หัวข้อ: ขอคำชี้แนะในการเลือกค่า C ในภาคจ่ายไฟ เริ่มหัวข้อโดย: khuanpech ที่ ตุลาคม 24, 2007, 11:12:26 pm เรียน อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน
เนื่องด้วยผมยังไม่เข้าใจการเลือกค่า C ในภาคจ่ายไฟ สูตรที่ผมอ่านเจอ คือ C > I/20 x V - I คือ กระแสของหม้อแปลง ใช่หรือไม่ - V คือ แรงดันที่ยังไม่ได้โหลด ใช่หรือไม่ โจทย์มีว่า _.......ต้องการสร้างแอมป์ ใช้ไฟ -+75 VDC จากหม้อแปลง 55-0-55 ขนาด 20 A C > 20/20 x75 C > 75 ......... 75 นี้เป็นหน่าย V หรือ ไมโคฟาหรัด ถ้าเป็นหน่วยโวลต์ แล้วไมโครฟาหรัด จะใช้สูตรไหน ไม่ทราบว่าผมคิดถูกไหม โปรดชี้แนะด้วย ขอบคุณครับ หัวข้อ: Re: ขอคำชี้แนะในการเลือกค่า C ในภาคจ่ายไฟ เริ่มหัวข้อโดย: bancha.2518 ที่ ตุลาคม 24, 2007, 11:31:38 pm น้องผมบอกว่า 10000 ละแอมป์ แค่เนี้ย
หัวข้อ: Re: ขอคำชี้แนะในการเลือกค่า C ในภาคจ่ายไฟ เริ่มหัวข้อโดย: arjarn99 ที่ ตุลาคม 25, 2007, 09:23:25 am :( ผมว่าใช้10000uF 100v 4 ลูกก็น่าจะพอ แต่ถ้าขับโหลดโอห์มต่ำๆก็ควรใช้ 2200uF 100v
4 ลูกเบสจะหนักแน่นกว่าครับ :-X หัวข้อ: Re: ขอคำชี้แนะในการเลือกค่า C ในภาคจ่ายไฟ เริ่มหัวข้อโดย: Nimit( Un ) ที่ ตุลาคม 25, 2007, 12:40:03 pm ......... 75 นี้เป็นหน่าย V หรือ ไมโคฟาหรัด ]ถ้าเป็นหน่วยโวลต์ แล้วไมโครฟาหรัด จะใช้สูตรไหน 75 เป็นหน่วยแรงดันแล้วครับ เครื่องเสียงของท่าน หม้อแปลง 55-0-55 เอา 55x1.414 = 77.77 v หรือประมาณนี้ 78 V ท่านก็ต้องใช้ ค่าทนแรงดัน ที่มากกว่า เช่น 100 V ครับ ต่ำกว่าระเบิดครับ สูตรการหาค่าความจุ C นั้น ผมยังไม่ได้ลง ไม่มีหลักการตายตัว เมื่อทำบ่อย จะรู้เองครับว่าใช้ค่าเท่าไร เมื่อทำ วิชาการจะตามมาเองครับ ของท่านต้องใช้ C 10000ไมโครฟารัด /100 V จำนวน 4 ตัวครับ หัวข้อ: Re: ขอคำชี้แนะในการเลือกค่า C ในภาคจ่ายไฟ เริ่มหัวข้อโดย: WatHF100♥ ที่ ตุลาคม 25, 2007, 01:55:09 pm การใช้ซี เผื่อโวลท์ไว้บ้างก็ดีครับ
อย่างที่ท่านทั้งหลายแนะนำไว้นั่นแหละสมควรแล้ว ซีทนได้ ๑๐๐โวลท์ ใช้งานไป ๗๗โวลท์ (เวลาที่ต่อโหลดจริงๆ อาจตงลงมานิดหน่อย เช่น ๗๕ โวลท์ .......เท่ากับเราใช้งานแค่ ๗๕เปอร์เซ็นต์โดยประมาณ .........และถ้าหากระบายความร้อนภายในเครื่องดีๆ ซีไม่ร้อนมาก โอกาสที่อายุการใช้งานยืนยาวก็ดีด้วย โดยทั่วไปเลือกค่าไม่ต้องคิดมากก็ 10000uF 100V x4 ตัวต่อข้าง บริดจ์เร็คติฟาย (ติดแท่นระบายความร้อนในตัว) ๓๕แอ็มป์ ต่อข้าง หรือไม่ก็ ๕๐แอ็มป์ต่อข้างก็ได้ แต่ถ้าต้องการประหยัด 2200uF /100V (ถ้าราคาต่อห้าตัว ยังถูกกว่าตัวใหญ่ที่ว่ามาตัวเดียว) แยกให้เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ หรือเฟ็ทขาออก ตัวต่อตัวไปเลย ก็จะยิ่งดีครับ หากต้องการคิดคำนวณ .....งก็เปิดดูดาต้าชีทของซีรุ่นนั้นๆครับ .........ดูสเป็ค Ripple Current มักระบุที่ 100kHz รองรับการชาร์จและจ่ายกระแสริปเปิ้ลได้กี่แอ็มป์ ทีนี้ถ้าใช้กับความถี่สวิทชิ่ง 50kHz แบบสวิทชิ่งในรถ ถือว่าค่าสัมประสิทธิ์คือ ๑ การรับจ่ายกระแสก็ใช้ตัวเลขนั้นได้เลย แต่ถ้าเอามาใช้กับความถี่ต่ำ (ริปเปิ้ล ๑๐๐ เฮิร์ทช์ ต่างกันพันเท่า) สัมประสิทธิ์ตัวคูณจะตกลงมา เพราะความหนาแน่นของรูปคลื่นมันน้อยกว่าความถี่สูง ๑๐๐กิโลเฮิร์ทช์มาก โดยอาจจะเหลือเป็น ๐.๖ หรือ ๐.๗ เท่านั้น เป็นต้น ก็คือเหลือเพียง 60-70% ของ ripple current ที่100kHz ส่วนการเลือกใช้ค่าเท่าไหร่นั้น ........ค่าแยะ จุนาน จ่ายช้า , ค่าน้อยจุเร็ว จ่ายเร็ว กระแสริปเปิ้ล ขึ้นอยู่กับชนิด เกรด รุ่น (และราคา) ของซี แบบที่จ่ายกระแสได้สูงๆ มักราคาสูงด้วยเช่นกัน(ที่สำคัญหายากด้วยซี) ในความเป็นจริงก็เลือกของที่คุณภาพชัวร์ๆไว้ก่อนครับ ทนอุณหภูมิ 105องศายิ่งดี เพราะบางทีมักได้คุณสมบัติ โลว์อิมพีแด้นซ์ จ่ายกระแสริปเปิ้ลได้สูงแถมมาด้วย .......และหากมีเวลาพอ ดูของจริงแล้ว เข้าเน็ท ค้นดูสเป็คก่อนซื้อก็จะยิ่งดีครับ เพราะการใช้งานจริง คุณภาพเสียงจริง อยู่ที่คุณสมบัติการจ่ายกระแส และวัสดุของซีมากกว่าค่าความจุตัวเลขสูงๆ |