หัวข้อ: ว้อยค์แบบไดอะแฟรม อีมิต ของอินฟินิตี้ เริ่มหัวข้อโดย: muad ที่ ตุลาคม 02, 2007, 03:43:33 pm ว้อยค์ไดอะแฟรม เสียงแหลม แบบ อีมิต ของอินฟินิตี้ หาซื้อได้ที่ไหนบ้างครับของผมขาดไปหนึ่งข้าง พี่ๆเพื่อนๆเคยซื้อกันบ้างไหมครับ
หัวข้อ: Re: ว้อยค์แบบไดอะแฟรม อีมิต ของอินฟินิตี้ เริ่มหัวข้อโดย: chowarin ที่ ตุลาคม 02, 2007, 04:06:22 pm อยากมีบ้างจังเขาว่าแหลมใสสุดยอดเลยใช้ใหมครับ ลำโพงแบบนี้
หัวข้อ: Re: ว้อยค์แบบไดอะแฟรม อีมิต ของอินฟินิตี้ เริ่มหัวข้อโดย: muad ที่ ตุลาคม 02, 2007, 04:22:22 pm ถูกต้องครับเสียงสุดยอดมาก สมกับความเป็น INFINITY ข้อมูลเพิ่มเติมครับ
EMIT = Electro Magnetic Induction Tweeter ถ้า EMIM ก็ Midrange ครับ เป็น Tweeter ลิขสิทธิ์เฉพาะของ Infinity หลักการทำงานของ EMIT คือ การเคลื่อนไหวจากแรงสนามแม่เหล็กครับ Diaphragm ของ EMIT จะเป็น Plastic บางเคลือบโลหะนำไฟฟ้าในลักษณะขดลวดเพื่อสร้างสนามแม่เหล็ก และนำแผ่นพลาสติกนี้ไปวางขึงในสนามแม่เหล็กถาวร เมื่อป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไปที่ Diaphragm มันก็จะสร้างสนามแม่เหล็กและเคลื่อนไหวสร้างความดันอากาศ (เสียง) ออกมาครับ ESL = Electrostatic Loudspeaker ตัวอย่างของลำโพงชนิดนี้ก็ Quad ESL Series, Martin Logan ครับ หลักการทำงานของ ESL คือ การเคลื่อนไหวจากแรงสนามไฟฟ้า นี่คือจุดต่างจากลำโพงทุกชนิดในโลกครับ ส่วนประกอบหลักของลำโพงชนิดนี้คือ Diaphragm ที่ทำจาก Plastic บางหรือ Mylar เคลือบสารที่ทำให้เป็นตัวนำไฟฟ้าเช่นน้ำยาเคมีหรือผงถ่าน, แผ่น Plate โลหะเจาะพรุน (จะเรียกตะแกรงก็ได้) 2 ชิ้นขนาดเท่า Diaphragm และแหล่งจ่ายไฟตรงแรงดันสูง (พวกลำโพงเสียบปลั๊กน่ะครับ) โครงสร้างของลำโพง จะนำแผ่นตะแกรงทั้ง 2 มาวางขนานกันและขึง Diaphragm ไว้ระหว่างกลางระยะห่างจาก Plate ทั้ง 2 เท่าๆ กัน ไฟสูง (1000-3000V) จะถูกป้อนเข้าที่ Plate ทั้ง 2 เพื่อสร้างสนามไฟฟ้าขึ้น สัญญาณจาก Amp จะถูกนำมา Step-up เพื่อเพิ่มแรงดันและป้อนเข้าที่ Diaphragm ซึ่งเมื่อ Diaphragm มีศักดิ์ไฟฟ้าเปลี่ยนแปลง ก็จะเคลื่อนเข้าหา Plate ขั้ว +/- ตามกฎของสนามไฟฟ้า ถ้าจะนึกสภาพก็เหมือนหนังกลองนั่นแหล่ะครับ และสร้างเสียงออกมา การออกแบบลำโพง ESL ที่ตอบสนองความถี่ต่ำ จำเป็นต้องทำให้มีขนาดใหญ่ครับ ไม่ใช่เกี่ยวกับ Resonance แต่เป็นเรื่องปริมาตรการผลักอากาศครับ เพราะ Excursion ของ ESL นี่ต่ำมากๆ เลย หน่วย mm อาจจะใหญ่ไปครับ (Excursion