ยิ่งรักมาก ยิ่งเกิดปัญหามาก
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ยิ่งรักมาก ยิ่งเกิดปัญหามาก  (อ่าน 1127 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: เมษายน 11, 2011, 10:34:27 am »

  ผิดก่อน-ผิดมาก

โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ตอน

แม่ถูกลูกสาวบ่น

การแก้ปัญหาในชีวิตนั้น ท่านให้แก้ไขตัวเองก่อนเสมอ

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันก็จะค่อยๆ คลี่คลายตามกัน

ละความชั่วของตน ทำแต่ความดีความถูกต้องด้วยตัวเองก่อน

เรามีความรู้สึกว่าเขาผิดเขาไม่ดี ความชั่วของเขาปล่อยไว้ก่อน

ใช้หลักอุบาย การเตือนสติสอนใจตัวเองว่า "ผิดก่อน - ผิดมาก"

ที่ประเทศญี่ปุ่น วันหนึ่ง ผู้หญิงวันกลางคน มาเยี่ยมมาสนทนาธรรม

ระบายอารมณ์ในใจออกมาให้ฟังว่า เขากลุ้มใจเรื่องลูกสาวคนหนึ่ง

เพิ่งจบจากมหาวิทยาลัยได้ปริญญาตรี แล้วกำลังทำงานอยู่

เขาคอยจับผิดและว่าแม่ตลอดเวลา เช่น ทานข้าวไม่เรียบร้อย

เดินเสียงดัง ปิดประตูเสียงดัง วางของหยิบของไม่เรียบร้อย

เรื่องเล็กๆ น้อยก็คอยเก็บมาว่า แม่รำคาญมาก

จนมีความรู้สึกว่าไม่อยากเข้าบ้านเลย เสียใจ น้อยใจ

ที่ได้ลูกสาวอกตัญญูแบบนี้ เขาไม่น่าพูด ไม่น่าทำ อย่างนี้เลย......

อาจารย์ก็นั่งฟังไปเรื่อยๆ จนเขาพูดจบ อาจารย์เพิ่งพบเขาเป็นครั้งแรกในวันนั้น

เขาได้ดูโทรทัศน์รายการธุดงค์ในญี่ปุ่น เกิดศรัทธา สนใจธรรมแล้วมาเยี่ยม

ขณะนั้นเขาทำงานแปลหนังสือ เขาเป็นปัญญาชน

สังเกตดูลักษณะบุคลิกแล้ว เป็นคนเจ้าระเบียบ มักสะอาด อาจจะโทสะจริตก็ได้

อาจารย์ก็ถามเขาว่าลูกสาวกับพ่อเป็นอย่างไร

เขาบอกว่าไม่เป็นอะไรธรรมดาๆ เหมือนทั่วๆ ไป มีปัญหาเฉพาะกับแม่เท่านั้น

ทุกสิ่งทุกอย่างมันมีเหตุ เมื่อซักถามว่าตอนที่ลูกเล็กๆ แม่สอนจู้จี้ใช่ไหม

เขาก็ยอมรับว่าใช่ วินิจฉัยได้ว่า ด้วยความหวังดีหรือหงุดหงิดก็ตาม

แม่พูดสอนลูกสาวเกินเหตุ ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็ก ลูกทำอะไรแม่ก็ว่าตลอด

