รู้จักกับ โตโยต้า รถกระบะ ในตำนาน
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 16, 2024, 10:27:41 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รู้จักกับ โตโยต้า รถกระบะ ในตำนาน  (อ่าน 3175 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 27, 2017, 01:19:27 pm »

หากอ่านบทความไม่เต็มจอ คลิ๊ก!!ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง>เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >>  https://goo.gl/3LMywQ


    กำเนิดเริ่มแรกของรถกระบะ TOYOTA ในประเทศไทย เริ่มเมื่อปี พศ.2511(คศ.1968)เปิดตัวครั้งแรกในชื่อของ “ TOYOPET” ด้วยรุ่น RN10 เป็นเครื่องเบ็นซินในรหัส 2R ซึ่งการใช้ชื่อดังกล่าวจะเป็นกันอยู่แค่ระยะเวลาเดียวโดยในปีต่อๆมาได้ เปลี่ยนเป็นชื่อ TOYOTA มาจนถึงปัจจุบัน
เครื่องยนต์ “ 2 R ” : เบ็นซิน 4 สูบเรียง โอเวอร์เฮดวาล์ว ปริมาตรกระบอกสูบ : 1,490 ซีซี กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 78 X 78 มม. แรงม้าสูงสุด : 66 kw ที่ 5,200 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด : 124 nm ______________________________________________________________________ ต่อมาอีก 4ปี พศ.2515 (คศ.1972) รุ่นที่สองก็เกิดขึ้นด้วยตัวถังแบบใหม่หมด พร้อมได้เปลี่ยนการเรียกขานกันใหม่เป็น TOYOTA “Hilux” แบ่งเป็นรุ่น ช่วงสั้น RN20 และ ช่วงยาว RN25 เครื่องยนต์เบ็นซิน ในรหัส 12R หรือ ชื่อที่เรียกกันคือ ''ท้ายหงส์''
โฉมแรก กระจังหน้าเป็นสีเทา ลอยเหนือจากกันชน และมีแบบเป็นสีเดียวกันกับตัว ก่อนปี 1975
โฉมที่2 ปี1975 กระจังหน้าสีเดียวกันกับตัวรถและย้อยลงเกือบถึง ชื่อที่เรียกกันคือ ''ท้ายหงส์'' ซึ่งเป็นรุ่นกระบะช่วงสั้นพิเศษ
เครื่องยนต์ “ 12 R ” : เบ็นซิน 4 สูบเรียง โอเวอร์เฮดวาล์ว ปริมาตรกระบอกสูบ : 1,587 ซีซี กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 80.5 X 78 มม. แรงม้าสูงสุด : 66 kw ที่ 5,400 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด : 133 nm ______________________________________________________________________ 3. พศ.2522 (คศ.1979) เป็นการเปลี่ยนรูปโฉมของตัวรถ เริ่มมีทรวดทรงที่เป็นไปตามหลักอากาศพลศาสตร์ ด้วยลักษณะของความโค้งมนทาง ด้านหน้ารถ และใช้ไฟหน้าในรูปแบบ ไฟกลม เรียกว่ารุ่น Hilux Super Star รหัส RN30 ซึ่งจะมีแบบช่วงยาว ให้เลือกหาในรุ่น RN40 เครื่องยนต์ยังเป็น 12R เหมือนเดิม
ตัวแรกใช้ไฟหน้ากลม
4. พศ.2523 (คศ.1980) เป็นการเปิดศักราชการใช้ เครื่องยนต์ดีเซล ในรถกระบะ Toyota ครั้งแรก โดยติดตั้งบนบอดี้ Hilux Super Star เครื่องยนต์รหัส L 2,200 ซีซี วงการสมัยเรียกว่า “รุ่นกรุง ศรีวิไล”และเปลี่ยนโคมไฟหน้าแบบสี่เหลี่ยมมน นอกจากนั้นยังมีรุ่น 4 WD ซึ่งถือได้ว่าเป็นรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อที่ถูกส่งเข้ามาอย่างเป็นทางการรุ่นแรก โดยเป็นการสั่งเข้ามาใช้ของหน่วยงานราชการได้แก่ กรมป่าไม้, กรมแผนที่ทหาร
โฉมปี 1982 พศ.2525 กระจังหน้าใหม่ ใช้ไฟหน้าเหลี่ยม ผู้ใช้จะนิยมเรียกว่า “รุ่นม้ากระโดด"
