พิมพ์หน้านี้ - สงสัย...การวางพระพุทธ

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

นานาสาระ => ลึกลับ-เหลือเชื่อ-ธรรมะ => ข้อความที่เริ่มโดย: pkkel ที่ มกราคม 17, 2008, 08:09:28 am



หัวข้อ: สงสัย...การวางพระพุทธ
เริ่มหัวข้อโดย: pkkel ที่ มกราคม 17, 2008, 08:09:28 am
สวัสดีครับ ขอถามครับ วันนี้พอดีเพื่อนทำบุญบ้าน ไปเห็นมา เพื่อน เค้าวางพระพุทธ  อยู่ทางซ้าย พระคุณเจ้า ที่จะมาสวด ไม่ทราบว่า วางถูกต้องหรือเปล่า เคยเห็น แต่ วาง ทางขวามือ  พระคุณเจ้า ก็เลยถามเพื่อนๆก็ตอบว่า ถ้าวางทางขวามือ พระพุทธจะอยู่ใต้ บันได เกินไป   ก็เลย เอามาไว้ ฝั่งซ้าย เป็นบ้าน ทาวด์เฮ้าท์ แฝด สองหลังคู่  ถามด่วน ครับ :D


หัวข้อ: Re: สงสัย...การวางพระพุทธ
เริ่มหัวข้อโดย: พรเทพ-LSV team♥ ที่ มกราคม 17, 2008, 08:14:39 am
ถามด่วน

ผมก็ตอบไม่ได้ซิ  :'(


หัวข้อ: Re: สงสัย...การวางพระพุทธ
เริ่มหัวข้อโดย: pkkel ที่ มกราคม 17, 2008, 08:17:35 am
สวัสดีครับครู  ...  เอาด่วนๆ เพราะว่า จะรีบไปแก้ ครับ ด่วนๆๆๆ  แต่ถ้าได้ก็ไม่ต้องไปแก้ ครับ...........อีกเรื่องสายสิญจน์ก็ไม่ยอมเวียน  อ้างว่า เป็น บ้าน ทาวด์เฮ้าท์  ไม่ใช่บ้านเดี่ยว   


หัวข้อ: Re: สงสัย...การวางพระพุทธ
เริ่มหัวข้อโดย: พรเทพ-LSV team♥ ที่ มกราคม 17, 2008, 08:20:28 am
มีพระอะไนบ้างครับ

ถ่ายมาใหดูหน่อยสิ

***กระทู้เก่ามีคำตอบ อยู่ครับ  พี่เล็กเคยลงไว้ ทั้งบอร์ดนี้และบอรืดเก่าครับ


หัวข้อ: Re: สงสัย...การวางพระพุทธ
เริ่มหัวข้อโดย: ถาวร-LSVteam ที่ มกราคม 17, 2008, 08:20:56 am
วางทางขวาครับ พระคุณเจ้าอยู่ ซ้ายของพระพุทธครับ  แต่ไม่จำเป็นมั้งครับแล้วแสถานที่มั้งครับ แต่ส่วนใหญ่ที่เห็นเป็นแบบนี้
 ผมเห็นบางวัดที่ศาลา ก็ พระพุทธ วางอยู่ทางซ้าย พระคุณเจ้าก็มีเห็นครับ แต่ที่บ้านผมทำบุณ ให้พ่อ-แม่ทุกปี ก็วางแบบนี้ครับ


หัวข้อ: Re: สงสัย...การวางพระพุทธ
เริ่มหัวข้อโดย: pkkel ที่ มกราคม 17, 2008, 08:23:23 am
มีพระอะไนบ้างครับ

ถ่ายมาใหดูหน่อยสิ

***กระทู้เก่ามีคำตอบ อยู่ครับ  พี่เล็กเคยลงไว้ ทั้งบอร์ดนี้และบอรืดเก่าครับ
ก็มีพระพุทธ  แล้วก็พระสงฆ์ เรียงอันดับไปครับ.........1.2.3.............ขณะนี้พระยังไม่มาครับ...ด่วนๆๆๆ  :D


หัวข้อ: Re: สงสัย...การวางพระพุทธ
เริ่มหัวข้อโดย: noi3535-LSV team♥ ที่ มกราคม 17, 2008, 08:26:10 am
ถามด่วน

ผมก็ตอบไม่ได้ซิ  :'(
         เปลี่ยนดีกว่า ต้องถาม พี่เทพ (คนตรง 2000ปี)  ;D ;D


หัวข้อ: Re: สงสัย...การวางพระพุทธ
เริ่มหัวข้อโดย: pkkel ที่ มกราคม 17, 2008, 08:28:11 am
สวัสดีครับ อ. น้อย   อ. ถาวร  ยังรอคำตอบอยู่ ครับ


หัวข้อ: Re: สงสัย...การวางพระพุทธ
เริ่มหัวข้อโดย: พรเทพ-LSV team♥ ที่ มกราคม 17, 2008, 08:29:15 am
วางทางขวาครับ พระคุณเจ้าอยู่ ซ้ายของพระพุทธครับ  แต่ไม่จำเป็นมั้งครับแล้วแสถานที่มั้งครับ แต่ส่วนใหญ่ที่เห็นเป็นแบบนี้

แบบที่พี่ถาวรพูดครับ


หัวข้อ: Re: สงสัย...การวางพระพุทธ
เริ่มหัวข้อโดย: Nimit( Un ) ที่ มกราคม 17, 2008, 08:29:30 am
พระพุทธ  อยู่ซ้ายมือของเราเสมอ
พระพุทธ  อยู่ขวามือของพระเสมอ


หัวข้อ: Re: สงสัย...การวางพระพุทธ
เริ่มหัวข้อโดย: pkkel ที่ มกราคม 17, 2008, 08:31:26 am
พระพุทธ  อยู่ซ้ายมือของเราเสมอ
พระพุทธ  อยู่ขวามือของพระเสมอ
สวัสดีครับ ท่าน นิมิต  เอางัยดี .............ผมว่า โยน  หัว/ก้อย .....