อย่าทำ อย่างนี้ อย่าทำอย่างนั้น ลูกทำอะไรก็ผิดหมด ลูกอึดอัดใจมาตลอด

เมื่อเขาโตแล้วก็ดุแม่ เขาคงจะไม่ตั้งใจ แต่อุปาทานมันมีอยู่ แม่ก็ผิดเหมือนกัน

เลยพูดออกมาเป็นนิสัย แม่ทำไมทำอย่างนี้ ทำไมอย่างนั้น

คำพูดของลูกสาวก็ไม่ใช่อื่น คือคำพูดของแม่ที่เคยสอนลูกทั้งนั้น

ตัวเองทำไว้เป็นเหตุ กลับมากระทบจากลูกสาวเป็นปัจจัย

ต้องใช้หลัก ทุกข์เพราะคิดผิด คิดถูกแก้ทุกข์ได้

การคิดว่าลูกสาวเป็นเด็กไม่ดี เป็นลูกอกตัญญู ไม่น่าพูดอย่างนั้น

ไม่น่าทำอย่างนั้นเป็นการคิดผิด ควรคิดใหม่ว่า เราผิดก่อน

คำพูดต่างๆ ที่ทำให้แม่ไม่ถูกใจ เขาไม่ได้คิดอะไรมากมาย

ไม่ได้รู้สึกอะไรมากมาย ลูกพูดออกมาโดยอัตโนมัติ

แม่กลุ้มใจ น้อยใจ เสียใจ เป็นทุกข์มากกว่าเขาในขณะนี้

แม่เป็นบาปเป็นทุกข์ นั้นแหละ ผิดมาก

ท่านจึงให้เตือนตัวเองเสมอว่า ผิดก่อน - ผิดมาก

ถ้าแม่เข้าใจอย่างนี้ ต้องตั้งใจปฏิบัติ

พยายามไม่ยินร้ายเมื่อกระทบอารมณ์ ทำใจหนักแน่น

ไม่ให้หวั่นไหว รักษาใจเป็นปกติ สงบ เป็นศีล

ไม่ให้แสดงความไม่พอใจทางหน้าตา วาจา และกิริยาทางกาย

ทำความรู้สึก ทำกิริยา วาจา เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรผิดปกติ

ทำเหมือนตบมือข้างเดียวไม่ดัง เราอย่าเป็นคล้ายระฆังในวัด

เสียงดังเมื่อไร เราก็ตีกลับมาตลอดทุกครั้ง แล้วบ่นว่าเสียงดังรำคาญ

ทีนี้เราหยุดก่อน เสียงก็จะค่อยๆ เบาลง และระฆังก็หยุดนิ่งในที่สุด

เมื่อเราเข้าใจลูกแล้ว ก็จะเกิดเมตตาสงสาร

นอกจากนั้นก็ต้องปฏิบัติคือ รักษาใจให้เป็นปกติ กาย วาจา เป็นปกติ เรียบร้อย

การให้ทานจะเป็นกำลังสนับสนุนให้แก้ปัญหาได้โดยเร็ว

ให้ทานด้วยสายตาที่ประกอบด้วยเมตตาปราณี

ให้ทานด้วยหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส

ให้ทานด้วยวาจาพูดดีน่าฟัง

ให้อภัยทาน ให้อภัยซึ่งกันและกัน อโหสิกรรมซึ่งกันและกัน

ให้ทานด้วยสิ่งของที่เขาชอบเล็กๆน้อย ๆ ก็ได้ เช่น

ขนม ผลไม้ที่ลูกชอบ ผู้รับจะเปลี่ยนความรู้สึกทันที

เขาจะดีใจ มีความสุข เกิดความรัก เป็นต้น

ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาหนักเท่าไร ถ้าเราเข้าใจเหตุผล

และปฏิบัติตามหลักธรรมะ

ปฏิบัติถูกแล้วปัญหานี้จะค่อยๆ คลี่คลายไปเป็นลำดับ

สรุป ให้เราพิจารณาวิเคราะห์กรรมในแง่ต่างๆ

เรามีกรรมเป็นของของตน

เรามีกรรมเป็นผู้ให้ผล

เรามีกรรมเป็นแดนเกิด

เรามีกรรมเป็นผู้ติดตาม

เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

แล้วสรุปได้ว่า จักทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป

เราจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นๆ สืบไป

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัวจริงๆ

ให้เกิดเมตตาและความไม่ประมาท

ให้เกิดศรัทธาและกำลังใจที่จะละความชั่วและตั้งอยู่ในความดี

ความถูกต้องได้ในทุกกรณี ให้เกิดหิริโอตตัปปะ ทำให้เกิดศีลบริสุทธิ์

จิตใจของเราจะค่อยๆ เลื่อนขึ้นไป ละความชั่ว ทำแต่ความดี

ในที่สุดก็จะเข้า "สะจิตตะปะริโยทะปะนัง"

การชำระจิตของตนให้ขาวรอบบริสุทธิ์

อยู่นอกเหนือ ความดี ความชั่ว ซึ่งเป็นโลกิยะ เข้าถึงแก่นของพระพุทธศาสนา

ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด ประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติธรรม

นี่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เมื่อเราใช้ชีวิตร่วมกัน การไม่ถูกใจกันเป็นธรรมดา

ถึงแม้ว่า รักกันขนาดไหน อยู่ใกล้ชิดกัน อยู่ร่วมกัน ก็เกิดปัญหาได้

ยิ่งรักมาก ยิ่งเกิดปัญหามาก



จากคุณ ~anrin~


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: