ประโยชน์ของทุกข์
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประโยชน์ของทุกข์  (อ่าน 1506 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 02:54:45 pm »

ประโยชน์ของทุกข์
โดย รังสีธรรม ธรรมโฆษ‏

สุขที่แท้จริงน่าจะเป็นความสงบ ตามพระพุทธพจน์ ในสุขวรรคแห่งพระธรรม บทว่า                             
นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ-สุขอื่นจากความสงบไม่มี เพราะความสงบคือความเป็นปกติอันแท้จริง             
ของจิตใจ การที่จิตใจเป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ชื่อว่าจิตใจได้เสียปกติภาพ หรือผิดปกติไปแล้ว             
จิตใจที่ผิดปกติภาพไป ย่อมเกิดความปั่นป่วน ดุจท้องทะเลในพายุใหญ่

ตามข้อเท็จจริงทางสรีรวิทยา ย่อมชี้ให้เห็นว่า ขณะที่คนรู้สึกเป็นสุขโสมนัส เพราะเหตุใดเหตุหนึ่งนั้น อวัยวะต่าง ๆ ตั้งแต่ระบบประสาทถึงแข้ง ขา ตีน มือ ต้องทำงานแข็งขันเป็นพิเศษ หัวใจฉีดโลหิตในอัตราเร่งทำให้ส่วนต่างๆ ได้รับโลหิตทั่วถึง นั่นเป็นเหตุทำให้คนกำลังโสมนัส ดูมีหน้าตาเบิกบาน        สดชื่นขึ้น และพลังงาน (energy) ก็เพิ่มขึ้นด้วย ถ้าให้คนที่กำลังมีความสุขโสมนัส ทำงานเกี่ยวกับการออกแรงเขาก็ทำได้ดีเป็นพิเศษ แม้ไม่มีงานอะไรจะทำ ธรรมชาติก็จะบังคับให้เขาปล่อยพลังงานที่ท่วมท้นออก โดยแสดงปฏิกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นยิ้ม เนื้อตัวสั่น จับโน่นฉวยนี่ ทำท่าทางหลุกหลิกตบตีตัวเองหรือคนอื่นสิ่งอื่น เป็นต้น

คนที่ยินดีปรีดามาก ๆ ยากที่จะควบคุมตัวให้อยู่นิ่ง ๆ ได้
ดังที่เรามักจะพูดอยู่เสมอว่า “ดีใจจนลืมตัว” ทางพระพุทธศาสนาบรรยายลักษณะของความยินดีปรีดาไว้อย่างละเอียดลออมาก โดยจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ เรียกว่าปีติ ปีติบางอย่าง                      เมื่อเกิดขึ้นทำให้ขนลุกชูชัน ทำให้น้ำตาไหล บางอย่างเกิดขึ้น ทำให้รู้สึกเสียวแปลบ ๆ เหมือน              ฟ้าแลบ บางอย่างเกิดขึ้นทำให้รู้สึกซู่ซ่า เหมือนคลื่นกระทบฝั่ง บางอย่างเกิดขึ้น ทำให้ใจฟู               ทำให้รู้สึกลิงโลดใจ จนทำอะไรไม่รู้สึกตัว เช่น กระโดดโลดเต้น หรือเปล่งอุทาน เป็นต้น
จิตใจอาจเสียปกติภาพไป โดยเกิดความทุกข์ระทมโศกเศร้าก็ได้ ในลักษณะหลังนี้ ทั้งจิตใจและร่างกายตกอยู่ในสภาพตรงกันข้ามกับลักษณะแรก

สภาพอันแท้จริงของจิตใจในขณะกำลังระทมทุกข์ อธิบายให้เห็นได้ยาก แต่ผู้เคยระทมทุกข์คงเคยสังเกตเห็นได้ด้วยตนเอง ทางด้านกายภาพ จะสังเกตเห็นได้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปในลักษณะเนือย ๆ แม้ร่างกายจะสมบูรณ์เป็นปกติ และมิได้ออกแรง ก็จะรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่ค่อยจะมีเรี่ยวแรง

คนที่กำลังเป็นทุกข์ มักมีหน้าตาซูบซีดหม่นหมอง ชอบนั่งจับเจ่าเหงาอยู่คนเดียวเงียบ ๆ และคิดมาก การคิดมากในขณะเศร้าเป็นหลักธรรมดา คือเมื่อกายสงบ ใจก็มีโอกาสทำงานได้เต็มที่ ถ้ากายไม่สงบ ใจก็ว้าวุ่นไม่เป็นอันจดจ่ออยู่กับอารมณ์ใด ๆ ได้เต็มที่

มีข้อที่น่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่ง เกี่ยวกับธรรมชาติของจิตใจคนทั่ว ๆ ไป คือหลังจากความปลื้มปิติ         
มาก ๆ ผ่านพ้นไปแล้ว หมายความว่า เมื่อจิตใจคืนสู่ปกติภาพอีกครั้งหนึ่งนั้น แทนที่คนจะรู้สึกเฉย ๆ แต่กลับรู้สึกเศร้าหงอยเหงาลงไปนิดหนึ่ง ชั่วครู่หนึ่งเสียก่อน แล้วจึงจะมีความรู้สึกเป็นธรรมดา

