การปฐมพยาบาลอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 23, 2024, 03:27:52 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การปฐมพยาบาลอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา  (อ่าน 7258 ครั้ง)
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« เมื่อ: ตุลาคม 13, 2010, 08:30:42 pm »



ก่อนจะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ควรวอร์มร่างกายก่อนทุกครั้งอย่างน้อย 15-20 นาที เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ อาจเริ่มจากเดินช้าๆ แล้วเร่งความเร็วขึ้นเรื่อยๆ หรืออาจจะวิ่งเหยาะๆ สะบัดแขนขา หมุนหัวไหล่ หัวเข่า คอ เป็นต้น นอกจากนี้ควรมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เช่น เหยียดแขนออกช้าๆ จนรู้สึกตึง ค้างไว้ประมาณ 15 วินาที สลับทำอีกข้าง แล้วทำที่ขาเช่นเดียวกัน
       
       กีฬาแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป หากจะเลือกเล่นกีฬาชนิดใดก็ควรศึกษาให้ดีก่อน เช่น หากชอบเล่นแบดมินตัน ควรเริ่มตั้งแต่เลือกไม้ให้เหมาะสม น้ำหนักกำลังพอดี เพื่อไม่ให้เกิดความเมื่อยล้าหรือการบาดเจ็บ หากชอบเดินหรือวิ่ง ก็ควรเลือกรองเท้าที่เหมาะสมและสถานที่ที่เหมาะกับการออกกำลังกาย
       
       นอกจากนี้ ร่างกายของแต่ละคนมีความทนทานไม่เท่ากัน หากหักโหมเล่นกีฬาติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจจะเป็นลมหรือบาดเจ็บได้ การเล่นกีฬาที่ได้ประโยชน์ จึงควรเลือกให้เหมาะกับสภาพร่างกาย ไม่หนักเกินไป ไม่นานเกินไป แต่ทำเป็นประจำสม่ำเสมอ จะเป็นผลดีต่อสุขภาพที่สุด
       
       การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
       
       - อาการบาดเจ็บเฉียบพลัน คือ การบาดเจ็บเกิดขึ้นทันที เช่น เส้นเอ็นฉีกขาด กระดูกหัก

       - อาการบาดเจ็บเรื้อรัง คือ อาการบาดเจ็บที่เกิดซ้ำๆ ที่เดิมและสะสมมานาน เช่น การวิ่ง ทำให้หัวเข่าต้องรับน้ำหนัก และแรงกระแทก จะทำให้เกิดการสึกกร่อนจนเกิดอาการข้อเข่าเสื่อมขึ้นได้ กีฬาบางชนิดหากเคลื่อนไหวร่างกายอย่างไม่เหมาะสมเป็นประจำ ก็อาจทำให้บาดเจ็บเรื้อรังได้ เช่น การเล่นเทนนิส การตีกอล์ฟ
       
       อาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้จากการเล่นกีฬาชนิดต่างๆ ได้แก่
       

       - วิ่งหรือเดิน อาจทำให้ข้อเท้าแพลง เอ็นข้อเท้าหรือเอ็นหัวเข่าฉีกขาด กล้ามเนื้ออักเสบ หรือเป็นโรคเข่า

       - แบดมินตัน อาจทำให้กล้ามเนื้อเคล็ดขัดยอก เอ็นข้อเท้าฉีกขาด เจ็บหัวเข่า หรือปวดข้อศอก

       - เทนนิส อาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ เอ็นฉีก กระดูกข้อมือหัก ข้อศอกหลุด ปวดสะโพก หรือเป็นโรคเข่า

       - ว่ายน้ำ อาจทำให้ไหล่หลุด หรือเป็นหูน้ำหนวก

       - ฟุตบอล อาจทำให้ไหล่หลุด กระดูกหักหรือหลุด หรือเกิดบาดแผลจากการปะทะกันของผู้เล่นหรือลูกบอล

       - กอล์ฟ อาจทำให้ผิวหนังบริเวณนิ้วมือบวมพองจากการเสียดสีกับไม้กอล์ฟ เกิดข้ออักเสบ ไหล่หลุด หรือปวดหลัง

       - บาสเกตบอล อาจทำให้ข้อเท้าเคล็ด เอ็นข้อเท้าฉีก นิ้วหลุดหรือหัก ไหล่หลุด แขนหัก หรือเกิดบาดแผลจากการปะทะกัน

       - เบสบอล อาจทำให้กล้ามเนื้อขัดยอก ข้อเคล็ด ข้อมือหักหรือหลุด หรือเกิดบาดแผลจากการกระแทกของลูกบอลหรือไม้ตี ฟันหัก
หรือไขสันหลังถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง

       - ยิมนาสติก อาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ เอ็นฉีกขาด กระดูกสันหลังบาดเจ็บ แขนหัก ขาหัก

