ปลูกมะม่วง
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 27, 2024, 08:56:28 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปลูกมะม่วง  (อ่าน 1405 ครั้ง)
คนเกษตร
วีไอพี
member
***

คะแนน41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 45


« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2016, 12:04:57 pm »




มะม่วง

  
  


สถานการณ์ทั่วไป

             มะม่วงเป็นไม้ผลที่นิยมปลูกกันมาก เพราะนอกจากจะใช้บริโภคกันภายในประเทศ ทั้งในรูปผลสดและแปรรูป ยังสามารถส่งเป็นสินค้าส่งออกเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันมีพื้นที่เพาะปลูกมะม่วงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาด ราคาผลผลิตที่เกษตรกรขายได้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น จึงต้องหาทางส่งออกให้มากขึ้น เพื่อเป็นทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในปี 2538 มีพื้นที่ปลูก 1.8 ล้านไร่ ผลผลิตส่งออกมะม่วงสด 8,249 ตัน มูลค่า 120 ล้านบาท และมะม่วงแปรรูป 6,937 ตัน มูลค่า 175.4 ล้านบาท
 
 
 

ลักษณะทั่วไปของพืช

           มะม่วงเป็นไม้ผลขนาดใหญ่ ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย ปลูกได้ในดินทั่วไป ยกเว้นดินเค็มและดินที่มีน้ำขัง ถ้าปลูกในดินร่วนซุยมีอินทรีย์วัตถุมาก และมีการระบายน้ำดีก็จะยิ่งให้ผลผลิตดี นอกจากนี้มะม่วงยังมีความต้านทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี จะเริ่มให้ผลหลังจากการปลูกด้วยกิ่งทาบประมาณ 3 ปี สามารถให้ผลผลิตมากกว่า 15 ปี และผลผลิตจะสูงขึ้นเฉลี่ยปีที่ 8 ประมาณ 50-100 กก./ต้น โดยเฉลี่ยอายุจากดอกบาน เก็บผลแก่อยู่ระหว่าง 90-115 วัน น้ำหนักผลมะม่วงเฉลี่ยอยู่ในระหว่าง 260 กรัม ฤดูกาล ผลผลิตอยู่ระหว่างปลายเดือนมีนาคม-มิถุนายน
 
 
 
 
การปลูก
  วิธีการปลูก
1. ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
2. ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร
3. ผสมดิน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตเข้าด้วยกันให้สูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
4. ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
5. ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงมาถึงปากถุง ทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
6. ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก
7. กลบดินที่เหลือลงในหลุมแล้ว แต่อย่ากลบดินให้มาถึงรอยเสียบยอดหรือรอยทาบ
8. กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น
9. ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมโยก
10. หาวัสดุคลุมบริเวณโคนต้น เช่นฟางข้าว หญ้าแห้ง
11. รดน้ำให้ชุ่ม
12. ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด
13. แกะผ้าพลาสติกที่พันรอยทาบ เมื่อปลูกไปแล้วประมาณ 1-2 เดือน
  ระยะปลูก
           ระยะปลูกระหว่างต้นและแถวที่แนะนำ คือ 8x8 เมตร หรืออย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 6x6 เมตร นอกจากนี้ยังพบว่ามีการปลูกมะม่วงระยะที่ชิดกว่านี้ คือ 2.5 x 2.5 เมตร ซึ่งจะได้ปริมาณต้นมะม่วงต่อไร่มากกว่า แต่การปลูกระยะชิดนี้จำเป็นจะต้องดูแลตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอด้วย
  จำนวนต้น / ไร่
  กรณีปลูก 8 x 8 จะได้จำนวน 25 ต้น / ไร่
  กรณีปลูก 6 x 6 จะได้จำนวน 45 ต้น / ไร่
 
 
 
 
การดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย
- ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ทั้งหมดเท่ากับครึ้งหนึ่งของอายุต้น ยกเว้นปุ๋ยทางใบควรใช้ ปริมาณ 20 กรัม / น้ำ 20 ลิตร
- สำหรับมะม่วงที่ยังไม่ให้ผล อายุ 1 - 3 ปี ควรใส่สูตรเสมอ คือ 15-15-15 หรือ 16-16-16
- สำหรับมะม่วงเล็กที่ให้ผลแล้ว บำรุงต้นควรใช้สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16
สร้างตาดอก ควรใช้สูตร 12-24-12 หรือ 8-24-24
บำรุงผล ควรใช้สูตร 14-14-14 หรือ 14-9-20
ปรับปรุงคุณภาพ ควรใช้สูตร 8-24-24

การให้น้ำ
               หลังจากปลูกใหม่ๆ ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำทุกวัน และค่อยๆ ห่างขึ้นสัก 3-4 วัน/ครั้ง สำหรับมะม่วงที่โตแล้วและกำลังติดผล อาจมีการให้น้ำบางระยะเท่านั้น ช่วงที่มะม่วงต้องการน้ำมากที่สุด มีอยู่ 2 ช่วง คือ ช่วงที่มีการเจริญเติบโตทางกิ่งและใบ และช่วงระยะติดผลอ่อน สำหรับช่วงก่อนออกดอกมะม่วงต้องการน้ำน้อยหรือไม่ต้องการน้ำเลย แต่ช่วงที่มะม่วงติดผลแล้วจะมีความต้องการน้ำค่อนข้างสูง และต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

