สุดยอดแห่งธรรมชุดที่ ๓ คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สุดยอดแห่งธรรมชุดที่ ๓ คำสอนสมเด็จองค์ปฐม  (อ่าน 1673 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: ธันวาคม 21, 2010, 05:47:57 am »


   
สุดยอดแห่งธรรมชุดที่ ๓ คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

สมเด็จองค์ปฐมทรงเครื่องจักรพรรดิ ศูนย์พุทธศรัทธา
สุดยอดแห่งธรรมชุดที่ ๓
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
เป็นคำสอนสั้นๆ แต่ลึกซึ้ง เป็นสุดยอดแห่งธรรมที่นำเข้าสู่พระนิพพาน

สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้


๑. ให้เห็นธรรมดาของกฎของกรรม ไม่มีใครพ้นกฎของกรรมไปได้ พังแล้วหรือประสบกับเหตุการณ์ทั้งหลายแล้ว จงรักษาอารมณ์ของจิตเข้าไว้ อย่าให้เศร้าหมองหรือสลดหดหู่ เมื่อใดเกิดอารมณ์เช่นนี้ ให้รู้เอาไว้ว่าผิดพลาดไปเสียแล้ว จักต้องเร่งปรับปรุงแก้ไข ทำใจให้เป็นธรรมดาดีกว่ากังวล อย่างพระเจ็บ แม้จักห่วงกังวลอย่างไรก็ยังเจ็บอยู่ดี แต่พระองค์ไหนถ้าปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว กฎของกรรมมันเข้าก็จริงอยู่ แต่อาศัยคุณพระพุทธ-พระธรรม-พระอริยสงฆ์ จักช่วยให้เบาบางไป โดยชดใช้เพียงเศษของกรรมเท่านั้น ขอให้อดทนแล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็จักผ่านไป

๒. อย่าท้อแท้หรือหมดกำลังใจ ในเมื่อร่างกายเกิดอาการไม่ทรงตัวขึ้นมา ทางที่ดีคือ นำอาการไม่ทรงตัวขึ้นมาเป็นวิปัสสนาญาณ ให้รู้ตามความเป็นจริงของร่างกาย (ใช้วิปัสสนาญาณ ๙ เป็นหลัก) อย่าเกาะร่างกาย ให้รู้ว่าชาติก่อน ๆ เพราะเราเกาะร่างกายอย่านี้แหละ ปกติธรรมของร่างกายคือความไม่เที่ยง ธาตุ ๔ แปรปรวนอยู่เสมอ ไม่ธาตุลมกำเริบ ก็ธาตุไฟกำเริบ หรือบางขณะธาตุน้ำกำเริบ ธาตุดินเสื่อม กระดูกขัดกระดูกชำรุด (ข้อต่าง ๆ ) กระดูกงอกก็ธาตุดินกำเริบทั้งนั้น ทุกอย่างหาความทรงตัวไม่ได้เป็นปกติ แต่จิตใจของเราในอดีตชาติผิดปกติ คือไม่ยอมรับความเป็นปกติธรรมของร่างกาย จักฝืนให้มันทรงตัวดีอยู่ตลอดกาลตลอดสมัย ซึ่งจุดนี้แหละ เป็นตัณหาพาให้จุติมามีร่างกายแล้วมีร่างกายอีก ร่างกายนี้ที่สุดมันก็ต้องตายเป็นปกติ จิตใจโง่ไม่อยากให้มันตาย จักให้มันทรงตัว จึงตกเป็นทาสของตัณหา ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย หาที่สิ้นสุดไม่ได้ มาบัดนี้แสวงหาความจริงของร่างกาย ก็จักต้องฝึกฝนจิตใจให้ยอมรับนับถือความปกติธรรมของร่างกายเข้าไว้ ยอมรับมากเท่าไหร่ ยิ่งพ้นเกิด-พ้นตายมากเท่านั้น เพียรพิจารณาจุดนี้เอาไว้ให้ดี