       - พายเรือ อาจทำให้มีอาการปวดหลัง ปวดไหล่

       - สเก็ต อาจทำให้มีอาการปวดที่กระดูกก้นกบเนื่องจากการล้มกระแทก

       - ฮอกกี้ อาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ หรือเกิดบาดแผลจากการปะทะกัน
       
       หลักเบื้องต้นในการปฐมพยาบาล มีดังนี้
       
       - หากเกิดการบาดเจ็บขึ้น ควรหยุดกิจกรรมที่ทำอยู่นั้น ไม่ควรฝืนเล่นต่อไป เพราะจะยิ่งทำให้บาดเจ็บมากขึ้น ควรหยุดพักให้ร่างกายหายดีก่อน จึงกลับไปเล่นอีกครั้ง
       
       - การประคบเย็นใน 1-2 วันแรกหลังเกิดการบาดเจ็บจะช่วยลดอาการปวดบวมลงได้ โดยใช้ cold pack หรือผ้าขนหนูห่อน้ำแข็งประคบตรงบริเวณที่บาดเจ็บประมาณ 15 นาที เว้นไปประมาณ 10 นาที แล้วจึงประคบอีกครั้ง ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ในช่วง 1 ชั่วโมงแรกหลังเกิดการบาดเจ็บ
       
       - การรัดด้วยผ้ายืดบริเวณที่บาดเจ็บจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการบวมมากขึ้น แต่ต้องระวังไม่รัดให้แน่นจนเกินไปจนเลือดไหลเวียนไม่สะดวก หากมีอาการชา ควรคลายผ้ารัดออก แล้วจึงค่อยพันใหม่
       
       - หากบาดเจ็บบริเวณแขน หรือขา ให้ยกแขนขาให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อเป็นการห้ามเลือดหรือป้องกันไม่ให้ของเหลวในร่างกายไหลไปยังบริเวณที่บาดเจ็บ
       
       หลักการดังกล่าวใช้ในกรณีที่มีการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย หากเป็นอาการบาดเจ็บที่รุนแรง หลังจากปฐมพยาบาลแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์
       
       


บันทึกการเข้า

แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2010, 08:32:09 pm »



- การเคล็ดขัดยอกของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น
       
       นอกจากจะเกิดจากการเล่นกีฬาแล้ว ยังอาจเกิดจากการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างรวดเร็ว หรือการยกของหนัก จะมีอาการปวด บวม และ เขียวช้ำ ให้ประคบเย็น แล้วใช้ยาสำหรับทาบรรเทาอาการฟกช้ำ หรือบรรเทาอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ แต่ไม่ควรถูนวดแรงๆ ควรถอดเครื่องประดับ เช่น สร้อยข้อมือ กำไล แหวน เพราะบริเวณที่บาดเจ็บจะบวม การใส่เครื่องประดับอาจทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก
       
       - การบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหลัง
       
       บริเวณกล้ามเนื้อหลัง นอกจากกล้ามเนื้อแล้วยังมีเส้นประสาทอยู่ในโพรงกระดูกสันหลัง หากเกิดการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหลัง อาจส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทได้ การบาดเจ็บอาจเนื่องมาจากการเล่นกีฬาที่หนักเกินไป เช่น วิ่งเป็นเวลานาน หรือเล่นเทนนิส นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากการเคลื่อนไหวที่ผิดจังหวะ เช่น การเอื้อม การหมุนตัว หรือ การก้ม หากมีอาการปวดหลังควรนอนพักให้มาก หยุดกิจกรรมที่ทำสักระยะ ไม่ควรก้มหรือบิดตัวในระยะนี้ อาจประคบร้อนหลังจากวันแรกที่เกิดการบาดเจ็บ เมื่ออาการเริ่มดีขึ้นแล้ว ให้เริ่มออกกำลังกายเบาๆ เพราะการนอนพักต่อไปอาจทำให้กล้ามเนื้อหลังอ่อนแอได้
       
       - เอ็นส้นเท้าอักเสบ
       
       เส้นเอ็นที่ส้นเท้าจะอยู่ใต้ฝ่าเท้า เมื่อเกิดการอักเสบขึ้น เวลาเคลื่อนไหวจะเจ็บปวด หรือเกิดความรำคาญ หากยังฝืนใช้งานหนักต่อไป อาจทำให้เกิดการฉีกขาดได้ เมื่อมีอาการเจ็บปวด ให้งดเล่นกีฬาจนกว่าจะหายดี

       - เอ็นร้อยหวายขาด
       
       เอ็นร้อยหวายเกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อน่องและหัวเข่า อาจเกิดการฉีกขาดเนื่องจากการวิ่ง หรือข้อเท้าแพลง ควรประคบเย็น รัดด้วยผ้ายืด ใส่เฝือก และไปพบแพทย์
       
