พิมพ์หน้านี้ - เรียนท่านผู้รู้ หลักการทำงานของจอ LCD

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"

► อิเล็กทรอนิกส์ ► => รวมวงจรมอนิเตอร์ => ข้อความที่เริ่มโดย: rtm ที่ กันยายน 29, 2007, 05:38:17 pm



หัวข้อ: เรียนท่านผู้รู้ หลักการทำงานของจอ LCD
เริ่มหัวข้อโดย: rtm ที่ กันยายน 29, 2007, 05:38:17 pm
เรียนท่านผู้รู้ หลักการทำงานของจอ LCD  มีอย่างไรบ้างครับ  มีวงจรให้ load หรือเปล่าครับ ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: เรียนท่านผู้รู้ หลักการทำงานของจอ LCD
เริ่มหัวข้อโดย: BenQ ที่ กันยายน 29, 2007, 11:37:05 pm
LCD (Liquid Crystal Display)

เป็นจอภาพที่ใช้อยู่ในเครื่องโน้ตบุ๊ค และกำลังได้รับความนิยมในเครื่องเดสก์ทอป เนื่องจากมีขนาดเล็ก ไม่เปลืองพื้นที่บนโต๊ะทำงาน มีสีสันที่สวยงาม ความละเอียดที่พัฒนาขึ้นมาก และราคาที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจนสามารถซื้อหามาใช้งานได้อย่างไม่ลำบากนัก   จอ LCD มี 2 แบบใหญ่ ๆ ได้แก่ แบบ Active-matrix LCD (AMLCD) หรือเรียกว่า TFT (Thin Film Transister) กับแบบ Passive-matrix LCD หรือเรียกว่า STN (Super Twisted Nematic) หรือบางครั้งเรียกว่า แบบ Dual Scan STN (DSTN) ปัจจุบันนิยมใช้งานแบบ Active-matrix มากกว่า

หลักการทำงานของจอ LCD

จอภาพ LCD จะประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ 7 ชั้น ได้แก่

ชั้นในสุดเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ ทำหน้าที่ให้แสงสว่างออกมา

Diffuser            เป็นกระจกฝ้าทำให้แสงที่กระจายออกมามีความสว่างสม่ำเสมอ

Polarizer           เป็นฟิลเตอร์ที่ยอมให้คลื่นแสงในแนวใดแนวหนึ่งผ่านได้ เช่นแนวนอน แต่ไม่ยอมให้แสงอีกแนวหนึ่งผ่านไป เช่นแสงแนวตั้ง

Glass substrate ชั้นแก้วที่ทำหน้าที่เป็นฐานสำหรับขั้ว electrode

Liquid crystal    ชั้นของผลึกเหลว

แผ่นแก้ว                  ทำหน้าที่ปิดผนึกไว้ไม่ให้ผลึกเหลวไหลออกมาได้

Polarizer           มีฟิลเตอร์อีกชั้นหนึ่งที่วางทำมุมกับฟิลเตอร์เดิม 90 องศา ถ้าเป็นจอสีจะมีฟิลเตอร์สี ( แดง,เขียว,น้ำเงิน) ก่อนถึงตัวฟิลเตอร์นอกสุด

                ในการทำงานของจอภาพ เริ่มจากปล่อยแสงออกจากหลอดไฟ ผ่าน Diffuser ออกมา เมื่อแสงผ่านตัว Polarizer แสงที่กระจัดกระจายจะถูกกรองให้เหลือแต่คลื่นแสงในแนวนอน จากนั้นแสงจะมากระทบที่ชั้นผลึกเหลว ซึ่งจะถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้าที่ไหลผ่านขั้วไฟฟ้าบน Glass substrate ผลึกเหลวที่ถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้าจะมีการบิดตัวของโมเลกุล โดยบิดมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณไฟฟ้าที่ใส่เข้าไป โดยจะบิดตัวได้มากที่สุด 90 องศา ลำแสงที่ตกกระทบผลึกเหลวจะมีการบิดตัวตามไปด้วย เมื่อแสงเดินทางมาถึงตัว Polarizer ชั้นนอก คลื่นแสงที่บิดตัวเป็นมุม 90 องศาก็จะผ่านได้ เกิดเป็นจุดสว่างบนจอภาพ

เครดิต Se-ed


ปล.วงจรผมมี ถ้าอยากได้ส่งแผ่นเปล่ามาหาผมจะไลท์ส่งไปให้ฟรีครับ  :P