หัวข้อ: Re: สงสัย...การวางพระพุทธ
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ มกราคม 17, 2008, 08:34:11 am
 
การทำบุญเลี้ยงพระตามปกติที่ทำกันมักนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ในสถานที่ที่ประกอบพิธีในตอนเย็นเรียกกันอย่างสามัญว่าสวดมนต์เย็นรุ่งขึ้นเวลาเช้า(บางกรณีเวลาเพล)ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์เมื่อเย็นวานนั้นเรียกกันว่าเลี้ยงพระเช้า(เลี้ยงพระเพล)หรือฉันเช้า(ฉันเพล)และในคราวเดียวกันก็มีการตักบาตรด้วยบางคนมีเวลาน้อยย่นเวลามาทำพร้อมกันในวันเดียวในตอนเช้าหรือตอนเพลตามความสะดวกโดยนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ก่อนจบแล้วถวายภัตตาหารให้เสร็จสิ้นในเวลาเดียวกันอย่างนี้เรียกว่าทำบุญเลี้ยงพระ

การทำบุญเลี้ยงพระนี้นิยมทั้งในงานมงคลและงานอวมงคลทั่วไปที่เรียกว่าทำบุญงานมงคลนั้นได้แก่การทำบุญเลี้ยงพระดังกล่าวเพื่อความสุขความเจริญแก่จิตใจโดยปรารภเหตุที่ดีเป็นมูลเกี่ยวกับฉลองความสำเร็จในชีวิตเช่นฉลองพระบวชใหม่เป็นต้นหรือเกี่ยวกับการริเริ่มชีวิตใหม่เพื่อให้เกิดความสำเร็จตามปรารถนาด้วยดีตลอดไปเช่นทำบุญขึ้นบ้านใหม่ทำบุญแต่งงานหรือเรียกว่ามงคลสมรสเป็นต้นส่วนที่เรียกว่าทำบุญงานอวมงคลได้แก่การทำบุญเลี้ยงพระเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขโดยปรารภเหตุไม่สู้ดีเนื่องจากมีการตายขึ้นในวงญาติหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในครอบครัวจัดการทำบุญขึ้นเพื่อให้สำเร็จเป็นประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ผู้ล่วงลับไปแล้วและเพื่อเป็นมิ่งขวัญกลายๆแก่ผู้ที่ยังอยู่งานทำบุญโดยปรารภเหตุนี้เรียกว่าทำบุญงานอวมงคล

การทำบุญทั้ง๒ประเภทนี้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติมี๒ฝ่ายคือฝ่ายทายกทายิกาผู้ประกอบด้วยต้องการบุญเรียกว่าฝ่ายเจ้าภาพ๑ฝ่ายปฏิคาหกผู้รับทานและประกอบพิธีกรรมตามความประสงค์ของเจ้าภาพซึ่งเป็นพระภิกษุสงฆ์เรียกว่าฝ่ายภิกษุสงฆ์อีก๑ทั้งสองฝ่ายนี้มีระเบียบปฏิบัติพิธีกำหนดไว้เพื่อความเรียบร้อยโดยเหมาะสมแต่ละประเภทของงานเป็นขนบประเพณีสืบมาดังต่อไปนี้

ระเบียบพิธี:การทำบุญเลี้ยงพระงานมงคล
พิธีฝ่ายเจ้าภาพผู้ที่จะทำบุญเนื่องในงานมงคลต่างๆนั้นในที่นี้เรียกว่า"เจ้าภาพ"เบื้องต้นจะต้องตระเตรียมกิจการต่างๆที่ควรทำก่อนดังนี้
ก.อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์
ข.เตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา
ค.ตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี
ฆ.วงด้ายสายสิญจน์
ง.เชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชา
จ.ปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์
ฉ.เตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ตามควรแก่ฐานะ
ช.ตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์

เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้วตามเวลากำหนดจะต้องปฏิบัติกรณียกิจดังต่อไปนี้
ก.คอยล้างเท้าพระสงฆ์และเช็ดด้วย(ปัจจุบันพระสงฆ์สวมรองเท้าและเท้าไม่สกปรกจึงไม่ต้องล้างเท้าก็ได้)
ข.ประเคนเครื่องรับรองที่จัดไว้
ค.ได้เวลาแล้วจุดเทียนธูปที่โต๊ะบูชาบูชาพระแล้วกราบนมัสการ๓ครั้ง
ฆ.อาราธนาศีลและรับศีล
ง.ต่อจากรับศีลอาราธนาพระปริตรเสร็จแล้วไหว้หรือกราบแล้วแต่กรณี
จ.นั่งฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เมื่อจบแล้วถวายน้ำร้อนหรือเครื่องดื่ม
อันควรแก่สมณะแล้วแต่จะจัด

ในการปฏิบัติพิธีตามหน้าที่ที่กล่าวนี้มีข้อที่ควรจะเข้าใจคือ
๑.เรื่องการอาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์นิยมไม่กำหนดจำนวนข้างมากแต่นิยมกำหนดข้างน้อยไว้โดยเกณฑ์คือไม่ต่ำกว่า๕รูปเกิน๕ไปก็เป็น๗หรือ๙ข้อน่าสังเกตก็คือไม่นิมนต์พระสงฆ์จำนวนคู่เพราะถือเหมือนอย่างว่าการทำบุญครั้งนี้มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานแบบเดียวกับครั้งพุทธกาลซึ่งปรากฏตามบาลีว่าพุทฺธปฺปมุโขภิกฺขุสงฺโฆพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขโดยตั้งพระพุทธรูปไว้ข้างหน้าแถวพระสงฆ์นับจำนวนรวมกับพระสงฆ์เป็นคู่เว้นแต่ในงานมงคลสมรสมักนิยมนิมนต์พระสงฆ์จำนวนคู่จุดมุ่งหมายคือแบ่งให้ฝ่ายเจ้าบ่าวและฝ่ายเจ้าสาวนิมนต์พระมาจำนวนเท่าๆกันเมื่อมารวมกันจึงเป็นจำนวนคู่แต่ในพิธีหลวงในปัจจุบันนี้มักอาราธนาพระสงฆ์เป็นจำนวนคู่เช่น๑๐รูปเป็นต้น