๓. เรื่องนอกตัวไม่สำคัญ อย่าเอามาคุย ดูเรื่องในตัวให้มาก ยกตัวอย่างเช่น เห็นคนอื่นคุยกันขณะฟังธรรม การคุยกันทำให้ไม่มีสมาธิในการฟังและพิจารณาธรรมนั้นๆ เป็นเรื่องจริง เนื่องจากการคุยทำให้จิตจดจ่อไปในเรื่องที่พูดอยู่มากกว่า จักนำคำสั่งสอนมาพิจารณา เป็นวิปัสสนาญาณ แต่เรื่องนี้จงอย่าตำหนิกรรม เนื่องด้วยบุคคล ใดยังไม่ชำนาญในอานาปา หรือฌานใดฌานหนึ่งแล้ว บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้พูดมาอยู่ ยกเว้นผู้เข้าถึงฌาน หรือเข้าสู่พระอนาคามีมรรค หรือพระอนาคามีผล บุคคลนั้นจักสำรวมวาจาเป็นอย่างยิ่ง แต่ถ้าถึงพระอรหันต์ปล่อยตามปกติธรรม แต่ไม่เพ้อเจ้อเหลวไหล จักพูดก็ด้วยเหตุด้วยผล หรือด้วยสงเคราะห์ผู้ฟัง ท่านเป็นผู้พูดด้วยสติ - สัมปชัญญะสมบูรณ์ มิใช่พูดโดยไม่คำนึงว่าใครจักเสียหายด้วยคำพูดของตน หรือพูดโดยคิดว่าเป็นความจริง แต่เจือไปด้วยกิเลส อาทิประจานคนทำไม่ดีนั้นไม่มีในพระอรหันต์ มีแต่พูดโดยธรรม เป็นประโยชน์ และเห็นโทษในคำพูดอย่างแท้จริง พระอรหันต์ไม่ตำหนิใคร เนื่องด้วยเคารพในกฎของกรรม แต่ตำหนิเพื่อก่อ หรือตำหนิเพื่อกันไม่ให้คนอื่นเลวไปยิ่งกว่านั้นมี ศึกษาปฏิปทาในเรื่องวาจาเอาไว้ให้ดี เนื่องจากยังบกพร่องกันอยู่มาก วาจานี้สำคัญ ปลูกมิตรก็ได้ สร้างศัตรูก็ได้ คนพังเพราะคำพูดมีมาก

๔. การปฏิบัติธรรมให้สังเกตอารมณ์ของจิตใจเป็นสำคัญ อย่าให้เสียท่าต่อกิเลส พึงใส่ใจแก้ไขอารมณ์ของจิตใจเอาไว้เสมอกรรมบางอย่างฝืนได้ กรรมบางอย่างฝืนไม่ได้ มโนกรรม บางขณะเกิดขึ้นอย่างรุนแรง เมื่อระงับได้ ก็พึงดูอาการของการเกิดขึ้น - ตั้งอยู่และดับไป แล้วก็พึงเห็นกองสังขารมันปรุงแต่งอยู่อย่างนั้น ความเป็นสาระในสังขารปรุงแต่งนั้นไม่มี จงอย่ายึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเรา พึงละซึ่งอุปาทานขันธ์อย่างจริงจัง แต่ทำไปอย่างสบายๆ อย่าเครียด

๕. บุคคลใดเจริญพระกรรมฐาน โดยไม่จับเอาให้ตรงกับจริตของตนเองก็ดี หรือจับเอาทุกกองเพียงฉาบฉวยก็ดี มักจักหาความบรรลุมรรคผลได้ยาก ให้สังเกตว่า บุคคลผู้รู้พระกรรมฐานหลายกองโดยสัญญา มักจักมีความทะเยอทะยานอวดอ้างคุณวิเศษของตน เป็นที่ให้ผู้อื่นสรรเสริญ - ยกย่อง - เยินยอ จงประมาณตนเอาไว้ให้ดี อย่าได้เป็นเช่นนั้น มิใช่ของดีเลย ให้ดูท่านพระเรวัตเป็นหลัก หรือพระอรหันต์ต่างๆ ในพระสูตร พระอริยเจ้าจักมีแต่ความถ่อมตน ไม่ยกตนข่มท่าน อยู่อย่างเป็นสุข ไม่เดือดร้อนด้วยประการใดๆ ทั้งปวง เนื่องจากกิเลสในจิตของท่านทุเลาเบาบางลง หรือหายไป ไม่มีอำนาจมาทำให้จิตใจของท่านต้องเดือดร้อนอีก

๖. การบริโภคอาหารและยา พึงพิจารณาผลที่เกิดคุณและเกิดโทษแก่ร่างกาย เป็นการยังอัตภาพให้เป็นไป มิใช่เพื่อความเอร็ดอร่อย หรือเพื่อความอ้วนพีผ่องใส คนส่วนใหญ่กินอาหารด้วยความติดรส กินยาเพื่อหวังจักให้ร่างกาย ไม่ตาย แต่ตามความเป็นจริง อาหารชนิดใด ยาชนิดใดก็ตามไม่สามารถที่จักยับยั้งความแก่ - ความเจ็บ - ความตายของร่างกายไปได้ เพียงแต่ระงับทุกขเวทนา บรรเทาการเสียดแทงของร่างกายไปได้ชั่วคราวเท่านั้น และคนส่วนใหญ่ไม่ชอบกินยา ซึ่งเป็นปกติธรรมของคนทั่วไป แต่ถ้าผู้ที่เข้าใจในธรรมปฏิบัติ จักรู้ซึ่งเข้าไปถึงคำว่า ปัจจัย ๔ ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ของร่างกาย คำว่ายารักษาโรคจึงต้องอยู่คู่กับร่างกายที่เป็นรังของโรค เมื่อร่างกายมีโรคจึงจำเป็นต้องกินยารักษาโรค เป็นการระงับทุกขเวทนา เป็นการยังอัตภาพให้เป็นไปเช่นเดียวกันกับอาหาร บุคคลผู้ฝืนไม่กินยา ก็คือผู้ไม่ยอมรับความเป็นจริงว่าร่างกายนี้เป็นโรคนั่นเอง ต่างกับผู้ที่รักษาโรคให้กับร่างกาย จักกินยาโดยไม่ต้องฝืนใจ ยิ่งรู้ว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา เป็นเพียงที่อาศัยชั่วคราว ก็จักทำการเยียวยารักษา โดยไม่ให้เกิดเวทนาเข้ามารบกวนจิตผู้อาศัยร่างกายนี้อยู่ โดยจิตผู้รู้จักทำตามหน้าที่ของผู้อยู่ อันต้องซ่อมแซมบ้านที่ชำรุดทรุดโทรมไปทุกๆ ขณะ กินยาก็คือซ่อมแซมบ้าน โดยที่จิตผู้รู้จักไม่ทุกข์ - ไม่ร้อนไปด้วย บ้านนี้อยู่ได้ก็อยู่ไป แต่ก็รู้อยู่ตลอดเวลาว่า สักวันหนึ่งบ้านนี้พังสลายอย่างแน่นอน ถึงวาระนั้นจิตผู้รู้ก็จักจากบ้านนี้ไปอย่างเป็นสุข มีบ้านอยู่ก็เป็นสุข บ้านพังไป จากบ้านก็สุข พิจารณาปัจจัย ๔ เอาไว้ จักได้มีความสุขทั้งปัจจุบันและสัมปรายภพ

๗. เจ้ารู้สึกลำบากใจในการกำหนดกำลังใจให้เต็ม ในการรู้ปฏิบัติกรรมฐานอยู่ตลอดเวลาหรือ (ก็รับว่าใช่) จักต้องแยกแยะว่า อันไหนเป็นกิเลส อันไหนเป็นสิ่งจำเป็นที่จักต้องทำ มิใช่เหมาเอาไปเสียหมดว่าเป็นกิเลสบังคับ อย่างนั้นก็ไม่ถูก อย่างกรณีมีร่างกายไม่หุงหาให้มันกินก็ไม่ได้ แต่ก็ทำไปตามหน้าที่ มิใช่เอากิเลสไปปรุงว่าจักต้องกินแต่ของดีๆ ของแพงๆ กินแล้วดี ร่างกายอ้วนพี - ผ่องใสกินเพื่อรสอร่อย การปฏิบัติจักต้องแยกแยะออกมาให้ถูกทางด้วย

๘. การฝึกฝนกำลังใจก็คือ หมั่นตรวจบารมี ๑๐ ให้ครบ มิใช่ท่องเพื่อจำบารมีได้ การทำบารมี ๑๐ ให้ครบอยู่ที่กำลังใจ พยายามฝึกฝนทรงตัวอยู่ให้ได้ ค่อยๆ ทำไปให้จิตมันชิน อะไรกระทบก็ให้นึกถึงบารมี ๑๐ เข้าไว้ เพียรอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา อย่าท้อแท้ อย่าท้อถอย ทำให้มันครบทั้ง ๑๐ ประการในคราวเดียวกัน แล้วเมื่อนั้นแหละคำว่าเต็มกำลังในการปฏิบัติธรรมก็จักมีได้ตลอดเวลา และให้จำไว้ว่า ไม่มีงานใดที่จักทำได้โดยราบรื่น งานทุกอย่างย่อมวัดกำลังใจ ไม่เฉพาะงานทางโลกเท่านั้น งานทางธรรมก็เหมือนกัน ไม่มีใครหนีอุปสรรคพ้น เพียงแต่ว่าถ้าหากกำลังใจดี ก็สามารถฝ่าฟันอุปสรรคให้พ้นไปได้ อนึ่งการทำงาน พึงพิจารณาในแง่ลบบ้าง อย่าคิดแต่ด้านบวกอย่างเดียว เช่นเดียวกับการพิจารณาพระกรรมฐาน พึงมองโทษและมองคุณให้ทั่วถ้วน แล้วการดำเนินงานก็จักมีความผิดพลาดได้น้อย



บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: