มะม่วงหิมหานต์.................................
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 25, 2024, 02:26:56 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มะม่วงหิมหานต์.................................  (อ่าน 3672 ครั้ง)
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 29, 2007, 09:18:52 am »

ไม้ชนิดนี้มีมากในทางใต้ เรียกชื่อแตกต่างกันออกไปตามพื้นที่ คำว่ามะม่วงหิมพานต์เป็นภาษากลาง ชาวใต้เรียกโดยทั่วไปว่า กาหยู หรือยกร่อง ทว่าในหลายจังหวัดก็เรียกชื่ออื่น เช่น ตรังเรียก กายี ม่วงล่อ หัวครก เป็นต้น นราธิวาสและมลายูเรียกกะแตกแก อุตรดิตถ์เรียก มะม่วงกาสอ เชียงใหม่เรียก มะม่วงสิโห เป็นอาทิ

                       มะม่วงหิมพานต์เป็นไม้พื้นเมืองของประเทศบราซิล เชื่อกันว่าพระยารัษฏานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ขณะที่เป็นเจ้าเมืองตรัง นำเมล็ดจากประเทศมาเลเซียมาทดลองปลูกที่ตรัง และขยายพันธุ์ไปทั่วภาคใต้ ปัจจุบันมีการปลูกแถบภาคตะวันออก และ อีสานด้วย จัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง โดยใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น

                       มะม่วงหิมพานต์อยู่ในตระกูลเดียวกับมะม่วง จำแนกตามสีของผลมี ๒ พันธุ์ คือผลสุกสีเหลืองจัด และผลสุกสีแดงคล้ำ เป็นไม้ยืดต้นไม้ผลัดใบ สูง ๖ - ๑๒ เมตร มีกิ่งก้านเป็นพุ่มแผ่โดยรอบ เนื้อไม้เป็นไม้เนื้ออ่อน สียางสีเหลือง ใบเป็น ใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม หนา รูปไข่กลับ ปลายใบมนป้าน ฐานใบแหลม ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่งมีกลีบดอก ๕ กลีบสีขาว เมื่อดอกบานจะกลายเป็นสีชมพู ส่วนของฐานรองดอกจะเจริญค่อย ๆ กลายเป็นผล คล้ายผลชมพู เรียกกันว่าผลปลอมเมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองสีแดงคล้ำ มีรสเปรี้ยวอมหวาน นิ่ม และมีกลิ่นหอม ชาวบ้านเรียกผลปลอมว่า เต้า ปลายสุดของผลปลอมเป็นส่วนของดอกที่ได้รับการผสมเกสรแล้วเจริญเป็นผลจริงเรียกว่า เมล็ดหรือลูกใน หรือหัวใน รูปร่างคล้ายไต ระยะแรกมีสีม่วงแล้วกลายเป็นสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลือกจะแข็งเปลี่ยนเป็นสีเทา เมล็ดมะม่วงหิมพานต์เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของภาคใต้

                       ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง

                       ประโยชน์ทางยา ราก สรรพคุณแก้โรคท้องร่วงและเป็นยาฝาดสมาน ใบ สรรพคุณเป็นยาสมานลำไส้ บรรเทาอาการท้องร่วง ใบแก่ใช้บดใส่แผลไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก ใบสดนำมาเผาไฟ สูดดมควันเพื่อรักษาอาการไอ เจ็บคอ เมล็ด สรรพคุณแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ทำให้เนื้อชา ยาง ช่วยกัดทำลายเนื้อที่เป็นตุ่มไต ตาปลา โรคเท้าแตก และแก้เลือดออกตามไรฟัน

                       ประโยชน์ทางอาหาร ยอดอ่อน ใบอ่อนรับประทานเป็นผัก ส่วนเมล็ดก็นำมาปรุงอาหารได้ ชาวใต้นิยมรับประทานยอดอ่อนและใบอ่อนของมะม่วงหิมพานต์เป็นผักร่วมกับน้ำพริก แกงเผ็ด ขนมจีนน้ำยา ชาวอีสานนิยมรับประทานกับลาบ ก้อย ป่นปลา และน้ำพริก


พันธุ์มะม่วงหิมพานต์  ส่งเสริม ได้แก่ พันธุ์ ศก ๖๐ - ๑ และ ศก ๖๐ - ๒

แหล่งปลูก
ภาคใต้ ระนอง กระบี่ พังงา นครศรีธรรมราช
ภาคตะวันออก ชลบุรี ตราด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา ศรีสะเกษ


ลักษณะดิน  ควรปลูกในพื้นที่ดอนมีหน้าดินลึก สามารถขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด แต่ไม่ชอบ ดินที่มีน้ำขัง

วิธีปลูก

- ขนาดหลุม ๕๐ x ๕๐ x ๑๐๐ เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก + ปุ๋ยร๊อก ฟอสเฟต
- ใช้กล้าพันธุ์ปลูกโดยกล้าอายุไม่เกิน ๓ เดือน โดยวางกล้าไว้กลางหลุม กลบดิน และกดบริเวณโคนให้แน่น ใช้ไม้ปักยึดกล้ามะม่วงหิมพานต์อย่าให้โยก


ระยะปลูกที่เหมาะสม  ระหว่างต้น x ระหว่างแถว = ๖ x ๖ เมตร ๑ ไร่สามารถปลูกได้ ๔๕ ต้น


การให้น้ำ  ช่วงแรกปลูกใหม่ๆ ควรให้อย่างสม่ำเสมอ เมื่อตั้งตัวได้แล้ว ควรทิ้งช่วง เพราะเป็น พืชที่ทนแล้งได้ดี

การใส่ปุ๋ย

- อายุ ๑ - ๓ ปี สูตร ๑๒-๒๔-๑๒ อัตรา ๔๕ กก. / ไร่
- อายุ ๔ - ๗ ปี สูตร ๑๕-๑๕-๑๕ อัตรา ๖๐ กก. / ไร่
- อายุ ๘ ปีขึ้นไป สูตร ๑๓-๑๓-๒๑ อัตรา ๑๓๐ กก. / ไร่


โรค - โรคช่อดอกแห้ง ป้องกัน ฉีดพ่นเบนเลน ๕๐%


แมลง
- หนอนเจาะลำต้น ใช้ โมโนโครไตฟอส ฉีดเข้าปากรูและอุดด้วยดินเหนียว
- เพลี้ยไฟ ใช้ ไดเทนเอ็ม ฉีดพ่น

การเก็บเกี่ยว  เก็บส่วนที่เป็นหัว หรือส่วนที่โผล่ออกมาจากผล เริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่อต้นมีอายุ ๓ ปี


http://www.rakbankerd.com/agriculture/in_agricultural/sub_agricultural_1.html?sub_id=942&head=มะม่วงหิมพานต์&click_center=1


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!