หัวข้อ: ทุเรียนไทยมีรายได้เกือบทั้งหมดจากส่งไปขายจีน ถ้าจีนหยุดสั่งซื้อจะเกิดอะไรขึ้น? เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ มิถุนายน 19, 2023, 10:40:37 am https://www.pohchae.com/2023/06/19/thai-durian-sent-to-china/
ทุเรียนไทยเบอร์ 1 ของโลก มีรายได้เกือบทั้งหมดจากส่งไปขายจีน ถ้าจีนหยุดสั่งซื้อจะเกิดอะไรขึ้น? #ทุเรียนไทย #รายได้ #จีน ------------ (https://www.pohchae.com/wp-content/uploads/2023/06/%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.jpg) ทุเรียนไทยเบอร์ 1 ของโลก แต่มีรายได้จากจีน แทบทั้งหมด.. 110,000 ล้านบาท คือมูลค่าการส่งออกทุเรียนของไทยในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่า ในช่วงระยะเวลาเพียง 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้ในวันนี้ ประเทศไทยขึ้นแท่นเบอร์ 1 ผู้ส่งออกทุเรียนของโลก แต่ตลาดส่งออกหลักของเรา แทบทั้งหมด ก็คือ ประเทศจีน แล้วที่ผ่านมา การส่งออกทุเรียนไทย เป็นอย่างไร ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง ปัจจุบัน พื้นที่การปลูกทุเรียนของประเทศไทย ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกและภาคใต้ โดยนอกจากเราจะกินทุเรียนกันภายในประเทศเองแล้ว อีกเป้าหมายหลักของเราก็คือ เพื่อการส่งออกไปยังประเทศจีน ก็ต้องบอกว่า การปลูกทุเรียนเองนั้น ค่อนข้างทำได้ยาก เพราะทุเรียนเป็นพืชที่ทนทานต่อโรค และสภาพอากาศได้น้อย อีกทั้งทุเรียนยังต้องใช้ระยะเวลาหลายปี กว่าจะเริ่มให้ผลผลิตได้ ส่งผลให้ทุเรียนของไทย ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการในตลาดจีน ราคาจึงปรับตัวแพงขึ้น สะท้อนให้เห็นจากราคาในช่วงที่ผ่านมา ปี 2560 ราคา 71 บาทต่อกิโลกรัม ปี 2565 ราคา 121 บาทต่อกิโลกรัม พอเป็นแบบนี้ เกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่เคยปลูกพืชประเภทอื่น จึงตัดสินใจโค่นพืชที่เคยปลูกอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ยางพารา เงาะ ส้ม กาแฟ เป็นต้น แล้วหันมาปลูกทุเรียนแทน ส่งผลให้ทั้งพื้นที่เพาะปลูก และมูลค่าการส่งออกทุเรียนของไทยนั้น เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามไปด้วย ปี 2560 พื้นที่เพาะปลูก 839,000 ไร่ ปี 2565 พื้นที่เพาะปลูก 1,341,000 ไร่ ในขณะที่ถ้ามาดู มูลค่าการส่งออกทุเรียนของไทย ปี 2560 มูลค่าการส่งออก 22,000 ล้านบาท ปี 2565 มูลค่าการส่งออก 110,000 ล้านบาท โดยจุดนี้มีความน่าสนใจ ก็คือ มูลค่าการส่งออกทุเรียนของไทยทั้งหมดก็คือ จีน คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 95% ซึ่งก็พูดได้ว่า จีน เป็นผู้ที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมทุเรียนของประเทศไทย ให้เติบโตในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่การที่เราพึ่งพาจีนมากขนาดนี้ ก็มองเป็นดาบสองคมได้ เช่นกัน.. เพราะหากวันหนึ่งเงื่อนไขทางการค้าระหว่างประเทศบางอย่างเปลี่ยนไป ก็อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกทุเรียนของไทยให้ลดลงอย่างมาก นอกจากนี้ จีนเองก็มีตัวเลือกที่เพิ่มขึ้น จากการที่คู่แข่งประเทศอื่น ๆ อย่างเวียดนาม มาเลเซีย ก็เริ่มมีการส่งออกทุเรียนเข้าไปยังประเทศจีน ซึ่งอาจเข้ามาแย่งส่วนแบ่งทุเรียนไทยอีกด้วย ซึ่งเรื่องนี้ ก็ถือเป็นโจทย์สำคัญของผู้ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เกษตรกรที่ปลูกทุเรียน ไปจนถึงหน่วยงานภาครัฐ ที่ต้องช่วยกันขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศอื่น เพื่อลดการพึ่งพาจีนลง หรือแม้แต่ การพัฒนาคุณภาพทุเรียน และผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ ด้วยการยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มให้ทุเรียนไทยมากขึ้น ทั้งหมดก็เพื่อให้ทุเรียนของเรานั้น ยังคงแข่งขันได้บนเวทีโลก และสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศ ระดับแสนล้านบาท ได้อย่างยั่งยืน ไม่ซ้ำรอยเหมือนหลายสินค้าเกษตรของไทยที่ผ่านมา.. |