ที่บ้าน นางเมตตา พรหมแพง อายุ 39 ปี เลขที่ 166 บ้านหนองแคน หมู่ 1 ต.เหล่าปอแดง อ.เมือง จ.สกลนคร ซึ่งประกอบอาชีพคนกลางรับซื้อหอยเชอรี่ต้มจากชาวบ้าน ก่อนนำส่งขายที่ตลาดไท กล่าวว่า เดิมตนประกอบอาชีพเย็บผ้า จนเมื่อปีที่แล้ว ได้ไปที่ตลาดไท และได้ไปเจอธุรกิจการขายหอยเชอรี่ต้มสุก ซึ่งผิดกับบ้านเราที่ชาวนาต้องช่วยกันนำหอยเชอรี่ไปทำลายทิ้ง ตนจึงได้ริเริ่มนำธุรกิจดังกล่าวมาทำที่จังหวัดสกลนคร หอยเชอรี่ต้มสุกหั่นเป็นชิ้นถือว่ากำลังเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด โดยเฉพาะอาหารจำพวกส้มตำ ทั้งตำรวม ตำลาว ตำหอยฯ ปัจจุบัน
พร้อมเปิดรับซื้อหอยต้มสุกในราคากิโลกรัมละ 29 บาท ช่วงนี้จะมีชาวบ้านทั่วทุกอำเภอในจังหวัดสกลนครนำหอยมาขายเฉลี่ยอย่างต่ำ 600 กก. ต่อวัน ซึ่งต้องจ้างชาวบ้านในหมู่บ้านมาหั่นหอยต้มสุกวันละ 10 คน ส่วนมากเป็นผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ถือเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน
ที่บ้าน นางเมตตา พรหมแพง อายุ 39 ปี เลขที่ 166 บ้านหนองแคน หมู่ 1 ต.เหล่าปอแดง อ.เมือง จ.สกลนคร ซึ่งประกอบอาชีพคนกลางรับซื้อหอยเชอรี่ต้มจากชาวบ้าน ก่อนนำส่งขายที่ตลาดไท กล่าวว่า เดิมตนประกอบอาชีพเย็บผ้า จนเมื่อปีที่แล้ว ได้ไปที่ตลาดไท และได้ไปเจอธุรกิจการขายหอยเชอรี่ต้มสุก ซึ่งผิดกับบ้านเราที่ชาวนาต้องช่วยกันนำหอยเชอรี่ไปทำลายทิ้ง ตนจึงได้ริเริ่มนำธุรกิจดังกล่าวมาทำที่จังหวัดสกลนคร หอยเชอรี่ต้มสุกหั่นเป็นชิ้นถือว่ากำลังเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด โดยเฉพาะอาหารจำพวกส้มตำ ทั้งตำรวม ตำลาว ตำหอยฯ ปัจจุบัน
พร้อมเปิดรับซื้อหอยต้มสุกในราคากิโลกรัมละ 29 บาท ช่วงนี้จะมีชาวบ้านทั่วทุกอำเภอในจังหวัดสกลนครนำหอยมาขายเฉลี่ยอย่างต่ำ 600 กก. ต่อวัน ซึ่งต้องจ้างชาวบ้านในหมู่บ้านมาหั่นหอยต้มสุกวันละ 10 คน ส่วนมากเป็นผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ถือเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน
นางเมตตา กล่าวต่อว่า หอยเชอรี่ที่หั่นเสร็จแล้วจะบรรจุเก็บไว้ในถังน้ำแข็งขนาดใหญ่ ประมาณ 2 วัน ก็จะ
รวบรวมหอยเชอรี่ต้มสุกหันได้ 1.6- 2 ตัน จากนั้นก็ขนส่งลงไปขายยังตลาดไท ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เมื่อบวกต้นทุนการขนส่งแล้วหอยเชอรี่ต้มสุกราคาจะสูงขึ้นเป็น กก. ละ 40 บาท เมื่อคำนวณแล้วจะขายได้เที่ยวละ 70,000- 80,000 บาท
