อยากรู้เกี่ยวกับญาณ 8
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อยากรู้เกี่ยวกับญาณ 8  (อ่าน 2879 ครั้ง)
ning002
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 32


« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 06:24:28 am »

คุณครูเค้าบอกมาค่ะว่าให้หาข้อมลูเกี่ยวกับ เกี่ยวกับญาณ 8

เรื่องญาณ8 หรือญาณ ข้อที่8 ว่าคืออะไร คือสงสัยอยากรู้นะค่ะ
ขอขอบคุณทุกๆท่านที่เข้าโพสต์ตอบนะค่ะ   


บันทึกการเข้า

kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 06:28:53 am »



มีคนเคยโพสไว้ที่แล้วครับ

คลิ๊ก

ญาณ ๘ หรือ วิชชา ๘

[๑๔]
[ วิชชา ๘ คือ วิปัสสนาญาน มโนมยิทธิญาณ อิทธิวิญญาณ ทิพโสตญาณ
เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ ]

วิปัสสนาญาณ
ภิกษุ นั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วแน่วแน่แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ รู้ชัดว่า กายของเรานี้ได้แก่ รูปและวิญญาณ รูปนั้นประกอบด้วยมหาภูต ๔ [ ดิน น้ำ ลม ไฟ ] เกิดจากมารดาบิดา เติบโตด้วยอาหาร แต่รูปนี้ไม่เที่ยง ต้องเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ส่วนวิญญาณนั้นก็อาศัยอยู่ เนื่องอยู่ในกายนี้ เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เจียระไนดีแล้ว มีด้ายสีต่าง ๆ ร้อยอยู่ภายใน ฉะนั้น
แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
ที่มา: เกวัฏฏสูตร ๙ [ ๓๔๒] ๓๒๐

มโนมยิทธิญาณ
[๑๕] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วแน่วแน่แล้ว ย่อมน้อมจิตไป เพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เปรียบเหมือนชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง หรือชักดาบออกจากฝัก หรือชักงูออกจากคราบ ฉะนั้น
แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์
ที่มา: เกวัฏฏสูตร ๙ [ ๓๔๒] ๓๒๐ - ๓๒๑

อิทธิวิธญาณ
[๑๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วแน่วแน่แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี และบรรล อิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุฝากำแพง ภูเขาไปได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เปรียบเหมือนช่างหม้อ หรือช่างงา หรือช่างทองผู้ฉลาด เมื่อต้องการภาชนะ หรือเครื่องงา หรือทองรูปพรรณอย่างใด ก็ย่อมทำสำเร็จได้ ฉะนั้น
แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
ที่มา: เกวัฏฏสูตร ๙ [ ๓๔๒] ๓๒๑ - ๓๒๒

ทิพพโสตญาณ
[๑๗] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วแน่วแน่แล้ว ย่อมน้อมจิตไป เพื่อทิพยโสตธาตุ สามารถได้ยินทั้งเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งไกลและใกล้ เกินโสตของมนุษย์ เปรียบเหมือนคนที่ได้ยินเสียงกลอง เสียงตะโพน ฯลฯ แต่ไกล ๆ ก็รู้ได้ว่านั่น เป็นเสียงกลอง เสียงตะโพน ฯลฯ ฉะนั้น
แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์. ์
ที่มา: เกวัฏฏสูตร ๙ [ ๓๔๒] ๓๒๒

เจโตปริยญาณ
[๑๘] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วแน่วแน่แล้ว ย่อมน้อมจิตไป เพื่อเจโตปริยญาณ สามารถกำหนดรู้ใจของสัตว์หรือบุคคลอื่นด้วยใจ เช่น จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น เปรียบเหมือน หญิงชาย ที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องกระจกดูเงาหน้าของตน ถ้าหน้ามีไฝ ก็รู้ว่าหน้ามีไฝ หรือหน้าไม่มีไฝ ก็รู้ว่าหน้าไม่มีไฝ ฉะนั้น
แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
ที่มา: เกวัฏฏสูตร ๙ [ ๓๔๒] ๓๒๒ - ๓๒๓

ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
[๑๙] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วแน่วแน่แล้ว ย่อมน้อมจิตไป เพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง ... จนกระทั่งตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ว่าในภพโน้นเราเป็นอย่างนั้น ๆ เมื่อสิ้นอายุแล้ว จุติจากภพโน้นไปเกิดในภพนั้น เป็นอย่างนั้น ๆ จนสิ้นอายุ จึงจุติจากภพนั้นมาเกิดในภพนี้ เปรียบเหมือนคนที่ะลึกได้ว่า ได้จากบ้านตนไปบ้านโน้น ในบ้านนั้น ได้ทำอย่างนั้น ๆ แล้วได้จากบ้านนั้นไปยังบ้านโน้น ได้ทำอย่างนั้น ๆ แล้วกลับจากบ้านนั้น มาสู่บ้านของตนตามเดิม ฉะนั้น
แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
ที่มา: เกวัฏฏสูตร ๙ [ ๓๔๒] ๓๒๓ - ๓๒๔

จุตูปปาตญาณ
[๒๐] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วแน่วแน่แล้ว ย่อมน้อมจิตไป เพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ รู้ชัดว่าหมู่สัตว์ย่อมเป็นไปตามกรรม ผู้ที่ประกอบอกุศลกรรมด้วย มิจฉาทิฏฐิ ตายแล้วย่อมไปสู่ทุคติ นรก ส่วนผู้ที่ประกอบกุศลกรรมด้วยสัมมาทิฏฐิ ตายแล้วย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์ เปรียบเหมือนคนที่ยืนอยู่บนปราสาทตั้งอยู่ ณ ทาง ๓ แพร่งกลางพระนคร ย่อมมองเห็นหมู่ชนเบื้องล่าง รู้ได้ว่าคนเหล่านั้นกำลังไปไหนทางไหนอย่างไร ฉะนั้น
แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
ที่มา: เกวัฏฏสูตร ๙ [ ๓๔๒] ๓๒๔ - ๓๒๕

อาสวักขยญาณ
[๒๑] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วแน่วแน่แล้ว ย่อมน้อมจิตไป เพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง มีญาณรู้ชัดว่าหลุดพ้นแล้ว ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เปรียบเหมือนคนที่ยืนอยู่บนขอบสระที่มีน้ำใสสะอาด ย่อมเห็นสิ่งต่าง ๆ ใต้น้ำในสระนั้นได้ชัดเจน ฉะนั้น
แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
ท่านเกวัฏฏ์ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ เรารู้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว จึงประกาศให้รู้...
ที่มา: เกวัฏฏสูตร ๙ [ ๓๔๒] ๓๒๖


 Lips Sealed 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: