หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรควัยสูงอายุเป็นได้ทุกคน.. ค่าผ่าตัดแสนหก
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 23, 2024, 03:50:41 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรควัยสูงอายุเป็นได้ทุกคน.. ค่าผ่าตัดแสนหก  (อ่าน 2099 ครั้ง)
nongtop
ผู้ช่วย Admin
member
*****

คะแนน682
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1433


อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2017, 01:13:04 pm »

หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ คลิ๊ก!!ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง>www.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >> https://www.pohchae.com          หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus) ถ้าจู่ๆคุณมีอาการปวดหลัง ขาชา ตึงหลัง เดินลำบากละก็ เชื่อว่าโรคแรกๆที่จะนึกถึงคงไม่พ้น "หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท" อย่างแน่นอน แต่ส่วนใหญ่เราจะเรียกกันสั้นๆว่า"กระดูกทับเส้น" จริงๆกระดูกมันไม่ได้ทับเส้นนะครับ หมอนกระดูกครับหมอนรองกระดูกมันทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกมันทับเส้นประสาทได้ยังไงอ่ะ? ให้พูดแบบกำปั้นทุบดินเลยนะครับ ก็คือหมอนรองกระดูกมันเสื่อมจากการใช้งานมานานจากการก้มๆเงยๆถือของหนัก ทำให้นํ้าในหมอนกระดูกสันหลังปลิ้นออกมาจนไปกดเบียดเส้นประสาทที่อยู่ด้านหลังนั่นเองครับ แต่กลัวว่าบทความมันจะสั้นไป ฉะนั้นผมจะขยายความแบบละเอียดยิบด้วยภาษาบ้านๆให้อ่านกัน

ภาพแสดงส่วนประกอบของหมอนรองกระดูก
ภายในหมอนรองกระดูกของกระดูกสันหลังนั้นหลักๆจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนครับ คือ 1) Nucleus pulposus : สารนํ้า(จริงๆแล้วเหมือนเจลมากกว่า)ภายในแกนกลางของหมอนรองกระดูก โดยมีหน้าที่ดูดซับแรงกระแทกและกระจายแรงของนํ้าหนักตัวที่ส่งผ่านมายังกระดูกสันหลังแต่ละข้อในขณะที่เคลื่อนไหวร่างกาย 2) Annulus fibrosus : เส้นเอ็นก่อตัวเป็นชั้นๆห่อหุ้ม มีหน้าที่ให้ข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลังมีความมั่นคงแข็งแรง จากการบิดตัวหรือการก้มเงย ป้องกันไม่ให้สารนํ้าใน nucleus pulposus ปลิ้นออกมาภายนอก กลไกการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เรารู้จักองค์ประกอบของหมอนรองกระดูกสันหลังกันแล้ว ทีนี้เรามาทำความเข้าใจกลไกการเกิดโรคกันต่อ การเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหลักๆแล้วเกิดจาก การเสื่อมของ annulus fibrosus (เส้นเอ็นที่ก่อตัวเป็นหมอนรองกระดูกสันหลัง) จากการทำงานที่ส่งผลกระดูกสันหลังโดยตรง เช่น การก้มหลังยกของหนัก, การขับรถนาน, ทำกิจกรรมที่ต้องก้มๆเงยๆหลังเป็นประจำ, จากอุบัติเหตุต่อกระดูกสันหลังโดยตรง, เกิดจากการชอบก้มหลังพร้อมบิดตัว เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ที่เป็นการเพิ่มแรงเครียดต่อตัว annulus fibrosus อย่างมาก จนเกิดการฉีกขาดบางส่วน ทำให้สารนํ้าในหมอนรอง (nucleus pulposus) ค่อยๆดันตัว annulus fibrosus ออกมาทางด้านหลังจากนิสัยของคนที่ชอบก้มหลังยกของ จนในที่สุด annulus fibrosus เกิดการฉีกขาดเป็นรูทำให้สารนํ้าภายในทะลักออกมาได้ แต่เจ้าสารนํ้าที่ออกมานี้มันไม่ได้ออกมาเปล่าน่ะสิครับ เพราะที่ด้านหลังของหมอนรองกระดูกมีเส้นประสาทไขสันหลังอยู่ด้วย แถมตำแหน่งของสารนํ้าที่ออกมาดันไปโป๊ะเช๊ะกับเส้นประสาทพอดี จนเกิดอาการปวดหลัง ชาขาต่างๆนาๆที่สุดจะบรรยาย และนี่แหละครับ คือที่มาของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ภาพแสดงการแบ่งความรุนแรงของหมอนรองกระดูกทับเส้น
เรายังสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของหมอนรองกระดูกทับเส้นได้ 4 ระดับ ระดับที่ 1 : Bulging disc คือ การเคลื่อนของหมอนรองกระดูกมาทางด้านหลังไม่เกิน 3 มิลลิเมตร และตัว annulus fibrosus ยังปกติ ระดับที่ 2 : Protrusion คือ การเคลื่อนของหมอนรองกระดูกมาทางด้านหลังมากกว่า 4 มิลลิเมตร และตัวสารนํ้าอยู่ชิดกับขอบนอกของ annulus fibrosus แต่ยังไม่ทะลุออกมา ระยะนี้ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดหลัง ขาชาเป็นๆหายๆ ระดับที่ 3 : Extrusion คือ มีการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกมาทางด้านหลัง มากกว่า 8 มิลลิเมตร และมีสารนํ้าภายในหมอนรองทะลุออกมาจาก annulus fibrosus แต่ก็ยังคงมีการเชื่อมติดกันอยู่ ระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการอวดคงที่ ขาชาตลอดเวลา ระดับที่ 4 : Sequestration คือ ภาวะที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาจาก annulus fibrosus เต็มที่ และไม่มีการเชื่อมติดกันของหมอนรองกระดูกที่ออกมากับที่อยู่ภายใน ระยะนี้ถือว่าร้ายแรงที่สุดผู้ป่วยมัดเข้ารับการผ่าตัดในระยะนี้เพราะทนอาการปวดไม่ไหว

