หัวข้อ: สธ.จ่อออก พ.ร.ฎ. ให้ สปสช.ดูแลป้องกันโรคทุกสิทธิ์ / CHEER เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ มีนาคม 09, 2023, 06:53:39 am (https://sv1.picz.in.th/images/2023/03/09/eUYrhl.jpg)
เมื่อวันที่ 8 มี.ค. ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช. ร่วมกันแถลงข่าวความคืบหน้าให้ผู้มีสิทธิประกันสังคม ข้าราชการ ใช้บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระบบ สปสช. เตรียมเสนอร่างพระราชกฤษฎีกามอบ สปสช.ดูแลงบสร้างเสริมสุขภาพแก่คนไทยทุกคน นพ.โอภาสกล่าวว่า งบด้านสุขภาพแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ งบการรักษาและงบการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค เช่น การฉีดวัคซีน การตรวจคัดกรองโรค เป็นต้น สำหรับการรักษาพยาบาล การจัดบริการจะครอบคลุมคนไทยทั้งหมด 66 ล้านคน ผ่าน 3 กองทุน คือ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทอง 48 ล้านคน ประกันสังคม 12 ล้านคน และสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ 6 ล้านคน ถือว่าไม่มีปัญหาอะไร แต่ที่มีปัญหา คือ ส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค โดย พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบุเรื่องส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค แต่อีก 2 กองทุนไม่ได้มีเขียนไว้ แต่ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีมาตรา 66 สามารถออกเป็นพระราชกฤษฎีการองรับ ให้กับกองทุนประกันสังคม และ ข้าราชการ มีสิทธิส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคได้ สำหรับปี 2566 งบประมาณหลักประกันสุขภาพฯ มี 204,140 ล้านบาท โดย 90% เป็นงบรักษาพยาบาลประมาณ 180,000 ล้านบาท ส่วนนี้ไม่ค่อยมีปัญหา ส่วนงบส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค 10% ประมาณ 20,000 ล้านบาท เป็นสิทธิบัตรทองงบ 15,000 ล้านบาท ทำให้การส่งเสริมสุขภาพประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีปัญหา ส่วนที่มีปัญหาและมีความเข้าใจไม่ตรงกัน คือ งบสำหรับข้าราชการ และ ประกันสังคม 5,000 ล้านบาท ซึ่งตามกฎหมายให้ออกพระราชกฤษฎีกา เพื่อเอางบประมาณตรงนี้มาใช้ และเป็นการทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย บอร์ด สปสช.ประชุม 14 ธันวาคม 2565 ซึ่งกรรมการประกอบด้วยหลายหน่วยงาน ทั้งรัฐ เอกชน นักกฎหมาย วิชาชีพ ผู้ทรงคุณวุฒิ เอ็นจีโอ มีมติเห็นตรงกันประชาชนคนไทยทุกคน ไม่ว่ากองทุนไหนสามารถรับบริการ ทั้งดูแลรักษา ส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค โดยไม่มีอุปสรรคทางการเงิน และไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยออกพระราชกฤษฎีกาและให้ครม.เห็นชอบ ซึ่งแม้จะเป็น ครม.รักษาการก็สามารถออกได้ แต่ขั้นตอนอาจจะเยอะขึ้น โดย สธ.ให้หน่วยบริการในสังกัดกว่า 1 หมื่นหน่วยงาน ให้บริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคประชาชน ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณ สธ.จะร่วมกับสปสช.ดำเนินการ ย้ำว่า สธ.ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย และประชาชนได้รับบริการโดยไม่เสียสิทธิ์ ด้าน นพ.จเด็จ กล่าวว่า หน่วยบริการนอกสังกัด สธ. นั้น สปสช.ได้ประสาน ทั้งของกองทัพ กทม. มหาวิทยาลัย ให้บริการตามปกติเช่นเดียวกัน ให้ความมั่นใจว่าไม่ได้กระทบบริการ ส่วนข้อจำกัดทางกฎหมาย จึงดำเนินการตามมาตรา 9 มาตรา 10 และ 66 โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกา เพื่อให้สิทธิ์กับหน่วยอื่น ทั้งประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการ ล่าสุด ประกันสังคมและกรมบัญชีกลางทำจดหมายมาเห็นตรงกันว่า จะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยวันที่ 9 มี.ค. เวลา 16.30 น. จะประชุมบอร์ด สปสช.เร่งด่วนตามข้อสั่งการ รมว.สธ.เพื่อให้ความเห็นชอบ เพื่อมีเวลาส่วนหนึ่งในการเสนอ ครม.ดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกาต่อไป ซึ่งจะรวมถึงข้าราชการสังกัด กทม. เมืองพัทยา รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระต่างๆ ขับเคลื่อนในเรื่องนี้ให้เสร็จในครั้งเดียว และยังเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นต่อร่างผ่านเว็บไซต์ สปสช. "ยืนยันว่าประชาชนไม่มีผลกระทบการรับบริการ หากมีพระราชกฤษฎีกามาแล้ว งบประมาณที่เตรียมไว้ในปี 2566 ก็จะดำเนินการจัดสรรต่อไป" นพ.จเด็จกล่าว ถามถึงกรณีกลุ่มภาคประชาชนออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องในสิทธิป้องกันโรค นพ.จเด็จกล่าวว่า เรามีการสื่อสารหลายครั้งต่อเนื่อง เหมือนที่สื่อสารในสภาว่าในเดือนมีนาคมจะดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งไม่ต้องมาเถียงกันแล้วว่าจะทำอย่างไร เราทำตามพ.ร.บ.หลักประกันฯ มาตรา 9 มาตรา 10 และ 66 สมัยก่อนอาจมีการท้วงว่า ทำไมไม่ทำแบบนั้นแบบนี้ สิ่งที่มีข้อเสนอต่างๆในวันนี้ ทั้งสธ.และสปสช.ได้เดินหน้าขับเคลื่อนโดยใช้ 3 มาตรานี้ จะทำให้ระบบยั่งยืนกว่า แทนใช้กระบวนการทางบริหารเป็นครั้งๆไป ส่วนประชาชนที่กังวลว่าจะไม่ได้รับบริการยืนยันว่า เราจัดเตรียมตรงนี้ร่วมกับสธ. ซึ่งปลัด สธ.ก็ยืนยันว่า หน่วยบริการ สธ.ยังให้การจัดบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคอยู่ ส่วนสังกัดอื่น สปสช.ก็ไปประสาน ก็ยินดีให้บริการ แต่หากไม่สะดวกจะให้แจ้งมา สปสช.เพื่อจัดระบบส่งต่อ เพื่อให้ได้รับบริการต่อไปอาจจะต้องมีการสื่อสารอีกครั้ง "ที่ผ่านมามติบอร์ดมีการขึ้นเว็บไซต์ทุกครั้ง มีการสื่อสารผ่านสื่อสาธารณะ แต่การเคลื่อนไหวก็ถือว่าเป็นสิทธิ แต่หากมีโอกาสเราก็จะขอชี้แจงในกระบวนการของเรา ส่วนใหญ่ที่มากังวลในเรื่องการให้บริการ อย่างเรื่องท้องไม่พร้อมจริงๆ ก็เป็นปัญหาตั้งแต่ก่อนหน้านั้นในเรื่องของผู้ให้บริการ ซึ่งเมื่อให้ข้อมูลมาแล้วก็ยินดีที่จะชี้แจง ยืนยันว่าสิ่งที่ดำเนินการอยู่ไม่กระทบบริการ แต่หากกระทบก็ให้แจ้งมาจะดำเนินการแก้ปัญหา" นพ.จเด็จกล่าว สำหรับการแสดงความคิดเห็น ร่าง พ.ร.ฎ. กำหนดสิทธิรับบริการสาธารณสุข 6 ฉบับ ประกอบด้วย วันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 10 มีนาคม 2566 เปิดรับความคิดเห็น กลุ่มข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการ แสดงความคิดเห็นได้ที่ โค๊ด: https://law.go.th/listeningDetail?survey_id=MTYwMURHQV9MQVdfRlJPTlRFTkQ= กลุ่มผู้ประกันตน แสดงความคิดเห็นได้ที่ โค๊ด: https://law.go.th/listeningDetail?survey_id=MTYwM0RHQV9MQVdfRlJPTlRFTkQ= วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 13 มีนาคม 2566 เปิดรับความคิดเห็น กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ แสดงความคิดเห็นได้ที่ โค๊ด: http://law.go.th/listeningDetail?survey_id=MTYwOURHQV9MQVdfRlJPTlRFTkQ= กลุ่มผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานอื่นของรัฐ แสดงความคิดเห็นได้ที่ โค๊ด: http://law.go.th/listeningDetail?survey_id=MTYxMERHQV9MQVdfRlJPTlRFTkQ= กลุ่มพนักงานเมืองพัทยา แสดงความคิดเห็นได้ที่ โค๊ด: http://law.go.th/listeningDetail?survey_id=MTYwN0RHQV9MQVdfRlJPTlRFTkQ= กลุ่มผู้มีสิทธิเบิกจ่ายเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของกรุงเทพมหานคร แสดงความคิดเห็นได้ที่ โค๊ด: http://law.go.th/listeningDetail?survey_id=MTYwNkRHQV9MQVdfRlJPTlRFTkQ= ping! หัวข้อ: Re: สธ.จ่อออก พ.ร.ฎ. ให้ สปสช.ดูแลป้องกันโรคทุกสิทธิ์ / CHEER เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ มีนาคม 11, 2023, 09:55:03 am เมื่อวันที่ 10 มี.ค. นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี
เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงผลการประชุมบอร์ด สปสช.นัดพิเศษ เมื่อวันที่ 9 มี.ค. ที่ผ่านมา ที่มัการพิจารณาร่าง พ.ร.ฎ.ให้ สปสช.บริหารจัดการงบส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค สำหรับกลุ่มนอกสิทธิบัตรทอง ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบยกร่าง พ.ร.ฎ.ทั้ง 6 ฉบับ เพื่อให้ประชาชนกว่า 66 ล้านคน แม้จะอยู่นอกสิทธิบัตรทอง เช่น ข้าราชการ ประกันสังคม เป็นต้น สามารถรับบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคได้ จากนี้จะส่งให้ รมว.สธ. เสนอเข้าที่ประชุม ครม.ดำเนินการออกพ.ร.ฎ. ต่อไป เบื้องต้นพยายามให้ทันการประชุม ครม.วันที่ 14 มี.ค.นี้ หรือยังพอมีเวลาก่อนจะมีการยุบสภา ทั้งนี้ ตามหลักการแล้วหาก ครม. เห็นชอบร่าง ก็จะทำให้ประชาชนทุกสิทธิทุกกองทุนใช้งบส่งเสริมป้องกันโรคได้ แหล่งข่าวในที่ประชุมบอร์ด สปสช. กล่าวว่า ทุกอย่างเป็นไปตามที่มีการหารือกัน ไม่มีปัญหาอะไร ที่เหลือรอให้ สปสช. ส่งร่างพ.ร.ฎ. ให้ รมว.สธ ส่งเข้าที่ประชุม ครม. ส่วนจะทันวันที่ 14 มี.ค. หรือไม่ ขึ้นอยู่กับ สปสช. ว่าจะเร่งทำร่างเสร็จทันหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ถึงไม่ทันเพราะยุบสภาก่อน แต่ก็สามารถนำเข้า ครม. ในรัฐบาลรักษาการได้ ส่วนกรณีภาคประชาชนยังคงออกมาเรียกร้องให้แก้ไข ปัญหางบส่งเสริมป้องกันโรค ทั้งที่ สปสช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก้ไขปัญหา ด้วยการออกเป็น พ.ร.ฎ. ตามกฎหมาย เพื่อให้การใช้งบครอบคลุมคนไทยทุกกลุ่มตามลำดับมาก่อนหน้านี้แล้ว จึงทำให้เกิดคำถามว่า การเรียกร้องเกิดจากความไม่รู้เรื่องจริงๆ หรือออกมาเคลื่อนไหวเพื่อหวังผลทางการเมือง เพราะ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 กำหนดไว้ว่า งบประมาณดูแลประชาชนจะรวมถึงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคด้วย ดังนั้น หากศึกษารายละเอียดก็จะทราบข้อเท็จจริง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับร่าง พ.ร.ฎ.6 ฉบับ ประกอบด้วย 1.ผู้ใช้สิทธิสวัสดิการข้าราชการ 2.กลุ่มข้าราชการ กทม. 3.ข้าราชการสังกัดเมืองพัทยา 4.พนักงานรัฐวิสาหกิจ 5.องค์กรอิสระ และ 6.กลุ่มผู้ประกันตน ซึ่งขณะนี้ สปสช. ปิดระบบการรับฟังความเห็นต่อร่าง พ.ร.ฎ. 6 ฉบับแล้ว โค๊ด: https://mgronline.com/qol/detail/9660000022658 หัวข้อ: Re: สธ.จ่อออก พ.ร.ฎ. ให้ สปสช.ดูแลป้องกันโรคทุกสิทธิ์ / CHEER เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ มีนาคม 11, 2023, 10:01:12 am เมื่อวันที่ 2 มี.ค. นายนิมิตร์ เทียนอุดม
กรรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ผู้แทนภาคประชาชน ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเตรียมออก พ.ร.ฎ.ปลดล็อกให้ สปสช.ดูแลงบส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค (งบ PP) ครอบคลุมถึงสิทธิประกันสังคมและข้าราชการ ซึ่งสำนักงานประกันสังคมและกรมบัญชีกลางยินยอมแล้ว โดยจะนำร่างเข้าบอร์ด สปสช.พิจารณาวันที่ 13 มี.ค.นี้ และเสนอ ครม.วันที่ 14 มี.ค. ว่า เรื่องนี้เกิดจากการตีความไม่ตรงกันของ งบ PP ที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มมีระบบหลักกันสุขภาพฯ มีการตีความว่าเพื่อประชาชนทุกคน เพราะสิทธิข้าราชการและประกันสังคมไม่มีสิทธิดังกล่าวในระบบ จนปี 2565 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ตีความต่างออกไป ทำให้งบนี้ถูกชะลอ ทำให้คนเสียสิทธิ อย่างเด็กเกิดมาทุกคนต้องได้วัคซีนพื้นฐาน ไม่ต้องสนใจว่าพ่อแม่เป็นสิทธิอะไร เมื่อแยกว่างบ PP จะได้เฉพาะสิทธิบัตรทอง ก็ทำให้ผู้ปฏิบัติงานใน รพ.ให้เฉพาะกลุ่มบัตรทอง เพื่อให้จำนวนสอดคล้องกับการจัดซื้อจัดจ้างที่ลดลง เพราะไม่ได้ให้กับเด็กทุกคนเหมือนเดิม ทางออกที่ดีที่สุดในตอนนี้ คือ การออก พ.ร.ฎ. โดยเดิม ม.9 และ ม.10 เป็นการรวมกองทุนทั้งระบบ แต่ว่ายังไม่ถึงขั้นที่ต้องรวมทั้ง 3 กองทุน ครั้งนี้จึงมีการแยกเฉพาะเรื่องงบส่งเสริมป้องกันฯ ที่ขาดอยู่ ให้เหมือนเดิมที่เคยได้ ฉะนั้นเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่ต้องรีบทำ นายนิมิตร์ กล่าว ถามว่าถ้าหากร่าง พ.ร.ฎ. ไม่ทันเข้า ครม. วันที่ 14 มี.ค. จะทำอย่างไร นายนิมิตร์ กล่าวว่า ก่อนจะยกร่าง พ.ร.ฎ.เข้าบอร์ด สปสช. วันที่ 13 มี.ค. ระหว่างนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการตามขั้นตอน ของกฎหมายให้ครบทุกวงเล็บในทุกสิทธิ ทั้งประกันสังคมและข้าราชการ เพื่อให้ทุกคนได้รับสิทธิส่งเสริมป้องกันฯ เหมือนเดิมโดยไม่ขาดตกในข้อใด คู่ขนานกับการเปิดรับฟังความเห็น จากทุกฝ่ายในทุกสิทธิ ทุกคนรู้เงื่อนเวลานี้ จากนั้นเมื่อเข้าบอร์ด สปสช. วันที่ 13 มี.ค.เสร็จ รมว.สธ.ก็จะเป็นผู้นำเสนอ ครม. วันที่ 14 มี.ค. ทุกคนก็กลืนเลือดกันหมด เพราะเราก็อยากให้ทัน แต่ถ้าไม่ทันจริงๆ ก็ต้องกลับไปถาม สธ. เพราะช่วงที่มีปัญหาแรกๆ สธ. ขอให้ประกาศเฉพาะสิทธิบัตรทองก่อน ส่วนนอกเหนือบัตรทอง สธ. ก็ขอให้หน่วยบริการของ สธ. ให้บริการเหมือนเดิมโดยไม่คิดค่าบริการ ถ้าเป็นหน่วยบริการอื่นนอก สธ. ทาง สปสช. ก็ขอความร่วมมือให้บริการตามเดิม แล้วทำเรื่องเบิกกับ สปสช. ภายหลัง ซึ่งตรงนี้จะมีปัญหาว่าหน่วยบริการไม่มั่นใจว่าจะเบิกได้ บางส่วนก็เรียกเก็บเงินประชาชน ซึ่งก็จะเกิดปัญหาเรื่องการให้บริการ นายนิมิตร์ กล่าว โค๊ด: https://mgronline.com/qol/detail/9660000020102 หัวข้อ: Re: สธ.จ่อออก พ.ร.ฎ. ให้ สปสช.ดูแลป้องกันโรคทุกสิทธิ์ / CHEER เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ มีนาคม 11, 2023, 10:07:39 am ตามข่าวนี้เกาะติด เพราะ
ไปขอรับบริการการรักษาที่กรมแพทย์แผนไทย ไปครั้งแรก เสีย 50 บาท ไปครั้งที่สอง เสีย 400 บาท เลย มึน ว่าจ่ายประกันสังคมทุกเดือน ต้องมาเสีย 2 เด้ง อีก เพราะ อะไร? เพื่อนๆเคย บ่นมาให้ฟังว่า (ปกส.) ไปรับรักษาที่กระทรวงสาธารณสุข(กรมแพทย์แผนไทย) ไปครั้งแรก เสียค่าบริการ ไม่ถึงร้อย พอไปครั้งที่ 2 เสีย 500 บาท ต้องเกาะติด ข่าวนี้ เพื่อสิทธิ์ของเรา ไม่นานมานี้ไปเช็ค เบาหวาน ที่ หน่วยบริการสาธารณสุข คลอง 1 แค่เจาะเลือด เช็ค เสีย 70 บาท รัยวะ ? |