๒.เรื่องเตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชาที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชาในงานพิธีต่างๆนั้นนิยมเรียกสั้นๆว่า"โต๊ะบูชา"สิ่งสำคัญของโต๊ะบูชานี้ประกอบด้วยโต๊ะรอง๑เครื่องบูชา๑โต๊ะรองเป็นที่รองรับพระพุทธรูปและเครื่องบูชาปัจจุบันนี้นิยมใช้กันทั่วไปเป็นโต๊ะหมู่ซึ่งสร้างไว้โดยเฉพาะเรียกกันว่าโต๊ะหมู่บูชามีเป็นหมู่๕หมู่๗และหมู่๙หมายความว่าหมู่หนึ่งๆประกอบด้วยโต๊ะ๕ตัว๗ตัวและ๙ตัวก็เรียกว่าหมู่เท่านั้นเท่านี้ถ้าในที่ที่หาโต๊ะหมู่ไม่ได้จะใช้ตั่งอะไรที่สมควรซึ่งไม่สูงหรือต่ำเกินไปนักจัดเป็นโต๊ะบูชาในพิธีก็ได้โต๊ะหรือตั่งนั้นต้องใช้ผ้าขาวปูพื้นก่อนถ้าหาผ้าขาวไม่ได้จำเป็นจะใช้ผ้าสีต้องเป็นผ้าสะอาดและยังมิได้ใช้การอย่างอื่นมาเป็นเหมาะสมที่สุดผ้าอะไรก็ตามถ้าแสดงลักษณะชัดว่าเป็นผ้านุ่งแล้วไม่สมควรอย่างยิ่ง

การตั้งโต๊ะบูชานี้มีหลักว่าต้องตั้งหันหน้าโต๊ะออกทางเดียวกับพระสงฆ์คือให้พระพุทธรูปหันพระพักตร์ออกทางเดียวกับพระสงฆ์นั่นเองด้วยมุ่งหมายให้พระสงฆ์มีพระพุทธรูปเป็นประธานเว้นแต่จำเป็นเกี่ยวกับสถานที่ซึ่งจะต้องให้พระสงฆ์นั่งมีเบื้องซ้ายอยู่ทางพระพุทธรูปแล้วจึงต้องตั้งโต๊ะบูชาหันหน้ามาทางพระสงฆ์ให้พระพุทธรูปหันพระพักตร์หาพระสงฆ์เป็นอันไม่ต้องเข้าแถวกับพระสงฆ์สำหรับเรื่องทิศทางที่จะประดิษฐานพระพุทธรูปนั้นมักจะให้ผินพระพักตร์ไปสู่ทิศเหนือด้วยถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นโลกอุดรมิฉะนั้นก็ให้หันไปทางทิศตะวันออกด้วยถือว่าเป็นทิศพระ(ในวันตรัสรู้พระพุทธเจ้าประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางตะวันออก)เป็นพื้นแต่เรื่องนี้เห็นว่าไม่จำเป็นต้องจำกัดเช่นนั้นจะให้ผินพระพักตร์ไปทิศใดๆก็ไม่เกิดโทษและไม่มีข้อห้ามเป็นอันแล้วแต่สถานที่จะอำนวยให้ประดิษฐานได้เหมาะสมก็พึงทำได้ทั้งนั้น

สำหรับการตั้งเครื่องบูชานั้นต้องแล้วแต่โต๊ะที่ตั้งถ้าเป็นโต๊ะเดี่ยวที่ใช้ตั่งหรือโต๊ะตัวเดียวตั้งแทนโต๊ะหมู่เครื่องบูชาควรมีแจกันประดับดอกไม้๑คู่ตั้ง๒ข้างพระพุทธรูปไม่ชิดหรือห่างจนเกินไปถัดมาแถวหน้าพระพุทธรูปตั้งกระถางธูปตรงหน้าพระพุทธรูปกับเชิงเทียน๑คู่ตั้งตรงกับแจกันเพียงเท่านี้ก็สำเร็จรูปเป็นโต๊ะบูชาพอสมควร

สำหรับโต๊ะหมู่จะแสดงการตั้งโต๊ะหมู่๗เป็นตัวอย่างดังนี้

หลักโต๊ะหมู่๗มีอยู่ว่าใช้แจกัน๒คู่คู่๑ตั้งบนโต๊ะกลางที่ตั้งพระพุทธรูปชิดด้านหลัง๒ข้างพระพุทธรูปอยู่ตรงมุมทั้ง๒ด้านหลังอีกคู่๑ตั้งบนโต๊ะข้างตัวละ๑ชิดมุมด้านหลังถือหลักว่าแจกันเป็นพนักหลังสุดจะตั้งล้ำมาข้างหน้าไม่ควรพานดอกไม้๕พานตั้งกลางโต๊ะทุกโต๊ะเว้นโต๊ะกลางแถวหน้าซึ่งตั้งกระถางธูปเชิงเทียน๕คู่ตั้งที่โต๊ะข้างซ้ายและขวามือโต๊ะละ๑ที่มุมหน้าตรงข้ามกับแจกันรวม๒ซีก๒คู่ตรงกลางตั้งแต่โต๊ะพระพุทธรูปลงมา๓ตัวตั้งตัวละคู่ที่มุมโต๊ะทั้ง๒ด้านหน้ารวมอีก๓คู่สำหรับคู่ที่อยู่บนโต๊ะที่ตั้งพระพุทธรูปนั้นก็จำเป็นเช่นบังพระพุทธรูปหรือชิดพระพุทธรูปเกินไปจะตัดออกเสียคู่หนึ่งก็ได้แม้โต๊ะหมู่อื่นนอกจากหมู่๗ที่กล่าวนี้ก็ถือหลักการตั้งเช่นเดียวกัน

๓.เรื่องตกแต่งสถานที่บริเวณพิธีนิยมให้สะอาดเรียบร้อยเป็นสำคัญเพราะเป็นการทำบุญต้องการสิริมงคลและออกแขกด้วยความสะอาดเรียบร้อยทุกอย่างเป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่งถ้าได้เพิ่มการตกแต่งเพื่อความสวยงามขึ้นอีกก็เป็นการดียิ่งทั้งนี้สุดแต่ฐานะและกำลังของตนเป็นสำคัญ

๔.เรื่องวงด้ายสายสิญจน์คำว่าสิญจน์แปลว่าการรดน้ำคือการรดน้ำด้วยพิธีสืบเนื่องมาแต่พิธีพราหมณ์เดิม“สาย”เข้าข้างหน้าเป็นสายสิญจน์กลายเป็นวัตถุชนิดหนึ่งที่นำมาใช้ในงานมงคลต่างๆสายสิญจน์ได้แก่สายที่ทำด้วยด้ายดิบโดยวิธีจับเส้นด้ายในเข็ดเส้นเดียวจับออกครั้งแรกเป็น๓เส้นม้วนเข้ากลุ่มไว้ถ้าต้องการให้สายใหญ่ก็จับอีกครั้งหนึ่งจะกลายเป็น๙เส้นในงานมงคลทุกประเภทนิยมใช้สายสิญจน์๙เส้นเพราะกล่าวกันว่าสายสิญจน์๓เส้นสำหรับใช้ในพิธีเบิกโลงผีจะนำมาใช้ในพิธีงานมงคลไม่เหมาะสมถ้าเพ่ง

