ปลูกส้มโอ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 27, 2024, 06:49:33 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปลูกส้มโอ  (อ่าน 1304 ครั้ง)
คนเกษตร
วีไอพี
member
***

คะแนน41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 45


« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2016, 12:30:29 pm »




ส้มโอ
 
  
  


สถานการณ์ทั่วไป
ส้ม โอเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่ทุกคนรู้จัก เนื่องจากสามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย แต่มีชื่อเสียงมากอยู่ที่จังหวัดนครปฐม โดยเฉพาะอำเภอสามพราน สามารถปลูกส้มโอที่มีรสชาติดีมาก เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป นอกจากจะนิยมบริโภคกันภายในประเทศแล้ว ยังสามารถส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้ปีละหลายสิบล้านบาทอีกด้วย
 
 
 
 
ลักษณะทั่วไปของพืช
ส้ม โอเป็นไม้ผลกึ่งเมืองร้อนมีทรงพุ่มขนาดกลาง ต้นสูงประมาณ 3-4 เมตร ปลูกได้ดี ในดินเกือบทุกชนิดที่ระบายน้ำได้ดี ชอบดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 5.5-6.6 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,500-2,000 มิลลิเมตร
 
 
 
 
อายุเก็บเกี่ยว เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 15 - 20 ปี

          ระยะเก็บเกี่ยว ระยะเวลาดอกบานถึงผลแก่ประมาณ 8 เดือน ต้นส้มอายุ 8 ปี จะให้ผลผลิตประมาณ 80-100 ผล/ต้น/ปี

           ฤดูกาลเก็บเกี่ยว ช่วงที่ให้ผลผลิตมากอยู่ระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม
 
 
 

พื้นที่ปลูก

ภาคเหนือ             พิจิตร อุทัยธานี นครสวรรค์ เชียงราย
ภาคกลาง              ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง สระบุรี นนทบุรี ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา
ภาคตะวันออก       นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด สระแก้ว
ภาคตะวันตก         สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม
ภาคใต้                  พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ชุมพร กระบี่ สตูล นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และตรัง
 
 
 
 
พื้นที่ปลูก (ประมาณการ)

พื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว             90,000   ไร่
พื้นที่ยังไม่ให้ผลผลิต          120,000   ไร่
พื้นที่รวม                           210,000   ไร่
 
 
 
 
พันธุ์ที่ส่งเสริม ขาวน้ำผึ้ง ขาวทองดี ขาวใหญ่ ขาวแตงกวา
 
 
 
ต้นทุนการผลิต
ปีแรกที่เริ่มปลูก 10,440 บาท/ไร่ (พื้นที่ยกร่อง 5x7.5 เมตร)
ปีที่ 6 ให้ผลผลิตเต็มที่ 9,600 บาท/ไร่
 
 
 
 
ผลผลิต

ผลผลิตรวมทั้งประเทศ(ประมาณการ)                   125,000   ตัน
ผลผลิตเฉลี่ย/ไร่                                                     1,400  กก./ไร่
ปริมาณการใช้ภายในประเทศ                             118,568   ตัน

ปริมาณและมูลค่าการส่งออก
                    ปริมาณ : ตัน                  มูลค่า : ล้านบาท
ผลสด                 6,432                                 103


         ราคา ราคาผลผลิตที่เกษตรกรขายได้ 17.00 กก./ไร่
 
 
 
 
ปัญหาแลอุปสรรคที่เกิดขึ้น
1. เทคโนโลยีการผลิตที่ถูกต้องยังกระจายไม่ทั่วถึง
2. การส่งออกยังมีน้อย
 
 
 
 
แนวทางการช่วยเหลือ
1. ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพันธุ์เศรษฐกิจที่ตลาดต้องการ
2. ถ่ายทอดการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ถูกต้องให้ทั่วถึง
3. ถ่ายทอดวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
4. รวมกลุ่มผู้ปลูกส้มโอ
 
 
 
 
การปลูก
วิธีการปลูก
1) ควรใช้ต้นพันธุ์ส้มปลอดโรค หรือต้นที่ได้จากการติดตา
2) ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
3) ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร
4) ผสมดินปุ๋ยคอกจำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตจำนวน 500 กรัม เข้าด้วยกัน กลบดินลงหลุมให้สูงกว่าระดับดินเดิมประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นโขดดิน แต่ถ้าเป็นพื้นที่ดอน
5) ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุมบนโขดดิน
6) ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากหลุมทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
7) ดึงถุงพลาสติกออกโดยระวังอย่าให้ดินแตก
Cool กดดินบริเวณโดนต้นให้แน่น
9) ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมโยก
10) หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่นฟางข้าว หญ้าแห้ง
11) รดน้ำให้ชุ่ม
12) ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด
ระยะปลูก 6x6 เมตร (พื้นที่ยกร่องใช้ระยะปลูก 5x7.5 เมตร)
จำนวนต้น/ไร่ 45 ต้น
 
