พิมพ์หน้านี้ - คุณหมอขา…(ภาษาเป็นเหตุ)

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

นานาสาระ => ขำขัน => ข้อความที่เริ่มโดย: winai4u-LSV team ที่ มกราคม 22, 2008, 03:21:45 pm



หัวข้อ: คุณหมอขา…(ภาษาเป็นเหตุ)
เริ่มหัวข้อโดย: winai4u-LSV team ที่ มกราคม 22, 2008, 03:21:45 pm
 ในวงการแพทย์นั้นมีภาษาดอกไม้ ภาษาปากมันส์ ๆ ให้ได้ยินได้ฟัง หรือบางที ก็มี ภาษาวิบัติเกิดขึ้นใหม่บ่อย ๆ บางครั้งก็ชวนหัว บางครั้งก็ฟังดูสองแง่สองง่าม ชวนจิตนาการ

การสื่อสารโดยใช้ภาษาพูดนั้นเป็นวิธีการที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ แต่บางครั้งปัญหาในการใช้ภาษา และแปลความหมาย ก็อาจก่อให้เกิดความสับสนได้มาก และไม่เว้นว่าจะต้องเกิด หรือไม่เกิดกับหมอทางด้านใดด้านหนึ่ง โดยเฉพาะสูตินรีแพทย์ จะมีเรื่องราวแปลก ๆ และเฉียด (โป๊) มาเล่าขานเช่นกัน บางครั้งก็สร้างอารมณ์ขัน ให้กับทั้งหมอ พยาบาล และคนไข้ แต่การสื่อภาษาผิดก็อาจทำให้ซึมไปได้เหมือนกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

คุณป้าวัยทองนางหนึ่ง นวยนาดมารับการตรวจที่ห้องผู้ป่วยนรีเวช โดยแจ้งความประสงค์กับพยาบาลหน้าห้องว่า ต้องการตรวจภายใน และเช็คมะเร็งปากมดลูกไปด้วย

    * "อายุเท่าไหร่แล้วครับ" หมอหนุ่มท่าทางสุภาพถาม
    * "สี่สิปแปดแล้วค้า…" คุณป้าลากเสียงยาว
    * "มีลูกกี่คนจ๊ะ" หมอถามต่อ
    * "สามคน โตกันหมดแล้วค่ะ" คุณป้าตอบคล่องแคล่ว
    * "ประจำเดือนครั้งสุดท้ายมาเมื่อไหร่ครับ" คุณหมอถามเพื่อช่วยในการอ่านผลเช็คมะเร็งแม่นยำขึ้น ตามระยะการเปลี่ยนแปลง ตามรอบเดือน
    * "นี่แหละคะ ที่จะมาปรึกษาคุณหมอ"
    * "มีปัญหาอะไรหรือครับ"
    * "ก็มันไม่มาสี่ห้าเดือนแล้วค่ะ สงสัยอีชั้นจะหมดเลือดแล้วค่ะ เลยจะถามคุณหมอดูว่า ใส่ห่วงคุมกำเนิดไว้ตั้งนานแล้ว จะต้องเอาออกมั้ยค่ะ คงจะไม่ท้องอีกแล้วล่ะค่ะ"
    * "คุณป้าใส่ห่วงที่ไหนครับ" หมอหนุ่มถามเพื่อจะประเมินดูว่า สถานบริการใส่นั้น จะใส่ห่วงรุ่นเก่า ซึ่งอาจไม่ต้องเอาออกตลอดชีวิตก็ได้ หรือเป็นห่วงรุ่นใหม่ ที่มีอายุจำกัด อาจต้องเปลี่ยนทุกสามปีหรือห้าปี ซึ่งควรจะเอาออก เมื่อหมดอายุหรือประจำเดือน
    * "แหม…คุณหมอขาาาา…ก็ใส่ห่วงไว้ที่มดลูกนะสิค่ะ ใส่ที่อื่นได้ด้วยเหรอค่ะ" งานนี้เล่นเอาคุณหมอหนุมอึ้งไปเลย ก่อนคลายรอยยิ้มที่มุมปากอย่างนึกขำในใจ

