พิมพ์หน้านี้ - ไฟฉาย พลังเขย่าๆ

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

ห้องโครงงาน - D.I.Y.- เทคโนโลยี่ => ►ถาม-ตอบโครงงาน => ข้อความที่เริ่มโดย: BenQ ที่ กุมภาพันธ์ 19, 2007, 11:00:33 am



หัวข้อ: ไฟฉาย พลังเขย่าๆ
เริ่มหัวข้อโดย: BenQ ที่ กุมภาพันธ์ 19, 2007, 11:00:33 am
ไฟฉายเขย่า พลังงานที่แสงที่ใช้ส่องสว่างได้จากการเขย่ากระบอกไฟฉายครับ และก็มีขายเกลื่อนบ้านหม้อ มีหลายขนาด หลายราคาครับต้งแต่ 70 ขึ้นไป แล้วเจ้านี่มันทำงานยังไง ถึงได้มีแสงไฟออกมาให้ใช้ อ๋อใช้ กฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์ ครับ ตามมาดูของดีข้างในครับ...

ฟาราเดย์ และเฮนรี  ได้ทำการทดลองพบว่าจะเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำในวงจรได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กผลการทดลองมีความสำคัญยิ่งใหญ่มาก คือแหล่งกำเนิดไฟฟ้าทั้งหมดในปัจจุบัน  กฏของฟาราเดย์สรุปได้ว่า   แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำเกิดขึ้นในวงจรมีค่าเท่ากับอัตราการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กที่พุ่งผ่านวงจรนั้น

http://www.rit.ac.th/homepage-sc/charud/virtualexperiment/faraday1/faraday1.htm

เลือก Faraday's Experiment I (การทดลองของฟาราเดย์ I) คุณสามารถใช้เคอร์เซอร์ จับคอยส์หรือแม่เหล็ก เคลื่อนที่ขึ้นหรือลงได้ ให้เปลี่ยนเคอร์เซอร์ไปที่แม่เหล็ก กดเมาส์ค้างไว้ แล้วจับแม่เหล็กใส่เข้าไปในขดลวด สังเกตดูว่า อะไรเกิดขึ้นกับกัลวานอมิเตอร์ ลูกศรสีเหลือง แสดงทิศทางของกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ อย่างไรก็ตามในรูป ไม่ได้แสดงว่าขดลวดหรือคอยส์พันอยู่ในลักษณะใด แต่ให้ใช้กฎของเลนส์ (Lenz's Law) ซึ่งอธิบายได้ว่า สนามแม่เหล็กเนี่ยวนำจะมีทิศทางตรงกันข้ามกับฟลักซ์ ต่อไปให้คุณเลื่อนแม่เหล็กออก และสังเกตดูว่ามีอะไรเกิดขึ้น และตอบคำถามว่าทำไมกระแสไฟฟ้าจึงกลับทิศทาง ทดลองหาความสัมพันธ์ว่ากฎของฟาราเดย์ขึ้นกับอัตราการเปลี่ยนแปลงของฟลักซ์หรือความเร็วของการเคลื่อนที่ขึ้นลงของแท่งแม่เหล็กหรือไม่ ในทางกลับกันให้ยกคอยส์ขึ้นหรือลงโดยกำหนดให้แท่งแม่เหล็กอยู่กับที่ และสังเกตว่าผลเหมือนเดิมหรือไม
        เลือก Faraday's Experiment II (การทดลองของฟารารเดย์ II) คุณสามารถใช้เคอร์เซอร์ เปิดหรือปิดสวิทซ์ และยกคอยส์ขึ้นหรือลงได้ การทดลองนี้แตกต่างกับการทดลองตอนที่ 1 คือเราเปลี่ยนจากแม่เหล็กถาวร เป็นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากขดลวดโซลีนอยส์แทน ให้ปิดสวิทซ์ และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขี้น ต่อไปเปิดสวิทซ์ และสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้น และปิดสวิทซ์อีกครั้ง ต่อไปให้เลื่อนโซลีนอยส์ขึ้นและลงใส่ไปในคอยส์ตัวใหญ่และสังเกตผลว่าเหมือนกับการทดลองที่ 1 หรือไม่

กฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์

http://www.rit.ac.th/homepage-sc/physics2/Physics2_Web/Unit3/c3_06.htm





หัวข้อ: Re: ไฟฉาย พลังเขย่าๆ
เริ่มหัวข้อโดย: BenQ ที่ กุมภาพันธ์ 19, 2007, 11:01:59 am
................... ........ :-X :P


หัวข้อ: Re: ไฟฉาย พลังเขย่าๆ
เริ่มหัวข้อโดย: BenQ ที่ กุมภาพันธ์ 19, 2007, 11:05:59 am
................... .. :P :-X

อย่างไรก็ดี ไฟฉายแบบเขย่าบางตัว เมื่อถอดถ่าน CR2032 ทั้ง 2 ก้อนออกมาแล้ว หลอด LED จะไม่ติดเพราะเนื่องจากว่า
แบตเตอรี่ Backup เสื่อมหรือไม่มีคุณภาพ หรือขดลวดขาด หรือไดโอดบริดจ์เสียเป็นต้นครับ


หัวข้อ: Re: ไฟฉาย พลังเขย่าๆ
เริ่มหัวข้อโดย: bancha.2518 ที่ กันยายน 01, 2007, 08:27:12 am
ท่านBenQ  ไฟฉายแบบเขย่านี้ ระหว่างการพันลวดทองแดงเส้นเล็กรอบมาก (โวลท์มาก กระแสน้อย) กับเส้นใหญ่รอบน้อยลงแบบว่าประมาณค่าโวลท์มากกว่าถ่านเล็กน้อย(โวลท์น้อยกระแสเยอะ) แบบไหนจะดีกว่ากันครับ คือผมจะลองใช้ท่อ PVC ทำนะครับ


หัวข้อ: Re: ไฟฉาย พลังเขย่าๆ
เริ่มหัวข้อโดย: bancha.2518 ที่ กันยายน 01, 2007, 08:30:58 am
อีกอย่าง กระทู้นี้ น่าจะอยู่ในหัวข้อ พลังงานหรือเปล่าครับ  :D


หัวข้อ: Re: ไฟฉาย พลังเขย่าๆ
เริ่มหัวข้อโดย: BenQ ที่ กันยายน 01, 2007, 11:12:34 am
อีกอย่าง กระทู้นี้ น่าจะอยู่ในหัวข้อ พลังงานหรือเปล่าครับ  :D

ไม่จำเป็นหรอกมั๊ง เพราะว่ามันอาศัยถ่าน 2032 ด้วย หากไม่ใช้หลอด LED ก็ไม่ค่อยสว่าง