คนลุ่มน้ำ..ชีวิตที่หยุดนิ่งพร้อมสายน้ำ...ปากพนัง
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 21, 2024, 03:54:14 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คนลุ่มน้ำ..ชีวิตที่หยุดนิ่งพร้อมสายน้ำ...ปากพนัง  (อ่าน 8097 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 06:12:34 am »

เขื่อนกั้นน้ำเค็มที่ปากพนัง ทำนิเวศน์พังยับเยิน

Credit : http://peoplerights1.blogspot.com/2008/12/blog-post_27.html

ประตูเขื่อนอุทกวิภาชประสิทธิ์
โครงการลุ่มน้ำปากพนัง มีพื้นที่ 1.7 ล้านไร่ หรือประมาณ 26.64 ของพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ครอบคลุม 3 เภอ คือ อ.ปากพนัง เชียรใหญ่ และอ.หัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช มีแม่น้ำสายหลักคือแม่น้ำหัวไทร หรือเรียกตามชื่ออำเภอและลำคลองสาขา กว่า 119 สาย จากต้นกำเนิดเทือกเขาบรรทัด ไหลผ่าน อ.ชะอวด หัวไทรและลงทะเลที่ ปากพนัง บริเวณลุ่มน้ำปากพนัง โดยเฉพาะตอนกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มสูงกว่าระดับน้ำทะเล 5-10 เมตร และตอนปลายเป็นที่ราบลุ่มชายฝั่ง เป็นพื้นที่ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึง ในฤดูแล้งที่แล้งจัดของบางปี ทำให้น้ำทะเลหนุนขึ้นสูง ขึ้นไปผสมกับน้ำจืด ถึงเขต อ.ชะอวด ทำให้เกิดการผสมน้ำของ 2 น้ำคือจืดกับเค็ม กลายเป็นน้ำกร่อย ทำให้สภาพพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง มีระบบนิเวศน้ำ 4 น้ำ รวมกับน้ำเปรี้ยวที่ล้นออกมาจากจากพรุครวนเคร็ง หรือเปรี้ยวที่เกิดจากการผสมของน้ำจืดกับน้ำเค็มในช่วงสั้นๆ
ระบบ 4 น้ำ ก่อให้เกิดความหลากหลายของสภาพนิเวศและอาชีพของชุมชน อาทิ ป่าจาก ป่าพรุ ป่าชายเลน ป่าสาคู และป่าดิบชื้นหรือป่าต้นน้ำ เป็นความจำเพาะ ที่อุดมสมบูรณ์แบบธรรมชาติ ทำให้พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเป็นแอ่งอารยธรรมการผลิต การทำอยู่ ทำกิน ที่หลากหลายมาแต่อดีต บวกกับเป็นเมืองปากแม่น้ำ จึงกลายเป็นประตูการค้า ทำให้ลุ่มน้ำปากพนัง มีข้าวเป็นสินค้าออกหลักและเป็นปัจจัยที่สร้างความเจริญรุ่งเรืองในพื้นที่นี้
หลังจากรัฐบาลในยุคเร่งขยายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการส่งออกข้าว ต่อมาก็คือกุ้ง ซึ่งเป็นสินค้าตัวหนึ่งที่ได้รับความใส่ใจมากในยุคนั้น เนื่องจากทำรายได้สูง ซึ่งสนับสนุนโดยกรมประมง ในขณะที่การทำนาต่อมาต้องกระทบจากราคาต้นทุนที่สูงแต่ราคารับซื้อต่ำ ทำให้ ตั้งแต่ ทศวรรษที่ 2530 เป็นต้นมา การเลี้ยงกุ้งขยายตัวสูง ครอบพื้นที่ทำนาเดิมในลุ่มน้ำปากพนัง แทนที่นาข้าวซึ่งไม่คุ้มทุน จนในระยะนั้นการทำนากุ้งได้ก่อผลกระทบ น้ำเค็มรุกพื้นที่นาข้าว ทำให้เกิดโครงการแบ่งแยกโซนน้ำ จืด-เค็ม กั้นออกจากกันเด็ดขาด นั่นคือ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังทั้งระบบ


