หัวข้อ: แก้ปัญหาหมูแพง! ธ.ก.ส.เร่งปล่อยกู้ 3 หมื่นล้าน สนับสนุนเกษตรกรให้เลี้ยงหมู เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ มกราคม 09, 2022, 10:07:50 am https://108kaset.com/2022/01/09/problem-of-expensive-pork-in-thailand
แก้ปัญหาหมูแพง! ธ.ก.ส.เร่งปล่อยกู้ 3 หมื่นล้าน สนับสนุนเกษตรกรให้เลี้ยงหมู เพิ่มปริมาณเข้าตลาด #ปัญหาหมูแพง #ปล่อยกู้3หมื่นล้าน #ธกส ----------- (https://108kaset.com/wp-content/uploads/2022/01/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%870.jpg) แก้ราคาแพง! ธ.ก.ส.เร่งปล่อยกู้ 3 หมื่นล้าน หนุนเกษตรกรเลี้ยงหมู เพิ่มปริมาณเข้าตลาด หลังเจอโรคระบาดร้ายแรงในรอบ 2 ปี บวกต้นทุนค่าอาหารสัตว์พุ่ง 5 ม.ค. 2565 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง และประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากปัญหาราคาเนื้อสุกรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งผลกระทบของโรคระบาดร้ายแรงในสุกรทำให้จำนวนสุกรออกสู่ตลาดลดลง ประกอบกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สำคัญๆ อาทิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง เป็นต้น มีราคาแพงขึ้นอย่างมาก ทำให้เกษตรกรต้องรับภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อเนื่องมายังผู้บริโภค.. นายอาคม กล่าวต่อว่า รัฐบาลได้เร่งออกนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการงดส่งออกสุกรมีชีวิต การงดเว้นการเก็บค่าธรรมเนียม/ภาษี รวมทั้งการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อทดแทนการนำเข้า เพื่อช่วยเหลือด้านราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ รวมถึงการจัดสินเชื่อพิเศษเพื่อการฟื้นฟูการผลิตสุกรเป็นการจำเพาะ ผ่านระบบ ธ.ก.ส. เพื่อสร้างความเข้มแข็งในระบบการเลี้ยงสุกรที่ส่งผลดีทั้งต่อเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค ด้าน นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรราว 190,000 ราย กว่า 90% เป็นรายย่อย ซึ่งผลิตสุกรในระบบประมาณ 30% ในจำนวนนี้เป็นเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. จำนวน 59,205 ราย ขณะที่ผู้เลี้ยงรายกลางและรายใหญ่มีประมาณ 3% แต่ผลิตสุกรประมาณ 70% โดยสุกรที่ขุนได้เฉลี่ยปีละ 22 ล้านตัว ซึ่งกว่า 90% ใช้บริโภคภายในประเทศ นายธนารัตน์ กล่าวต่อว่า จากผลกระทบของโรคระบาดร้ายแรงในสุกรในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แม้ไทยจะควบคุมโรคได้ดี แต่ก็ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายไปราว 30-40% เหลือเพียงประมาณ 18 ล้านตัวเศษ และคาดว่าปี 2565 จะผลิตได้เพียง 13-15 ล้านตัว เมื่อประกอบกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีผู้เลี้ยงรายใหม่ลดลง เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว ในส่วนของ ธ.ก.ส. ได้จัดเตรียมสินเชื่อพิเศษสำหรับเป็นทุนในการสนับสนุนการเลี้ยงสุกร การเพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตรที่จำเป็นต่อการผลิตอาหารสัตว์ และการวางระบบการเลี้ยงที่เป็นมาตรฐาน เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากปัญหาโรคระบาดที่มักจะเกิดขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณสุกรให้ออกสู่ตลาดได้มากขึ้น วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.สินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ สำหรับเกษตรกรรายย่อยและบุคคลในครัวเรือนที่ประสงค์จะกู้เงิน เพื่อไปลงทุนเลี้ยงสุกรหรืออื่นๆ เพื่อเป็นการสร้างอาชีพ วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย กรณีกู้เป็นค่าใช้จ่ายคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี กำหนดระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 12 เดือน (พิเศษไม่เกิน 18 เดือน) นับแต่วันกู้ กรณีเป็นค่าลงทุนปีที่ 1-3 คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี ปีที่ 4-5 อัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.5 ต่อปี) กำหนดระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 5 ปี โดยปลอดชำระต้นเงิน 2 ปีแรก 2.สินเชื่อ Food Safety เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนหรือเพื่อเป็นค่าลงทุนในการส่งเสริมการประกอบอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อัตราดอกเบี้ยกรณีเกษตรกร MRR (ปัจจุบัน MRR เท่ากับ ร้อยละ 6.5 ต่อปี) กรณีผู้ประกอบการ นิติบุคคล กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือองค์กร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร ดอกเบี้ย MLR (ปัจจุบัน MLR เท่ากับ ร้อยละ 4.875 ต่อปี) พิเศษสำหรับผู้ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฯ หรือแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานราชการหรือเอกชน กรณีเกษตรกร ดอกเบี้ย MRR-1 กรณีผู้ประกอบการ นิติบุคคลต่าง ๆ ดอกเบี้ย MLR-0.5 ระยะเวลาชำระคืน กรณีค่าใช้จ่ายหมุนเวียน ไม่เกิน 12 เดือน (กรณีพิเศษ ไม่เกิน 18 เดือนนับแต่วันกู้) กรณีค่าลงทุน ไม่เกิน 15 ปี 3.สินเชื่อเสริมแกร่ง SME เกษตร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนหรือค่าลงทุนในการประกอบธุรกิจ โดยมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ หรือรักษาสิ่งแวดล้อม กำหนด วงเงินกู้ไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-2 ร้อยละ 4 ต่อปี และปีที่ 3-10 อัตราดอกเบี้ย MRR-1 / MLR / MOR ตามประเภทของลูกค้า (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.5 ต่อปี / MLR เท่ากับร้อยละ 4.875 ต่อปี และ MOR เท่ากับร้อยละ 6.25 ต่อปี) นายธนารัตน์ กล่าวอีกว่า กรณีที่ผู้ประกอบการสามารถนำ Platform มาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ หรือมีการรับซื้อผลผลิตเกษตรอินทรีย์หรืออาหารปลอดภัย (Food Safety) ที่มีมาตรฐานรับรองหรือรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรต้นน้ำหรือกลุ่มวิสาหกิจที่ได้รับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของต้นทุนวัตถุดิบ หรือเป็นธุรกิจที่นำหลักโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ องค์รวม (BCG Model) อย่างใดอย่างหนึ่งมาใช้จะได้รับอัตราดอกเบี้ยในปีที่ 3-4 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี เพิ่มอีก 2 ปี ทั้งนี้ เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด. ติดตามคลิปภาพและเนื้อหาทั้งหมดได้ที่นี่ > https://108kaset.com/2022/01/09/problem-of-expensive-pork-in-thailand |