การวงสายสิญจน์มีเกณฑ์ถืออยู่ว่าถ้าเป็นบ้านมีรั้วรอบให้วงรอบรั้วถ้าไม่มีรั้วรอบหรือมีแต่กว้างเกินไปหรือมีอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับพิธีอยู่ร่วมในรั้วด้วยก็ให้วงเฉพาะอาคารพิธีโดยรอบถ้าเจ้าภาพไม่ต้องการวงสายสิญจน์รอบรั้วบ้านหรือรอบอาคารที่ตนประกอบพิธีทำบุญจะวงสายสิญจน์ที่ฐานพระพุทธรูปบนโต๊ะบูชาเท่านั้นแล้วโยงมาที่ภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ก็ได้การโยงสายสิญจน์จากฐานพระพุทธรูปมายังภาชนะน้ำมนต์ควรโยงหลบเพื่อไม่ให้ต้องข้ามสายสิญจน์ในเวลาจุดธูปเทียนเมื่อวงที่ภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์แล้วพึงวางกลุ่มด้ายสายสิญจน์ไว้บนพานสำหรับรองสายสิญจน์ซึ่งอยู่ทางหัวอาสน์สงฆ์ใกล้ภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์การวงสายสิญจน์ถือหลักวงจากซ้ายไปขวาของสถานที่หรือวัตถุมีข้อที่ถือเป็นเรื่องควรระวังอยู่อย่างหนึ่งคือในขณะที่วงสายสิญจน์อย่าให้สายสิญจน์ขาด

อนึ่งสายสิญจน์ที่วงพระพุทธรูปแล้วนี้จะข้ามกรายมิได้เพราะถ้าข้ามกรายแล้วเท่ากับข้ามพระพุทธรูปเป็นการแสดงควาไม่เคารพต่อพระพุทธรูปทีเดียวหากมีความจำเป็นที่จะต้องผ่านสายสิญจน์ก็ต้องลอดมือหรือก้มศีรษะลอดภายใต้สายสิญจน์ผ่านไป

๕.เรื่องเชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนที่บูชาเป็นกิจที่พึงทำเมื่อใกล้จะถึงกำหนดเวลาประกอบพิธีพระพุทธรูปนั้นจะเป็นพระปางอะไรก็แล้วแต่จะหาได้ขอให้เป็นพระพุทธรูปเท่านั้นไม่ใช่พระเครื่องซึ่งเล็กมากไม่เหมาะแก่พิธีพระพุทธรูปถ้ามีครอบควรเอาครอบออกตั้งเฉพาะองค์พระเท่านั้นและที่องค์พระไม่สมควรจะนำอะไรที่ไม่เหมาะสมประดับเช่นพวงมาลัยหรือดอกไม้เป็นต้นควรให้องค์พระเด่นเป็นสำคัญเว้นแต่ที่ฐานพระจะใช้พวงมาลัยวงรอบฐานกลับดูงามดีไม่มีข้อห้ามดอกไม้บูชามีระเบียบจัดดังกล่าวแล้วในเรื่องตั้งเครื่องบูชาก่อนที่จะยกพระพุทธรูปจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งก็ดีในขณะที่วางพระพุทธรูปลงณที่บูชาก็ดีควรจะน้อมไหว้ก่อนยกหรือน้อมไหว้ในเมื่อวางลงแล้วเป็นอย่างน้อยถ้าถึงกราบได้เป็นงดงาม

๖.เรื่องปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์นิยมใช้กันอยู่๒วิธีคือยกพื้นอาสน์สงฆ์ให้สูงขึ้นโดยใช้เตียงหรือม้าวางต่อกันเข้าให้ยาวพอแก่จำนวนสงฆ์อีกวิธีหนึ่งปูลาดอาสนะบนพื้นธรรมดาอาสน์สงฆ์ชนิดยกพื้นนิยมใช้ผ้าขาวปูลาดจะมีผ้านิสีทนะ(ผ้าปูนั่ง)ปูอีกชั้นหนึ่งหรือไม่ก็ได้โดยเฉพาะอาสน์สงฆ์ยกพื้นนี้มักจัดในสถานที่ที่ฝ่ายเจ้าภาพนั่งเก้าอี้กันส่วนอาสนะชนิดที่ปูลาดบนพื้นธรรมดาจะใช้เสื่อหรือพรมหรือผ้าที่สมควรปูก็สุดแต่จะมีหรือหาได้ข้อที่ควรระวังคืออย่าให้อาสนะพระสงฆ์กับอาสนะของคฤหัสถ์ฝ่ายเจ้าภาพเป็นอันเดียวกันควรปูลาดให้แยกจากกันถ้าจำเป็นแยกไม่ได้โดยปูเสื่อหรือพรมไว้เต็มห้องสำหรับอาสนะพระสงฆ์ควรจัดปูทับเสื่อหรือพรมนั้นอีกชั้นหนึ่งจึงจะเหมาะ

๗.เรื่องเตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ตามแบบและประเพณีก็มีหมากพลูบุหรี่น้ำร้อนน้ำเย็นและกระโถนการวางเครื่องรับรองเหล่านี้มีหลักว่าต้องวางทางด้านขวามือของพระระหว่างรูปหนึ่งกับอีกรูปหนึ่งที่นั่งเรียงกันด้านขวามือของรูปใดก็เป็นเครื่องรับรองของรูปนั้นการวางให้วางกระโถนข้างในสุดเพราะเป็นสิ่งไม่ต้องประเคนถัดออกมาภาชนะน้ำเย็นออกมาอีกเป็นภาชนะใส่หมากพลูบุหรี่ซึ่งรวมอยู่ในที่เดียวกันเมื่อพระสงฆ์นั่งก็ประเคนตั้งแต่ข้างในออกมาหาข้างนอกคือน้ำเย็นแล้วหมากพลูบุหรี่ส่วนน้ำร้อนจัดประเคนตั้งแต่ข้างในออกมาหาข้างนอกคือน้ำเย็นแล้วหมากพลูบุหรี่ส่วนน้ำร้อนจัดประเคนภายหลังไม่ต้องตั้งประจำที่เหมือนอย่างเครื่องดังกล่าวแล้วเครื่องรับรองดังกล่าวนี้ถ้าจำกัดจะจัดรับรอง๒รูปต่อ๑ที่ก็ได้และให้จัดวางตามลำดับในระหว่างรูปที่ต้องการให้ใช้ร่วมกัน

