หัวข้อ: สาเหตุการเกิด Bad Sector ในฮาร์ดดิสก์(คัดลอกมาจากบอร์ดเดิม) เริ่มหัวข้อโดย: winai4u-LSV team ที่ มกราคม 21, 2007, 01:04:51 pm สาเหตุการเกิด Bad Sector ในฮาร์ดดิสก์
สำหรับผู้ ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน คงไม่มีใครไม่รู้จักฮาร์ดดิสก์ เพราะเป็นอุปกรณ์พื้นฐานตัวสำคัญในการที่ จะเก็บรักษาข้อมูลอันมีค่าไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้เราสามารถนำเอามาใช้ได้ทุกเมื่อที่เราต้องการ แต่ปัญหาสำคัญของฮาร์ดดิสก์ ในปัจจุบันที่เรามักจะพบกันได้บ่อยๆ และเป็นปัญหาที่คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ก็คือฮาร์ดดิสก์ เกิด Bad Sector ซึ่งจะส่งผลให้ข้อมูลที่เรามีอยู่ในเครื่องเกิดสูญหายไป ดังนั้นเราน่ามีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้ โดยมาดูกันว่าสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดปัญหา Bad Sector มีอะไรกันบ้าง 1. สินค้าฮาร์ดดิสก์ เป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหวต่อแรงกระแทกค่อนข้างมาก ดังนั้น ไม่ควรกระทำการใดๆ ที่ทำให้เกิดแรงกระแทกต่อตัวฮาร์ดดิสก์ เพราะจะทำให้เกิดปัญหา Bad Sector ได้ง่าย ตัวอย่างของแรงกระแทก ได้แก่ 1.1 กรณีที่ตัวเคสวางอยู่ใต้โต๊ะทำงาน แล้วขาไปกระแทกเคส ในขณะที่เครื่องกำลัง อ่านหรือเขียนข้อมูลอยู่ 1.2 กรณีที่มีการขนย้ายเครื่อง ตัวฮาร์ดดิสก์จะไม่มีตัวป้องกันแรงกระแทกเลย เนื่องจากตัวมันเองจะถูกยึดติดอยู่กับเคส และตัวเคส ส่วนใหญ่เวลาที่มีการเคลื่อนย้าย มักไม่มีการหีบห่อใดๆ เลย 1.3 กรณีที่เป็นสินค้าใหม่ ถ้ามาจากโรงงาน จะมีกล่องใสๆ ห่อหุ้มอยู่ เพื่อกันแรงกระแทก ซึ่งเรียกว่า SeaShell คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่ามีไว้ทำไม จึงไม่ค่อยใส่ฮาร์ดดิสก์ในกล่องนี้ ทำให้เกิดแรงกระแทกได้ง่าย 1.4 ในกรณีที่มีการเปลี่ยนอุปกรณ์ภายในเคส ก็มักจะมีการเปิดฝาเคสไว้เพื่อความสะดวก แล้วก็ทำการเปิดเครื่องดูว่าเครื่องสามารถทำงานได้ตามความ ต้องการหรือไม่ ในกรณีที่การติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ยังไม่เรียบร้อย ซึ่งมักพบเห็นได้บ่อยๆ ว่าช่างที่ติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ จะมีการเคลื่อนย้าย ขยับ หรือหมุนตัวเคส ไป-มา ทั้งๆ ที่ยังเปิดเครื่องอยู่ ซึ่งตรงนี้จะก่อให้เกิดแรงกระแทกระหว่างหัวอ่านกับจาน ของฮาร์ดดิสก์ และทำให้เกิด Bad Sector ตามมา 1.5 การติดตั้งโดยที่ขันน๊อตไม่ครบ ทั้ง 4 ตัว โดยปกติในการติดตั้งฮาร์ดดิสก์เข้ากับตัวเคสเราจะต้องยึดน๊อตทั้งหมด 4 ตัว เพื่อให้เกิดความมั่นคงและแข็งแรง แต่ในบางครั้งเราก็พบว่ามีการยึดน๊อตเพียง 2 ตัวเท่านั้น ทั้งนี้อาจจะเป็น เพราะข้อจำกัดของเคสที่ออกแบบมาไม่ดีมีรูยึดอุปกรณ์ไม่ครบก็ได้ ดังนั้นในการเลือกซื้อเคส ให้พิจารณาเรื่องรูสำหรับยึดน๊อตของอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย เมื่อเรายึดน๊อตไม่ครบ ปัญหา ที่ตามมาคือตัวฮาร์ดดิสก์จะมีการสั่นคลอนและเกิดเสียงดังเวลา ที่ทำงาน และจะเกิดแรงสั่นสะเทือน เมื่อใช้ไปนานๆ จะก่อให้เกิดปัญหา Bad Sector ได้เช่นกัน 2. อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ทุกชนิด ต้องการแรงดันไฟเพื่อนำไปเลี้ยงให้กับส่วนต่างๆ ทำงาน ดังนั้นแรงดันไฟ จึงมีผลต่อประสิทธิภาพและการทำงานของฮาร์ดดิสก์เป็นอย่างมาก ตัวอย่างของ Bad Sector ที่มีสาเหตุเกี่ยวเนื่องมาจากแรงดันไฟ ได้แก่ 2.1 เกิดไฟฟ้าดับระหว่างที่ฮาร์ดดิสก์ กำลังเขียนข้อมูล ทำให้ ณ จุดที่กำลังเขียนข้อมูลอยู่นั้นไม่สมบูรณ์ ครั้งต่อไปที่ในอ่านข้อมูล ตรงนี้ ระบบก็จะไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าข้อมูลตรงนี้ เขียนว่าอย่างไร และจะรายงานผลออกมาว่าเป็น Bad Sector 2.2 เกิดไฟกระชาก ( ซึ่งอาจเกิดจากมีฟ้าแลบ หรือฟ้าผ่า บริเวณใกล้บ้านท่าน แล้วเกิดไฟฟ้าแรงสูงวิ่งมาตามสายไฟ มาเข้าบ้านท่าน) ขณะที่กำลัง เขียนข้อมูล ก็จะเกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกับข้อ 2.1 2.3 ตัวจ่ายไฟ (Power Supply) เกิดความบกพร่อง โดยอาจจะจ่ายไฟ ออกมาไม่สม่ำเสมอ ในขณะที่กำลังเขียนข้อมูล ซึ่งมักจะเกิดขึ้น ขณะที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้ามากๆ พร้อมๆ กัน เช่น ขณะที่เขียนข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ ก็มีการอ่านข้อมูลจากซีดีด้วย พร้อมๆ กัน หรือมีการ Eject ซีดี ซึ่งช่วงที่มอเตอร์ ทุกชนิดกำลังจะเริ่มหมุน จะมีการดึงกระแสไฟมากกว่าปกติ ซึ่งเรื่องนี้ ผู้ใช้งานหลายๆ คนมักจะมองข้ามความสำคัญของ ตัวจ่ายไฟ ส่งฮาร์ดดิสก์มาเคลม แล้ว เคลมอีก ใช้แป๊บเดียวก็จะเสียอีกเช่นเดิม หมายเหตุ อาการ Bad Sector ที่เกิดจากสาเหตุในหัวข้อนี้ มักจะสามารถแก้ไขได้ โดยใช้โปรแกรม ที่ทาง Seagate แนะนำให้ใช้ คือ โปรแกรม Disk Manager ซึ่งรายละเอียดเรื่องวิธีการใช้โปรแกรมนี้ จะนำมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไปครับ 3. การติดตั้งที่ไม่ระวังจนทำให้ฟอยด์ที่เป็นอลูมิเนียมด้านข้างฮาร์ดดิสก์ เกิดการฉีกขาด จนเป็นรู ทำให้อากาศภายนอกเข้าไปในฮาร์ดดิสก์ ซึ่งอากาศที่เข้าไปในฮาร์ดดิสก์จะมีพวกฝุ่นผงอยู่ ทำให้ไปแทรกอยู่ระหว่างหัวอ่านกับตัวจาน เมื่อมีการหมุนก็จะทำให้เกิดรอยบนจาน กลายเป็น Bad Sector ซึ่งในกรณีนี้ ทางโรงงานผู้ผลิต ถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไขการรับประกัน เนื่องจากการเก็บรักษาและใช้งานที่ไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดความเสียหายต่อฮาร์ดดิสก์ และไม่รับเคลม ดังนั้นท่านผู้ใช้ต้องระวังเรื่องนี้ให้มากๆ รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะของการผิดเงื่อนไขการรับประกัน 1. ฟอยด์ ด้านข้างขาด หรือทะลุ จนมีรูให้อากาศเข้าไปภายในฮาร์ดดิสก์ 2. ยางหุ้มสีดำ ฉีกขาด หรือหลุดหาย 3. ซีเรียลของสินค้า ด้านบนและด้านของของตัวฮาร์ดดิสก์ ไม่ตรงกัน 4. มีร่องรอยของการแกะ ฮาร์ดดิสก์ 5. มีรอยกระแทก จน ยุบ , บุบ ,งอ ,หรือบิ่น 6. ตัวลาเบลด้านบนมีรอยย่น เนื่องจากมีการถอดยางหุ้ม 7. Connector มีรอยแตก หรือหัก หรือเข็มงอ , หาย 8. มีรอยหยอดกาวที่คอนเนคเตอร์ 9. บาร์โค้ด ด้านข้างของตัวฮาร์ดดิสก์ หายไปทั้งแถบ 10. มีรอยไหม้บนตัวอุปกรณ์ 11. มีคราบของเหลว หรือสนิม บนตัวอุปกรณ์ ดังนั้น เพื่อให้ฮาร์ดดิสก์ที่ท่านใช้อยู่ สามารถเก็บรักษาข้อมูลอันมีค่าให้ท่านใช้งานได้ยาวนานที่สุด จึงควรพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวไว้ด้านบนเป็นดีที่สุดครับ |