ก้าวทันการรักษา 'โรคมะเร็ง' เครื่องฉายรังสีปรับความเข้ม 1,000 องศา
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 27, 2024, 11:16:54 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ก้าวทันการรักษา 'โรคมะเร็ง' เครื่องฉายรังสีปรับความเข้ม 1,000 องศา  (อ่าน 2665 ครั้ง)
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« เมื่อ: กันยายน 12, 2010, 10:50:26 am »




หากเอ่ยถึงโรคภัยที่ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพ อาจกล่าวได้ว่า โรคมะเร็ง ถือเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตลำดับต้น ๆ โดยจากสถิติข้อมูลในปี พ.ศ. 2551 พบว่า มีจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งกว่า 5 หมื่นราย
   
ปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งในผู้ป่วย โดยเฉพาะเมื่อพบโรคในระยะเริ่มแรกมีหลากหลายวิธีทั้ง การรักษาโดยวิธี   ผ่าตัด รักษาด้วยรังสี และรักษาด้วยยา
   
การรักษามะเร็งด้วยรังสีในวิธีดังกล่าวนี้มีมายาวนาน และนับเป็นการรักษาที่มีบทบาทต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยมะเร็งมักจะได้รับการรักษาด้วยรังสีเพื่อให้หายจากโรค หรือเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด และแม้ว่าคุณประโยชน์ของรังสีต่อการรักษาโรคมะเร็งจะมีอยู่ไม่น้อย แต่ถึงกระนั้นก็อาจส่ง ผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้
   
เครื่องฉายรังสีแบบปรับความเข้ม 1,000 องศา นับเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยเสริมการรักษาโรคมะเร็งให้ผู้ป่วยซึ่งจะ ได้รับความรวดเร็วและลดผลข้างเคียง โดยเครื่องดังกล่าวได้ติดตั้งที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นแห่งแรก และล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยซึ่งมีความมุ่งมั่นรักษาโรคมะเร็งให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและให้ มีผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยที่สุดได้เปิดตัวแนะนำถึงวิธีการรักษา
   
ผศ.นพ.ชลเกียรติ ขอประเสริฐ หัวหน้าสาขาวิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ให้ความรู้ว่า แต่เดิมสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นจะมีในเรื่องของอุบัติเหตุ โรคหัวใจ แต่จากสาเหตุดังกล่าวปัจจุบันมีการรณรงค์ควบคุมที่ดี ปัจจุบันพบการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับต้น โดยสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งมีหลายด้านทั้งสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปขาดการดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายน้อย รวมทั้งการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ
   
การจะหลีกไกลจากมะเร็งสิ่งสำคัญคือ การหลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสี่ยง อีกทั้งไม่ควรละเลยการตรวจสุขภาพประจำปีเพราะหากยิ่งตรวจพบได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะเพิ่มโอกาสการรักษามากยิ่งขึ้น จากที่กล่าวมาการรักษามะเร็งมีหลายวิธี รังสีรักษาถือเป็นวิธีการอย่างหนึ่งซึ่งในการรักษาแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัย
   
“เครื่องฉายรังสีแบบปรับความเข้ม 1,000 องศาเครื่องนี้เป็นเครื่องฉายรังสีแบบระบบหมุนรอบตัวแบบปรับความเข้มซึ่ง ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา เครื่องดังกล่าวสามารถปล่อยรังสีเอกซเรย์พลังงานสูงสามารถปรับรูปร่าง ความเข้มของลำรังสีในขณะที่หมุนเครื่องรอบตัวผู้ป่วยหมุนไปกลับได้  ต่อเนื่อง
   
อีกทั้งสามารถปรับความเร็วในการหมุนของหัวเครื่องฉายแสงและสามารถปรับอัตรา การปล่อยรังสีของเครื่อง นอกจากนี้เครื่องฉายรังสียังติดตั้งระบบตรวจสอบตำแหน่งของก้อนมะเร็ง ฯลฯ ช่วยในการวางแผนการรักษารวมทั้งเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ป่วย”
   
ในกรณีผู้ป่วยมะเร็งบริเวณสมอง ศีรษะ ลำคอซึ่งมีความ จำเป็นต้องสวมหน้ากากพลาสติกอาจทำให้เกิดความอึดอัดขณะฉายรังสี ผู้ป่วยที่ไม่สามารถนอนฉายรังสีได้นานเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความเจ็บปวด   อาการเหนื่อยหอบ ฯลฯ จะได้รับความสะดวกขึ้น โดยสามารถลดระยะเวลาการฉายรังสีลงเหลือเพียงประมาณ 2-7 นาทีต่อการรักษาหนึ่งครั้ง อีกทั้งยังลดโอกาสคลาดเคลื่อนของตำแหน่งการฉายแสงที่มักเกิดกับผู้ป่วยซึ่ง ต้องใช้เวลาในการฉายแสงนาน
   