แต่หลังจาก โครงการแรก ประตูใหญ่ คือ "อุทกวิภาชประสิทธิ" กั้นแม่น้ำปากพนังก่อนลงสู่ทะเลสร้างเสร็จ และเปิดทำการเมื่อ 1 ตุลาคม 2542 ขณะที่ประตูอื่นๆ อาทิ เขื่อนเสือหึง กำลังก่อสร้างซึ่ง กั้นที่ชะอวด ทำให้ระบบไหลเวียนของน้ำตามลำคลองสาขาต่างๆ เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากธรรมชาติ ระบบนิเวศซึ่งเป็นรากฐานของอาชีพทำอยู่ ทำกิน กระทบหนัก และยิ่งโครงการล่าช้าหยุดชะงักบ่อยครั้ง ทำให้ชาวบ้านเริ่มได้รับผลกระทบจากระบบน้ำที่เปลี่ยนไป อาทิ น้ำไม่ไหลเวียนจนเน่า หรือท่วมขัง กลุ่มอาชีพทำนา หรือเลี้ยงกุ้ง อยู่ผิดโซนทำให้เสียประโยชน์ และโดยธรรมชาติความเป็นจริงน้ำที่นำมาเลี้ยงกุ้งนั้น เป็นน้ำผสมจากธรรมชาติ ซึ่งปริมาณเค็มจะน้อยมาก แต่น้ำทะเลที่เป็นสภาพเดิมตามธรรมชาตินั้น เค็มเกินไปไม่สามารถใช้ได้ การอพยพของปลาน้ำจืด-น้ำเค็มเพื่อวางไข่ถูกตัดขาด พืชในระบบน้ำแต่ละชนิดน้ำสูญหายหรือไม่ออกผลผลิตดั่งเดิม อาทิ ต้นจาก ซึ่งเป็นพืชน้ำกร่อย ไม่ออกรวง ไม่ออกน้ำ และ เกิดตะกอนทับถมขึ้นในลำคลองสูงมาก เนื่องจากระบบน้ำไม่ไหลเวียน และระดับน้ำใต้ดินขึ้นสูง ท่วมขังไม่แห้งตามฤดูกาล ทำให้ดินที่ใช้ทำนามีความเหนียวไถไม่ได้ เป็นต้น

การขุดลอกคลองหัวไทร หนึ่งในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง


สภาพป่าจากหลังขุดลอก
ในระยะต่อมา ปลายปี 2545 มีการขุดลอกคลองหัวไทร ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง หมายถึงขุดลอกป่าจาก ริมสองฝั่งแม่น้ำหัวไทรและลำคลองสาขา ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ทำให้เกิดทั้งปัญหาสนิมน้ำ เป็นการคายยางจากรากต้นจาก ทำให้กระทบระบบน้ำ ยางจากรากต้นจากเป็นพิษคือขึ้นสนิมน้ำใช้ประโยชน์ไม่ได้และยังทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กอีกด้วย