โดยทำนองเดียวกัน เมื่อจิตใจพ้นจากความระทมทุกข์คืนสู่ปกติภาพ คนจะรู้สึกชุ่มชื่นขึ้น เป็นสุขขึ้นมาหน่อยหนึ่ง ชั่วระยะเวลาหนึ่งเสียก่อน จึงจะมีความรู้สึกเป็นธรรมดา

ผู้เขียนเคยสังเกตตัวเอง แต่ก็ยังไม่เข้าใจเหตุผล จนกระทั่งได้มาเรียนวิทยาศาสตร์ และทดลองดูด้วยตนเอง จึงพอจับเงื่อนไขได้บ้าง ในการทดลองง่ายๆ นี้ เรามีเพียงขันสามใบ บรรจุน้ำร้อน น้ำอุ่น และน้ำเย็นตั้งไว้โดยลำดับ อันดับแรกให้เอามือขวาจุ่มลงในขันน้ำเย็น เอามือซ้ายจุ่มลงในขันน้ำร้อน แล้วแช่ไว้ประมาณ ๑ นาที อันดับที่สอง ชักมือทั้งสองขึ้นแล้วเอาลงจุ่มในขันน้ำอุ่นพร้อม ๆ กัน ทันใดนั้น ท่านจะรู้สึกว่ามือขวาที่จุ่มน้ำเย็นมาก่อน เมื่อเอามาแช่น้ำอุ่น แทนที่จะรู้สึกอุ่น ๆ กลับรู้สึกร้อนมาก มือซ้ายที่แช่น้ำร้อนมาก่อน เมื่อมาอยู่ในน้ำอุ่น แทนที่จะรู้สึกอุ่น กลับรู้สึกเย็นสบาย              ถ้าแช่ไว้ในลักษณะนั้นประมาณสองนาที ความรู้สึกจึงจะคืนสู่สภาพปกติ เราก็กลับรู้สึกอุ่น ๆ                ธรรมดาทั้งสองข้าง

การทดลองนี้ เทียบได้กับภาวะแห่งจิตใจ หลังจากสุขอนันต์หรือทุกข์มหันต์ผ่านไปแล้ว-สุขมาก           
ผ่านไป จิตใจรู้สึกทุกข์ลงนิดหนึ่ง แล้วจึงเป็นปกติ ทุกข์มากผ่านไป รู้สึกสุขสดชื่นขึ้นนิดหนึ่ง                 
แล้วจึงเป็นปกติ บางที อาจเป็นการยากที่จะเห็นได้ว่า ความรู้สึกเฉยๆ หรือปกติภาพ นี้เป็นสุขอย่างไร ถ้าเปรียบเทียบบางทีอาจจะเห็นได้ง่าย

ผู้ที่เคยล้มเจ็บไม่สบายมากๆ เช่น ปวดท้อง ย่อมจะยอมรับว่า การปวดท้องเป็นการทนทุกข์             
ทรมานมาก ขณะที่อาการปวดประดังขึ้นมามากๆ บางทีแทบสิ้นสติสมปฤดี แสดงหน้าตาสยิวบิดตัว เหงื่อโซมกาย
ความปรารถนาสูงสุดของคนไข้ในขณะนั้นก็คือ การหายจากความเจ็บปวดอันแสนทรมานนั้น

เมื่ออาการปวดหายไป ซึ่งหมายความว่าทุกสิ่งทุกอย่างได้คืนสู่ปกติภาพ คนจะรู้สึกสุขสบาย               
อย่างที่สุด อย่างที่ไม่เคยประสบสุขเช่นนั้นมาก่อน ซึ่งอันที่จริงก็เป็นภาวะปกติ ซึ่งทุกคนรู้สึกอยู่             
ในเมื่อยังไม่มีความเจ็บปวดนั่นเอง แต่ความสุขเช่นนั้น เป็นไปเพียงครู่เดียวเท่านั้น แล้วคนก็รู้สึก
 เฉย ๆ ตามเดิมเพราะความเคยชิน

อันที่จริงความรู้สึกเฉยๆ เมื่อจิตอยู่ในสภาพปกตินั่นแหละ คือภาวะที่สงบสุขอย่างแท้จริงละ               
 แต่คนก็ยังไม่เห็นว่าเป็นสุข จึงพยายามหาอารมณ์ต่างๆ มากระตุ้นเตือนจิตใจให้ฟูขึ้น                         
เพื่อจะได้เกิดความตื่นเต้นสุขสนุกสนาน โดยหาทราบไม่ว่า นั่นเป็นการทำให้จิตใจเสียปกติภาพ
โดย  พี่เณร...นำมาฝาก
หากไม่รู้จักทุกข์แล้ว ก็มิอาจทราบได้เลยว่าสุขเป็นอย่างไร...

ที่มา ธรรมะออนไลน์


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: