หัวข้อ: ขึ้นค่าโดยสารรถสาธารณะส่งผลต่อเงินเฟ้อ เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ พฤษภาคม 21, 2008, 10:12:26 pm ขึ้นค่าโดยสารรถสาธารณะส่งผลต่อเงินเฟ้อ
15:43 น. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ทำรายงานผลกระทบเงินเฟ้อจากการปรับเพิ่มขึ้นของรถโดยสารสาธารณะ ว่า หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ได้มีมติอนุมัติปรับขึ้นค่าโดยสาร แบ่งเป็น รถโดยสารของ ขสมก. และรถร่วมบริการ ขสมก. ปรับเพิ่มขึ้น 1.50 บาทตลอดสาย ขณะที่รถมินิบัส รถโดยสารขนาดเล็ก และรถปรับอากาศปรับเพิ่มขึ้น 1 บาท ส่วนรถร่วมบริการ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ปรับเพิ่มขึ้น 3 สตางค์ต่อกิโลเมตร โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค. 2551 เป็นต้นไปนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ถึงผลของการปรับขึ้นค่าโดยสารสาธารณะดังกล่าว โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้ ุ การปรับขึ้นค่าโดยสารรถประจำทางดังกล่าวอาจจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.4 โดยจากการที่มติข้างต้นมีผลตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2551 นั้น ผลต่อค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคน่าจะเห็นชัดเจนในเดือนมิถุนายน โดยคาดว่าจะมีผลทำให้ดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภค ในเดือนมิถุนายน 2551 ปรับเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม และจะทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายนยังคงสูงเกินร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ุ นอกเหนือจากปัจจัยในด้านราคาน้ำมัน ราคาอาหาร โดยเฉพาะข้าว และการปรับขึ้นค่าจ้าง ที่ส่งผลกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อมาก่อนหน้านี้แล้ว การปรับค่าโดยสารจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้มีความเป็นไปได้สูงขึ้นที่อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยตลอดทั้งปี 2551 จะโน้มเอียงเข้าสู่กรอบบนของประมาณการ ที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ไว้อยู่ในช่วงร้อยละ 5.0-5.8 ุ ทั้งนี้ ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นในระยะที่ผ่านมา ส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาระค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยจากการประเมินของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ปัจจุบันค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทางและยานพาหนะ มีสัดส่วนโดยเฉลี่ยสูงถึง 1 ใน 5 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของภาคครัวเรือนไทย จากที่เคยมีสัดส่วนร้อยละ 13.9 ในปี 2545 |