หัวข้อ: ปิดเทอมเดือนเดียวทำเด็กอ้วนขึ้นเกือบ2กิโลกรัม เริ่มหัวข้อโดย: แวมไพร์-LSVteam♥ ที่ เมษายน 04, 2008, 06:12:23 am ปิดเทอมเดือนเดียวทำเด็กอ้วนขึ้นเกือบ2กิโลกรัม
(http://www.komchadluek.net/images2007/komchadluk_r1_c3.jpg) ตะลึงปิดเทอมใหญ่แค่เดือนเดียวทำเด็กอ้วนขึ้นเกือบ2 กิโลกรัม เหตุมีพฤติกรรมกินตามใจปาก บริโภคของหวาน ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม แถมพ่อแม่ตามใจให้กินของหวานเต็มที่ แพทย์เตือนหากไม่เร่งดูแลอาจเสี่ยงโรคติดต่อที่รักษายาก แถมการเจริญเติบโตอาจชะงักลง หวั่นช่วงปิดเทอมอีก 2 เดือนอาจทำเด็กอ้วนขึ้น 4 กิโล ปัญหาเด็กมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากการบริโภคที่ไม่ถูกหลักดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองไม่คอยให้ความสนใจ และละเลย เนื่องจากเห็นว่าเด็กมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่เรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้าม เมื่อผลวิจัยออกมายืนยันว่า เด็กที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากการบริโภคตามใจนั้น อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บที่ตามมาได้ ล่าสุดพบว่าจากพฤติกรรมการกินดังกล่าวทำให้เด็กมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเกือบ 2 กิโลกรัม ในช่วงปิดเทอมใหญ่ได้เพียง 1 เดือนเท่านั้น เมื่อวันที่3 เมษายนที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานแถลง ปิดเทอมใหญ่หัวใจพ่อ-แม่ว้าวุ่น นายพเนศ ต.แสงจันทร์ผู้อำนวยการโรงเรียนแสงวิทยา จ.สระบุรีเปิดเผยว่า จากการทำวิจัยพฤติกรรมของเด็กช่วงปิดเทอมในเดือนตุลาคม พ.ศ.2550 ด้วยการสุ่มตัวอย่างผู้ปกครองและเด็กอนุบาล-ม.3 จำนวน1,300 คนพบว่าช่วงปิดเทอม 1 เดือนน้ำหนักของเด็กเพิ่มมากขึ้นโดยเฉลี่ย 1.5 กิโลกรัมสูงสุดเกือบ 2 กิโลกรัมแยกย่อยเป็นอนุบาลน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1.39 กิโลกรัมป.1-ป.3 เพิ่ม1.52 กิโลกรัมป.4-ป.6 เพิ่มขึ้น1.60 กิโลกรัมและ ม.ต้น1.89 กิโลกรัมซึ่งไม่สัมพันธ์กับส่วนสูงที่ไม่เพิ่มขึ้นเลยในช่วงปิดเทอม ผู้อำนวยการโรงเรียนแสงวิทยากล่าวอีกว่าส่วนหนึ่งเนื่องจากช่วงปิดเทอมผู้ปกครองส่วนใหญ่ให้เด็กรับประทานข้าวเหนียวหมูปิ้ง และก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารเช้า เพราะง่ายต่อการจัดหา แต่ก๋วยเตี๋ยวที่เด็กรับประทานโดยเฉพาะเด็กอนุบาล จะรับประทานแต่เส้น ไม่รับประทานผักหรือสัตว์ จึงได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน แต่ได้รับเฉพาะคาร์โบไฮเดรตเท่านั้น ขณะที่อาหารมื้ออื่นผู้ปกครองต้องทำงานนอกบ้าน จึงให้เงินบุตรหลานไว้ซื้ออาหารรับประทานเองตามอัธยาศัย เด็กส่วนใหญ่เกือบ 70% เลือกซื้ออาหารกินกรุบกรอบและน้ำอัดลมส่งผลให้เป็นการเสริมความอ้วนโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ กลายเป็นเด็กอ้วนสุขภาพอ่อนแอ แม้โรงเรียนจะสามารถคุมปริมาณการกินน้ำตาลให้เด็กอย่างได้ผลแต่เมื่อเด็กกลับไปอยู่ที่บ้านโดยเฉพาะวันหยุดเด็กจะมีพฤติกรรมกินหวานเกินปริมาณที่กำหนดได้อีก เพราะผู้ปกครองจะให้เงินเด็กมากกว่าไปโรงเรียนบางคนได้มากถึง 100 บาทต่อวันและมักมีน้ำอัดลมไว้ในตู้เย็นและเตรียมขนมไว้ให้ลูกรับประทาน เด็กสามารถเลือกกินได้ตามอำเภอใจ บวกกับกิจกรรมช่วงปิดเทอมมีแค่ดูทีวี นอน เล่นอินเทอร์เน็ต ขาดการออกกำลังกาย ทำให้เด็กอ้วน ปิดเทอมเพียงเดือนเดียวน้ำหนักขึ้นเกือบ 2 กิโลกรัมช่วงปิดเทอมใหญ่ 2 เดือนเด็กอาจจะน้ำหนักขึ้นเกือบ 4 กิโลกรัม นายพเนศกล่าว ผศ.ทญ.ปิยะนารถจาติเกตุ เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กล่าวว่า จากการสำรวจ พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มของเด็กขณะอยู่ที่บ้าน ของนักเรียนชั้นป.6-ม.3 ใน14 จังหวัดจำนวน 8,400 คนพบว่า นอกจากน้ำเปล่า เครื่องดื่มที่เด็กดื่มเป็นประจำได้แก่ นมจืด 61% นมเปรี้ยว55% นมปรุงแต่งรสหวาน51% น้ำอัดลม51% น้ำหวานน้ำผลไม้ น้ำปั่น 46% นมถั่วเหลือง44% ซึ่งเด็กมากกว่าครึ่งเลือกดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้เพราะหยิบง่าย คิดว่าดื่มแล้วแข็งแรง ชอบรสชาติ อยากตัวโต อยากฉลาด และดื่มตามพ่อแม่หรือบุคคลในบ้าน ขณะที่การสำรวจถึงเหตุผลในการเลือกซื้อเครื่องดื่มของผู้ปกครอง 639 คนพบว่า 72% มีน้ำอัดลมอยู่71% ซื้อเพราะมีประโยชน์ต่อร่างกาย62% เลือกตามที่เด็กชอบ หากเด็กมีโอกาสดื่มน้ำอัดลมมากเป็นเหมือนวงจรอุบาทว์พ่อแม่ซื้อเพราะเด็กชอบ เด็กดื่มเพราะพ่อแม่ซื้อมาเก็บไว้ให้ การแก้ปัญหาจึงควรตัดตอนที่พ่อแม่ไม่ควรซื้อเครื่องดื่มรสหวาน และขนมมากักตุนไว้ให้ลูก หรืออย่างน้อยควรสร้างวินัยการกินให้ลูก ด้วยวิธีการต่อรอง เช่น วันนี้ดื่มน้ำอัดลมได้ 1 แก้วเท่านั้น ผศ.ทญ.ปิยะนารถกล่าว ด้านนพ.สุริยเดวทริปาตี หัวหน้าคลินิกเพื่อนวัยทีน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ในฐานะโฆษกเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กล่าวว่า การมีวินัยในการรับประทานเป็นบันไดขั้นแรกของการฝึกทักษะทางอารมณ์หรืออีคิวให้เด็ก และป้องกันพวกเขาจากผลกระทบของโรคอ้วน ความอ้วนนอกจากเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่นเบาหวาน เด็กที่มีน้ำหนักเกินหากป่วยเป็นโรคติดต่อ เช่น ไข้เลือดออก โรคหอบ จะรักษายากกว่าเด็กน้ำหนักปกติ ซึ่งเด็กที่มีน้ำหนักเพิ่มมากจากการกินที่ไม่เหมาะสม จะมีผลต่อส่วนสูง ร่างกายจะโตไม่เต็มศักยภาพ เช่น จากที่ควรสูงได้ถึง 160 ซม. จะเหลือ155 ซม. เพราะกระดูกจะปิดเร็วขึ้นซึ่งการจะลดปัญหาเด็กอ้วนควรปฏิบัติ 3 ไม่3 ต้อง1.ไม่กินหวานมัน เค็ม ต้องกินผัก ผลไม้ ทุกวัน 2.ไม่ดูทีวีเน็ต เพลิน ต้องออกกำลังกายวันละครึ่งชั่วโมง และ3.ไม่คร่ำเคร่งกับการเรียนแต่ต้องทำกิจกรรมสร้างสรรค์ในชุมชน |