อีกรายอุ้มท้องโย้มาฝากครรภ์เป็นครั้งแรก ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ก็ต้องมีการถามไถ่ประวัติครรภ์ก่อน ว่าครบกำหนดหรือไม่ เด็กเกิดมาแข็งแรงดีหรือเป็นประการใด เพื่อประเมินความเสี่ยงในครรภ์นี้ และวางแผนการดูแลให้ดีที่สุดตามเป้าหมาย ให้ลูกเกิดรอด (อย่างดี) และแม่ปลอดภัย (เต็มร้อย)

    * "ท้องที่เท่าไหร่แล้วครับ"
    * "ท้องที่สองแล้วค่ะ"
    * "คนแรกคลอดที่ไหน ครบกำหนดหรือเปล่า มีปัญหาอะไรไหมครับ" หมอถามรวบรัด รวดเร็วเนื่องจากมีคนไข้รอตรวจอีกมาก
    * "คลอดที่นี่และค่ะ จำได้ว่าคลอดก่อนคุณหมอนัดซัก สี่ห้าวัน ไม่เห็นมีปัญหาอะไรนี่คะ" เธอตอบฉะฉานมั่นใจพร้อมรอยยิ้ม
    * "คนที่แล้วน้ำหนักเท่าไหร่ครับ จำได้ไหม" หมอถามถึงน้ำหนักเด็กแรกคลอด เพื่อดูว่าเด็กตัวเล็กใหญ่แค่ไหน เผื่อไว้เทียบกับขนาดในท้องนี้
    * "โอ้โห มันนานเกือบห้าปีมาแล้วค่ะ จำไม่ได้แน่นะคะ สงสัยจะหนัก ประมาณ เจ็บสิบกิโลแหล่ะค่ะ ตอนนั้นอ้วนมากและบวม ๆ ยุบ ๆ ด้วย" หล่อนตอบน้ำหนักตัวเองหน้าตาเฉย เรากำลังคุยกันเรื่องลูกแท้ ๆ ไม่ได้อยากรู้อดีตน้ำหนักคุณแม่ซักหน่อย

อีกเรื่องเก็บมาจากพยาบาลหน้าห้องตรวจ คุณป้าชาวแคร์แอนด์คลีนมารับการตรวจภายในประจำปี ระหว่างรอคุณหมอซึ่งยังไม่ลงมาตรวจ คุณพยาบาลผู้อนามัยจัดแนะนำอย่างหวังดีว่า

"อ้าว คุณเบอร์หนึ่ง คุณหมอยังไม่ลงมาตรวจนะคะ อีกเดี๋ยวคงมาแล้วค่ะ จะมาตรวจเช็คภายในใช่ไหมค่ะ นั่นห้องน้ำอยู่ตรงมุมนั้น เข้าไปทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนนะคะ แล้วค่อยมานั่งรอตรวจหน้าห้องสาม

หลังจากนานสองนาน คนไข้เบอร์อื่นเกือบสิบรายได้รับการตรวจไปเรียบร้อย คุณพยาบาลผู้สงสัย ว่าทำไมหมายเลขหนึ่งจึงยังไม่มานั่งรอตรวจสักที หรือจะไปเป็นลมเป็นแล้งในห้องน้ำ แต่ว่าก็ไม่เห็นมีใครตามให้ไปดูคนไข้ฉุกเฉินเลยนี่น่า ว่าแล้วเธอก็โยกย้ายบั้นท้ายไคลคลาไปที่ห้องน้ำ

