พิมพ์หน้านี้ - หลอด LED ภาคปฏิบัติ......................

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

ห้องโครงงาน - D.I.Y.- เทคโนโลยี่ => ►ถาม-ตอบโครงงาน => ข้อความที่เริ่มโดย: BenQ ที่ มีนาคม 04, 2007, 10:52:58 pm



หัวข้อ: หลอด LED ภาคปฏิบัติ......................
เริ่มหัวข้อโดย: BenQ ที่ มีนาคม 04, 2007, 10:52:58 pm
การนำ LED หลาย ๆ ตัวมาต่อใช้งานร่วมกัน

รูปที่ 1 แสดงการนำ LED หลาย ๆ ตัวมาต่ออนุกรมกัน โดยใช้ตัวต้านทานจำกัดกระแสเพียงตัวเดียวเท่านั้น

LED สามารถนำมาใช้งานพร้อมกันในคราวเดียวหลาย ๆ ตัวได้โดยนำ LED มาต่ออนุกรมกัน และใช้แหล่งจ่ายแรงดันแหล่งเดียวในการไบแอสให้ LED ทำงานดังแสดงในรูปที่ 10 โดยแหล่งจ่ายแรงดัน จะต้องมีแรงดันมากกว่าผลรวมของแรงดันไบแอสตรงของ LED แต่ละตัว เพราะจำทำให้แหล่งจ่ายแรงดัน ไม่สามารถไบแอสให้ LED ได้เพียงพอ แต่ก็สามารถแก้ไขได้โดยนำวงจรเหล่านี้มาต่อขนานกัน

รูปที่ 2 วงจรขับ LED หลายตัวพร้อมกันแต่การต่อแบบนี้วงจรจะกินกระแสค่อนข้างสูง

การนำ LED หลาย ๆ ตัวมาใช้งานพร้อม ๆ กันอีกแบบหนึ่งก็คือ การนำวงจรพื้นฐานจาก รูปที่ 2 มาต่อขนานกันดังแสดงใน รูปที่ 11 แต่การต่อวงจรแบบนี้ค่อนข้าง จะกินกระแสมาก คือเท่ากับผลรวม ของกระแสที่จ่ายให้แก่ LED แต่ละตัว


รูปที่ 3 วงจรลักษณะนี้ไม่สามารถทำให้ LED แต่ละตัวทำงานได้เท่า ๆ กันเพราะกระแสจะไหลมากใน LED ตัวที่มีแรงดันฟอร์เวิร์ดต่ำที่สุด

รูปที่ 3 แสดงการนำ LED หลาย ๆ ตัวมาใช้งานพร้อม ๆ กันอย่างไม่ถูกต้อง จากวงจรจะเห็นได้ว่า LED ไม่มีทางที่จะทำงานพร้อม ๆ กันได้ เพราะแรงดันไบแอสตรงของ LED แต่ละตัวจะมีค่าไม่เท่ากัน ในกระบวนการผลิตก็ไม่สามารถทำให้ LED ทุกตัวมีค่าแรงดันไบแอสตรงเท่ากันพอดีได้ ซึ่งจะทำให้มี LED ตัวใดตัวหนึ่งกินกระแสมากกว่าตัวอื่น ๆ และทำให้ LED ตัวที่เหลืออยู่ได้รับกระแสเพียงเล็กน้อยหรือ อาจไม่ได้รับกระแสเลยหากแรงดันไบแอสของ LED ต่างกันมาก

http://electronics.se-ed.com/contents/140s135/140s135_p04.asp