นอกจากนี้ในการควบคุมรังสียังมีข้อดีโดยถ้ารังสีไปที่ก้อนมะเร็งสูงโอกาสที่ ก้อน   มะเร็งจะหายไปหมดก็มากขึ้น ควบคุมไม่ให้รังสีโดนอวัยวะสำคัญหรืออวัยวะปกติที่อยู่ติดกับก้อนมะเร็ง อวัยวะบริเวณนั้นก็จะไม่สูญเสียหน้าที่ ผลข้างเคียงก็จะน้อย ลดอัตรา การเกิดผลข้างเคียงจากการฉายรังสีช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น
   
โรคมะเร็งนับเป็นภัยร้ายต่อสุขภาพ ในเพศหญิงมะเร็ง ที่พบได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็ง ปากมดลูก มะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งกรณีหลังค่อนข้างตรวจพบยากในระยะเริ่มแรก แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการไม่รับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ส่วนเพศชายมะเร็งที่ตรวจพบบ่อย ได้แก่ มะเร็งตับและมะเร็งในท่อน้ำดี มะเร็งปอด
   
ขณะที่เครื่องฉายรังสีปรับความเข้มดังกล่าวเป็นอีกความก้าวหน้าช่วยรักษาผู้ ป่วย แต่ก่อนต้องเผชิญกับมะเร็งร้าย หัวหน้าสาขาวิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาฝากคำแนะนำเพิ่มเติมอีกว่า การดูแลสุขภาพไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การพักผ่อนที่เพียงพอการออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมทั้งไม่ละเลยต่อการตรวจสุขภาพ ล้วนเป็นสิ่งที่ควรกระทำ และนับเป็นการป้องกันการเกิดมะเร็งได้เป็นอย่างดี.

สรรหามาบอก

- ศูนย์โรคสมองและระบบประสาท ร่วมกับศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง ขอเชิญประชาชนผู้สนใจร่วมสัมมนาในหัวข้อ “โรควูบ เหตุจากสมองหรือหัวใจ อย่างไหนกันแน่?” ใน วันเสาร์ที่ 18 กันยายน 2553 เวลา 13.00-15.30 น. ณ ห้องประชุม อาคาร C ชั้น 10 โรงพยาบาลรามคำแหง กิจกรรมภายในงานมีการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจวัดความดันตาอัตโนมัติชนิดไม่สัมผัส รับคำปรึกษาโรคระบบทางเดินอาหาร โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สำรองที่นั่ง โทร. 0-2743-9999 ต่อ 2680, 2688, 2699
   
- ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย จัดเสวนาเรื่อง “สเต็มเซลล์ รักษาได้ทุกโรคจริงหรือ?” ใน วันเสาร์ที่ 18 กันยายน 2553 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 10 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา รพ.พระมงกุฎเกล้า ร่วมสำรองที่นั่งฟังเสวนา พร้อมรับกระเป๋าผ้าสเต็มเซลล์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ โทร. 0-2256-4300, 0-2716-5977 ตั้งแต่วันนี้-15 กันยายน 2553 ด่วน! รับจำนวนจำกัด (200 ที่นั่ง)
   
- นิตยสารรักลูก ร่วมกับ โรงพยาบาลเด็ก สมิติเวชศรีนครินทร์ จัดงาน “รักลูก@hospital 2010” อัพเดท   ความรู้ใหม่ในการเลี้ยงลูกสำหรับคุณพ่อคุณแม่ด้วยรูปแบบกิจกรรมสาธิตพร้อม Q&A หัวข้อ “พลังเล่น...สร้างความสุข สร้างลูกสุขภาพดี” ใน วันเสาร์ที่ 18 กันยายน 2553 ตั้งแต่ 09.30-12.00 น. ณ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช ศรีนครินทร์    (ชั้น 1) สำรองที่นั่ง โทร. 0-2913-7555 ต่อ 3522 และ 3531 (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)
   
- โรงพยาบาลรามาธิบดี ขอเชิญบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมงานประชุมวิชาการรามา ธิบดีประจำปี 2553 “Academic Home Coming” วันที่ 20-   23 กันยายน 2553 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และ วันที่ 24-25 กันยายน 2553 สำหรับประชาชนทั่วไป ภายในงาน    พบกิจกรรมให้ความรู้ด้านสุขภาพมากมาย สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์เสริมพลังสร้างสุขภาพ ชั้น 1 อาคารเรียนรวม โรงพยาบาลรามาธิบดี โทร. 0-2201-2652, 0-2201-1064 โทรสาร 0-2201-2653, 0-2201-1064.

เคล็ดลับสุขภาพดี : เลือกที่นอนถูกต้องเหมาะกับวัย ช่วยให้สุขภาพดี

การพักผ่อนที่ดีที่สุดก็คือ การนอน และสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เรานอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มอิ่ม สบายกาย สบายตัว คงหนีไม่พ้นที่นอนที่สมส่วน และได้มาตรฐาน ถ้าที่นอนไม่ดี อาจทำให้การนอนพักผ่อนบนที่นอนที่อย่างน้อยก็คืนละไม่ต่ำกว่า 7-8 ชั่วโมงของเราไม่มีความสุข ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งกายและใจ เคล็ดลับสุขภาพดีอาทิตย์นี้ มีวิธีเลือกที่นอนให้หลับสบาย ส่งผลดีต่อสุขภาพมาฝากกันค่ะ
   
นพ.ยอดรัก ประเสริฐ ศัลยแพทย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ความรู้ว่า การเลือกที่นอนสำหรับเด็กจะเลือกที่นอนแบบใดก็ได้ เพราะกล้ามเนื้อยังแข็งแรงอยู่ ส่วนวัยผู้ใหญ่ที่ไม่ได้เจ็บป่วยเกี่ยวกับโรคกระดูก วิธีการเลือกอาจไม่แตกต่างกับวัยเด็กเท่าใดนัก แต่การเลือกที่นอนที่ถูกต้อง    ก็คือ ไม่ควรเลือกที่นิ่มเกินไปและแข็งจนเกินไป ควรเลือกที่มีความแน่นกำลังดี นอนแล้วสบายตัว ตื่นขึ้นมาแล้วไม่รู้สึกปวดเมื่อย
   
สำหรับในผู้สูงอายุต้องเน้น  มากเป็นพิเศษ เพราะเวลาอายุมากขึ้นกระดูกสันหลังเริ่มเสื่อมและยิ่งนอนที่นอนไม่ดี ก็จะยิ่งทำให้ปวดหลังมากขึ้น สมัยก่อนผู้สูงอายุมักบอกว่านอนที่นอนแข็ง ๆ แล้วหายปวดหลัง แต่อาจจะกลายเป็นว่า ไปปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อจุดอื่น ๆ แทน สำหรับที่นอนที่นิ่มเกินไปนั้นก็มีผลเสียด้วย     เช่นกัน เพราะเวลาเราพลิกตัวจะทำให้กล้ามเนื้อฝั่งตรงข้ามออกแรงต้านมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อทำงานหนักขึ้นและส่งผลทำให้มีอาการปวดหลัง
   
ส่วนวิธีการเลือกที่นอนอื่น ๆ ที่ควรทราบก็เช่น ควรเลือกที่นอนที่     มีขนาดใหญ่พอสมควรหากต้องนอนหลายคน เพราะถ้าที่นอน เล็กเกินไปอาจมีพื้นที่น้อยในการขยับตัว ทำให้เรานอนเกร็งและเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการปวดหลัง นอกจากนี้คุณหมอยังแนะนำถึงวิธีการใช้ที่นอนที่ถูกต้องว่า ฟูกที่นอนที่คุณภาพดี ๆ จะมีอายุการใช้งานประมาณ 5-10 ปี หลายคนมักเข้าใจผิดว่าสามารถใช้ได้ตลอด ที่สำคัญต้องรู้จักสังเกตว่าที่นอนยังอยู่ในระดับเดียวกันหรือไม่ มีรอยบุบหรือแตกหรือเปล่า หากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นลองใช้มือลูบดูว่าที่นอนเป็นแอ่งหรือเปล่า หากเป็นแสดงว่าที่นอนเริ่มเสื่อมแล้ว แต่วิธีการถนอมที่นอนที่ดีควรกลับด้านทั้ง 4 ด้าน ประมาณ 6 เดือนครั้งและควรทำความสะอาดบ่อย ๆ เพื่อลด การสะสมของเชื้อโรคที่อาจทำให้เรา    เจ็บป่วยหรือเป็นโรคภูมิแพ้ได้
   
อย่างไรก็ตามถ้าเราเลือกที่นอนไม่เหมาะสมกับวัยและสภาพร่างกายแล้วจะมีผล กระทบคือ จากการที่กระดูกไม่ดีอยู่แล้วก็จะยิ่งเป็นการเร่งให้กระดูกเสื่อมเร็วขึ้น กล้ามเนื้อมีอาการบาดเจ็บมากขึ้น มีอาการปวดหลังเรื้อรัง นอนหลับไม่สบายจนกระทั่ง   ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงตามลำดับ
   
ดังนั้นหากใครที่รู้ตัวว่ามีปัญหาเรื่องโรคกระดูกหรือมีญาติพี่น้องที่เป็น ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ ควรรู้จักเลือกที่นอนที่เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อการนอนหลับพักผ่อนที่สบาย และเต็มอิ่ม สู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีนะคะ.

ทีมวาไรตี้

ที่มา http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=486&contentId=91199


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!