บรรจบ อ่วมคง
นายบรรจบ อ่วมคง อาชีพประมง วัย 65 ปี จาก ต.บ้านเนิน อ.เชียรใหญ่ กล่าวถึงสภาพชีวิตตนเองที่ต้องเผชิญปัญหา มากมายหลังการปิดประตูเขื่อนอุทกฯว่า " ผมทำอาชีพประมงพื้นบ้านในลุ่มน้ำปากพนังมาตั้งแต่ยังเด็กๆ เลี้ยงลูกๆ 12 คน มานาน การทำอาชีพประมงในพื้นที่นี้จะปรับตัว ปรับวิธีการ ไปตามสภาพน้ำ ความชุ่มของสัตว์ในแต่ละเดือน เช่น น้ำกร่อย กลางคืนหากุ้งแม่น้ำ กลางวันวางอวนหรือทอดแห หรือปางปีปูชุมก็จะวางไซปูแทน ไปจนถึงเขตน้ำเค็ม จากน้ำกร่อยมาจนถึงช่วงน้ำเค็มในฤดูแล้งก็จะวางไซปู วางอวน พ้นจากน้ำเค็มก็จะเป็นน้ำกร่อยอีกครั้ง สภาพน้ำกร่อยจะเกิดปีละ 2 ครั้ง ก็จะกลับมาจับแบบเดิม พอน้ำจืดนี้จะวางไทรใหญ่ ปลาที่ได้ก็จะเป็นปลาช่อน ปลาชะโด ปลากดเหลือง กุ้งแม่น้ำ กุ้งแต้ กุ้งกุลาดำ กุ้งหางแดง กุ้งแชบ๊วย และปู เยอะครับจำไม่หมด เพราะสัตว์น้ำทั้งจืดและเค็มมันขึ้นลงวางไข่ในพื้นที่นี้ ตามฤดูกาล เช่นกุ้งแม่น้ำ ปู จะมาวางไข่ในพื้นที่น้ำกร่อยนะครับ ประมาณเดือน กุมภา-เมษา และพฤศจิกา-ธันวา ครับ
ก่อนมีโครงการนี้ ชีวิตผมสบายมาก ก่อนลูกจะไปโรงเรียนไม่มีเงินสักบาท คืนนี้ผมออกเรือหาปลา เงินสัก 300 บาทคืนหนึ่ง ผมสามารถหาให้ลูกไปโรงเรียนได้เลย
ในบ้านก็ได้กินอุดมสมบูรณ์ไม่ต้องซื้อกับข้าวเลย ซื้อแต่ข้าวสารเท่านั้น แต่พอมาปิดเขื่อนอุทกฯ นี้เอง ทุกอย่างหายหมด เนื่องจากน้ำไม่ไหลเวียน พันธุ์สัตว์น้ำที่เคยจับก็สูญหายไปหมดเลย อาชีพผมก็ต้องหยุดไปด้วย ไม่มีรายได้อะไรเลย ทั้งที่แต่ก่อนผมมีรายได้เฉลี่ยวันละ 200 บาท อย่างเช่นวางไซปู เที่ยวหนึ่งผมเคยได้ถึง 13 ตัว เกือบ 4 ก.ก. ปูไข่นะครับ กิโลละ 140 บาทสมัยนั้น เท่าไหร่ คำนวนดูนะครับ ตอนนี้ลำคลองเน่า มีสาหร่าย ผักตบ เต็มไปหมด
ผมคิดว่า แม่น้ำปากพนังเป็นเส้นเลือดเส้นใหญ่ของเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังทั้งหมดทั้ง เชียรใหญ่ ชะอวด หัวไทร ปากพนัง การมาทำเขื่อนปิดน้ำแบบนี้ เป็นการมาทำลายระบบไหลเวียนแบบธรรมชาติทั้งลุ่มน้ำ อาชีพประมงเช่นผม กระทบมากทั้งบนเขื่อนล่างเขื่อน กระทบทั้งนั้นเลย เรือในหมู่บ้านผม 2,000 ลำต้องหยุด และอาชีพประมงเช่นผมเป็นอาชีพที่ไม่มีที่นาทำกินเหมือนคนอื่นๆ ลำบากครับ จึงให้เปิดเขื่อนกลับมาเหมือนเดิม หรืออย่างน้อยทดลองเปิดดูก่อนก็ได้ หลังจากทดลองปิดมา 4 ปี แล้วมันกระทบมากจริงๆ แล้วทดลองเปิดดูสัก 2 ปี เพื่อศึกษาเปรียบเทียบดูว่า อย่างไหนจะกระทบหรือดีกว่ากัน และการศึกษาวิจัยนั้นต้องให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมด้วยนะครับ เพราะที่ผ่านๆ มานักวิชาการไม่เคยเข้ามาสอบถามชาวบ้านเลย


นายประเสริฐ คงสงค์ ต.เกาะเพชร อ.หัวไทร ย้ำแผนงานพัฒนาต่อเนื่องยิ่งทำก็ยิ่งทำลาย ผลกระทบก็เริ่มตามามาก โดยเฉพาะโครงการขุดลอกคลองตั้งแต่ปากแพรกถึงหน้าโกฏิ "เมื่อก่อนสองฝั่งคลอง ฝังซ้ายมันมีป่าชายเลน ฝั่งขวามันมีป่าไม้ มันเป็นสถานที่ของสัตว์น้ำเล็กใหญ่ เป็นที่วางไข่ อันที่จริง การลอกคลองมันมีวิธีแบบอนุรักษ์ ไม่จะลอกแบบดูด หรือขุดก็แล้วแต่ ขอแค่อย่าทำลายป่าไม้สองฝั่งคลอง ซึ่งระยะทาง 40 กว่ากิโล จากเขื่อนกั้นน้ำเค็มน้ำจืด ไปถึงปากกระวะ แพรกเมือง โดยขุดเอาป่าจากออกแล้วกั้นเป็นสันสูงสองฝั่งคลอง เหมือนถนนสองฝั่ง แต่เป็นดินเลน ทำให้ป่าชายเลน ป่าจากโดนทำลายหมด
โดยธรรมชาติป่าสองฝั่งคลองนั้น มันช่วยดูดซับของเสีย หรือมลภาวะต่างๆ ในลำคลอง และเมื่อขุดลอกทำลายป่าไม้ ก็เกิดสนิมเหล็กในน้ำขึ้น ยิ่งเพิ่มมลภาวะขึ้นอีกด้วย เริ่มลอกตั้งแต่ ปลายปี 2545 จนถึงปัจจุบัน เริ่มมีสนิมเหล็ก ซึ่งมาจากการขุดรากป่าจาก ทำให้รากเหล่านี้คายสนิมหรือยาง ทำให้กุ้ง ปลา ไม่ชอบอาศัยอยู่ หรือถ้าอยู่ก็ไม่ค่อยเจริญเติบโต ปัญหาแบบนี้ไม่เคยมีเลยในคลองหัวไทร ตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา
ผมเคยพยายามแจ้งให้หัวหน้าก่อสร้าง 2 กรมชลประทาน ที่แพรกเมืองรับทราบแล้ว เขาก็แจ้งว่าจะลงมาดู แต่ก็ไม่เห็น หรืออาจจะมาแต่ไม่ได้แจ้งให้ชาวบ้านทราบ ชาวบ้านพยายมโทรไป 2-3 ครั้ง แต่ก็ไม่มาหรือบ่ายเบี่ยงมาชี้แจงชาวบ้าน 3-4 เดือน อีกปัยหาหนึ่งก็คือดินที่ขุดถมเป็นสันริมคลองเป็นดินเลน ขี้โคลน ขุดขึ้นตั้งไว้ไม่กี่วันโดนฝนหน่อยก็ยุบหายไปหมด ไหลลงคลองคืนตัวชาวบ้านจริงๆ เขาต้องการให้มันเป็นป่าชายเลน ป่าจากเหมือนเดิม เขาอยากปลูกหรือฟื้นฟูป่ากลับคืนมาทั้งนั้น จึงกำลังจะเรียกร้องให้กรมชลประทานปลูกป่า หรือคืนธรรมชาติให้ชาวบ้านคืน ตัวหน่วยงานให้พื้นที่เอง ก็แจ้งแต่ปาก ดูแต่ตา ไม่เคยคิดจะทำอะไรให้เป็นการแก้ปัญหาเลย

ประเสริฐ คงสงค์
ทั้งหมดนี้ ถ้าภาครัฐหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ ต้องการให้คนหัวไทรอยู่หัวไทร ปากพนังอยู่ปากพนัง ได้ทำมาหากินอยู่ที่เดิมละก็ ต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป จะให้คนที่นี่ ต่อสู้เหมือนคนภาคอื่นๆ นั้นยาก อย่างดีก็แค่ทำหนังสือ ถึงหน่วยงาน ถ้าเขาแก้ไขให้ก็รอ แต่ถ้าไม่แก้ปัญหาให้ก็ย้ายที่อยู่ ไปที่อื่นๆ มันเป็นอย่างนี้ตลอด ตอนนี้ก็ย้ายออกไปบ้างแล้ว

สภาพสันคลองที่ขุดลอกเสร็จ


บริเวณป่าชายเลนแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ตามธรรมชาติ
นายสันติชัย ชายเกตุ เจ้าหน้าที่โครงการสิทธิชุมชนศึกษา วิเคราะห์ถึงปัญหาและเผยถึงบทบาทการทำงานกับชุมชนว่า " ผลกระทบในด้านอาชีพ เพราะแม่น้ำที่นี่ไหลเวียนมาเป็นร้อยพันปี เกิดเป็นอาชีพ เป็นวิถีชีวิตของชุมชนที่ปรับตัวอยู่กับธรรมชาติ มีน้ำขึ้น น้ำลง น้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม ชาวบ้านเขาก็ทำมาหากินไปตามฐานทรัพยากร อย่างคนเขตน้ำจืดก็ทำนา คนเขตน้ำกร่อย น้ำเค็ม ก็ทำประมง พอมาวันที่ 1 ตุลาคม 2542 ซึ่งชาวบ้านเขาจำขึ้นใจมาก มีการปิดประตูเขื่อนอุทกฯ ปิดน้ำ ปิดระบบ ซึ่งนั่นก็คือเปลี่ยนวิถีชีวิตคนในพื้นที่นี้ เพราะมีการแยกน้ำจืด ออกจากน้ำเค็ม ซึ่งขัดกับธรรมชาติ สิ่งสำคัญคือ ความอุดมสมบูรณ์ที่เคยมีมาตลอดก็สูญหายไปเกือบสิ้นเชิง ในระยะเวลา 4 ปี และหนักขึ้นทุกปี โดยเฉพาะปีนี้ ปลาในลำคลองสูญหายไปเลย อาชีพประมงยุติเลย เพราะการปิดเขื่อนปิดน้ำทำให้ไม่มีปลาขึ้น-ลง วางไข่ ในคลองมีแต่วัชพืชผักตบชวา นี่กลุ่มน้ำจืด ส่วนปัญหากลุ่มน้ำเค็มคือเดิมพื้นที่มันเป็นพื้นที่น้ำกร่อยด้วย พอน้ำเค็มจัด ก็ไม่มีปลาอีก เนื่องจากปลาแถบนี้เป็นปลา 2 น้ำ วางไข่น้ำจืดมาโตน้ำเค็ม วางไข่น้ำเค็มมาโตน้ำจืด เป็นต้น อย่างกุ้งก้ามกรามสูญพันธุ์ไปเลย เพราะสัตว์ชนิดนี้ต้องอาศัย 2 น้ำ

สันติชัย ชายเกตุ
กลุ่มอาชีพอื่นๆ ก็กระทบครับ อย่างกลุ่มทำน้ำตาลต้นจาก ขนมจาก เหล้าจาก ที่นี่เคยอุดมสมบูรณ์จนมีสำนวนเรียกความอุดมสมบูรณ์ของคนที่นี่ว่า "น้ำตาลต้องบางหรง ปลาต้องทุ่งหน้าโกฏิ" พื้นที่ในอำเภอปากพนัง แต่ตอนนี้บางหรงไม่มีน้ำตาลแล้วเพราะกลายเป็นเขตน้ำเค็ม ต้นจากตาย หรือไม่ก็ไม่ออกรวง ไม่ออกน้ำตาล ส่วนกลุ่มทำนาที่ถูกแบ่งโซนให้ พอเอาเข้าจริงๆ ก็ทำไม่ได้เพราะน้ำเน่ามาก ใช้อุปโภคบริโภคไม่ได้ ตะกอนเยอะมาก ที่ก้นคลองมีตะกอนสูงขึ้นเป็นเมตรๆ เลย ทั้งที่เมื่อก่อนก้นคลองพื้นที่จะแข็งมาก ไม่มีตะกอนเพราะน้ำไหลแรงมาก พัดตะกอนออกไปทะเลหมด แถวเชียรใหญ่ ที่ตั้งใจให้เป็นพื้นที่ทำนานั้น มันเป็นพื้นที่ราบต่ำมาก
เมื่อปิดประตูเขื่อนทำให้ระดับน้ำมันสูงคงที่ ทำให้น้ำกักขังตลอดปีไม่สามารถทำนาได้ เพราะดินไม่แห้ง ในขณะที่ดินแถบนั้น เป็นดินเหนียวทำให้ไถยากหรือไถไม่ได้เลย เมื่อก่อนถึงน้ำแห้งก็ยังสูบขึ้นไปทำนาได้ แต่เดี๋ยวนี้น้ำไม่แห้งเลยแต่ทำนาไม่ได้
สภาพชีวิตชาวบ้านในปัจจุบันค่อนข้างลำบากมาก และที่สาเหตุที่ชาวบ้านเลิกทำนานั้น ไม่ใช่เพราะดินเค็ม น้ำเค็ม แต่เพราะทำนามันอยู่ไม่ได้แล้ว มันไม่คุ้มทุนเลย ราคาข้าวมันไม่ดี สุดท้ายกลุ่มนากุ้ง ในระยะแรกๆ ที่อาชีพนี้ได้รับความนิยมก็มีปัญหากันกันจริงกับกลุ่มนาข้าวปล่อยน้ำ ปล่อยอะไรลงไป แต่พอต่อมาก็มีการปรับสภาพในการอยู่ร่วมกันได้มากขึ้น หมายความว่า เมื่อก่อนก็มีปัญหา แต่ไม่รุนแรงมากนัก แต่พอปิดเขื่อนเท่านั้น คนทำนา คนเลี้ยงกุ้ง คนหาปลา มีปัญหาเดียวกันและหนักมาก
สภาพชาวบ้านตอนนี้ก็ต้องดิ้นรนเอาตัวรอดให้ได้ รับจ้างบ้างให้พออยู่ได้ เมื่อก่อนชาวบ้านที่นี่มีทองใส่เต็มตัว ลูกหลานชาวปากพนังหัวไทรเรียนกันสูงมาก ทางออกที่ชาวบ้านเขาพยายามประชุมและหาทางร่วมกันก็คือเรียกร้องให้เปิดเขื่อน ตัวผมเองก็พยายามรวบรวมข้อมูลเอกสาร ผลกระทบต่างๆ ของชาวบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านมีข้อมูล เอกสารยืนยัน บทเราเพียงแค่เข้าไปเสริม หรือให้ความรู้เรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานตามกรอบรัฐธรรมนูญ ที่จะบอก หรือกำหนดอนาคตของเขา ในการดำเนินชีวิต และชาวบ้านเองก็มีข้อเสนอว่า อยากให้เปิดเขื่อนอย่างน้อย 3 ปี เพื่อศึกษาดู ว่าเปิดกับปิด อย่างไหน ดีกว่า กระทบน้อยกว่ากันครับ โดยเริ่มแรกคงต้องให้ชาวบ้านเขาทำงานกันเองก่อนว่าเขาต้องการอะไร อย่างไร โดยจัดเป็นเวทีสัมมนา แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน ในแต่ละชุมชน หลังจากนั้นจึงค่อยหาทางให้ชาวบ้านและภาครัฐได้มาพูดคุยกัน เสนอทางออกในการแก้ปัญหาครับ เพราะผมคิดว่า ในระยะหลังๆ ตัวภาครัฐเองก็เริ่มรับรู้แล้วว่า มันมีปัญหากระทบจริงๆ เพียงแต่ชาวบ้านก็ต้องมีพลังมากกว่านี้ เพื่อให้หน่วยงานกล้าตัดสินใจครับ

ป่าจากที่สมบูรณ์ก่อนการขุดลอก

ระบบนิเวศที่สมบูรณ์สองฝั่งคลองหัวไทร
นางตังเกี้ยว เพลินบุตร ชาวบ้านจาก อ.ปากพนัง ซึ่งเป็นผู้เฒ่าคนเดียวที่ไม่อนุญาตให้โครงการขุดลอกลำคลอง ขุดลอกป่าจากบริเวณบ้าน เนื่องจากยืนยัน ว่า ตนไม่มีสิทธิอนุญาตให้ใครทำลายธรรมชาติ "แม่น้ำที่นี่มันมีอยู่ของมันไม่ใช่ใครมาขุดให้ปลูกให้ แต่ธรรมชาติมันขุดเองปลูกเอง ดังนั้น ไม่ว่าใครก็ไม่มีสิทธิมาปิดกั้นน้ำ มาทำลายมัน ต้นจากธรรมชาติเหล่านี้
.. แล้วนี่มาปิดมันทำไม?
ถ้าพูดตามตรงก็หาว่าชาวบ้านพูดไม่ได้
ทำไมจะพูดไม่ได้หล่ะ?
ก็ข้าวกับปลามันคู่กัน จะให้ชาวบ้านทำแต่นาแต่ไม่มีปลากินไม่ได้
หรือกินแต่ปลาแต่ไม่มีข้าวกินก็อยู่ไม่ได้เหมือน
แล้วมาปิดทำไม? ..
เมื่อก่อนเราอยู่กันสบายมากเหลือเกิน ไม่อดไม่อยากข้าวปลา น้ำไม่เหม็นด้วย ตอนนี้พอมีปัญหามีคนมาแนะให้ทำสวนผสม ทำแล้วได้พอกินอะไร เอาสักวันละ 25 บาทยังไม่ได้เลย แต่ก่อนหน้าบ้านเรามีปลา ชุกชุม เดี๋ยวนี้ไม่มีเลย ต้องไปซื้อปลาที่อื่นกิน ก็ปลาไหนข้ามประตูเข้ามาก็ตายปลาน้ำเค็มข้ามน้ำจืดก็ตาย ปลาน้ำจืดข้ามไปน้ำเค็มก็ตาย ไม่ตายก็ขึ้นตะกั่ว (ตาบอด)หมด เพราะน้ำมันต่างกันมาก แต่ก่อนมันมีน้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย ต้นจากก็ตายเพราะจากชอบน้ำเค็ม มันต่างจากปลาในเขื่อนปากมูล เพราะเขื่อนปากมูลมันปลาน้ำเดียวคือน้ำจืด ที่นี่หอยขมริมแม่น้ำแต่ก่อนเยอะมาก เราไปกอบเอามาทำอาหารกินกันสบาย เดี๋ยวนี้ไม่มีให้กินเลย ตายหมดเกลี้ยงเลย ปลาก็นับร้อยๆ ชนิด ยกยอทีกินไม่หมด ปลาช่อน ปลาชะโด กุ้ง มีชุกชุมมากเมื่อก่อนปิดเขื่อน เฉพาะดักแต่ไซก็ได้ปีละ 3-4 หมื่นบาท แล้ว หรือทำแต่ซังดักปลาก็อยู่ได้แล้ว เดี๋ยวนี้มันหมดแล้ว(แหม๊ดชาติเลย) ตั้งแต่ชะอวด ลงมาจนถึงปากพนัง น้ำเน่าลำบากกันหมด จะกินจะอาบก็ไม่ได้ด้วย มันคัน "