คือระยะที่ Diaphragm ขยับไปได้) ESL ที่ตอบสนองต่ำถึง 50Hz (-3dB) อย่างน้อยๆ ต้องขนาด 3x5 ft อะไรประมาณนั้นครับ และอาจจะต้องใช้แรงดันสร้างสนามไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 2500V ด้วย ปัญหาที่ตามมาของการทำ Diaphragm ขนาดใหญ่คือน้ำหนักของ Diaphragm ทำให้ลักษณะการตอบสนองจะมีประสิทธิภาพลดลงเรื่อยๆ เมื่อความถี่สูงขึ้น ลำโพง ESL ยุคหลังๆ อย่าง Martin จึงเลือกทำ ESL ขนาดเล็กและนำ Woofer มารับความถี่ต่ำไปแทน Ribbon เป็นลำโพงอีกชนิดหนึ่ง ตัวอย่างของลำโพงชนิดนี้คือ Magnepan (System), Arrum Cantus (Tweeter), Visaton (Tweeter) หลักการทำงานของ Ribbon Driver คือการเคลื่อนไหวจากแรงสนามแม่เหล็กครับ เพียงแต่ลักษณะ Diaphragm (บ้างก็เรียก membrane) จะทำจากโลหะบางและเบา พับให้เป็นลูกคลื่น และนำไปแขวนไว้ในสนามแม่เหล็กจากแม่เหล็กถาวร (นึกถึงหน้า Maggie ไว้ครับ) สัญญาณจาก Amp จะถูกนำไปผ่านหม้อแปลง Matching เพื่อให้ระดับสัญญาณเหมาะกับ Diaphragm โครงสร้างลูกคลื่นของ Diaphragm จะสร้างสนามแม่เหล็กต้านกับสนามแม่เหล็กจากแม่เหล็กถาวร และ Diaphragm ก็จะสั่นสร้างเสียงขึ้นมา เช่นเดียวกับ ESL ที่การตอบสนองของ Ribbon Driver ถูกจำกัดจากน้ำหนักของ Diaphragm ทำให้ระบบลำโพงอย่าง Maggie ต้องมี Ribbon Driver หลายๆ ตัวประกอบอยู่เป็นชุด โดยที่แต่ละตัวขนาดต่างกันไปตามความถี่ครับ ขนาดเล็กเป็น Tweeter และใหญ่เป็น Woofer หรือแล้วแต่จะออกแบบใช้ Driver กี่ตัวครับ ลำโพงกลุ่มนี้ทั้งกลุ่มเราจะเรียกว่า Planar Driver ครับ หรือชื่ออื่นๆ ที่หมายถึงลำโพงแผ่นน่ะครับ แต่ละชนิดก็มีข้อดี-ข้อจำกัดแตกต่างกัน ที่ผมศึกษาเฉพาะก็คือ ESL ก็จะขอเล่าเฉพาะ ESL นะครับ ESL มีข้อดีเหนือกว่าลำโพงกรวยคือความเพี้ยนต่ำมากครับทั้ง THD (Total Harmonic) และ IMD (Intermodulation) เทียบกับลำโพงกรวยแล้ว ESL มีความเพี้ยน THD ต่ำกว่าเป็น 10 เท่าขึ้นไปครับ ส่วน IMD นี่ไม่ต้องเทียบเลย เพราะ ESL มีค่านี้เกือบ 0 ครับ สาเหตุก็เนื่องจากลักษณะการทำงานของมันครับ คือแรงที่ใช้ผลักอากาศเกิดจากแรงไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเท่าๆ กันในทุกส่วนของ Diaphragm (ขึ้นกับการออกแบบด้วย) ทำให้ความดันอากาศแปรผันตรงกับสัญญาณไฟฟ้าที่เข้ามา นี่ทำให้ THD ต่ำ ในขณะที่ลำโพงกรวยแรงจะเกิดจาก VC ที่ศูนย์กลางของกรวยเท่านั้น ส่วน IMD ที่ต่ำก็ได้จากการที่ ESL มี Excursion ที่ต่ำมาก ทำให้แทบจะไม่เกิด IMD เลย |