ข้อมูลพันซีผมไม่มีครับพี่ ไม่เคยลงมือทำด้วย (คงไม่คิดทำด้วยครับ)
เคยทราบแต่เพียงว่าพี่ที่อยู่เชียงรายเขาพันซีคัปปลิ้งเล่นอยู่ครับ
เรื่องซีคัปปลิ้ง นอกจากเทคนิคการพัน แล้วน่าจะเป็นเรื่องวัสดุศาสตร์+ศิลปะการผสมผสาน
ถ้าออกแบบมาดีๆ การพันด้วยเครื่องจักรน่าจะแน่นอน+โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยน่าจะได้มาตรฐานกว่า
...แต่ก็นั่นแหละยังมีซีพันด้วยมือขายในเว็ปต่างประเทศเยอะแยะออก
เรื่องซีกระป๋องภาคจ่ายไฟ ถ้าเรารู้ว่าเราต้องการเอามาใช้งานอะไร ใช้อย่างไร ก็จะสามารถหาของที่เหมาะสมกับการใช้งานได้
พอศึกษาลึกลงไปถึงเบื้องหลัง(ข้อมูลของผู้ผลิต) ก็จะทราบถึง "ความต่างทางโครงสร้างและวัสดุ"
เป็นตรรกะ เป็นวิทยาศาสตร์แน่นอน ไม่ใช่ไสยศาสตร์
แต่ก็นั่นแหละครับ ถ้าเป็นสวิทชิ่งความถี่สูงๆ ต่างประเทศเขาก็มีแบบนอนไลติค(ดูเหมือนเป็นโพลีโพรไพรีน) ค่าไมโครไม่สูง แต่กระแสริปเปิ้ลที่ความถี่สูง ว่ากันเป็นหลักแอ็มป์แปร์ หรือเป็นสิบๆแอ็มป์เลยก็มีให้เลือกใช้
เพียงแต่ของที่สเป็คสูงที่ต้องการ มันไม่ได้หาง่ายๆแบบวางตามร้านอะไหล่อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป (หรือแม้แต่สรรพสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อย่างอมรฯ หรือเอ็นพีอี)
แต่สำหรับเครื่องพีเอ หรือการใช้งานทั่วไปที่เน้นประหยัด
ขอให้เป็นของคุณภาพดี ใช้งานได้ทนทานเป็นพอแล้วกระมังครับ
.... ไม่ลีก(ไม่รั่ว)
....ไม่มีรอยบุบยุบจนน่าเกลียด (ถ้าโชคร้ายอาจทำให้ตัวนำภายในทะลุถึงกัน)
พูดถึงเครื่องเสียงที่ใช้ในการฟังดนตรีในบ้าน แม้เป็นการฟังเพื่ออรรถรส เพื่อรีแล็กซ์ "ไม่ใช่การจับผิด" ก็จริง
แต่คนเรามักจะมีความอยากได้ใคร่มีของที่ดีกว่าเดิมเสมอ (กิเลสกระมัง) มันจึงเริ่มค้นหาความแตกต่างของแผ่นและเลือกแผ่นไปด้วย
ตัวอย่างเช่น
ผมมีแผ่นซีดีของวง " ไม้เมือง " สามอัลบั้ม
.......ชุดที่ ๑ และ ๒ ที่สังกัดแกรมมี่ เพลงเพราะดีใช้ได้เลยครับ
.......แต่พอได้ฟัง ชุดที่ก่อนเข้าสังกัดแกรมมี่ (ปกที่ผู้ชายใส่เสื้อสีแดง แต่ตัวธรรมดา บันทึกเสียงที่เชียงใหม่) แล้ว
ผมแทบไม่หยิบแผ่นแกรมมี่มาฟัง
ทั้งๆที่การเล่นการร้อง ของแกรมมี่ร้อยเรียงได้ดี ดนตรีแยะ
แต่ความน่าฟัง(เป็นเสียงอานาล็อกเปิดโปร่ง คล้ายฟังของจริงมากกว่า) ชุดเก่ากินขาด
ทำไมเครื่องเสียงราคาหลักแสนหลักล้านถึงขายได้ ..........ถ้าต้นทุนและราคาขายไม่จำกัด ของดีๆนั้นวิศวกรและทีมทดสอบ+เถ้าแก่ ก็จะยัดมาเต็มที่
ทำไมเครื่องหลักหมื่นบางเครื่องเสียงขึ้นไปทาบรัศมีเครื่องราคาแพงแบบหายใจรดต้นคอได้.....เพราะทีมงานเขาป็นงาน และรู้จักเลือกของ รู้จักออกแบบ
ทำไมชุดคิทในประเทศแถวนี้ ถึง(เกือบ)เป็นอมตะ (หมายถึง ตอนเริ่มต้นออกมาอย่างไร ก็ยังหากินกับของเก่าอย่างนั้น เปลี่ยนแปลงเพียงลายปริ้นท์ หรืออุปกรณ์ หรือเน้นใช้อาร์ ๑เปอร์เซ็นต์ ยี่ห้อนั้น ยี่ห้อนี้)........เพราะ.................
??
การลอกเลียนแบบ เป็นเรื่องปกติ (ถ้าลอกมาทั้งดุ้น หรือได้รับอนุญาต หรือเสียหังคิวลิขสิทธิ์ ก็มีการให้เครดิตของแหล่งที่มาถือเป็นมารยาทสากล)
แต่การลอกแนวคิด+ทดลองปรับปรุง ฝรั่งเขาเรียกว่า เบ้นช์มาร์คกิ้ง"วัดรอยเท้าช้าง" จากผู้ที่ทำสำเร็จแล้ว แม้เป็นเรื่องยาก แต่คนต่างชาติเขาชอบครับ จึงเกิดแบร็นด์โน่นแบร็นด์นี่เต็มไปหมด(ตลาดระดับสูง ส่งขายเอาเงินต่างชาติได้)
บ้านเราขาดโอกาสเครื่องการใช้อุปกรณ์ดีๆครับ เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับว่า หาไม่ง่าย
แต่ของดีๆเหล่านี้ จะถูกใช้เป็นส่วนประกอบของสินค้าไฮเท็คฯทั้งหลาย (ต้องเป็นรุ่นสูงๆราคาแพงๆด้วย)
ยังยืนยันครับว่า "ซี" ก็เป็นหนึ่งในวัตถุปรุงรสชาดแห่งเสียง อยู่กับเราอีกนานครับ