 
 
 
การดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย
1) บำรุงต้น ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15
2) สร้างตาดอก ใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือ 9-24-24
3) บำรุงผล ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15
4) ปรับปรุงคุณภาพผลผลิต ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21
ส่วนปริมาณการใส่ปุ๋ยประมาณ 1 – 2 กิโลกรัม/ต้น/ครั้ง
การให้น้ำ ในระยะที่ปลูกใหม่ๆ ต้องให้น้ำสม่ำเสมอจนกว่าจะตั้งตัวได้ เมื่อส้มโอเจริญเติบโตดีแล้ว ให้น้ำเป็นครั้งคราวเมื่อจำเป็น
การปฏิบัติอื่นๆ กิ่งที่ควรตัดแต่งมีลักษณะดังนี้
1) ตัดกิ่งที่มีลักษณะไม่สมบูรณ์ทิ้ง
2) ตัดกิ่งที่ปลาย กิ่งที่ชิดโคนทิ้ง
3) ตัดกิ่งที่ไม่ดีทิ้ง เช่น กิ่งคด งอ ไขว้กัน ซ้อนกัน
4) ตัดกิ่งที่ถูกโรคหรือแมลงทำลาย
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
1) ระยะแตกใบอ่อน ให้ป้องกันหนอนชอนใบฉีดพ่นด้วยอิมิดาโคลปริดเมทธามิโนฟอส และป้องกันด้วงงวงกัดกินใบ โดยฉีดพ่นสารคาร์บาริล
2) ระยะออกดอก ให้ป้องกันเพลี้ยไฟฉีดพ่นสารอิมิดาโคลปริด คาร์โบซัลแฟน
3) ระยะติดผล ให้ป้องกันหนอนกินผล โดยการฉีดพ่นสารคาร์บาริล เพลี้ยไฟไรแดงฉีดพ่นด้วยคาร์โบซัลแฟน
 
 
 
 
ปฏิทินการดูแลรักษา
ม.ค.-มี.ค. เม.ย. พ.ค.- มิ.ย. ก.ค. ส.ค.-ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
-ดอกบานและ ติดผลอ่อน
-ให้น้ำสม่ำเสมอ
-ฉีดพ่นสารเคมี ป้องกันโรคแมลง  -ตัดแต่งผล
-กำจัดวัชพืช
-ใส่ปุ๋ยดอกและปุ๋ย สูตร15-15-15  -ฉีดพ่นสารเคมี ป้องกันกำจัด โรคแมลง -ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 -เก็บเกี่ยวผลผลิต
-งดให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยว อย่างน้อย 1 สัปดาห์
-ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 -ฉีดพ่นสารเคมี ป้องกันกำจัด โรคแมลง -สร้างตาดอกให้น้ำปกติ
-ให้ปุ๋ยสูตร 8-24-24
 
 
 
 
การปฏิบัติการหลังเก็บเกี่ยว
1) การเก็บเกี่ยว สังเกตลักษณะผล ผิวเปลือก ผิวเปลือกจะเริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวเข้ม เป็นสีเขียวอมเหลือง ต่อมน้ำมันบริเวณก้นผลจะขยายใหญ่และห่างกันมากขึ้น
2) การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว โดยคัดผลที่มีตำหนิ เช่น ผลช้ำมีบาดแผลจากการเก็บเกี่ยว มีร่องรอยการทำลายของโรคแมลง ทำความสะอาดผลส้มโอ โดยการใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเช็ดทั่วผล หรือล้างน้ำสะอาด เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกและรอยคราบสารเคมีออกให้หมด หลังจากนั้น ผึ่งให้แห้ง และถ้ามีการเคลือบผิวส้มโอด้วยไข ก็จะทำให้ผลส้มโอมีผิวสวยขึ้น ซึ่งยังช่วยให้ยืดอายุการวางขายได้นานขึ้น พร้อมทั้งมีการคัดขนาด หรือคัดเกรดของผลส้มโอด้วย
3) การเก็บรักษา ในสภาพที่เหมาะสมคือ ใช้อุณหภูมิประมาณ13-15 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90% ทำให้ส้มโอคงสภาพดีอยู่ได้ประมาณ 2 เดือน ในกรณีที่เป็นส้มที่ผ่านการเคลือบไขมาแล้ว สามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติประมาณ 1 เดือน


http://www.108kaset.com/



บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!