หัวข้อ: จอแสดงผลแบบหลอดภาพ เริ่มหัวข้อโดย: song bk ที่ พฤศจิกายน 13, 2007, 07:17:59 pm Cathode Ray Tube (CRT) จอซีอาร์ที หรือจอแสดงผลแบบหลอดภาพ
เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1897 โดย นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ Karl Ferdinand Braun โดยพัฒนาเป็นเครื่องมือที่เรียกว่า Oscilloscope ที่ใช้เป็นเครื่องวัดค่าสัญญาณทางไฟฟ้า เริ่มผลิตออกมาในเชิงพาณิชย์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1922 ในรูปแบบของ จอโทรทัศน์ จนถึงทุกวันนี้ การทำงานของจอ CRT จะทำงานอยู่ภายในหลอดสุญญากาศ โดยภายในจะมี Heater Element (ไส้หลอด) เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน จะเกิดความร้อนขึ้น ทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากวงโคจรรอบนิวเคลียสของอะตอม ในโมเลกุลของก๊าซที่บรรจุอยู่ภายในหลอดภาพ แล้วจึงถูกสนามไฟฟ้าจากแผ่นโลหะที่มีรูที่เจาะเอาไว้วางอยู่ด้านหน้า element นี้ ซึ่งรับแรงดันไฟฟ้าด้วยแรงดันที่สูง (High Volts) ซึ่งจะทำให้เกิดการแตกตัวของ ion ของก๊าซเฉื่อย แล้วเกิดการเรืองแสงเป็นสีน้ำเงินขึ้นที่บริเวณผิวหน้าของจอภาพ อันเนื่องมาจากพลังงานของลำอิเล็กตรอนที่พุ่งไปตกกระทบผิวจอ โดยเราควบคุมขนาด และตำแหน่งการตกกระทบของอิเล็กตรอนได้ ด้วยการใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือใช้สนามแม่เหล็กคล่อมที่ความกว้างของหลอดภาพ ต่อมาได้พัฒนาให้เพิ่มความสามารถด้านความคมชัด และความละเอียดของสี ด้วยการใช้ปืนอิเล็กตรอน (Electron Gun) พร้อมทั้ง เพิ่มจำนวนสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นที่บริเวณคอของหลอดภาพ เมื่อลำแสงอิเล็กตรอนพุ่งผ่านคอไปแล้ว จะถูกควบคุมด้วยการกราดตรวจ (Scan) ลำแสงอิเล็กตรอนในการพุ่งไปตกกระทบผิวจอหลอดภาพ ณ.ตำแหน่งที่ต้องการ ด้วยการใช้ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าให้เบี่ยงเบนไปตามความต้องการ หลังจากอิเล็กตรอนพุ่งไปตกบนผิวจอภาพ ที่มีการฉาบเคลือบผิวด้วยสารฟอสฟอร์ (Phosphor สารเคมีที่จะเรืองแสงเมื่อมีอิเล็กตรอนมาตกกระทบ) ทำให้เกิดเป็นจุดแสงที่สว่างและมืดบนจอได้ สำหรับจอสี ลำของอิเล็กตรอนที่ยิงออกมาก่อนจะถึงฟอสฟอร์จะต้องผ่านส่วนที่เรียกว่า หน้ากาก (Shadow Mask) ซึ่งแผ่นโลหะมีรูอยู่ตามจุดของฟอสฟอร์ เมื่อทำหน้าที่ช่วยให้ลำแสงอิเล็กตรอนมีความแม่นยำสูงขึ้นแล้ว ระยะระหว่างรูบนหน้ากาก (Shadow Mask) ก็คือ ระยะระหว่างแต่ละจุดที่จะปรากฏบนจอด้วย โดยเราจะเรียกว่า dot pitch จอภาพที่มีระยะ dot pitch ต่ำจะมีความคมชัดสูงกว่า แต่ละจุดบนจอภาพสี จะประกอบด้วยฟอสฟอร์ 3 จุด คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน อย่างละหนึ่งจุด การยิงอิเล็กตรอนจะเริ่มจากมุมซ้ายบนและไล่ไปตามแนวนอน เมื่อสิ้นสุดจอก็จะกลับไปเริ่มต้นที่แถวถัดไป ซึ่งการย้ายแนวอิเล็กตรอน จากท้ายแถวหนึ่งไปยังจุดเริ่มต้นของแถวถัดไปนี้ เราเรียกว่า การกราดตรวจแบบแรสเตอร์ (Raster Scanning) ขอบคุณวรสารซัมซุง หัวข้อ: Re: จอแสดงผลแบบหลอดภาพ เริ่มหัวข้อโดย: kongmee ที่ พฤศจิกายน 13, 2007, 10:25:52 pm :Dได้ความรู้เพิ่มอีกแล้ว :D
|