รายชื่อช็อกโกแลต ที่มีสารปนเปื้อนตะกั่ว-แคดเมียม แต่ยังไม่เกินมาตรฐาน
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 27, 2024, 03:51:31 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รายชื่อช็อกโกแลต ที่มีสารปนเปื้อนตะกั่ว-แคดเมียม แต่ยังไม่เกินมาตรฐาน  (อ่าน 1540 ครั้ง)
nongtop
ผู้ช่วย Admin
member
*****

คะแนน682
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1433


อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 05, 2017, 12:29:58 pm »

หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ คลิ๊ก!!ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง> w w w.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >>
https://goo.gl/ze37jK



4 ตุลาคม 2560 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แถลงผลการสุ่มทดสอบการปนเปื้อนสารตะกั่วและแคดเมียมในช็อกโกแลตยี่ห้อดัง 19 ตัวอย่าง ที่ผลิตในประเทศและนำเข้า โดยสุ่มเก็บตัวอย่างในเดือนสิงหาคม-กันยายน 2560 แบ่งเป็นดาร์กช็อกโกแลต จำนวน 10 ตัวอย่าง และช็อกโกแลตประเภทอื่น ๆ 9 ตัวอย่าง..

..โดย น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขานุการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า จากการทดสอบของศูนย์ทดสอบนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พบว่า มีช็อกโกแลตที่พบการปนเปื้อนของสารตะกั่วและแคดเมียม 8 ตัวอย่าง ..

1. ลินด์ เอ็กเซลเลนท์ ดาร์ก 85% โกโก้ (Lindt Excellence Dark 85% Cocoa)
2. ทอปเบอโรน (Toblerone) ดาร์ก ช็อกโกแลต ผสมน้ำผึ้ง และอัลมอนด์ นูกัต
3. เบอรีล 80% คาเคา ดาร์กช็อกโกแลต (Beryle’s 80% CACAO dark Chocolate coklat hitam
4. กีเลียน เบลเจี้ยน ช็อกโกแลต ดาร์ก 72% (GuyLian Belgian Chocolate Dark 72%)
5. ริตเตอร์ สปอร์ต 50% โกโก้ ดาร์ก ช็อกโกแลต (Ritter Sport 50% Cocoa Dark chocolate with fine cocoa from papua new Guinee)
6. ล็อกเกอร์ ดาร์ก-นอร์ (Loacker Dark-Noir)
7. เฮอร์ชี่ ดาร์ก ช็อกโกแลต (Hershey’s Dark chocolate)
8. คินเดอร์ บูเอโน่ ดาร์ก ลิมิเต็ด อิดิชั่น (kinder Bueno Dark limited Edition)

ส่วนช็อกโกแลตที่พบการปนเปื้อนของแคดเมียม มี 10 ตัวอย่าง ได้แก่

1. ลอตเต้ กานา แบล็ก ช็อกโกแลต เอ็กซ์ตร้า โกโก้ (Lotte Ghana Black Chocolate Extra cocoa)
          2. เบอรีล อัลมอนด์ (Beryl’s Almond)
          3. ยูไนเต็ด อัลมอนด์ ไวท์ แอนด์ ดาร์ก ช็อกโกแลต (UNITED Almond White Chocolate & Dark Chocolate)
          4. ล็อตเต้ กานา เอ็กซ์ตร้า คาเคา แบล็ก (LoTTE Ghana Extra Cacao Black)
          5. มอรินากะ ดาร์ส ดาร์ก ช็อกโกแลต (morinaga DARS dark chocolate)
          6. เนสท์เล่ คิทแคท (nestle KitKat) ช็อกโกแลตนมสอดไส้เวเฟอร์
          7. โนเบิลไทม์ (NOBLE TIME)
          8. เฟอเรโร รอชเชอ (Ferrero Rocher) ช็อกโกแลตนมผสมเกล็ดเฮเซลนัทสอดไส้ครีมและเฮเซลนัท
          9. ทวินช็อกฮาร์ท (TWIN-CHOCK HEART)
          10. เฮอร์ เว่ย แดรี่ มิลค์ (HER WEI Dairy Milk)