๘.เรื่องตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ควรเตรียมภาชนะเป็นประการแรกถ้าไม่มีครอบน้ำมนต์ซึ่งเป็นของสำหรับใส่น้ำมนต์โดยเฉพาะจะใช้บาตรของพระหรือขันน้ำพานรองแทนก็ได้แต่ขันต้องไม่ใช่ขันเงินหรือทองคำเพราะเงินและทองเป็นวัตถุอนามาสไม่ควรแก่การจับต้องของพระต่อไปก็หาน้ำสะอาดใส่ในภาชนะห้ามไม่ให้ใช้น้ำฝนทั้งนี้เห็นจะเป็นด้วยถือว่าน้ำที่จะศักดิ์สิทธิ์ขึ้นได้ต้องมาจากธรณีส่วนน้ำฝนมาจากอากาศจึงไม่นิยมน้ำที่ใส่ควรใส่แต่เพียงค่อนภาชนะเท่านั้นควรหาใบเงินใบทองใส่ลงไปด้วยแต่เพียงสังเขปเล็กน้อย(ถ้าหาไม่ได้จะใช้ดอกบัวใส่แทนก็ได้แต่ดอกไม้อื่นไม่ควร)ต้องมีเทียนน้ำมนต์อีกหนึ่งเล่มควรเป็นเทียนขี้ผึ้งแท้ขนาดหนัก๑บาทเป็นอย่างต่ำติดที่ปากบาตรหรือขอบขันหรือบนยอดจุกฝาครอบน้ำมนต์ไม่ต้องจุดแล้วนำไปวางไว้หน้าโต๊ะบูชาให้ค่อนมาทางอาสนะพระสงฆ์ใกล้กับรูปที่เป็นหัวหน้าเพื่อหัวหน้าจะได้หยดเทียนทำน้ำมนต์ในขณะสวดมนต์ได้สะดวก

๙.เรื่องจุดเทียนธูปที่โต๊ะบูชาเจ้าภาพควรจุดเองไม่ควรให้คนอื่นจุดแทนเพราะเป็นการนมัสการพระอันเป็นกิจเบื้องต้นของบุญการจุดควรจุดเทียนก่อนจุดด้วยไม้ขีดหรือเทียนชนวนอย่าต่อจากตะเกียงหรือไฟอื่นเทียนติดดีแล้วใช้ธูป๓ดอกจุดต่อที่เทียนจนติดดีจึงปักลงให้ตรงๆในกระถางธูปแล้วตั้งใจบูชาพระต่อจากนี้จึงดำเนินพิธีไปตามลำดับคืออาราธนาศีลรับศีลแล้วอาราธนาพระปริตรวิธีอาราธนาจักกล่าวต่อไปข้างหน้า

พออาราธนาพระปริตรจบแล้วพระสงฆ์เริ่มสวดมนต์ทุกคนที่อยู่ในบริเวณพิธีพึงนั่งประนมมือฟังพระสวดด้วยความเคารพพอพระเริ่มสวดมงคลสูตรขึ้นต้นบทอเสวนาจพาลานํเป็นต้นเจ้าภาพพึงเข้าไปจุดเทียนน้ำมนต์ที่บาตรหรือครอบน้ำมนต์หน้าพระแล้วประเคนบาตรหรือครอบน้ำมนต์นั้นต่อหัวหน้าสงฆ์เพื่อท่านจะได้ทำน้ำมนต์ต่อไป

๑๐.ข้อปฏิบัติวันเลี้ยงพระถ้าเลี้ยงพระในวันรุ่งขึ้นการเตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์พึงจัดอย่างวันสวดมนต์เย็นเมื่อพระภิกษุสงฆ์มาพร้อมตามเวลาแล้วเจ้าภาพพึงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระแล้วอาราธนาศีลและรับศีลอย่างเดียวกับวันก่อนเสร็จแล้วไม่ต้องอาราธนาพระปริตรพระสงฆ์จะเริ่มสวดถวายพรพระเองถ้ามีการตักบาตรด้วยพึงเริ่มลงมือตักบาตรขณะพระสงฆ์สวดถึงบทพาหุงและให้เสร็จก่อนพระสงฆ์สวดจบเตรียมยกบาตรและภัตตาหารมาตั้งไว้ให้พร้อมพอสวดจบก็ประเคนให้พระฉันได้ทันทีถ้าไม่มีตักบาตรเจ้าภาพก็นั่งประนมมือฟังพระสวดไปพอสมควรแล้วเตรียมตั้งภัตตาหารเมื่อพระสวดจวนจบ

แต่ถ้าเป็นงานวันเดียวคือสวดมนต์ก่อนฉันการตระเตรียมต่างๆก็คงจัดครั้งเดียวพระภิกษุสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ก่อนแล้วสวดถวายพรพระต่อท้ายเจ้าภาพพึงนั่งประนมมือฟังเมื่อพระสงฆ์สวดถึงบทถวายพรพระจึงเตรียมภัตตาหารไว้ให้พร้อมพอพระสวดจบก็ยกประเคนได้

สุดท้ายพิธีเมื่อพระภิกษุสงฆ์ฉันอิ่มแล้วถวายเครื่องไทยธรรมต่อนั้นพระสงฆ์อนุโมทนาขณะพระว่าบทยถา...ให้เริ่มกรวดน้ำให้เสร็จก่อนจบบทยถา...พอพระว่าบทสพฺพีติโย...พร้อมกันถึงประนมมือรับพรตลอดไปจนจบแล้วส่งพระกลับ

อนึ่งการเลี้ยงพระในพิธีทำบุญเลี้ยงพระนี้มีประเพณีโบราณสืบเนื่องกันมานานอย่างหนึ่งคือประเพณีถวายข้าวพระพุทธเห็นจะเนื่องมาจากถือว่าพระสงฆ์ที่นิมนต์มาฉันในพิธีนั้นมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตามหลักพระบาลีที่กล่าวมาแล้วฉะนั้นการถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ก็ต้องถวายองค์ประมุขคือพระพุทธเจ้าด้วยแม้พระองค์ปรินิพพานไปนานแล้วก็จำต้องทำการถวายต่อพระพักตร์พระพุทธรูปให้เป็นกิริยาสำเร็จรูปสมตามเจตนานั้นเหตุนี้ในงานทำบุญไม่ว่างานมงคลหรืองานอวมงคลจึงนิยมถวายภัตตาหารแด่พระพุทธรูปด้วยซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าถวายข้าวพระพุทธถ้ามีตักบาตรก็ต้องตั้งบาตรพระพุทธไว้หัวแถวด้วยเช่นกันข้าวพระพุทธที่ถวายนั้นนิยมจัดอย่างเดียวกับที่ถวายพระสงฆ์เมื่อเสร็จภัตกิจแล้วข้าวพระพุทธนั้นตกเป็นของมรรคนายกวัดหรืออุบาสกอุบาสิกาผู้มาในงานแต่บางงานเนื่องด้วยที่จำกัดหรือจะเป็นเพราะเรียวลงตามกาลเวลาหรือความง่ายของบุคคลหาทราบไม่เจ้าภาพจึงจัดสำรับพระพุทธเพียงสำรับเล็กๆก็มีการถวายนี้เป็นหน้าที่ของเจ้าภาพพึงใช้ผ้าขาวปูบนโต๊ะที่จะนำมาตั้งรองข้าวพระพุทธหรือปูบนพื้นราบก็ได้ตรงหน้าโต๊ะบูชาแล้วตั้งสำรับคาวหวานพร้อมทั้งข้าวน้ำให้บริบูรณ์บนโต๊ะหรือบนพื้นผ้านั้นเสร็จแล้วจุดธูป๓ดอกปักในกระถางธูปหน้าโต๊ะบูชานั่งคุกเข่าประนมมือตรงหน้าที่ตั้งข้าวพระพุทธและโต๊ะบูชาว่านโม๓จบแล้วว่าคำถวายดังนี้“อิมํสูปพฺยญฺชนสมฺปนฺนํสีลีนํโอทนํ,อุทกํวรํพุทฺธสฺสปูเชมิ”จบแล้วกราบ๓ครั้งต่อนี้จึงจัดถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ตามวิธีที่กล่าวแล้ว

เมื่อเสร็จภัตกิจและพระสงฆ์อนุโมทนาเสร็จจนกลับหมดแล้วถ้ามีการเลี้ยงแขกผู้มาในงานต่อก็เป็นหน้าที่ของอุบาสกหรืออุบาสิกาผู้รู้ธรรมเนียมวัดจะลาข้าวพระพุทธนั้นมารับประทานการลาข้าวพระพุทธมีนิยมดังนี้ผู้ลาพึงเข้าไปนั่งคุกเข่าหน้าสำรับที่หน้าโต๊ะบูชานั้นกราบ๓ครั้งก่อนแล้วประนมมือกล่าวคำว่า“เสสํมงฺคลายาจามิ”แล้วไหว้ต่อนั้นยกข้าวพระพุทธออกไปได้เลย

พิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์เริ่มต้นเมื่อพระสงฆ์รับนิมนต์ไปในงานทำบุญแล้วถึงวันกำหนดถ้าเจ้าภาพกำหนดจะมารับพึงเตรียมตัวไว้ให้พร้อมก่อนถึงเวลาพอมีคนมารับก็ให้ไปได้ทันทีควรไปตามกำหนดให้ถึงที่งานก่อนเวลาพอสมควรอย่าให้ก่อนมากนักเพราะเกี่ยวด้วยการเตรียมการของเจ้าภาพอาจยังไม่พร้อมก็ได้จะเป็นเหตุให้เจ้าภาพอึดอัดในการที่ยังไม่พร้อมจะรับรองและอย่าให้กระชั้นเวลาจนเกินไปเพราะจะทำให้เจ้าภาพกระวนกระวาย

การไปในงานต้องนุ่มห่มให้เรียบร้อยเป็นสมณสารูปตามแบบนิยมของวัดควรมีพัดไปด้วยทุกรูปและควรใช้พัดงานมงคลไม่ใช่พัดงานศพพัดงานศพที่ถือเป็นข้อห้ามอย่างจริงจังนั้นคือพัดที่มีอักษรปรากฏว่าที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ...ในงานฌาปนกิจศพ...เพราะพัดงานศพใช้สำหรับงานอวมงคลเท่านั้นถ้าขัดข้องเพราะเหตุจำเป็นจริงๆอย่างใดอย่างหนึ่งไม่สามารถจะนำพัดไปได้ทุกรูป(สำหรับพระสงฆ์วัดเดียวกันทั้งหมด)ก็ควรมีไปเฉพาะหัวหน้ารูปเดียวเพราะพัดที่ต้องนำไปนี้จำต้องใช้ในคราว
ก.ให้ศีลเฉพาะหัวหน้า
ข.ขัดสคฺเคและขัดตำนานเฉพาะรูปที่นั่งอันดับที่๓
ค.อนุโมทนาท้ายพิธีต้องใช้ทุกรูปและ
ฆ.ถ้ามีการบังสุกุลอัฐิประกอบด้วยก็ต้องใช้ทุกรูปเช่นกัน

เรื่องการนำพัดไปในงานทำบุญนี้บางแห่งถือกันว่าถ้าพระสงฆ์มีพัดไปในงานทุกรูปเป็นการให้เกียรติแก่เจ้าภาพด้วย

เมื่อไปถึงที่งานแล้วได้เวลาเจ้าภาพจะนิมนต์เข้าที่ขณะขึ้นนั่งบนอาสนะที่เจ้าภาพจัดปูไว้ควรพิจารณาเสียก่อนถ้าเป็นอาสนะผ้าขาวไม่ควรขึ้นเหยียบหรือทำอาการใดๆให้ฝ่าเท้าถูกผ้าขาวสกปรกด้วยควรคุกเข่าบนผ้าขาวเดินเข่าเข้าไปยังที่นั่งถ้าไม่ใช่อาสนะผ้าขาวควรปฏิบัติโดยอาการที่เหมาะสมเรียบร้อยน่าดูเป็นเหมาะที่สุดให้เข้านั่งกันตามลำดับไว้ระยะให้พองามนั่งแบบพับเพียบให้ได้แถวได้แนวดูเข่าให้เสมอกันและนั่งอย่างผึ่งผายไม่ควรนั่งงอหลังหรือเท้าแขนเข้าที่แล้ววางพัดไว้ทางหลังด้านขวามือ

เมื่อเจ้าภาพเริ่มอาราธนาศีลพระเถระผู้เป็นหัวหน้าพึงคลี่กลุ่มสายสิญจน์แล้วส่งต่อกันไปจนถึงรูปสุดท้ายพออาราธนาศีลถึงวาระที่๓ว่าตติยมฺปิ...ผู้เป็นหัวหน้าพึงตั้งพัดเตรียมให้ศีลการจับพัดให้จับด้วยมือขวาที่ด้ามถัดคอพัดลงมา๔-๕นิ้วหรือกะว่าจับตรงส่วนที่สามตอนบนของด้ามพัดใช้มือกำด้ามด้วยนิ้วทั้ง๔เว้นนิ้วแม่มือเฉพาะนิ้วแม่มือยกขึ้นแตะด้ามให้ทาบตรงขึ้นไปตามด้ามพัดนั้นนำสายสิญจน์ขึ้นพาดไว้บนนิ้วชี้ตั้งพัดให้ตรงหน้าปลายด้ามอยู่กึ่งกลางอย่าให้ห่างตัวหรือชิดตัวมากนักและอย่าตั้งนอกสายสิญจน์ดูหน้าพัดให้หันออกข้างนอกให้พัดตั้งตรงได้ฉากเป็นงามพอจบคำอาราธนาศีลก็ตั้งนโมให้ศีลทันทีให้ไปถึงตอนจบไตรสรณคมน์ไม่ต้องว่า"ติสรณคมนํนิฏฐิตํ"เพราะคำนี้ใช้เฉพาะในพิธีสมาทานศีลจริงๆเช่นสมาทานอุโบสถศีลในการรับศีลเป็นพิธีอย่างในงานทำบุญนี้ไม่ต้องว่าพึงให้ศีลต่อไตรสรณคมน์ไปเลยทีเดียว,พอให้ศีลจบก็วางพัดถ้าไม่ได้นำพัดไปทุกรูปให้ส่งพัดต่อให้รูปที่๓เตรียมขัดสคฺเค

พอเจ้าภาพอาราธนาพระปริตรถึงครั้งที่สามรูปที่ต้องขัดสคฺเคเตรียมตั้งพัดแบบเดียวกับที่กล่าวแล้วพออาราธนาจบก็เริ่มขัดได้พอขัดจบพระสงฆ์ทุกรูปยกสายสิญจน์ขึ้นประนมมือพร้อมกันใช้ง่ามนิ้วแม่มือทั้งสองรับสายสิญจน์ไว้ในระหว่างประนมมือแล้วหัวหน้านำว่านโมและนำสวดมนต์บทต่างๆไปตามแบบนิยม

การเจริญพระพุทธมนต์ในงานมงคลมีกำหนดเป็นหลักดังนี้
:เจ็ดตำนานใช้ในงานมงคลทั่วไป:
สิบสองตำนานธรรมจักรมหาสมัยใช้ในงานมงคลบางอย่างสุดแต่เจ้าภาพประสงค์หรือสุดแต่พระสงฆ์เห็นเป็นการสมควรที่ถือกันมาเป็นธรรมเนียมเช่นในงานทำบุญอายุใหญ่สวดธรรมจักรและเจ็ดตำนานย่องานมงคลสมรสสวดมหาสมัยและเจ็ดตำนานย่อ

ในการเจริญพระพุทธมนต์งานมงคลทุกแบบมีตั้งภาชนะน้ำมนต์ไว้ด้วยก็เพื่อให้พระสงฆ์ทำน้ำมนต์ในขณะสวดการทำน้ำมนต์นิยมว่าเป็นหน้าที่ของหัวหน้าสงฆ์เจ้าภาพจะจุดเทียนน้ำมนต์ตั้งแต่เริ่มสวดมงคลสูตรพอสวดรตนสูตรถึงตอนขีณํปุราณํนวํนตฺถิสมฺภวํ...หัวหน้าสงฆ์พึงใช้มือขวาปลดเทียนน้ำมนต์ออกจากที่ปักถ้าที่น้ำมนต์เป็นครอบพึงเปิดฝาครอบแล้วจับเทียนควบกับสายสิญจน์เอียงให้หยดลงในน้ำทีละหยดๆพร้อมกับสวดพอสวดถึงคำว่านิพฺในคำว่านิพฺพนฺติธีรายถายมฺปทีโปก็ให้จุ่มเทียนลงดับในน้ำมนต์ทันทีพอถึงคำว่าปทีโปจึงยกขึ้นแล้ววางหรือติดเทียนไว้ตามเดิม(นี้กล่าวตามธรรมเนียมแต่ก่อนแต่ในปัจจุบันพอสวดถึงเยสุปฺปยุตฺตา...เตรียมปลดเทียนน้ำมนต์และเริ่มหยดเรื่อยไปดับตรงคำว่านิพฺเช่นเดียวกันก็มี)เป็นอันเสร็จพิธีทำน้ำมนต์ต่อนั้นจึงสวดมนต์ต่อไปจนจบ

อนึ่งในงานมงคลเมื่อตั้งน้ำมนต์ในขณะเจริญพระพุทธมนต์แล้วเสร็จพิธีหรือเสร็จการเลี้ยงพระในวันฉันมักมีประเพณีขอให้พระสงฆ์พรมน้ำพระพุทธมนต์ให้เจ้าภาพและบริเวณสถานที่บ้านเรือนเป็นต้นด้วยถ้าเจ้าภาพประสงค์ให้มีการพรมน้ำพระพุทธมนต์ต่อท้ายเจ้าภาพจะต้องเตรียมสิ่งสำหรับพรมคือหญ้าคาหรือก้านมะยมมัดเป็นกำไว้ให้พร้อมการใช้หญ้าคาเป็นประเพณีติดมาแต่คติพราหมณ์ซึ่งมีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ว่าเมื่อครั้งอสูรกับเทวดาร่วมกันกวนเกษียรสมุทรให้เป็นน้ำอมฤตขึ้นสำเร็จพวกเทวดาหาอุบายกีดกันไม่ให้พวกอสูรได้ดื่มน้ำอำมฤตนั้นจึงเกิดวิวาทถึงรบราฆ่าฟันกันเป็นการใหญ่ในการรบกันนั้นน้ำอมฤตได้กระเซ็นตกมาบนหญ้าคา๒-๓หยดโดยเหตุนี้เองพวกพราหมณ์จึงถือว่าหญ้าคาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะเป็นสิ่งที่กำจัดให้ตายได้ยากเลยนำมาใช้ในพิธีการต่างๆหลายอย่างติดมาจนทุกวันนี้

