ดังนั้น"ข้าวไทยถือเป็นสุดยอดของคุณภาพระดับโลกไม่มีประเทศไหนที่มีข้าวหอมมะลิเหมือนอย่างประเทศไทยไม่มีประเทศไหนที่มีข้าวเมล็ดยาวที่มีกลิ่นหอม ซึ่งเราตั้งชื่อว่าข้าวหอมมะลิถ้าพวกเราคนไทยร่วมกันบริโภคข้าวหอมมะลิมากขึ้น เกษตรกรก็จะปลูกข้าวหอมมะลิมากขึ้นเขาก็จะมีรายได้สูงขึ้น และจะรักษาคุณภาพของข้าวได้ในระยะยาวถ้าเราพึ่งแต่ตลาดส่งออก แล้วคนไทยในประเทศไม่บริโภคข้าวหอมมะลิเกิดตลาดส่งออกมีปัญหา ข้าวก็ขายไม่ออกแต่ถ้าคนไทยบริโภคข้าวหอมมะลิเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ส่งออกมากส่งออกน้อยตลาดของผู้ผลิตก็ไม่มีปัญหา
ซึ่งปัจจุบันข้าวหอมมะลิที่นิยมปลูกและบริโภคกันอย่างแพร่หลายคือพันธุ์
ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข.15 แต่ราคาข้าวหอมมะลิค่อนข้างตกต่ำลงมาเรื่อยๆ
เนื่องจากข้าวพันธุ์ปทุมธานี1 ให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวหอมมะลิ 105 โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 80-100 ถังต่อไร่ปลูกได้หลายครั้งต่อปี และสามารถปลูกได้ดีในที่ลุ่มบริเวณที่ราบภาคกลางขณะที่ข้าวหอมมะลิ 105 ให้ผลผลิตต่อไร่เพียง 30-40 ถังและปลูกได้ดีในบางพื้นที่เท่านั้นทางรัฐบาลจึงส่งเสริมให้ชาวนาเน้นการปลูกข้าวพันธุ์ ปทุมธานี 1 มากกว่า
ซึ่งข้าวพันธุ์ 'ปทุมธานี 1' แม้ว่าจะมีความหอมคล้ายข้าวหอมมะลิ แต่ 'ไม่ใช่' ข้าวหอมมะลิ นอกจากนี้เกรดในการจำหน่ายข้าวหอมมะลิที่ได้รับอนุญาตจาก กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ ยังแบ่งชั้นข้าวหอมมะลิออกเป็น ข้าวหอมมะลิชั้น 1 (ดีพิเศษ)มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 5% ข้าวหอมมะลิชั้น 2 (ดี) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 15% ข้าวหอมมะลิชั้น 3 (ธรรมดา) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 30% ผู้บริโภคซึ่งต้องการข้าวหอมมะลิแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์จึงยังอาจไม่ถูกใจเมื่อซื้อไปหุงรับประทาน