ภาพเปรียบเทียบผู้ที่เป็นหมอนรองกระดูบกับเส้นกับไม่เป็น
ผลกระทบที่ตามมาหลังหมอนรองกระดูกเสื่อม หลังจากที่หมอนรองกระดูกเสื่อมลงจนสารนํ้าภายใน (nucleus pulposus) ปลิ้นออกมาภายนอก หรือสูญหายไปบ้าง จนมีปริมาณลดน้อยลง มีผลให้ความสูงของหมอนรองกระดูกนั้นค่อยๆตีบแคบลงเรื่อยๆ เพราะปริมาณสารนํ้าภายในที่เป็นตัวกำหนดความสูงของหมอนรองกระดูกสันหลังได้หายไป เมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังที่ตีบแคบลงแล้วจะทำให้เกิดอีกโรคนึงตามมาเสมอนั่นคือ "โรคกระดูกสันหลังเสื่อมครับ" เพราะข้อต่อ facet joint ภายในกระดูกสันหลังที่ทำหน้าที่เป็นตัวเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังต้องแบกรับนํ้าหนักที่มากขึ้น และเมื่อถึงจุดหนึ่งข้อต่อ facet ก็แบกรับนํ้าหนักไม่ไหวจนเกิดการเสื่อมขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตึงหลัง รู้สึกหลังขัดๆเมื่อต้องก้มหรือแอ่นหลังนั่นเองครับ อาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โดยทั่วไปแล้วเมื่อหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ผู้ป่วยจะไม่มีอาการปวดหลังนะครับ จะรู้สึกชาขาซะมากกว่า แล้วอาการชาจะไม่ได้ชาทั่วทั้งขานะ แต่จะชาเป็นตำแหน่งกว้างๆซะมากกว่า เช่น ชาบริเวณต้นขาด้านนอกจนถึงข้อเท้าด้านนอก แต่ขาด้านในไม่มีอาการชาแต่อย่างใด ซึ่งจะต่างจากโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทที่มีอาการชาทั่วทั้งขา

ภาพเปรียบเทียบหมอนรองกระดูกทับเส้นกับไม่เป็น
แต่ในรายที่เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนอกจากจะมีอาการชาขาแล้วยังมีอาการปวดหลังด้วยนั้น ผมมองเป็น 2 ประเด็นนะครับ .. 1) มีภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมทำให้ข้อต่อ facet อักเสบจนเกิดอาการปวดหลัง กับอีกประเด็นคือ 2) เกิดหมอนรองกระดูกปลิ้นมาทับเส้นประสาทแขนงใหญ่ที่อยู่กลางกระดูกสันหลังเลย ซึ่งอย่างที่ 2 นี้ถือว่าอันตรายมาก เพรามีความเสี่ยงที่จะเป็นอัมพาต และการที่จะเกิดหมอนรองกระดูกปลิ้นมาทับเส้นประสาทแกนกลางนี้มักจะเกิดแบบเฉียบพลัน เช่น ก้มหลังยกของหนักแล้วจู่ๆได้ยินเสียงดีงปึ้กกลางหลัง ซึ่งเป็นเสียง annulus fibrosus ฉีกขาดแล้วสารนํ้าภายในหมอนรองทะลักออกมากดทับเส้นประสาททันที บางรายก็ปวดหลังมากจนขยับไม่ได้ แต่บางรายหนักกว่านั้นคือจู่ๆขาพับและไร้ความสึกท่อนล่างทันที พูดง่ายๆคือเป็นอัมพาตเฉียบพลันนั่นแหละครับ เพราะโดยทั่วไปหมอนรองกระดูกจะทับเส้นประสาทที่เป็นแขนงเล็กๆไปเลี้ยงกล้ามเนื้อขาบางมัดทางด้านข้างมากกว่า ซึ่งอาการแบบนี้จะรักษาได้ง่ายและหายเร็ว หากเข้ารับการรักษาแต่เนิ่นๆนะครับ แต่หากทิ้งไว้นานๆฝืนทนไม่เข้ารับการรักษาใดๆ นอกจากอาการชาขาที่เป็นอยู่จะมีอาการขาอ่อนแรงตามมา กล้ามเนื้อขาข้างที่ชาเริ่มฝ่อลีบ สูญเสียประสาทรับความรู้สึกและสั่งการบางส่วนไป เดินเซ เสี่ยงล้ม และสุดท้ายคือ เดินไม่ได้อีกต่อไปครับ การดูแลรักษา การรักษาด้วยตนเองนี้ เหมาะกับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงมาก หรือเคยเข้ารับการรักษามาแล้วจนอาการดีขึ้นแต่อยากรู้วิธีบริหารร่างกายด้วยตนเองเท่านั้นนะครับ ในรายที่ปวดมาก ชาเยอะ หรือเป็นมานานจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อฝ่อลีบแล้วแนะนำให้เข้ารับการรักษาตามรูปแบบดีกว่าครับ วิธีการลดปวดง่ายๆคือให้นอนควํ่าแล้วนำผ้าร้อนประคบหลังไว้ 20-30 นาที แต่รายที่หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมามากอาจจะนอนควํ่าไม่ได้เลย ให้นำหมอนใบใหญ่มาหนุนไว้ที่หน้าท้องขณะที่นอนควํ่าครับ ยํ้านะครับว่าหนุนไว้ที่หน้าท้องบางรายนำหมอนใบใหญ่มากๆแทนที่จะหนุนแค่หน้าท้อง แต่ดันไปรองหน้าอกด้วยจนหลังแอ่นปวดมากกว่าเดิมอีก ในขณะที่นอนควํ่าอยู่นั้นหากรู้สึกว่าอาการปวดทุเลาลงแล้ว ก็ค่อยๆปรับขนาดหมอนให้ใบเล็กๆลงเรื่อยๆจนไม่ต้องใช้หมอนรองหน้าท้องอีกต่อไป หากเรานอนควํ่าแล้วไม่มีอาการปวด ต่อมาให้เราใช้แขนยันตัวขึ้นโดยที่เอวยังคงติดเตียงอยู่ พยายามแอ่นหลังให้มากที่สุดโดยที่ไม่รู้สึกปวด หากแอ่นไปถึงจุดที่ปวดแล้วให้หยุดแล้วกลับสู่ท่านอนควํ่าเหมือน ทำท่านี้จำนวน 10 ครั้งนะครับ เพื่อดันสารนํ้าให้กลับเข้าที่ เปรียบเหมือนกับการปั๊มนํ้าแหละครับ ทีนี้หากเหยียดศอกจนตึงแล้วแอ่นหลังได้สุดโดยที่ไม่มีอาการใดๆแล้วละก็ ถึงเวลาที่บริหารกล้ามเนื้อหลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและป้องกันไม่ให้หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาได้อีก โดนการนอนควํ่าเช่นเดิมครับ เอาแขนไว้ข้างลำตัว จากนั้นให้แอ่นหลังขึ้นจนอกพ้นพื้นแล้วลงจำนวน 10 ครั้ง และหากรู้สึกว่ากล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้นก็ให้เพิ่มความยากโดยการเอาแขนไขว้หลังไว้ แล้วยกลําตัวขึ้นค้างไว้ 10 วินาที จำนวน 10 ครั้งครับ อีกวิธีหนึ่งในการดันสารนํ้าให้กลับเข้าที่โดยไม่ต้องออกแรงอะไรมากมายเลย คือ การเดินในนํ้าครับ ให้เราไปเดินในสระนํ้าที่มีความสูงระดับอก โดยขณะที่เดินไล่ไปตามขอบสระนั้นให้เดินเตะขาไปด้วย หรือหากมีอาการปวดเมื่อเดินก็ให้ยืนนิ่งๆแล้วย่อตัวลงคล้ายกับท่านั่งเก้าอี้ลม เหตุที่ให้ลงนํ้าความสูงระดับอกนั้นก็เพื่อใช้แรงดันนํ้าเนี่ยแหละครับเป็นตัวดันให้สารนํ้าที่ปลิ้นออกมากลับเข้าที่ เหตุผลที่นอนควํ่าแล้วอาการชา อาการปวดเบาลงนั้น เนื่องจากในขณะที่เรานอนควํ่าแรงดึงดูดของโลกจะดึงสารนํ้าของหมอนรองกระดูกสันหลังที่ปลิ้นออกไปทางด้านหลังนั้นให้ไหลย้อนกลับมาเข้าไปในหมอนรองกระดูก เส้นประสาทที่ถูกสารนํ้ากดทับอยู่ก็จะหายไปนั่นเองครับ แต่อย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้น หากมีอาการปวดรุนแรง ชามากๆก็ควรเข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัดจะเหมาะสมที่สุดนะครับ   บทความ : อีก 1 โรคที่อาการคล้ายหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (ชาร้าวลงขา กับอีกโรคที่หลายคนยังไม่รู้)   คลิป : ท่าบริหารหลัง แก้หมอนรองกระดูกทับเส้น (9 วิธีลดปวดหลังด้วยตนเอง จากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้น) คลิป : วิธีดึงหลัง ด้วยตนเอง (4 วิธี ดึงหลังด้วยตัวเอง ไม่ต้องง้อเครื่อง traction ในรพ. ) คลิป : วิธีตรวจโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นด้วยตนเอง (5 เทคนิค ตรวจโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้น แบบฉบับทำเอง) เครดิตภาพ - http://korsetlumbal.weebly.com/blog/category/all - http://www.duluthdisabilitylawyer.com/back-injuries/ - http://drtonysetiobudi.com/2014/12/18/can-slipped-disc-or-hnp-herniated-nucleus-pulposus-recover-by-itself/ - http://morphopedics.wikidot.com/cervical-disc-herniation - https://en.wikipedia.org/wiki/Spinal_disc_herniation ขอบคุณ http://doobody.com/%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0..  


บันทึกการเข้า

..กำลังหาเพื่อนร่วมเรียน+ปรึกษา..pre degreeนิติศาสตร์รามปี2ครับ


หาเงินหลักหมื่น/เดือนได้ไม่ยาก หากท่านชอบถ่ายภาพ..สนใจสมัครที่ shutterstockได้เลย..คลิ๊ก!!ครับ. Huh?
 

nongtop
ผู้ช่วย Admin
member
*****

คะแนน682
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1433


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2017, 09:05:58 am »

หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ คลิ๊ก!!ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง>www.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >> https://www.pohchae.com       
เราอาจจะได้ยินเสียงตามข้อต่าง ๆ ดังกรอบแกรบ เช่น เสียงจากเข่าขณะลุกเดินหรือยืดขา เสียงจากข้อเท้าเวลาขยับข้อเท้า หรือเสียงจากข้อไหล่เมื่อเอื้อมหยิบของ หากเคยได้ยิน คุณคิดไหมว่าเสียงเหล่านั้นอาจจะกำลังบอกอะไรบางอย่างกับเราก็เป็นได้ เสียงกรอบแกรบของข้ออาจเกิดจาก “ข้อเสื่อม” จนทำให้พื้นที่ผิวข้อขรุขระ เมื่อมีการเสียดสีกันจึงทำให้เกิดเสียง ซึ่ง “ข้อเสื่อม” เป็นผลมาจากกระดูกอ่อนที่เชื่อมต่อข้อต่าง ๆ ผุพังหรือบางลง ทำให้กระดูกข้อต่อเสียดสีกันจนเกิดการอักเสบ จึงรู้สึกเจ็บปวดบริเวณข้อต่อจนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ปกติ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วอาการข้อเสื่อมมักมีสาเหตุมาจากวัยที่สูงขึ้นและการใช้งานข้อต่อต่าง ๆ อย่างหนักหรือหักโหมจนเกินไป จากสถิติคนไทยเป็นโรคข้อเสื่อมมากถึง 7 ล้านคน หรือร้อยละ 1 ของประชากรทั้งหมด และมักจะพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป การป้องกันหรือหลีกเลี่ยงอาการปวดข้อนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพียงปฏิบัติตามข้อแนะนำ 4 ข้อ ดังนี้ 1. ควบคุมน้ำหนัก หนึ่งในสาเหตุใหญ่ของอาการข้อเสื่อมคือความอ้วน ยิ่งคุณมีน้ำหนักตัวมากเท่าไร ข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกายยิ่งต้องรับภาระอันหนักอึ้งมากขึ้นเท่านั้น การควบคุมน้ำหนักจึงเป็นการช่วยทะนุถนอมข้อกระดูกทางหนึ่งด้วย 2. อย่าอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ให้ปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง โดยเฉพาะท่าทางที่ผิดและส่งผลเสียต่อข้ออย่างการนั่งยอง ๆ หรือบางคนชอบยืนทิ้งน้ำหนักตัวไปด้านเดียว รวมไปถึงการนั่งหลังงอและก้มหน้าทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนาน ๆ ก็เป็นผลเสียต่อข้อต่อบริเวณคอและกระดูกสันหลังส่วนเอว 3. ไม่หักโหมออกกำลังกายจนเกินไป และเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง หากอยากออกกำลังกายจริง ๆ ควรทำควบคู่ไปกับการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เพราะกล้ามเนื้อจะช่วยแบ่งเบาภาระต่าง ๆ ของข้อต่อ เมื่อร่างกายต้องเคลื่อนไหวรุนแรง โดยเฉพาะการมีกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังที่ดี จะทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังรับภาระการเคลื่อนไหวและแรงต่าง ๆ น้อยลง ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงที่จะเสื่อมได้มาก 4. หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิดบ่อยเกินความจำเป็น เช่น สเตียรอยด์แบบฉีดเพื่อลดการอักเสบของข้อ เพราะหากใช้บ่อย ๆ อาจมีผลต่อข้อกระดูก ทำให้ข้อเสียและกระดูกบางลงได้ โรคข้อเสื่อม หากไม่ป้องกันนอกจากจะนำมาซึ่งความเจ็บปวดทรมานและทำให้การใช้ชีวิตประจำวันผิดเพี้ยนไปแล้ว ยังเป็นโรคที่ยากจะรักษาให้หายขาดหรือกลับคืนสู่สภาพปกติ ดังนั้น ป้องกันไว้ดีกว่าแก้ เริ่มดูแลรักษาข้อให้อยู่ในสภาพดีตั้งแต่วันนี้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต ที่มา: บทความของ พญ.สุมาภา ชัยอำนวย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อจาก www.haijai.comwww.bumrungrad.com
บันทึกการเข้า

..กำลังหาเพื่อนร่วมเรียน+ปรึกษา..pre degreeนิติศาสตร์รามปี2ครับ


หาเงินหลักหมื่น/เดือนได้ไม่ยาก หากท่านชอบถ่ายภาพ..สนใจสมัครที่ shutterstockได้เลย..คลิ๊ก!!ครับ. Huh?
 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!