่งขัน เพราะตู้แบนด์พาสมีจุดอ่อน 2 จุด 1.- การตอบสนองความถี่ของตู้แบนด์พาส เป็นช่วงแคบๆ จึงขาดน้ำหนัก และยากต่อการควบคุมความถี่เพียงความถี่เดียวเพียวๆ จากแผ่นที่ใช้สำหรับการแข่งขัน ซึ่งนักแข่งขันความดังทุกคนรู้ดี 2.- กำลังงานของตู้แบนด์พาสทำงานเพียงฐานเดียว คือ รูปคลื่นที่ไหลออกมาจากท่อเท่านั้น แรงปะทะจากหน้าดอกลำโพงจึงไม่มี เพราะดอกลำโพงทำงานอยู่ภายใต้กรอบของตู้ปิดและตู้เปิด ความถี่ที่เกิดจากการเดินทางผ่านท่อ จึงขาดแรงกระแทกกระทั้นจากหน้าดอกลำโพง ดังนั้น ตู้แบนด์พาสจึงขาดอำนาจของแรงปะทะอย่างสิ้นเชิง แม้ตู้เปิดจากดังน้อยกว่าตู้แบนด์พาส ในแง่ทฤษฎีทางเสียง หรือ เมื่อใช้การฟังเพลงทั่วไป แต่สำหรับการแข่งขันแล้ว ตู้เปิดกลับมีจุดเด่นดังนี้ 1.- มีรูปคลื่นยาว การควบคุมเฟสเพื่อไปปะทะตัวเซ็นเซอร์ จะควบคุมได้ง่าย 2.- จูนความถี่เดียวเพียวๆสำหรับการแข่งขันได้แม่นยำกว่า 3.- มีหน้าดอกลำโพงช่วยเกื้อหนุนให้เกิดแรงปะทะที่ทรงอำนาจอีกชั้น คุณจะพบว่า นักแข่งขันจะหันหน้าดอกลำโพงพุ่งเป้าไปยังตัวเซ็นเซอร์จับความดังเสมอ แต่สำหรับตู้แบนด์พาสแล้ว คุณจะหันหน้าตู้ไปทางไหน คุณจะไม่เห็นหน้าดอกลำโพงเลย ดังนั้น หน้าดอกของลำโพงในตู้แบนด์พาส จึงไร้ประโยชน์เมื่อมองจากภาพการแข่งขันทันที ตู้แบนด์พาส อุปมาเหมือนนักมวยช่วงสั้น มักจะใช้วิธีเข้าชกวงใน การชกวงใน น้ำหนักหมัดจึงขาดความรุนแรง ยากที่จะน๊อคคู่ต่อสู้ได้ ตู้เปิด อุปมาเหมือนนักมวยช่วงยาว ย่อมปล่อยหมัดตรงได้ดีกว่า การทิ่มด้วยหมัดตรงจึงมีแรงปะทะสูง และเมื่อปล่อยหมัดพร้อมกันในเวลาเดียวกัน หมัดของนักมวยช่วงยาวจะถึงหน้าของนักมวยช่วงสั้นก่อนเสมอฉันใด การน๊อคคู่ต่อสู้ด้วยหมัดตรง จึงเป็นเรื่องที่ง่าย นี่คือเหตุผล ทำไม! ตู้เปิดจึงนิยมใช้ในการแข่งขันมากกว่าตู้แบนด์พาส ทั้งๆที่ตัวระบบของตู้เปิดดังน้อยกว่าตู้แบนด์พาส ไม่ว่าจะมองผลทางการคำนวณและวีธีรีดกำลังงาน ดังนั้น ถ้าป้อนความถี่เดียวเพียวๆ ตู้เปิดดังกว่าตู้แบนด์พาส เพราะเหตุนี้ ผู้ที่ตอบแย้งกับผม จึงถูกต้องในส่วนของภาพของการแข่งขันความดัง ดังนั้น ถ้าเป็นการฟังเพลงทั่วๆไป ตู้แบนด์พาสดังกว่าตู้เปิด และวันที่ผมตอบในรายการไฮไฟประดับยนต์ ผู้ถามถามถึงการใช้งานเพื่อการฟังเพลง ไม่ใช่การแข่งขัน ดังนั้น คำตอบของผมจึงชอบธรรม และพวกเราทั้งหมดที่พูดคุยกันในเรื่องของตู้เปิดและตู้แบนด์พาสในขณะนี้ เรากำลังพูดคนละหัวเรื่อง ทั้งๆที่เป็นคนละเรื่อง แต่พวกเราก็พยายามโยงให้มันเป็นเรื่องเดียวกัน เชื่อว่า การตอบกระทู้ของผมครั้งนี้ คงคลี่คลายความสับสนเรื่องของตู้เปิดและตู้แบนด์พาสเบาบางลงไปบ้าง เรื่องของการแข่งขัน ตู้ทุกประเภทมีสิทธิ์ชนะการแข่งขัน ขอให้รู้จริงและเก่งจริงเท่านั้น หัวข้อ: Re: บทสรุป ตู้ซับแบนด์พาสและตู้เปิด เริ่มหัวข้อโดย: aj anucha ที่ มิถุนายน 01, 2008, 10:30:55 pm ลองพิจารณาดูครับ...เห็นว่ามีประโยชน์เลยเอามาฝาก smiley4
หัวข้อ: Re: บทสรุป ตู้ซับแบนด์พาสและตู้เปิด เริ่มหัวข้อโดย: Thawach ที่ มิถุนายน 02, 2008, 03:08:54 am ข้อความทั้งหมดนี้ พี่ให้ความเห็นว่ามีบางอย่างที่เห็นด้วยเเละบางอย่างไม่เห็นด้วย
อ้างถึง ความดังที่ได้จากตู้แบนด์พาส เสียงเบสจะดังแบบตึงๆ ห้วนๆสั้นๆ โด่งๆ ไม่เเน่เสมอไปมันอยู่ที่การออกเเบบมากกว่าว่าต้องการอะไรจากการออกเเบบ อ้างถึง ดังนั้น ถ้าเป็นการฟังเพลงทั่วๆไป ตู้แบนด์พาสดังกว่าตู้เปิด ไม่จริงเสมอไปลองพิจารณาbandpass sub ที่ใช้กับ roger ดู เป็นไปไม่ได้ที่ roger จะออกเเบบซับเพื่อฆ่าตัวเอง เเละเป็นไปไม่ได้ที่ roger จะทําซับเสียงห้วนๆสั้นๆหรือมี่ค่า SPL สูงกว่าลําโพงหลักเพื่อกลบรายละเอียดลําโพงเล็กของตัวเอง สรูปคือพูดมั่วเเบบคิดไปเอง ok เห็นด้วยที่ว่าเเรงปะทะตู้เปิดดีกว่าbandpass(พี่เคยบอกไว้นานเเล้ว) ส่วนเรื่องการทําเเข่งพี่ไม่ออกความเห็นเพราะพี่ไม่ได้ยืนอยู่จุดนี้ หัวข้อ: Re: บทสรุป ตู้ซับแบนด์พาสและตู้เปิด เริ่มหัวข้อโดย: Thawach ที่ มิถุนายน 02, 2008, 03:12:25 am อ้างถึง ลำโพงที่ใช้รูปแบบของตู้แบนด์พาสที่โด่งดังคือลำโพง Bose โดยใช้คุณสมบัติของตู้ปิดและตู้เปิดในแต่ละส่วน พี่ไม่ทราบว่าเขาพูดถึง bose รุ่นไหน ไม่เคยเห็นเลย bose รุ่นดังกล่าว ไม่ทราบว่าเขารู้หรือไม่ bose ออกเเบบตู้ด้วยระบบไหน เท่าที่ทราบ bose ไม่เคยทําตู้ที่มีส่วนของห้องปิดเลย ป.ล เขียนยังเขียนไม่ถูกเลย box กับ chamber ใช้ศัพท์ตัวเดียวกันผสมกันมั่ว หัวข้อ: Re: บทสรุป ตู้ซับแบนด์พาสและตู้เปิด เริ่มหัวข้อโดย: aj anucha ที่ มิถุนายน 02, 2008, 09:29:24 am ครับ...มีท่านอื่นอีกไหม๊ครับ ;) tongue3
หัวข้อ: Re: บทสรุป ตู้ซับแบนด์พาสและตู้เปิด เริ่มหัวข้อโดย: Thawach ที่ มิถุนายน 02, 2008, 05:38:33 pm ประวัติของ dr.amar bose พี่จําได้ดี ติดตามมาตั้งเริ่มตั้งบริษัทใหม่ ก่อนจะปล่อย bose 901 ออกมาภายหลัง ลําโพงที่bandpassที่ bose ทําเขาจะใช้ชื่อระบบว่า multi chamber โดยเเบ่งห้องออกเป็น 3 ห้อง จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ได้เปลี่ยนเป็น wave guide technology ซึ่งดูคล้ายระบบ Transmission line เเละก่อนที่ bose จะทําระบบbandpass ก่อนนั้นได้มีลําโพงอีกยี่ห้อหนึ่งได้ทําbandpassเเละเจาะทะลวงกลุ่มในระดับ hi-end นั่นคือลําโพงยี่ห้อ kef 104/2 ที่ยังคงเป็นตํานานจนถึงทุกวันนี้ ลําโพงรุ่นนี้ใช้วูฟเฟอร์ 8 นิ้ว 2 ตัว ลองดูสเปค ความไว 92 ดีบี ถ้าสมมุติเขาใช้ดอกเพียงดอกเดียว ความไวจะเหลือเเค่ 92-3=89 db ถามว่าที่เขาออกเเบบไว้มันดังถล่มทลายเลยใช่มั๊ยกับความไว้ 89ดีบี/ข้าง?
หัวข้อ: Re: บทสรุป ตู้ซับแบนด์พาสและตู้เปิด เริ่มหัวข้อโดย: KIKDH ที่ มกราคม 19, 2011, 09:57:38 pm พวก Sub ของเขาอ่ะหรอ
ไม่น่ามีรุ่นไหนใช้ตู้ปิดเลยนะแต่ใช้หลักการอคูสติคมากกว่ามั๊ง ถ้าดูผิวๆในตระกูลแอมป์คล้ายๆ ตู้ Bandpass เลยมีรูเบสออกมาทางเดียว kiss6 shocked2 thank2 |