อาการปวดคืออะไรและมีสาเหตุจากอะไร โดยธรรมชาติอาการปวดเป็นความรู้สึกทรมาณที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บหรืออันตราย
เป็นเหมือนสัญญาณเตือนภัยให้มนุษย์แก้ไขอันตรายหรือรักษาความบาดเจ็บที่เกิดขึ้น ตัวอย่าง
เช่น เมื่อเราถูกมีดบาดเราจะรู้สึกเจ็บปวดบริเวณที่มีบาดแผลซึ่งเตือนให้รู้ว่ามีความบาดเจ็บเกิด
ขึ้นแล้วและเราต้องหาทางบรรเทาอาการปวดดังกล่าวด้วยการรักษาบาดแผลให้หาย ถ้ามนุษย์ไร
้ความเจ็บปวดก็จะไม่สนใจหาทางแก้ไขอันตรายที่เกิดขึ้นและอาจปล่อยให้ลุกลามต่อไป
ความเจ็บปวดเกิดขึ้นเมื่อตัวรับรู้ความเจ็บปวดที่อยู่ตามผิวหนัง กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อ
เรียบในร่างกาย ถูกกระตุ้นด้วยตัวกระตุ้นความเจ็บปวด เช่น แรงกระแทก ความร้อน สารเคมี
หรือการบาดเจ็บ จากนั้นสัญญาณความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจะเดินทางไปตามเส้นประสาทจาก
จุดเกิดเหตุไปยังไขสันหลังและผ่านต่อไปยังสมองเพื่อตีความว่าเจ็บปวดเพียงใด ดังนั้นความ
เจ็บปวดจากสาเหตุเดียวกันอาจมีผลต่อมนุษย์แตกต่างกันตามพื้นฐานของอารมณ์ในขณะที่
เกิดความเจ็บปวด เช่น ทหารเมื่อถูกยิงในระหว่างการรบอาจไม่รู้สึกเจ็บปวดบาดแผลเนื่องจาก
อารมณ์ขณะนั้นจดจ่ออยู่กับการต่อสู้เอาตัวรอด แต่เมื่อเสร็จการรบเสร็จสิ้นลงจะเริ่มรู้สึก
เจ็บปวดบาดแผลมากเป็นต้น
ความเจ็บปวดมีได้หลายแบบ เช่น ความเจ็บปวดเฉียบพลันซึ่งเกิดขึ้นทันทีและมีช่วงเวลา
จำกัดโดยมีสาเหตุจากเกิดบาดแผล ถูกความร้อน เป็นไข้ เป็นต้น อาการปวดเหล่านี้รักษา
ด้วยยาได้ผลดี ความเจ็บปวดเรื้อรังซึ่งเกิดต่อเนื่องหลายเดือนโดยมีสาเหตุจากโรคเรื้อรัง
เช่น มะเร็ง ไขข้ออักเสบ อาการปวดเรื้อรังมักยากต่อการรักษา ความเจ็บปวดตื้นซึ่งเกิด
ขึ้นจากการบาดเจ็บที่ผิวหนังหรือเยื่อบุต่างๆ ความเจ็บปวดลึกซึ่งเกิดขึ้นจากการเกร็งตัว
ของกล้ามเนื้อเรียบหรือจากอวัยวะสำคัญภายใน ความเจ็บปวดกล้ามเนื้อซึ่งเกิดขึ้นจาก
การบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อลาย เอ็น หรือข้อต่อ อาการปวดเหล่านี้จะต้องเลือกใช้ยาแก้ปวด
ให้เหมาะสมซึ่งจะได้กล่าวในช่วงต่อไป
การรักษาอาการปวดที่ถูกต้องทำอย่างไร อาการปวดเป็นการแสดงออกทางปลายเหตุอย่างหนึ่งว่ามีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้น
ในร่างกาย ดังนั้นควรพิจารณาอาการอื่นที่เกิดขึ้นประกอบด้วยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของ
ความผิดปกตินั้นว่าคืออะไร ควรรักษาตนอย่างไรและควรใช้ยาแก้ปวดอย่างเดียวหรือไม่
เนื่องจากในบางกรณีอาการปวดเป็นอาการอย่างหนึ่งของโรคที่รุนแรง เช่น มะเร็ง การติด
เชื้อที่สมองหรือสมองได้รับบาดเจ็บ หัวใจขาดเลือด ท่อน้ำดีอุดตัน ซึ่งในกรณีดังกล่าวต้อง
ดำเนินการรักษาต้นเหตุโดยแพทย์อย่างเร่งด่วน นอกจากนั้นการใช้เพียงแต่ยาแก้ปวดอาจ
จะบดบังอาการของโรคที่ไม่รุนแรงทำให้ไม่สนใจจะรับการรักษาอย่างอื่นร่วมด้วย
เมื่อเกิดอาการปวดที่ไม่ใช่ผลจากโรครุนแรง เช่น ปวดศีรษะจากไข้หรือความเครียด ปวดฟัน
ปวดกล้ามเนื้อ ปวดประจำเดือน สามารถใช้ยาแก้ปวดบรรเทาอาการปวดได้ แต่การใช้ยาแก้
ปวดดังกล่าวต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องกับสภาพของตนเอง ทั้งนี้อาจขอคำแนะนำจากเภสัชกร
ที่ร้านยาที่ท่านซื้อยาแก้ปวดได้ และที่สำคัญอย่าละเลยต้นเหตุของอาการปวดดังกล่าว ต้อง