นอกจากนี้ ยังมีช็อกโกแลต 2 ตัวอย่าง ที่ไม่มีการแสดงฉลากเป็นภาษาไทย และไม่มีการแสดงเลขสารบบผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ เบอรีล อัลมอนด์ (Beryl’s Almond) และ เฮอร์ เว่ย แดรี่ มิลค์ (HER WEI Dairy Milk) ซึ่งทั้ง 2 ตัวอย่าง ผลิตในประเทศมาเลเซีย

ขณะที่ผลการทดสอบในครั้งนี้ พบว่ามีช็อกโกแลตเพียงตัวอย่างเดียวที่ “ไม่พบ” ทั้งสารตะกั่วและแคดเมียม คือ ลินด์ สวิส คลาสสิก ไวท์ ช็อกโกแลต

อย่างไรก็ตาม การสุ่มตรวจสารตะกั่วและแคดเมียมในช็อกโกแลตครั้งนี้ เมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานตะกั่วทั้งในและต่างประเทศ แม้จะพบว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานทุกตัวอย่าง แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานการปนเปื้อนสารแคดเมียม จึงอยากเรียกร้องให้คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทำมาตรฐานแคดเมียม เนื่องจากในยุโรปได้มีการกำหนดมาตรฐานเรื่องแคดเมียมไว้แล้ว และจะบังคับใช้ในปี 2562 จึงเห็นว่าควรมีการนำมาตรฐานนี้มาใช้ในประเทศไทย

ด้าน น.ส.มลฤดี โพธิ์อินทร์ นักวิชาการด้านอาหาร มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า การปนเปื้อนของสารตะกั่วและแคดเมียมในอาหาร ไม่สามารถทำลายได้ด้วยความร้อน เพราะทั้ง 2 ชนิด เป็นสารที่ทนความร้อนสูง แม้ผลทดสอบการปนเปื้อนตะกั่วและแคดเมียมในช็อกโกแลตดังกล่าว จะไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน แต่สารโลหะหนักเหล่านี้สามารถสะสมในร่างกายได้ ดังนั้น ผู้บริโภคควรระมัดระวังอาหารที่มีส่วนผสมของช็อกโกแลต

โดยกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้ปริมาณสารตะกั่วในช็อกโกแลตต้องไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่หากเป็นช็อกโกแลตชนิดไม่หวาน ตรวจพบได้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่สำหรับแคดเมียมในช็อกโกแลตนั้น ประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์เอาไว้ ทั้งนี้ หากต้องการบริโภคช็อกโกแลตควรอ่านฉลากก่อน ยิ่งมีปริมาณโกโก้มากเท่าไร ก็มีโอกาสที่ตะกั่วและแคดเมียมปนเปื้อนมากขึ้น

อนึ่ง สารตะกั่วและแคดเมียมเป็นโลหะหนักที่พบได้ในดิน ซึ่งพืชหลายชนิดสามารถดูดซับโลหะหนักเหล่านี้ได้ เช่น พืชตระกูลถั่ว ผักใบเขียว รวมทั้งโกโก้ อย่างไรก็ตาม หากตรวจสอบแล้วโลหะที่ปนเปื้อนไม่ได้เกินเกณฑ์มาตรฐาน ก็ยังคงสามารถรับประทานได้


บันทึกการเข้า

..กำลังหาเพื่อนร่วมเรียน+ปรึกษา..pre degreeนิติศาสตร์รามปี2ครับ


หาเงินหลักหมื่น/เดือนได้ไม่ยาก หากท่านชอบถ่ายภาพ..สนใจสมัครที่ shutterstockได้เลย..คลิ๊ก!!ครับ. Huh?
 

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!