เครื่องยนต์ “ L” : ดีเซล 4 สูบเรียง OHV ปริมาตรกระบอกสูบ : 2,188 ซีซี กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 90 X 86 มม. อัตราส่วนกำลังอัด : 21.5 : 1 แรงม้าสูงสุด : 55 kw ที่ 4,200 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด : 130 nm ที่ 2,400 รอบ/นาที ______________________________________________________________________ 5. จากนั้น พศ.2527 (คศ.1984) ได้มีการเปลี่ยนตัวถังใช้ชื่อรุ่นว่า Hercules เครื่องยนต์ เบ็นซินรุ่น 1Y, ดีเซลเป็น 2L ที่ย้ายแค็มชาฟท์ ขึ้นมาอยู่ในลักษณะ OHC แล้วเพิ่มความจุขึ้นไปในระดับ 2,500 ซีซี โดยมีแรงม้าสูงสุดเท่าเดิมแต่มากันครบตั้งแต่ในรอบเครื่องที่ต่ำกว่า และได้แรงบิดที่มีขึ้นในรอบเครื่องที่น้อยกว่าเช่นกัน
ตัวแรกตำแหนงคำว่า TOYOTA จะอยู่ครงกลางของกระจังหน้า
ถัดมาตำแหนงคำว่า TOYOTA จะอยู่ครงกลางของกระจังหน้าเหมือนเดิม แต่ตัวอักษรใหญ่ขึ้น
ตัวสุดท้าย มีการย้ายตำแหนงคำว่า TOYOTA ให้อยู่ด้านซ้าย และวตัวอักษรเล็กลง
เครื่องยนต์ “ 2L” : ดีเซล 4 สูบเรียง OHC ปริมาตรกระบอกสูบ : 2,446 ซีซี กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 92 X 92 มม. อัตราส่วนกำลังอัด : 22.3 : 1 แรงม้าสูงสุด : 55 kw ที่ 4,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด : 156 nm ที่ 2,200 รอบ/นาที 6. ในช่วงเวลาของปี พศ.2530 (คศ.1987) ได้มีการขยับขยายจัดตั้งโรงงานประกอบและผลิตเครื่องยนต์โดยการร่วมทุนกับบริษัท สยามซีเมนต์ จำกัด และผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ในประเทศไทยด้วยการก่อตั้ง บริษัท สยามโตโยต้าแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัดขึ้นพร้อมกันนั้นก็ได้ทำการเปิดตัวรุ่น Hilux Hero ซึ่งจะยังคงใช้โครงสร้างหัวเก๋งทรงเดิมแต่เปลี่ยนส่วนประกอบอื่นๆเช่น หน้ากระจัง ให้เป็นทรงใหม่พร้อมกับเปลี่ยนเครื่องยนต์ดีเซล มาเป็นรุ่นที่พัฒนาขึ้นมาใหม่เป็น 2 L IIที่มีเรี่ยวแรงเพิ่มขึ้นมาอีก 2kw แต่แรงบิด สูงสุดจะใช้รอบเครื่องสูงขึ้นไปอีกนิดเป็นที่ 2,400 รอบแล้วเปลี่ยนเครื่องเบ็นซินให้เป็นรหัส 2Y ที่มีความจุมากขึ้นเป็นระดับ 1,800 ซีซี. นอกจากนั้นก็ยังจะเริ่มมีรุ่นดับเบิ้ลแค็บออกมาให้สั่งทำผ่านทางผู้แทนจำหน่ายในฐานะ รถกระบะดัดแปลง โดยในช่วงท้ายๆ ของรุ่นยังได้นำรูปแบบ X-tra Cabออกมาต่อสู้กับคู่แข่งเป็นครั้งแรก แต่ด้วยเหตุที่รูปแบบมาตรฐานที่มีใช้อยู่กับรุ่นที่ขายใน อเมริกาจะมีส่วนของแค็บที่ยืนออกไปทางด้านหลังแค่กระติ๊ดเดียวจึงมีการออกแบบดัด แปลงเฉพาะแค่รุ่นในประเทศไทยให้ใหญ่และยาวขึ้นแถมยังมีส่วนของ หลังคา เป็นแบบ Hi-roof น้อยๆ อีกด้วย เครื่องยนต์ “ 2L II ” : ดีเซล 4 สูบเรียง OHC ปริมาตรกระบอกสูบ : 2,446 ซีซี กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 92 X 92 มม. อัตราส่วนกำลังอัด : 22.3 : 1 แรงม้าสูงสุด : 57 kw ที่ 5,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด : 157 nm ที่ 2,400 รอบ/นาที
รุ่น SR5 กระบะช่วงยาวแบบพิเศษ
______________________________________________________________________
ตัวแรกกระจังหน้าคำว่า TOYOTA จะอยู่ตรงกลาง
ครั้นถึง พศ.2533 ก็เริ่มเข้าสู่ยุคของ “Mighty X” โดยจะยังคงนำเอา “เครื่องดีเซล” ในรหัส ”2 L II” มาใช้เป็นหลัก พร้อมกันนั้นก็เปลี่ยน เครื่องเบ็นซิน ให้โตขึ้นไปเป็นรหัส 3Y ที่มีความจุอยู่ในพิกัด 2,000 ซีซี.
ต่อมาก็เปลี่ยนกระจังหน้า และได้ใช้โลโก้ TOYOTA อยู่ตรงกลางเป็นครั้งแรก
ต่อมาก็ได้เปลี่ยนฝาท้าย เป็นแบบเรียบ
สำหรับรุ่น Mighty X ดังกล่าวนี้นับได้ว่าเป็นรุ่นที่มีช่วงเวลาในการวางจำหน่ายยืนยาวมากที่สุด โดยตลอดระยะเวลาที่เสนอตัวอยู่ในตลาดก็ยังจะได้รับการปรับโฉมใหม่ออกมาเป็น ช่วงๆ หลายครั้งด้วยกันซึ่งจะเริ่มจากโฉมแรกที่เป็นแบบ ไฟเว้าลึก และใช้ไฟเลี้ยวตรงมุมหน้ารถเป็นแบบเอียงลงโดยที่ตรงขอบวงบังโคลนล้อจะเป็นแบบเรียบๆ ไม่มีโป่ง ซึ่งก็ยังจะมีให้เลือกซื้อทั้ง เบ็นซิน-ดีเซล พร้อมกับมี รุ่น 4X4ประกอบจากนอกที่เรารู้จักกันในนามของ “LN106” แบบหัวเก๋งตอนเดียว ซึ่งใช้ช่วงล่างแบบ หน้าแหนบ-หลังแหนบและวางไว้ด้วยเครื่องดีเซลในรหัส 3 L เข้ามาให้เลือกสั่งกันได้อีกด้วย ถัดจากนั้นมาอีกสี่ปีซึ่งก็คือในปี คศ.1994มีการปรับโฉมครั้งแรกด้วยการเปลี่ยนเฉพาะกระบะให้กลายไปเป็นแบบขอบเรียบไม่ มีร่องสะเอว และมี โป่งล้อด้านหลังเป็นขอบบวม ออกมา เหมือนรุ่น 4x4 โดยที่ยังจะมีรายละเอียดทางด้านหน้าเป็นทรงเดิม แถมด้วยการนำรุ่น SR5
ต่อมาก็เปลี่ยนกระจังหน้า โดยลักษณะเป็นรูปตัว T และฝาท้ายเป็นแบบเปิดปิดด้วยมือเดียวใน EXTRA-CAB
ต่อมาก็ได้เปลี่ยนกระจังหน้า และไฟหน้า เป็นแบบไฟเต็ม
ในรูปแบบ X-Tra Cab หัวเก๋งตอนครึ่งและใช้ช่วงล่างแบบ หน้าทอร์ชั่น-หลังแหนบ พร้อมเครื่องตัวเก่งในรหัส 3L ที่ผลิตจากออสเตรเลียเข้ามาจำหน่ายโดยในส่วนของรุ่น เครื่องยนต์เบ็นซิน ก็จะถูกถอดออกจากสายพานการผลิตนับแต่ในช่วงนี้แถมด้วยการเปิดตัว Taw ซึ่งเป็นโรงงานในเครือ เพื่อทำหน้าที่ในการประกอบ รถกระบะดัดแปลง อันได้แก่รุ่น ดับเบิ้ลแค็บออกมาอย่างเป็นทางการ และอีกแค่เพียงสองปีต่อมา หรือใน คศ.1996 ก็ปรับโฉมอีกครั้งด้วยรุ่น ไฟเต็มที่เปลี่ยนด้านหน้าให้เหมือนรุ่น 4x4 ที่มีไฟเลี้ยวทรงเฉียงขึ้นพร้อมด้วย โป่งล้อหน้า แล้วเพิ่มความสะดวกสบายในการขับขี่ ให้ด้วยเกียร์อัตโนมัติ ที่ควบคู่มากับเครื่อง 2 L II โดยในช่วงปลายปีเดียวกันก็เพิ่มทางเลือกมาให้ด้วยรุ่น Mighty X-Plus เปลี่ยนแปลงพลังเป็นเครื่อง 3 L ในระดับ 2,800 ซีซี .
เครื่องยนต์ “ 3 L” : ดีเซล 4 สูบเรียง OHC ปริมาตรกระบอกสูบ : 2,779 ซีซี กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 96 X 96 มม. อัตราส่วนกำลังอัด : 22.2 : 1 แรงม้าสูงสุด : 64 kw ที่ 3,800 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด : 178 nm ที่ 2,400 รอบ/นาที ______________________________________________________________________
^ โฉมแรก Hilux tiger กระจังหน้า 2 เส้นแนวนอน
ในช่วงปลายปี พศ.2541 หรือ คศ.1998 Toyota Hilux ก็ได้มีการเปลี่ยนโครงสร้างของตัวรถด้วย โฉมที่เรียกชื่อเพิ่มต่อจากเดิมว่า Tiger โดยการแนะนำตัวในครั้งแรกจะมีมากันแบบครบเครื่องทั้งแบบ4x2 และ 4x4 พร้อมด้วยแหล่งพลังในรูปแบบ ดีเซลล้วนๆ สองเครื่องนั่นคือ 2L II ตัวดั้งเดิม และ 5L ตัวใหม่ในระดับ 3,000 ซีซี แต่ปรากฎว่าพลังที่ได้จากเครื่องใหม่ที่มีขนาดความจุเพิ่มขึ้นมาอีกมิใช่น้อยนั้นกลับไม่ค่อยเป็นที่น่าประทับใจนักทั้งในเรื่องของความแรงและความ ประหยัด
^ โฉมปี 2000 Hilux tiger กระจังหน้าจะมีเส้นสีดำแยู่ตรงกลาง
ในอีกสองปีต่อมาคือ พศ.2543 (คศ.2000)ที่มีการบังคับใช้ข้อกำหนดในเรื่องของ ค่าไอเสีย มิให้พ่นมลภาวะออกมาในระดับที่เทียบได้กับ ยูโร IIเพื่อเป็นการรองรับมาตรการคุมเข้มดังกล่าวจึงได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมด้วย การนำชุดควบคุมอิเล็คทรอนิคส์มาติดตั้งเข้าไประบบปั๊มหัวฉีดจนกลายมาเป็น 5L-E ที่ให้พลกำลังเพิ่มขึ้นมาอีกนิด พร้อมกันนั้นก็นำความแรงในพิกัด 3,000 ซีซี-เทอร์โบที่ได้มาจาก 1 KZ-TE เพิ่มเข้ามาในแถวและจัดให้เป็นรุ่นสุดยอด ซึ่งปรากฎว่าสถานการณ์โดยรวมก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจนัก
http://image.free.in.th/z/ie/l000008196502.jpg
โฉมสุดท้าย Hilux Tiger
ในปี พศ.2544 (คศ.2001) นี้จึงต้องนำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในระดับ Direc Injection-DOHC-16 Value-Turbo-Common railได้เข้ามาเสริมขบวนดังที่เป็นเครื่องยนต์ล่าสุดอยู่ในปัจจุบัน ในรหัส2KD-FTVเครื่องยนต์ของ D4D (Diesel 4 Stroke Direct Injection) ปี 2003 และปี 2004 นั้น มีด้วยกัน 3 แบบ กำลังสูงสุด 2.5 เก่า (75 kw/3,800 RPM) แรงบิดสูงสุด 200 NM/1,400-3,200 RPM กำลังสูงสุด 2.5 ใหม่ (75 kw/3,600 RPM) แรงบิดสูงสุด 200 NM/1,400-3,200 RPM กำลังสูงสุด 2.5 IC (80 kw/3,800 RPM) แรงบิดสูงสุด 320 NM/2,000 RPM นอกจากนั้นในเรื่องรูปทรงของตัวรถก็ยังได้นำรูปแบบ ดับเบิ้ลแค็บ ให้เข้าไปอยู่ในกลุ่มที่ออกมาจากสายพานการผลิต ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลิตผลจากโรงงานโดยตรงไม่ใช่ รถกระบะดัดแปลง กันอีกแล้ว…. อธิบายรูป เครื่องยนต์ “ 5 L” : ดีเซล 4 สูบเรียง OHC ปริมาตรกระบอกสูบ : 2,986 ซีซี กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 99.5 X 96 มม. แรงม้าสูงสุด : 66 kw ที่ 4,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด : 192 nm ที่ 2,400 รอบ/นาที ------------------------------- เครื่องยนต์ “ 5 LE ” : ดีเซล 4 สูบเรียง OHC ปริมาตรกระบอกสูบ : 2,986 ซีซี กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 99.5 X 96 มม. แรงม้าสูงสุด : 71 kw ที่ 4,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด : 200 nm ที่ 2,600 รอบ/นาที ------------------------------ เครื่องยนต์ “ 1 KZ ” : ดีเซล 4 สูบเรียง OHC 8 วาล์ว เทอร์โบ (SR5) ปริมาตรกระบอกสูบ : 2,982 ซีซี กระบอกสูบ X ช่วงชัก : 96 X 103 มม. แรงม้าสูงสุด : 85 kw ที่ 3,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด : 315 nm ที่ 2,000 รอบ/นาที ______________________________________________________________________
โฉมแรกของ Toyota Hilux Vigo ปี 2004
กระจังหน้าเป็นสีเดียวกันกับรถ
กลางเดือนสิงหาคม 2547  ทางtoyotaออกแบบรถกระบะรุ่นใหม่“Toyota Hilux Vigo”มีแบ่งรุ่นย่อย 20 รุ่น ประกอบด้วยรุ่นซิงเกิลแค็บ, เอ็กซ์ตร้าแค็บ และดับเบิลแค็บ เครื่องยนต์ดีเซล 2 ขนาด คือ 2.5 ลิตร (รหัส 2KD-FTV) และ 3.0 ลิตร (รหัส 1KD-FTV) สูงสุด 163 แรงม้าส่วนเครื่องยนต์เบนซิน VVT-i ขนาด 2.7 ลิตร จะเปิดตัวเดือนพฤศจิกายน เครื่องยนต์ที่เป็นตัวเด่นและชูโรงให้Vigoเป็นกระบะที่แรงที่สุดในขณะนั้นคือ1KD-FTV โดยจะประจำการอยู่ในหลายๆรุ่นตั้งแต่หัวเดียว ขับสอง ขับ4 ขับสองยกสูง คำว่ากระบะบ้าพลังก็เกิดขึ้นในช่วงนี้เอง
โฉม Vigo ปี 2009 กระจังหน้า จะเป็นสีเทา
รหัส 2KD-FTV มี2รุ่นย่อย  2KD-FTV และ 2KD-FTV-IC(2.5อินเตอร์) โดยช่วงแรกๆของการทำตลาด รุ่น2.5อินเตอร์จะประจำอยู่ในรุ่น4x4เท่านั้น ต่อมาระยะหลังได้ประจำในทุกๆรุ่นที่จำหน่าย
ต่อมาเพิ่มระบบเทอร์โบแปลผลันในเครื่อง2KD-FTV โดยเพิ่มแรงม้าเป็น144แรงม้า แรงบิดเท่ากับตัว3.0แต่รอบแคบกว่า รหัส 2TR-FE 2.7vvtiมีบรรจุอยู่ในรุ่นขับ4 เกียรAuto แต่การตอบรับจากตลาดน้อยมากจึงเลิกผลิตไปในปี2551 แต่ในปัจจุบันได้นำเครื่อง2.7vvtiกลับมาบรรจุในบอดี้ขับ2 เกียรธรรดา ขวัญใจชาวสาระเหยที่ไม่ต้องการลงเครื่องเชียงกง รหัส 1GR-FE V6 ความจุ4000cc 250แรงม้า ผลิตในประเทศ ไม่มีขายในบ้านเรา ส่งออกไปตะวันออกกลาง ออสเตรีย ฯลฯ
มีการแบ่งออฟชั่นมีดังนี้
J คือ ไม่มีอะไรให้มา เครื่องไม่มีเทอร์โบ ส่วนมากอยู่ในกระบะตอนเดียวและบนแค็บ แค็บจะเปิดได้ถ้ามีคำว่า smart cab กระจังหน้าและกันชนเป็นสีดำ ขับหลัง
E คือ เครื่องมีเทอโบ มีถุงลม มี Airbag มีทั้งแค็บและ4ประตู มัทั้งขับ 4 ล้อและ 2 ล้อ เครื่อง 2.5
G คือ มีทุกอย่าง มี ABS  เครื่อง 3.0 ขับ 4 ล้อ
และ PRERUNNER คือ ตัวยกสูง และเฉพาะ ออฟชั่น E กับ G
 
โฉมหน้า Vigo ปี 2011 ใช้ในชื่อ Vigo Champ
ใน ปลายปี 2011 Vigo เหมือนจะเปลี่ยนโฉมตัวเอง โดยใช้ชื่อ ว่า Vigo Champ โดยเปลี่ยน มีกระจังหน้า ไฟหน้า ไฟท้าย และภายใน
Vigo ปี 2013 ใช้ในชื่อรุ่นพิเศษ TRD SPORTIVO
Vigo ปี 2014 ใช้ในชื่อรุ่นพิเศษ TRD SPORTIVO ______________________________________________________________________ 
 ปี 2015 เดือนพฤษภาคม เปิดตัวกระบะ Hilux โฉม ในชื่อรุ่น ''REVO'' มาพร้อมเทคโนโลยีและการออกแบบล้ำหน้าใหม่หมด จากโตโยต้า ในส่วนของขุมพลัง มีให้เลือก 3แบบ เครื่องยนดีเซล 2.8 177 เรงม้า กับ 2.4 150 แรงม้า และ เบนซิน 2.7 166 แรงม้า เกียร์ธรรมดาและอัตโนมัติ 6 Speed และใช้ไฟ LED กับ ไฟหน้าเป็นโปรเจคเตอร์ในรุ่น Prerunner (บางตัว) และ 4X4
รุ่นเครื่องยนต์ : 2GD-FTV
แบบเครื่องยนต์ : 4 สูบ แถวเรียง 16 วาล์ว DOHC VN Turbo และ Intercooler
ความจุกระบอกสูบ (ซีซี) : 2,393 (2,400)
ความกว้างกระบอกสูบ x ระยะชัก (มม.) : 92.0 x 90.0
กำลังสูงสุด (SAE-Net) [กิโลวัตต์ (แรงม้า)/รอบต่อนาที] : 110(150)/3,400
แรงบิดสูงสุด (นิวตัน-เมตร/รอบต่อนาที) : 343/1,400-2,800
รุ่นเครื่องยนต์ : 2TR-FE
แบบเครื่องยนต์ : 4 สูบ แถวเรียง 16 วาล์ว DOHC Dual VVT-i
ความจุกระบอกสูบ (ซีซี) : 2,694 (2,700)
ความกว้างกระบอกสูบ x ระยะชัก (มม.) : 95.0 x 95.0
กำลังสูงสุด (SAE-Net) [กิโลวัตต์ (แรงม้า)/รอบต่อนาที] : 122(166)/5,200
แรงบิดสูงสุด (นิวตัน-เมตร/รอบต่อนาที) : 245/4,000
รุ่นเครื่องยนต์ : 1GD-FTV
แบบเครื่องยนต์ : 4 สูบ แถวเรียง 16 วาล์ว DOHC VN Turbo และ Intercooler
ความจุกระบอกสูบ (ซีซี) : 2,755 (2,800)
ความกว้างกระบอกสูบ x ระยะชัก (มม.) : 92.0 x 103.6
กำลังสูงสุด (SAE-Net) [กิโลวัตต์ (แรงม้า)/รอบต่อนาที] : 130(177)/3,400
แรงบิดสูงสุด (นิวตัน-เมตร/รอบต่อนาที) : 420/1,400-2,600
ขอบคุณ http://thaipickupclub.blogspot.com/2013_06_01_archive.html


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!