หาทางแก้ไขต้นเหตุนั้นด้วยเช่นกัน
ยาแก้ปวดมีกี่ประเภท มีข้อบ่งใช้อย่างไรยาแก้ปวดที่ใช้กันปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.ยาแก้ปวดชนิดเสพย์ติด เป็นยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์ระงับปวดสูงแต่ไม่มีฤทธิ์ลดไข้ ทำให้ผู้ใช้
เกิดการชินยาและติดยาได้ ยาแก้ปวดประเภทนี้ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ในการซื้อดังนั้นจึงมัก
ใช้กับคนไข้ในโรงพยาบาลหรือคลินิกเป็นส่วนใหญ่ เป็นสารจากฝิ่นและสารที่มีฤทธิ์
คล้ายฝิ่น ได้แก่ มอร์ฟีน เมเปอริดีน เมธาโดน โคเดอีน เลโวโปรพรอกไซฟีน เพนตา-
โซซีน ยาเหล่านี้ใช้เป็นยาเดี่ยวระงับปวดที่รุนแรงปานกลางจนถึงรุนแรงมากที่เกิดขึ้นที่
กล้ามเนื้อเรียบ อวัยวะภายใน และกระดูก หรือใช้เป็นยาเสริมกับยาแก้ปวดชนิดไม่
เสพย์ติดเพื่อระงับอาการปวดที่รุนแรงปานกลาง
2.ยาแก้ปวดชนิดไม่เสพย์ติด เป็นยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์ระงับปวดต่ำแต่มีฤทธิ์ลดไข้ด้วย ไม่
ทำให้ผู้ใช้เกิดการติดยา ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ในการซื้อจึงนิยมใช้กับผู้ป่วยกันทั่วไป
ได้แก่ ยาแก้ปวด-ลดไข้ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วย (NSAID) เช่น แอสไพริน ไอบู-
โปรเฟน ไดฟลูนิซาล เมเฟนามิคเอซิด นาพรอกเซน ซูลินแดค พิรอกซิแคม เป็นต้น
กับยาแก้ปวด-ลดไข้ที่ไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ คือ พาราเซตามอล ยาประเภทนี้ใช้
ระงับปวดที่รุนแรงน้อยจนถึงรุนแรงปานกลางของกล้ามเนื้อลาย เอ็น ข้อต่อ
ปวดศีรษะ ปวดฟัน
ยาแก้ปวดชนิดเสพย์ติดมีข้อดีข้อเสียอย่างไรยาแก้ปวดชนิดเสพย์ติดมีฤทธิ์ระงับปวดได้มากจึงใช้บรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน
และมีอาการปวดรุนแรง เช่น ปวดเกร็งกล้ามเนื้อเรียบ ปวดกระดูก ยาประเภทนี้มีทั้งชนิด
ยาฉีดให้ใช้เมื่อต้องการเห็นผลรวดเร็ว และยารับประทานเมื่อต้องใช้ต่อเนื่อง ผลของยาแก้
ปวดชนิดเสพย์ติดโดยทั่วไป ได้แก่
* ระงับปวด ทำให้เคลิ้มสุข มีฤทธิ์ระงับปวดสูงโดยออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง
ทำให้รับรู้ความเจ็บปวดน้อยลง ยังทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ดี รู้สึกผ่อนคลาย ไม่วิตกกังวล
* ทำให้ง่วงซึม มีผลทำให้ผู้ป่วยนอนหลับง่าย
* กดการหายใจ มีผลทำให้ผู้ป่วยหายใจอ่อน ช้า และมีผลเสียอย่างมากกับผู้ที่เป็นโรค
เกี่ยวกับทางเดินหายใจอุดกั้น เช่น หอบหืด
* ระงับไอ ใช้เป็นยาแก้ไอได้ดี เช่น โคเดอีน เดกโตรเมธอแฟน
* ทำให้รูม่านตาหด สังเกตุได้ชัดในผู้ที่เสพย์ฝิ่น ไม่มีการชินยา
* คลื่นไส้ อาเจียน โดยเฉพาะในระยะแรกของการใช้ยา ต่อไปอาจชินยาได้
* ท้องผูก ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย เช่น ทิงเจอร์ฝิ่นการบูน ไดฟีนอกซัยเลท
* เพิ่มความตึงตัวท่อน้ำดี ท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ ทั่วไปไม่ควรใช้กับอาการ
ปวดเกร็งของท่อน้ำดี ท่อหรือกระเพาะปัสสาวะ
* กดระบบภูมิคุ้มกัน ผู้เสพย์ติดฝิ่นจึงมีโอกาสเป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย เช่น โรคติดเชื้อ
โรคเอดส์
โดยทั่วไปไม่นิยมใช้ยาแก้ปวดชนิดเสพย์ติดกับอาการปวดเรื้อรังซึ่งต้องใช้ยาต่อเนื่องระยะยาว