สำหรับชาวพุทธที่ติดประเพณีพราหมณ์ก็ถือว่าหญ้าคาเป็นหญ้ามงคลเพราะปรากฏเป็นพุทธบัลลังก์ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ร่มโพธิพฤกษ์ในวันตรัสรู้จึงนิยมใช้หญ้าคากันสืบต่อมา

ส่วนที่ใช้ก้านมะยมอีกอย่างหนึ่งเห็นจะเป็นความนิยมเกิดขึ้นในภายหลังและอาจจะนิยมเฉพาะในประเทศไทยอย่างเดียวกับที่ชาวจีนนิยมใช้ก้านทับทิมพรมน้ำมนต์เรื่องใช้ก้านมะยมในหมู่ชาวไทยนี้ได้ทราบอธิบายของเกจิอาจารย์มาว่าท่านถือว่า"ไม้มะยม"มีชื่อพ้องกันกับ"ยมทัณฑ์"คือไม้อาญาสิทธิ์ของพญายมผู้เป็นเจ้าของภูตผีปีศาจไม้ยมทัณฑ์นั้นสามารถปราบหรือกำจัดภูตผีปีศาจได้ทุกทิศทุกทางชาวไทยเราถือเคล็ดที่ชื่อพ้องกันนี้นำมาใช้สำหรับพรมน้ำพระพุทธมนต์เพื่อขับไล่เสนียดจัญไรและเพื่อให้มีความขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้นในการใช้ก้านมะยมนี้จึงนิยมเพิ่มเติมอีกว่าต้องใช้๗ก้านมัดรวมกันโดยถือว่าได้จำนวนเท่ากันกับหัวข้อธรรมในโพชฌงคสูตรซึ่งเป็นธรรมโอสถวิเศษและเท่าจำนวนพระปริตร๗ตำนานที่พระสงฆ์สวดในงานมงคลนั้นด้วยแต่จะอย่างไรก็ตามเรื่องใช้ก้านมะยมพรมแทนหญ้าคาที่นิยมมาเดิมเห็นจะเป็นเพราะในถิ่นที่เจริญแล้วเช่นในเมืองเป็นต้นหาหญ้าคาได้ยากเพราะไม่มีป่าแต่ต้นมะยมมีอยู่ตามบ้านในเมืองไทยนี้ทั่วไปจึงดัดแปลงมาเพื่อใช้สิ่งที่หาได้ง่ายเป็นประมาณนั่นเอง
อ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ   http://www.geocities.com/sakyaputto/mrituals.htm


หัวข้อ: Re: สงสัย...การวางพระพุทธ
เริ่มหัวข้อโดย: ถาวร-LSVteam ที่ มกราคม 17, 2008, 08:35:45 am
พระพุทธ  อยู่ซ้ายมือของเราเสมอ
พระพุทธ  อยู่ขวามือของพระเสมอ
  ผมว่าไม่จริงครับ เพราะผมไปทำบุญที่วัด บางวัดเขาก็มีทั้งซ้าย บางวัดก็ขวาครับ  อย่างวัดศรีบุรีรัตนาราม (วัดเพรียว)พระประทาน อยูซ้ายของพระสงฆ์  แต่วัดทองพุ่มพวง พระประทานอยู่ทางขวามือของพระสงฆ์


หัวข้อ: Re: สงสัย...การวางพระพุทธ
เริ่มหัวข้อโดย: pkkel ที่ มกราคม 17, 2008, 08:42:28 am
สวัสดีครับ  พี่ใหญ่ใจดี พี่เล็ก.........ขอบคุณทุกๆท่าน ครับขอให้บุญกุศลจงเกิดแด่ท่าน ทุกๆ ท่านที่แนะนำ...ขอไปร่วมงานก่อนนะครับ คิดว่าได้คำตอบ  สุดท้ายแล้ว :D :D


หัวข้อ: Re: สงสัย...การวางพระพุทธ
เริ่มหัวข้อโดย: Nimit( Un ) ที่ มกราคม 17, 2008, 08:56:54 am
พระพุทธ  อยู่ซ้ายมือของเราเสมอ
พระพุทธ  อยู่ขวามือของพระเสมอ
  ผมว่าไม่จริงครับ เพราะผมไปทำบุญที่วัด บางวัดเขาก็มีทั้งซ้าย บางวัดก็ขวาครับ  อย่างวัดศรีบุรีรัตนาราม (วัดเพรียว)พระประทาน อยูซ้ายของพระสงฆ์  แต่วัดทองพุ่มพวง พระประทานอยู่ทางขวามือของพระสงฆ์
ครับ  :P  ผมไม่ค่อยเข้าวัด  เลยจำได้แต่ที่เห็นๆ
   :D


หัวข้อ: Re: สงสัย...การวางพระพุทธ
เริ่มหัวข้อโดย: pkkel ที่ มกราคม 17, 2008, 12:55:26 pm
มาให้คำตอบครับเสร็จงานแล้ว ครับ  .....หลังจากกลับไป...... บ้านงานอีกครั้ง พระคุณเจ้า มาก่อนที่ผมจะไปถึงบ้านงานได้ซักครู่ท่านก็ได้ให้   วาง/ย้าย   ตำแหน่งพระพุทธใหม่ ครับโดยให้วาง ทางด้าน ซ้ายเรา  ขวาพระคุณเจ้า  ครับ   จะพอดีกับ ช่วงบันไดขาลง ขั้นที่ หนึ่ง   ท่าน บอกไม่เป็นไร  และปิดทางขึ้งลง ห้ามขึ้น/ลง ครับ  แล้วพระคุณเจ้าจะนั้ง เป็นรูป ตัวแอล  L ครับ :D