ป้าตังเกี้ยว เพลินบุตร

อัฎธิชัย ศิริเทศ
ทีมงานไทยเอ็นจีโอ รายงาน
3 กันยายน 2546


บันทึกการเข้า

reeheep
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 37


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 22, 2011, 07:58:29 pm »

ขอทรงพระเจริญ ในหลวงท่านทำให้เรามาแล้ว เราควรถวายความจงรักภักดีด้วยการอย่าเป็นคนเลว รู้แก่ใจนะ
บันทึกการเข้า
worathep-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน712
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5066


รุ่งเรืองอิเล็กทรอนิกส์


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 06:46:02 am »

นี่แหละคือ ระบบทุนนิยม ที่ใครมีทุนมากจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์มาก
คนจนจะได้รับประโยชน์น้อย รัฐบาลจะทำอะไร ก็เพื่อคนรวยทั้งนั้น
ไม่เคยถามคนจนเลยว่าเขาต้องการใหม มันจึงมีปัญหา ปชช ร้องเรียน เดินขบวน
แต่รัฐ ในระบบ ทุนนิยม จะไม่สนใจ เพราะช่วยคนจน รัฐบาลไม่ได้ประโยชน์อะไรครับ
บันทึกการเข้า

รับซ่อม TV-computer                    มี TV มือสองขาย  
รับสอนซ่อม-ประกอบคอมพิวเตอร์      มีจอมอนิเตอร์มือสองขาย
ซ่อม อัพเกรด ประกอบคอมฯ             มีคอมพิวเตอร์มือสองขาย
รับติดตั้ง วางระบบแลน อินเตอร์เน็ต
ราคาคุยกันได้ โทร 02-6934724
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 11:33:59 am »

พูดในฐานะคนนอกที่ไม่มีส่วนได้เสีย ทุกระบบนิเวศตามธรรมชาติ เมื่อมีการเปลี่ยน
แปลงโดยมนุษย์ ย่อมส่งผลดีและเสียกับสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์อีกฝ่ายก็เสีย
ประโยชน์ น้ำที่เคยเค็มก็กลายเป็นน้ำจึด พื้นที่ๆปลูกอะไรไม่ขึ้นก็ปลูกได้ ปลาน้ำกล่อย
ก็อยู่ไม่ได้ คนที่เคยมีรายได้จากการอาศัยสัตว์น้ำเลี้ยงลูกเลี้ยงเมียก็ต้องเปลี่ยนอาชีพ
ใหม่ คนที่มีพื้นที่ๆไม่เคยปลูกอะไรขึ้นเลยก็เปลี่ยนเป็นเกษตรกร มันจึงมีทั้งดีและเสีย
ไปพร้อมๆกัน ความคุ้มค่าอยู่ตรงส่วนไหนได้มากกว่า และเราจะได้ยินเสียงไหนดังกว่า
แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลย ปล่อยไปตามธรรมชาติ ก็จะมีคนพูดว่าไม่เห็นมีใครคิดแก้ไข
อะไรเลย แล้วก็เป็นอย่างที่เห็น ผมก็อยู่ในที่กั้นน้ำแบบเดียวกันนี่แต่ปรับตัวได้ 
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 11:45:27 am »

ผมขอพูดบางอย่างเท่าที่พอพูดได้...ในฐานะคนอยู่ในพื้นที่ ..และพูดเป็นกลางไม่เข้าข้างใด

-ปีนี้ผมขาดทุนเป็ด+ปาล์ม ประมาณ2แสนบาท เพราะน้ำท่วมครับ(ผมอยู่เหนือเขื่อน) ..ส่วนตลาดปากพนังซึ่งอยู่ล่างเขื่อน น้ำไม่ท่วม เพราะเขื่อนได้กั้นน้ำไว้ไม่ให้ไหลลงตัวเมือง ..ตรงนี้น่าเห็นใจผู้อยู่ล่างเขื่อนครับ(เศรษฐกิจน่าจะดีกว่าชาวบ้านที่อยู่เหนือเขื่อน)