อาทิตย์หนึ่งส่งหอยไปขาย 3 เที่ยว ดังนั้นเมื่อคิดรวมแล้วหนึ่งเดือนจะสร้างเงินสร้างรายได้กว่า 850,000 บาท กระจายสู่ชาวไร่ชาวนาในพื้นที่ ซึ่งรายได้ส่วนนี้ถือเป็นรายได้เพียงแค่กลุ่มของตนเองเพียงเจ้าเดียวเท่านั้น
หากรวมทุกเจ้าแล้วจะมีเม็ดเงินเข้าสู่หมู่บ้านหนองแคนหลายล้านบาทต่อเดือน อย่างไรก็ดี นางเมตตา ก็อยากขอประชาสัมพันธ์ไปยังพี่น้องเกษตรกร ชาวไร่ชาวนาว่าหอยเชอรี่นั้นมีค่ากว่าที่คิด สามารถนำมาขายเป็นการสร้างรายเสริมได้
ด้าน นายวีระศักดิ์ ผาพรหม อายุถ 39 ปี บ้านเลขที่ 40 หมู่ 5 บ้านดอนแก้ว ต.ม่วงลาย อ.เมือง จ.สกลนคร กล่าวว่า ตนกับภรรยามีอาชีพทำนา ช่วงนี้เสร็จจากการปักดำนาแล้ว ตนและภรรยาจึงใช้เวลาว่างนี้มาหาหอยเชอรี่ที่กัดกินต้นข้าวในนามาขาย ซึ่งก็สร้างรายได้อย่างงามเลยทีเดียว ยกตัวอย่างวันนี้ ตนและภรรยาได้ออกไปหาหอยเชอรี่ที่ทุ่งนา และหนองน้ำใกล้หนองหาร โดยหอยเชอรี่ส่วนมากจะเกาะอยู่ที่ใบผักตบชวา วันนี้หาตั้งแต่เวลา 08.00- 12.00 น. 4 ชั่วโมง หาหอยเชอรี่ได้ 4 กระสอบปุ๋ย เมื่อนำมาต้มและควักหัวหอยออกมาขายจะสร้างรายได้ถึง 600 บาท ถือเป็นรายได้ที่งดงามมากหลังฤดูกาลทำนา และสามารถหาหอยเชอรี่ขายได้ตลอดทั้งปี ยิ่งหน้าแล้ง หาหอยเชอรี่ยากขึ้น ราคาก็จะสูงตาม บางปีหอยเชอรี่ต้มสุกราคาอาจสูงถึงกิโลกรัมละ 50 บาท เลยทีเดียว.
จาก thairath.co.th/content/283550
อีกรายคือนางศิริรัตน์ จันทามี อายุ 30 ปี ชาวบ้าน บ.หนองสระ ม.5 ต.เหล่าปอแดง อ.เมือง จ.สกลนคร เล่าว่า เป็นหนึ่งในชาวบ้านหมู่บ้านรอบหนองหาร ที่หันมายึดอาชีพเก็บหอยเชอรี่แกะเนื้อขาย หลังประสบปัญหาน้ำท่วมรอบพื้นที่หนองหาร เพื่อชดเชยรายได้จากน้ำท่วมนาที่เสียหาย ซึ่งจะพายเรือออกไป
เก็บหอยเชอรี่จำนวนมากที่ออกมากินยอดต้นหญ้าที่ถูกน้ำท่วม ในช่วงหัวค่ำและเช้ามืดของแต่ละวัน จากนั้นนำหอยมาความสะอาดและลวกในน้ำร้อน สังเกตเมื่อฝาหอยเปิด แล้วนำมาแกะเนื้อออกจากเปลือก ใช้มีดตัดเอาส่วนไส้และไข่ออก
ก่อนจะนำเนื้อหอยเชอรี่ไปต้มในน้ำตะไคร้และเกลือเพื่อกลิ่นดับคาว ตากให้แห้งก็จะสามารถบรรจุถุงขายได้
แต่ละวันมีแม่ค้ามารับซื้อถึงหมู่บ้านวันต่อวัน ขายส่งกิโลกรัมละ 35 บาท เพื่อนำไปขายต่อไปในพื้นที่จังหวัดสกลนคร และตลาดที่กรุง เทพมหานคร ซึ่งทราบว่า แม่ค้านิยมจะนำไปเป็นส่วนผสมในส้มตำ และตลอดจนปรุงเป็นส่วนผสมอาหารสุกอื่นๆ
แต่สำหรับตนแล้ว จะนำไปขายเองที่ตลาดสดในตัวเมืองสกลนคร ได้กิโลกรัมละ 40-60 บาท นอกจากเนื้อของหอยที่ขายได้แล้ว ส่วนของไส้และไข่หอยที่ตัดทิ้งยังสามารถขายได้กิโลกรัมละ 2 บาท ซึ่งนิยมนำไปเป็นอาหารเป็ดและไก่ ทำให้ได้ฟองโตมีสีแดง ส่วนเปลือกหอยก็นำมาคัดขาย 8 เปลือกต่อ 1 บาท