การปฏิบัติอื่นๆ เช่น การตัดแต่งกิ่ง การเด็ดยอด เป็นต้น
  การตัดแต่งกิ่งมะม่วงขนาดเล็ก เมื่อต้นมะม่วงสูงในระยะ 1 เมตร (แต่สำหรับมะม่วงระยะชิดควรเป็น 0.5 เมตร แต่ยังไม่แตกกิ่งก้านสาขา ควรใช้มีดคมตัดปลายยอดทิ้ง เพื่อให้แตกกิ่งก้านสาขาแล้วเลือกกิ่งที่แข็งแรงไว้เพียง 3-4 กิ่ง โดยแต่ละกิ่งทำมุมเท่าๆกันแล้วตัดกิ่งอื่นที่ไม่ต้องการออก
  การตัดกิ่งมะม่วงที่ให้ผลแล้ว ควรทำการตัดกิ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลแล้วทุกปี โดยเริ่มจากกิ่งใดกิ่งหนึ่งจากโคนกิ่งไปยังปลายกิ่งจนครบทุกกิ่ง โดยทำการตัดกิ่งกระโดง กิ่งน้ำค้าง กิ่งไขว้ กิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรคแมลง กิ่งฉีกหักเสียหาย และกาฝาก กิ่งซ้อนทับตำแหน่งกิ่งใหญ่ๆที่มีกิ่งเล็กกิ่งน้อยให้ตัดออก ตำแหน่งปลายกิ่งที่แตกเป็นกระจุกให้ตัดไว้เหลือ 2-3 กิ่งที่เหมาะสม

การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

  โรคแอนแทรกโนส ป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารแมนโคแซป คาร์เบ็นดาซิม
 โรคราแป้งขาว ป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยกำมะถัน คาร์เบนดาซิม
โรคจุดดำ ป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ เอ็นโดซัลแฟน โมโนโครโตฟอส
เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น ป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยคาร์บาริล เอ็นโดซัลแฟน โมโนโครโตฟอส
หนอนแมลงวันกินดอกมะม่วง ป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยโมโนโครโตฟอส
แมลงวันผลไม้ ป้องกันโดยใช้ตัวห้ำ เช่น มดคัน การรมควัน การห่อผล การใช้สารล่อ การให้อุณหภูมิต่ำ
 
 
 
 
ปฏิทินการดูแลรักษา
 
ม.ค  ติดผลขนาดเล็ก,ให้น้ำสม่ำเสมอ ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15
ก.พ  พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 เพื่อปรับคุณภาพผล
มี.ค - เม.ย เก็บเกี่ยวผลผลิต
พ.ค  ตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยคอกและใส่ปุ๋ยเคมีสตูร 15-15-15
มิ.ย - ส.ค พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง เป็นระยะๆ
ก.ย กำจัดวัชพืช, ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24
ต.ค.  ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 งดการให้น้ำ
พ.ย  พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง
ธ.ค  แทงช่อดอก เริ่มให้น้ำ
 
 
 
 
 
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
  1. ปลิดขั้วผลออกทั้งผลโดยเอาขั้วลงบนผ้าหรือกระสอบซับน้ำยางประมาณ 20 นาที
  2. คัดคุณภาพ คัดผลที่ไม่มีบาดแผล หรือร่องรอยการทำลายของแมลงมไมีลักษณะอาการของ โรค เช่น ผลเป็นจุดดำ ผลไมสะอาด
 3. คัดขนาด อาจใช้คนคัดที่ชำนาญหรือใช้เครื่องคัดขนาดมะม่วง โดยทั่วไปใช้น้ำหนักมะม่วง เป็นเกณฑ์
 4. การป้องกันกำจัดโรคแอนแทรกโนส โดยการจุ่มหรือแช่ในน้ำร้อน 50 - 55 องศาเซลเซียส นาน 5 - 10 นาที หรือใช้น้ำร้อนผสมสารไธอะเบ็นดาโซลเข้มข้น 300-500 PPM หลัง จากแช่ผลในน้ำอุ่นแล้วควรนำมาแช่ในน้ำเย็นทันที เมื่อผลเย็นแล้วให้สะเด็ดน้ำ
5. การบรรจุหีบห่อที่ดี จะช่วยป้องกันผลิตผลให้อยู่ในสภาพดีจนถึงมือผู้บริโภค ภาชนะบรรจุ และวิธีการบรรจุที่ดี จะต้องป้องกันไม่ให้ผลมะม่วงชอกช้ำ
6. การเก็บรักษาและการขนส่งผลผลิตควรรักษาอุณภูมิ 10 - 12 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัธท์ ประมาณ 85-90 % ถ้าอุณภูมิต่ำกว่านี้จะเกิดความเสียหาย อุณภูมิที่เหมาะสมสำหรับมะม่วงสุก คือ 13 องศาเซลเซียส

http://www.108kaset.com/


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!