-บทความแรกสุด พูดได้ถูกต้องครับ เพราะมีทั้งผู้เดือดร้อน และผู้ที่รับประโยชน์ อาทิ..
  ...ชาวบ้านที่ทำประมงริมน้ำ,ชาวเรือ ต้องขาดรายได้ไป เพราะลำน้ำโดนปิดจากอ่าวไทย ดังนั้นกุ้ง หอย ปู ปลา จะเหลือน้อยลงเรื่อยๆซึ่งเกิดจากทางเดินน้ำเปลี่ยนไป กุ้ง,ปลาไม่สามารถขึ้นมาวางไข่ได้ ประกอบกับน้ำนิ่ง เสียง่าย อีกทั้งสะสมสารเคมีจากสารพิษจากไร่นา ..ผมได้พูดคุยกับชาวบ้านริมฝั่งแม่น้ำหลายท่าน ได้รับคำตอบเดียวกันครับว่าขาดรายได้ไปวันละหลายร้อยถึงพันกว่าบาทก็มี ทุกวันต้องหันมาปลูกกล้วย ปลูกพริก และทำนาแทน ..แต่เมื่อทำนาก็ยังไม่พอกิน เพราะข้าวที่ปลูกเป็นข้าวเล็บนก ราคาต่ำมาก ข้าวเปลือกสดตัดขายกันได้เพียงเกวียนละ6,500-7,000.- เท่านั้น เงินที่สะสมมาค่อยๆร่อยหรอไปทุกปีๆ  ..มา2ปีนี้ค่อยดีขึ้นเพราะรัฐบาลชดเชยค่าข้าวให้นิดหน่อย
  ...ชาวบ้านที่มีอาชีพทำนา สามารถทำนาได้ ต่างจากสมัยก่อนที่เป็นน้ำเค็ม ไม่สามารถทำนาได้เลย

 ข้อสรุป:: หากพูดถึงเศรษฐกิจตัวหลัก คือชาวนา ว่ามีรายได้ดีกว่าสมัยก่อนที่จับปลาริมแม่น้ำปากพนังไหม
  หากรายได้ส่วนรวมลดลง แสดงว่าโครงการนี้ยังต้องปรับปรุงแก้ไขต่อไป
  หากรายได้ส่วนรวมเพิ่มขึ้น แสดงว่าโครงการนี้ประสพผลสำเร็จครับ HAPPY2!!
บันทึกการเข้า
worathep-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน712
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5066


รุ่งเรืองอิเล็กทรอนิกส์


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: มกราคม 23, 2011, 01:10:35 pm »

พื้นฐานผมเป็นนักเศรษฐศาสตร์ เมื่อก่อนผมก็มองแค่นั้น
เพราะถูกสอนมาให้คิดแต่เงินและผลประโยชน์ที่มากกว่า
ต่อเมือได้เป็นที่ปรึกษาโครงการต่างๆหลายโครงการ
ทำให้รู้ว่า เราไม่ควรมองแค่ผลประโยชน์ตัวเงินที่ได้มากกว่า
ก่อนมีการพัฒนาเพียงอย่างเดียว ถ้ามองแบบนี้ก็มองแบบนายทุน
แต่เราต้องมองวิถีชีวิตของผู้คนที่เกี่ยวข้องและสภาพแวดล้อมตามธรรมขาติ
ที่ต้องเปลี่ยนไปด้วย โครงการนั้ถึงจะมีผลประโยชน์มากเพียงไร ก็ไม่ควรทำครับ

เหมือนโครงการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก ที่ศาลสั่งให้หยุด
เพราะเป็นอันตรายกับ ปชช คนอาศัยแถวนั้น ซึ่งโครงการเหล่านี้ล้วนสร้างประโยชน์
ทางเศรษฐกิจมาก ก็ไม่ควรทำ เพราะผมถือว่าชีวิตคนมีค่ามากกว่าทรัพย์ สมบัติ เงินทอง
พื้นที่ว่างๆที่ภาคอิสานมีอยู่อีกเยอะ ทำไมไม่ไปทำ

เหมือนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2 โรงที่นครศรีธรรมราช โครงการนี้มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูง
แต่ ปชช จะเดือดร้อนจากมลพิษ แบบนี้ ผมก็ว่าไม่ควรทำ สู้ไปทำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังปลอดภัยมากกว่าอีก
บันทึกการเข้า

รับซ่อม TV-computer                    มี TV มือสองขาย  
รับสอนซ่อม-ประกอบคอมพิวเตอร์      มีจอมอนิเตอร์มือสองขาย
ซ่อม อัพเกรด ประกอบคอมฯ             มีคอมพิวเตอร์มือสองขาย
รับติดตั้ง วางระบบแลน อินเตอร์เน็ต
ราคาคุยกันได้ โทร 02-6934724
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!