       - กล้ามเนื้อบริเวณต้นขาหรือขาหนีบฉีกขาด
       
       ส่วนใหญ่มักเกิดกับนักกรีฑา เนื่องจากการเปลี่ยนทิศทางการวิ่งกะทันหัน การออกตัวอย่างรวดเร็ว หรือหยุดวิ่งแล้วกลับมาวิ่งอีกทันที จะมีอาการปวดบริเวณขาหนีบตรงง่ามขา ให้ประคบเย็นใน 24 ชั่วโมงแรก และควรหยุดเล่นกีฬาประมาณ 2 สัปดาห์ พักให้อาการหายดีก่อน แล้วใช้วิธียืดกล้ามเนื้อจะช่วยให้อาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
       
       - ผิวหนังบวมพอง
       
       เกิดจากการเสียดสี เช่น การจับไม้แบด แร็กเก็ตเทนนิส ไม้กอล์ฟ หรือใส่รองเท้าที่ไม่พอดี จะเกิดเป็นตุ่มน้ำใสๆ ตรงบริเวณผิวหนังที่ถูกเสียดสี หากปล่อยทิ้งไว้ก็สามารถหายเองได้ ใช้เวลา 2-3 วันตุ่มน้ำจะแตกออก ร่างกายจะสร้างเซลล์ผิวหนังขึ้นมาใหม่ หากต้องการใช้เข็มเจาะเอาน้ำออก ควรใช้เข็มที่สะอาด และอย่าทำให้หนังที่หุ้มอยู่หลุดออก หลังจากนั้นผิวหนังใหม่จะถูกสร้างขึ้นมาแทนเช่นกัน
       
      - โดนกระแทกเบ้าตา
       
       ส่วนใหญ่เกิดจากกีฬาประเภทลูกบอลกระแทกอย่างรุนแรง ทำให้เกิดอาการช้ำใต้ตา เลือดออกในลูกตา ให้ล้างตา ปิดตาทั้งสองข้าง และไปพบแพทย์
       
      - กระดูกหัก
       
       หากเล่นกีฬาอย่างรุนแรงโดยไม่ระมัดระวัง อาจทำให้กระดูกหักได้ วิธีการปฐมพยาบาลได้กล่าวไว้อย่างละเอียดในตอนที่แล้ว
       
       - กระดูกเคลื่อนหรือหลุด
       
       การถูกกระแทก ดึง หรือหมุนแรงๆ อาจทำให้กระดูกเคลื่อนหลุดออกมาจากเบ้า ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ และมีอาการเจ็บปวด พยายามให้ผู้บาดเจ็บเคลื่อนไหวน้อยที่สุด แล้วนำส่งแพทย์ ห้ามจับข้อกระดูกให้กลับเข้าที่ด้วยตัวเอง
       
       - ถุงน้ำในข้อเสื่อม
       
       ข้อต่างๆ ภายในร่างกายจะมีถุงน้ำรองรับการกระแทกและช่วยในการเคลื่อนไหว อาการถุงน้ำในข้อเสื่อมจะทำให้เกิดอาการปวดข้อเวลาที่เคลื่อนไหวมากๆ หรือทำซ้ำท่าเดิมบ่อยๆ ควรไปพบแพทย์ และเลือกออกกำลังกายที่ไม่หนักมาก
       
       - เป็นตะคริว
       
       กล้ามเนื้อเป็นตะคริวจะไม่มีการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ จะรู้สึกเจ็บปวดอยู่ชั่วระยะหนึ่งแล้วหายไปในเวลาไม่กี่นาที แต่หากมีอาการมากก็อาจปวดอยู่นานเป็นชั่วโมง อย่างไรก็ตาม อาการจะหายไปได้เองในที่สุด ตะคริวอาจเกิดจากร่างกายขาดแร่ธาตุ เช่น โปแตสเซียม ขาดน้ำ หายใจเร็วกว่าปกติ หรือเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณนั้นไม่พอ การปฐมพยาบาลทำได้โดยค่อยๆ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว
บันทึกการเข้า
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2010, 09:08:14 pm »

อ้างถึง
- เป็นตะคริว
       
       กล้ามเนื้อเป็นตะคริวจะไม่มีการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ จะรู้สึกเจ็บปวดอยู่ชั่วระยะหนึ่งแล้วหายไปในเวลาไม่กี่นาที แต่หากมีอาการมากก็อาจปวดอยู่นานเป็นชั่วโมง อย่างไรก็ตาม อาการจะหายไปได้เองในที่สุด ตะคริวอาจเกิดจากร่างกายขาดแร่ธาตุ เช่น โปแตสเซียม ขาดน้ำ หายใจเร็วกว่าปกติ หรือเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณนั้นไม่พอ การปฐมพยาบาลทำได้โดยค่อยๆ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว

ขอบคุึณครับ สำหรับข้อมูลดีๆ  HAPPY2!!  Smiley  Cheesy
ผมเป็นบ่อยที่สุดเลยครับ ตะคริวเนี่ย....ปวดมากๆ
บางทีเป็นแม้กระทั่งตอนนอนหลับอยู่ดีๆ ยังลุกขึ้นมานั่งร้องอยู่คนเดียว...
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!