หัวข้อ: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: tansom ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2007, 11:19:35 am ช่วยลงภาษาเขมรวันละคำให้หน่อย
หัวข้อ: Re: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2007, 12:18:51 pm บอง สรอลัญ โอน.... พี่รักน้อง จ้ะ
ภาษาเขมร เป็นภาษาตะวันออกอีกภาษาหนึ่งที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงสนพระทัย และทรงเริ่มศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนจิตรลดาดังที่ทรงเล่าพระราชทานไว้ในคำนำหนังสือ เขมรสามยก ความตอนหนึ่งว่า ?...ตั้งแต่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พอรู้แน่ว่าอย่างไรเสียก็คงไม่ได้เรียนแผนกวิทยาศาสตร์ ก็พยายามหัดเรียนภาษาบาลี อ่านเขียนอักษรขอม ซึ่งไทยเรานำมาใช้เขียนคัมภีร์พุทธศาสนา ทั้งที่เป็นภาษาบาลีและภาษาไทย (ขอมไทย) ในสมัยนั้นผู้ที่จะเรียนภาษาไทยให้กว้างขวางลึกซึ้งจะต้องเรียนทั้งภาษาบาลี สันสกฤต และเขมร เพื่อให้เข้าใจที่มาของศัพท์ที่นำมาใช้ในภาษาไทย และเข้าใจในแนวคิดที่มีในวรรณคดีไทย...? ขณะที่ทรงเป็นนิสิตอักษรศาสตร์ชั้นปีที่สอง ทรงศึกษาเพิ่มเติมภาษาเขมรกับศาสตราจารย์ ดร. อุไรศรี วรศะริน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ นักอ่านจารึกโบราณชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลก ดร. อุไรศรีได้ถวายการสอนภาษาเขมรปัจจุบัน เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาภาษาเขมรโบราณ และภาษาสันสกฤตในจารึกเขมรโบราณ นอกจากนั้นแล้วในชั้นเรียนปกติที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ทรงเรียนภาษาเขมรด้วย โดยพระอาจารย์ผู้ถวายการสอนภาษาเขมรเบื้องต้น คือ ศาสตราจารย์ ดร. กาญจนา นาคสกุล ระหว่างที่ทรงศึกษาเพิ่มเติมภาษาเขมรกับศาสตราจารย์ ดร. อุไรศรี นั้น พระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาเขมรในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่นักวิชาการด้านการอ่านจารึกโบราณและเขมรศึกษา ทั้งที่เป็นชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทรงศึกษาตัวอักษรเขมรและภาษาเขมรที่ใช้ในจารึกได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมาก ศาสตราจารย์ ดร. อุไรศรี จึงถวายสำเนาจารึกภาษาเขมรโบราณที่พบใหม่จากปราสาทพนมวัน จังหวัดนครราชสีมา ให้ทรงลองอ่านและทรงแปล แม้จะเป็นการทรงอ่านและทรงแปลจารึกเขมรโบราณเป็นครั้งแรก ก็ทรงวิเคราะห์ตัวอักษรและภาษาเขมรในจารึก พร้อมทั้งทรงอ่านและทรงแปลความในจารึกได้ดีและได้ความหมายถูกต้อง ทรงพระราชนิพนธ์ผลงานชิ้นนี้เป็นบทความภาษาไทย ชื่อเรื่องว่า จารึกปราสาทพนมวัน และเป็นบทความภาษาฝรั่งเศส ชื่อเรื่องว่า Une nouvelle inscription de Pr?s?d Bnam V?n ซึ่งบทความพระราชนิพนธ์เรื่อง จารึกปราสาทพนมวัน นี้ มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและราชอาณาจักรกัมพูชาในรัชสมัยของพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ (ราว พ.ศ. ๑๔๓๒ - ๑๔๔๓) หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน พ.ศ. ๒๕๑๙ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก ที่ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งได้ทรงศึกษารายวิชาภาษาเขมรและความรู้เรื่องเกี่ยวกับเขมรหลายวิชา ที่สำคัญ ได้แก่ วิชาจารึกและอักขรวิธีโบราณ วิชาจารึกภาษาเขมรสมัยก่อนพระนคร วิชาจารึกภาษาเขมรสมัยพระนคร วิชาจารึกภาษาเขมรสมัยหลังพระนคร วิชาระบบเสียงภาษาเขมร วิชาไวยากรณ์ และระบบหน่วยคำภาษาเขมร วิชาคำเขมรในภาษาไทย วิชาหลักภาษาและสนทนาภาษาเขมร วิชาวรรณกรรมเขมรปัจจุบันรวมทั้งวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีเขมร ทรงใช้เวลาในการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยศิลปากรเพียงสองปี ก็ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาจารึกภาษาตะวันออก ทรงทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง จารึกที่พบที่ปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีพระราชประสงค์ที่จะทรงอ่านและทรงแปลจารึกภาษาเขมรและจารึกภาษาสันสกฤตที่พบที่ปราสาทพนมรุ้งทั้งหมด เพื่อทรงเสนอข้อมูลทางภาษาศาสตร์ สังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ และศาสนาที่เกี่ยวข้องกับปราสาทพนมรุ้งในสมัยโบราณ วิทยานิพนธ์เรื่องนี้แสดงถึงพระอัจฉริยภาพในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทางด้านภาษาเขมร ภาษาสันสกฤต ความรู้เรื่องเขมร รวมทั้งความรอบรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่ทรงใช้เพื่อช่วยในการอ่านและทรงแปลความจากจารึกได้อย่างดียิ่ง เพราะนอกจากทรงอ่านและแปลจารึกที่พบที่ปราสาทพนมรุ้งได้ความหมายถูกต้องแล้ว ยังทรงเสนอความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม และสังคมวิทยาด้วย ศาสตราจารย์ ดร. สัตยพรต ศาสตรี ผู้เชี่ยวชาญภาษาสันสกฤตจากมหาวิทยาลัยเดลี ประเทศอินเดีย และศาสตราจารย์โคลด ชาร์ค ผู้เชี่ยวชาญการอ่านจารึกเขมรโบราณจากมหาวิทยาลัยซอร์บอน ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกรรมการตรวจวิทยานิพนธ์นี้ ต่างกล่าวตรงกันว่า ?...เป็นเรื่องยากมาก แต่ก็ทรงแปลได้ถูกต้อง? ศาสตราจารย์จอง บวสเซอลิเยร์ นักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะเขมร ซึ่งอ่านวิทยานิพนธ์ฉบับที่ทรงเป็นภาษาฝรั่งเศส ได้ส่งจดหมายถวายคำวิจารณ์ผ่าน ศาสตราจารย์ ดร. อุไรศรี สรุปความได้ว่า ?...วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นงานที่ยากและดีมาก เขียนอย่างมีระเบียบและมีวิธีการวิจัยที่ดี โครงร่างชัดเจนและคล้องจอง การเขียนแต่ละบทเขียนได้ชัดเจนถูกต้อง ตามระเบียบวิธีการวิจัย...? ใน พ.ศ. ๒๕๒๒ หลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ไม่นาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่ทรงดำรงตำแหน่งอุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ได้มีพระราชกิจสำคัญคือ การสงเคราะห์ชาวเขมรที่อพยพหนีภัยสงครามเข้ามาในประเทศไทย ทำให้ได้ทรงใช้ภาษาเขมรและนำความรู้เรื่องเขมรที่ทรงศึกษามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ได้เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมเด็กกำพร้าเขมรอพยพ ณ สถานพักฟื้นสวางคนิวาส และได้เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมและพระราชทานสิ่งของแก่ราษฎรตามแนวชายแดนตำบลบ้านแก้ง รวมทั้งได้เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมผู้ลี้ภัยชาวเขมร ณ ศูนย์อพยพบ้านแก้ง อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี (ในปัจจุบันอำเภอสระแก้วเป็นจังหวัดสระแก้ว) ในเวลาต่อมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เยือนราชอาณาจักรกัมพูชา ๓ ครั้ง หลังจากนั้นจึงทรงพระราชนิพนธ์ เรื่องเขมรสามยก ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับโบราณสถาน โบราณวัตถุ จารึกโบราณ รวมทั้งสถานที่สำคัญๆ ที่ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตร อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้สนใจศึกษาเกี่ยวกับราชอาณาจักรกัมพูชาทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประเทศกัมพูชา หรือ เขมร มีชื่อเป็นทางการว่า กัมพูชาประชาธิปไตย ตั้งอยู่ทางเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีเขตแดนติดต่อกับอ่าวไทย อยู่ระหว่างไทย เวียดนาม และลาว มีเนื้อที่ 69,898 ตร. ไมล์ หรือ 181,035 ตารางกิโลเมตร (ส่วนที่เป็นพื้นดิน 176,520 ตร.กม. ที่เป็นพื้นน้ำ 4,520 ตร.กม.) มีเขตแดนติดชายแดนลาว 541 กม. ไทย 803 กม. เวียดนาม 1,228 กม. ผู้นำประเทศ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุวรมัน เป็นประมุข นายกรัฐมนตรี คนที่ 1 เสด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ นายกรัฐมนตรี คนที่ 2 สมเด็จฮุนเซน เมืองหลวง คือ กรุงพนมเปญ ประกอบด้วย 20 เขต (khett หรือ จังหวัด) และ 4 เทศบาล (municipalities) ซึ่งเรียกว่ากรุง ได้แก่ 1. บันเทีย เมียนเจย (Banteay Mean Cheay) 2. บัดตัมบอง (Batdambang) 3. กำปงจาม (Kampong Cham) 4. กำปงชะนัง (Kampong Chhnang) 5. กำปงสะพือ (Kampong Spoe) 6. กำปงธม (Kampong Thum) 7. กำปอด (Kampot) 8. กันดาล (Kandal) 9. เกาะกง (Kaoh Kong) 10. กระแต (Kratie) 11. มันดอล กีรี (Mondol Kiri) 12. ออดดา เมียนเจย (Otdar Mean Cheay) 13. โพธิสัต (Pouthisat) 14. พระวิหาร (Preah Vihear) 15. ไปรแวง (Prey Veng) 16. รัตนะ กีรี (Rotanah Kiri) 17. เสียมเรียบ (Siem Reab) 18. สะตึง เตรง (Stoeng Treng) 19. สวายเรียง (Svay Rieng) 20. ตาแก้ว (Takev) และมี 4 เมืองที่เรียกว่า กรุง ดังนี้ 1. พนมเปญ (Phnum Penh) 2. เคป (Keb) 3. สีหนุวิลล์ (Preah Seihanu , Sihanoukville) 4. ไพลิน (Pailin) วันเวลาทำงาน จันทร์-ศุกร์ ธนาคาร : 09.00-16.00 น. ราชการ : 09.00-16.00 น. ธุรกิจ : 09.00-16.00 น. กระแสไฟฟ้า A.C., 50 CYCLES, 120/208 โวลท์ มาตราชั่งตวงวัด ระบบเมตริก ศาสนา : นับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ มากถึง 95 % นอกจากนั้นคือ มุสลิม และ โรมันแคทอลิค ภาษาราชการ ภาษาเขมร ภาษาที่พูดกันได้แก่ ฝรั่งเศส อังกฤษ ไทย จีน เวียดนาม หน่วยเงินตรา สกุลเงิน 1 new riel (CR) = 100 sen อัตราแลกเปลี่ยน 3,500 เรียล : 1 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 100 เรียล = 1 บาท ระบบการปกครอง ประชาธิปไตย ประชากร 12,775,324 ล้านคน (ค.ศ.2002) เป็นชาวเขมร 90% เป็นชาวเวียดนาม 5% เป็นชาวจีน 1% อื่นๆ 4 % อายุ 0-14 ปี 40.7% (ชาย 2,646,883; หญิง 2,550,015) อายุ 15-64 ปี 55.8% (ชาย 3,373,692; หญิง 3,758,736) อายุ 65 ปีขึ้นไป 3.5% (ชาย 182,149; หญิง 263,849) รายได้หลักของประเทศ มาจาก การค้าไม้ ยางพารา ข้าว การประมง สิ่งทอและการท่องเที่ยว **ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปี 2544 อยู่ที่ 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 153,000 ล้านบาท) โดยมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศษฐกิจที่ร้อยละ 5.3 ทั้งนี้รายได้ส่วนใหญ่ของประเทศมาจากภาคบริการ เกษตร และอุตสาหกรรม ตามลำดับ ในปี 2543 มีเงินลงทุนทางตรง (FDI) ไหลเข้า 125.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมียอดหนี้ระยะสั้น 103.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีโทรศัพท์พื้นฐานและเคลื่อนที่ 12.3 เครื่องต่อประชากร 1,000 คน มีคอมพิวเตอร์ 1.1 เครื่องต่อประชากร 1,000 คน มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตราว 6,000 คน (ปี 2543) ตัวอย่างคำภาษาเขมร ขลา ขมัง สมอ ชำนาญ ประสาน ขลัง ขยม สลา ดำรง ประจัญ เขลา ฉนำ สวา กำจัด ประชุม ตรวจ เฉนียน เสงี่ยม กำลัง ประสม ตรอก เฉวียง เสมา จำเพาะ ประเชิญ พลุก ถนอม เสวย ดำเนิน เผด็จ เพลา ไถง แสวง ทำนบ ตำหนิ สรวม ผสม กำเนิด ประจง เสด็จ โสรจ ผสาน กำจาย ประจาน ตรัส สรง สนอง จำนับ ประทม ขจร http://www.ubru.ac.th/ccu/khmer_greeting.html การอ่านออกเสียง การทักทาย http://www.ubru.ac.th/ccu/khmer_number.html การนับเลข http://www.ubru.ac.th/ccu/khmer_day.html วันในสัปดาห์ http://www.ubru.ac.th/ccu/khmer_month.html เดือนในปี สุริยคติ http://www.ubru.ac.th/ccu/khmer_year.html ปีนักษัตร http://www.ubru.ac.th/ccu/khmer_direct.html ทิศ http://www.ubru.ac.th/ccu/khmer_alphabet.html เรียนภาษาเขมร http://www.rfi.fr/langues/statiques/rfi_cambodgien.asp ฟังวิทยุภาษาเขมร http://www.ubru.ac.th/ccu/khmer_alphabet02.html พจนานุกรมไทย-เขมร การทักทาย จุมเรียบซั้ว : คำกล่าวสวัสดีผู้อาวุโส พระสงฆ์ ซัวสเดย : สวัสดี อรุณ ซัวสเดย : อรุณสวัสดิ์ ทิเวียห์ ซัวสเดย : สวัสดีตอนกลางวัน สายอนห์ ซัวเดย : สวัสดีตอนเย็น เรียห์เตรย ซัวสเดย : ราตรีสวัสดิ์ ออกุน : ขอบคุณ ออกุนเจริญ : ขอบคุณมาก เลียซันเฮย : ลาก่อน ผูกมิตร บาด : (คำตอบรับผู้ชาย) ครับ จ้ะ : (คำตอบรับผู้หญิง) ค่ะ เมน : ใช่ มินเมน : ไม่ใช่ ลออ : ดี มินลออ : ไม่ดี มินอิยเต : ไม่เป็นไร ซ็อบบายจิต : ดีใจ ซกสะบายเต๊ : สบายดีไหม บาด/จ้ะ ซกสะบายเต๊ : ครับ/ค่ะ สบายดี สุขะเพียบลออ : ขอให้มีสุขภาพดี อายุเวง : ขอให้อายุยืนยาว รีดจำเริญ : เจริญๆนะพ่อคุณ เนียงลออ : น่ารัก เนียงสะอาด : สวย เนียงสลอ : มีเสน่ห์ ขญม (ขะ-หยม) : ข้าพเจ้า อาหารการกิน บาย : ข้าว บายมวน : ข้าวไก่ทอด บายจรู๊ป : ข้าวหมูทอด บายซ้าปซัด : ข้าวผัดทะเล กุยเตียวประฮัดซัสโก : ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้น ประฮัดซัสโกซุป : เกาเหลาลูกชิ้น ซแวลแต๊ : อร่อยมาก ทะไลปนมาน : ราคาเท่าไร เขมร-เอีย , ไทย-อา กัมปูเจีย : กัมพูชา ประเจียจน : ประชาชน สงเครียม : สงคราม สุขเพียบ : สุขภาพ เอกเรียด : เอกราช สันติเพียบ : สันติภาพ ทาทา sexy naughty bitchy ภาษาเขมร http://72.14.235.104/search?q=cache:2rFL-LhiUy0J:www.jabchai.com/main/view_joke.php%3Fid%3D1976+%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%A3&hl=th&ct=clnk&cd=5&gl=th เพลง รักไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ภาษาเขมร http://72.14.235.104/search?q=cache:K2Kqr4mIHwUJ:www.jabchai.com/main/view_joke.php%3Fid%3D3607+%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%A3&hl=th&ct=clnk&cd=6&gl=th หัวข้อ: Re: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: winai4u-LSV team ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2007, 02:25:42 pm ช่วยลงภาษาเขมรวันละคำให้หน่อย หุหุ วันเดียวเกือบ 100 คำหัวข้อ: Re: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: tansom ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2007, 02:26:48 pm ออกุนเจริญ : ขอบคุณมาก
หัวข้อ: Re: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: theerapan ที่ กุมภาพันธ์ 27, 2007, 05:38:54 pm ภาษาที่ใช้ในประเทศกำพูชาจริงๆนะครับ
บายชา =ข้าวผัด บายชาซะจะรู๊ก=ข้าวผัดใส่หมู โปงเตียเจียน=ไข่เป็ดเจียว ซะจะรู๊ก=ใส่หมู โปงเมือน=ไข่ไก่ สะลอ=แกง สะลอจับฉาย=คล้ายๆแกงจืดเต้าหู้หมูสับ เมอชาซะจะรู๊ก=ผัดเห็ดใส่หมู เอาเท่านี้ก่อนครับ แถมนิดนึง ธนาคาร ก็ ทะนาเคียน จะสังเกตุเห็นว่าส่วนมากสระอาในภาษาไทยจะเป็นสระเอียในภาษาเขมรครับ เช่น สะพาน ก็สะเพียน สันติภาพ ก็ สันติเพียบ อ้อ ตลาดนี่เรียก ผะซา ครับ มาจากคำว่า พล่าซ่า(Plaza) หัวข้อ: Re: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: chai001 ที่ มีนาคม 11, 2007, 03:39:42 am บอง สลัน เนียง พี่รักน้อง
หัวข้อ: Re: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: x_tao ที่ กรกฎาคม 02, 2007, 01:05:37 pm ที่ไหนมีฟอนเขมรม่างครับ ผมขอหน่อย ::) ::) ::) :D
หัวข้อ: Re: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: bunyut ที่ สิงหาคม 01, 2007, 10:49:56 pm แล้วงานช้างสุริน นะไม่มีเรอะ ที่เขาฟอ้นกันนะ ในงานแสงสีเสียงนะ ผมเคยเห็นในทีวีนะ
หัวข้อ: Re: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: hs3ldy ที่ สิงหาคม 02, 2007, 07:11:25 am หลง สุรินทร์ อยู่ที่ไหนมาเร็วพี่น้องต้องการมาสอนที
หัวข้อ: Re: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: pasatik ที่ มีนาคม 14, 2008, 03:15:24 pm นัก.รีน แปลว่า นักเรียน
สะ.รัญ แปลว่า รัก บอง.ป..ะโอน แปลว่า ญาติพี่น้อง กึ๊ด.ดอล แปลว่า คิดถึง เติว.เฮย.เน้อ.บอง.ปะโอน. แปลว่า ไปแล้วเด้อพี่น้อง อิอิ หัวข้อ: Re: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: yo1 ที่ เมษายน 25, 2008, 04:28:48 pm เพือะเซ็นๆๆ
แปลว่า................... หัวข้อ: Re: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: changmazda ที่ เมษายน 29, 2008, 07:26:46 pm เวีย โม ตีด เฮย ( มัน มา อีก แล้ว )
นักร้องเขมร ก้อ ยิ่งยง ยอดบัวงาม ครับที่รู้จักดี ที่ดังแล้วไม่เคยหลงลืมว่าตัวเองเป็นเขมร ดูจากเล่นละครต่างๆ มักจะสอดแทรกคำเขมรให้ งงกันเรื่อยครับ และคนเขมรจะได้อักขระครับ ร กับ ล แยกกันชัดเจน เช่น รัก กับ ลัก (ขโมย) ถ้าคนเขมรพูดจะชัดเจน เช่น คนรักรถ แต่ถ้าที่อื่น พูด คนลักลด งงครับ ไม่รู้ว่า รักรถ หรือ ลักขโมยรถ กันแน่ครับ ขำๆๆ ครับ ถ้าร้องแล้วมันต้องเพลง อาจีงโลยๆ หรือ ร๊อคคงคย ครับผม ลุกครึ่ง สุรินทร์ หัวข้อ: Re: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: nypol ♥ ที่ พฤศจิกายน 06, 2008, 09:00:46 pm โกนขะแมเมนระโอย!!!ขะแมโมเฮย ( โกนขะแม ตะลุง ) embarrassed7 :(
หัวข้อ: Re: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: sodsai13♥ ที่ ธันวาคม 29, 2008, 09:25:39 pm พี่แล้วคำว่า อะจิงโรยโรย :( แปลว่าอะไรครับ laugh2
หัวข้อ: Re: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: nypol ♥ ที่ มิถุนายน 06, 2009, 10:04:33 pm คงเป็น อาจิง ลย ลย น่ะ แปลว่า embarrassed7 อยากรู้จริงๆเหยอ?
หัวข้อ: Re: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: shokunmusicsound ที่ กรกฎาคม 16, 2009, 08:40:25 am อะจิงโรยโรย เป็น คำนามครับ อะจิง แปลว่า ทิดสึกใหม่(บักเซียง ในภาษาอิสาน)
โรยโรย เป็น ชื่อคนครับ แปลเต็มๆว่า ใอ้ทิดโรยโรย ;Dพอดีผมไม่ใช่คนเเถวนั้น แต่เป็นคนที่นั่นเลย :o หัวข้อ: Re: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: nypol ♥ ที่ กรกฎาคม 18, 2009, 08:04:22 pm มันเป็นบทเพลงตอนหนึ่ง ถ้าเข้าใจภาษาเขมรดี ลองผวนกลับดูน่ะครับ แล้วจะสนุก ขำ!!!!! laugh2
laugh2 อาจิงโลยโลย ( .........) หัวข้อ: Re: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: Tian♥ ที่ กรกฎาคม 18, 2009, 11:15:02 pm เพลงนี้ดังพอตัวนะครับฟังแล้วได้อารมณ์ด้วย ขนาดไม่รูภาษายังมันส์เลย
หัวข้อ: Re: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: หลง สุรินทร์ ที่ กรกฎาคม 24, 2009, 07:36:51 am อยากฟังแบบสดๆไหม เดี๋ยวจัดให้ http://www.uploadtoday.com/download/?412584&A=578824
60วันนะครับ หัวข้อ: Re: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: shokunmusicsound ที่ สิงหาคม 16, 2009, 10:23:43 am เอาเพลงกันตรึมมันส์ๆ มาฝากรีบๆโหลดนะครับhttp://sv1.uploadfile.biz/get.php?file=740633936896 (ftp://http://sv1.uploadfile.biz/get.php?file=740633936896)
หัวข้อ: Re: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: shokunmusicsound ที่ สิงหาคม 16, 2009, 10:38:30 am by DjSHOKUNดาวน์โหลด รวมฮิตกันตรึม มันส์.rar คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด
หัวข้อ: Re: อิสาน เขมร เริ่มหัวข้อโดย: Rithy ที่ กรกฎาคม 08, 2010, 02:44:19 pm ถ้าจะเรียนภาษาเขมรต้องแยกให้ออกระหว่าง ร กับ ล
ลองไปเปิดเว็บไซต์ที่เป็นภาษาเขมรมาลองอ่านดู ถ้าเป็นผมชอบฟังข่าวจากกัมพูชามาก http://www.rfa.org/khmer www.kohsantepheapda ily.com.kh แต่ต้องลงภาษาเขมรก่อน เพราะเครื่องของท่านไม่สนับสนุนภาษาเขมร ดาว์นโหลด (http://www.ratanakiri-coffee.com/vogel/en/download/category/3-khmer-unicode.html?download=6%3Akhmer-unicode) |