    * "คุณป้าเบอร์หนึ่งขา ยังไม่เสร็จเหรอคะ คุณหมอลงตรวจแล้วนะคะ เป็นอะไรไปหรือเปล่าคะ" คุณพยาบาลเธอถามด้วยน้ำเสียงเป็นห่วงเป็นไย
    * "อิชั้นอยู่ห้องสุดท้ายนี่ค้า…" เสียงตอบดังมาชัดเจน คุณพยาบาลเยื้องกรายไปดู เห็นคุณป้าเบอร์หนึ่งก้มหน้าก้มตาขัดชักโครกอย่างแข็งขัน
    * "ก็คุณบอกให้อีชั้นมาทำความสะอาดให้เรียบร้อย ก่อนไปตรวจนี่คะ นี่ห้องสุดท้ายแล้วค่ะ อีกประเดี๋ยวก็เสร็จแล้วนะคะ บอกคุณหมอ รออีกเดี๋ยวเดียวค่ะ" คำตอบของคุณป้าทำเอาพยาบาลเข่าอ่อนอยู่ตรงนั้นเอง นี่ก็เป็นคนไข้ชนิด สวมวิญญาณผู้พิทักษ์ความสะอาดยอดเยี่ยม

เรื่องราวสุดท้าย อาจจะหวือหวาสักหน่อย เป็นเรื่องฮ็อตเรื่องฮิตเกี่ยวกับเรื่องมีบุตรยาก ซึ่งสาเหตุหนึ่งในสามเกิดจากฝ่ายหญิง หนึ่งในสามมาจากฝ่ายชาย และที่เหลืออีกหนึ่งในสามเป็นสาเหตุร่วมของทั้งสองฝ่าย ดังนั้นการตรวจประเมินเบื้องต้น จึงมักจะแนะนำให้คู่สมรสทั้งสองฝ่ายมาพบแพทย์พร้อมกัน เพื่อรับการประเมินสาเหตุ ที่ไม่มีลูกไว้ชื่นใจสักที ถ้าเพียงฝ่านหนึ่งฝ่ายใดมารับการตรวจ ก็อาจทำให้เสียเวลา หรือหาสาเหตุ และให้การรักษาได้ไม่ถูกต้อง บางคู่ที่ทราบข้อมูลก็นัดกันมาตรวจเป็นคู่ ๆ ตั้งแต่เริ่มแรกเลย แต่บางครั้งก็มีบางอนงค์นางลุยเดี่ยว มาฝ่ายเดียวก่อนเพื่อดูลาดเลา หรือไม่ก็อาจเนื่องจากสามีติดงานหรือราชการไม่สามารถมาพร้อมกันได้ตั้งแต่คราวแรก

เจ้าหน้าที่ห้องฝ่ายต้อนรับ ก็จะช่วยคัดกรองผู้ป่วยก่อน ถ้าใครฉายเดี่ยวมา จะได้รับคำแนะนำ ให้มารับการตรวจครั้งต่อไป พร้อมกันทั้งสองฝ่ายเมื่อสะดวก

"นี่คุณนางอนงค์คะ…" เธอจีบปากจีบคอ อธิบายคนไข้อย่างคล่องแคล่วตั้งอกตั้งใจ "ดิฉันขอแนะนำว่าเพื่อให้การหาสาเหตุของปัญหามีบุตรยากของคุณ เป็นไปอย่างสมบูรณ์ครบถ้วน ขอแนะนำให้คุณมาคราวหน้าจะดีกว่า และให้เอาสามีมาด้วยนะคะ" เธอสั่งการกระฉับกระเฉง

สัปดาห์ถัดมา คุณนางอนงค์ได้ปรากฏตัวคนเดียวเช่นเคย พร้อมทั้งรายงานคุณเจ้าหน้าที่ ผู้แนะนำเธอไปคราวก่อนว่า เธอได้ทำตาม "คำสั่ง" ของคุณพยาบาล "เรียบร้อย" ก่อนออกจากบ้านมาพบแพทย์แล้วครับ

คุณ ๆ ลองจิตนาการดูสิครับว่า เกิดอะไรขึ้นกับเธอที่บ้านก่อนมาตรวจ

เครดิตและขอบคุณ นิตยสารfitness