เนื่องจากปัญหาการติดยา แต่ในบางกรณีนั้นก็จำเป็นต้องใช้ เช่น อาการปวดของผู้ป่วยมะเร็ง
ระยะสุดท้ายซึ่งมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ไม่นาน ในกรณีนี้การติดยาจึงเป็นประเด็นปลีกย่อย อย่างไร
ก้ดีปัจจุบันมียาแก้ปวดใหม่ตัวหนึ่งซึ่งมีฤทธิ์ระงับปวดสูงใกล้เคียงกับยาแก้ปวดชนิดเสพย์ติด
แต่ไม่จัดเป็นยาเสพย์ติดจึงไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ชื่อ ทรามาดอล เป็นสารสังเคราะห์ที่มีสูตร
โครงสร้างแตกต่างจากฝิ่น เป็นยารับประทานซึ่งมีฤทธิ์อยู่ได้นาน ใช้ระงับปวดที่รุนแรงปาน-
กลางถึงรุนแรงมาก มีฤทธิ์กดการหายใจน้อยกว่ายาแก้ปวดชนิดเสพย์ติด มีโอกาสติดยาต่ำ
มีผลข้างเคียงน้อย ที่พบได้แก่ มึนงง ง่วงนอน คลื่นไส้ ท้องผูก เหงื่อแตก และ คัน จึงเป็นทาง
เลือกอีกทางของผู้ที่มีอาการปวดรุนแรง อย่างไรก็ดียานี้ราคาแพงมาก
ยาแก้ปวดชนิดไม่เสพย์ติดมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ยาแก้ปวดชนิดไม่เสพย์ติดมีฤทธิ์ระงับปวดต่ำจึงใช้บรรเทาอาการปวดที่รุนแรงน้อยจนถึง
รุนแรงปานกลาง และเนื่องจากยาเหล่านี้มีฤทธิ์ลดไข้จึงมักใช้กับอาการปวดที่มีอาการไข้
ร่วมด้วย เช่นอาการปวดศีรษะจากไข้หวัดหรือการติดเชื้อ นอกจากนั้นยาประเภทนี้ส่วนใหญ่
มีฤทธิ์ต้านการอักเสบจึงระงับปวดที่เกิดร่วมกับการอักเสบ เช่น อาการปวดจากกล้ามเนื้อ
อักเสบ อาการปวดฟัน ได้ดี ยาแก้ปวดชนิดไม่เสพย์ติดยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ยาแก้
ปวด-ลดไข้-ต้านการอักเสบ หรือที่เรียกกันว่า NSAID กับยาแก้ปวด-ลดไข้ แต่ละกลุ่มจะมี
ข้อดีข้อเสียต่างกัน
ผลของยาแก้ปวด-ลดไข้-ต้านการอักเสบกลุ่ม NSAID ยาที่เป็นแม่แบบคือ แอสไพริน ซึ่งรู้จักกันดี และใช้กันมานาน
* NSAID ทุกตัวมีผลเหมือนกับแอสไพริน แต่มีผลข้างเคียงน้อยกว่า
1. ระงับปวด โดยออกฤทธิ์ทั้งที่ระบบประสาทส่วนกลางและบริเวณที่เกิดความ
เจ็บปวด
2. ลดไข้ ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้สมองปรับการควบคุมอุณหภูมิ
ให้ลดต่ำลง และขยายหลอดเลือดส่วนปลายทำให้ร่างกายถ่ายความร้อนออกได้
มาก จึงทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลง
3. ต้านการอักเสบ ออกฤทธิ์ที่บริเวณที่เกิดการอักเสบ ทำให้อาการอักเสบไม่
ลุกลามมากขึ้น
* ชะลอการแข็งตัวของเลือด ทำให้เกร็ดเลือดจับตัวเป็นก้อนได้น้อยลง จึงใช้แอสไพริน
ขนาดต่ำป้องกันภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอุดตายจากลิ่มเลือดในผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงสูง
* NSAID มีกลไกการออกฤทธิ์โดยยับยั้งการสังเคราะห์สารประเภทพรอสตาแกลนดิน
ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นความเจ็บปวด อาการไข้ และการอักเสบ และเป็นกลไกที่มีทั้งข้อดี
และข้อเสีย
*ผลข้างเคียงหลักคือระคายเคืองทางเดินอาหารและลดความต้านทานของผนังกระเพาะ
และลำไส้ ทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เลือดออก และเป็นแผลในทางเดินอาหาร
ส่วนมากเกิดกับการใช้ขนาดสูงเป็นเวลานาน ลดลงได้บ้างด้วยการปรับรูปแบบยา
เตรียมเป็นชนิดเคลือบพิเศษ ควบคุมความเป็นกรด หรือรับประทานพร้อมอาหารหรือ
หลังอาหารทันที ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคแผลในทางเดินอาหารอยู่แล้ว
* ผลพิษของแอสไพรินทำให้เกิดอาการหูมีเสียงกริ่ง ไม่ได้ยินเสียง วิงเวียน
* การใช้ยาเกินขนาดทำให้อาเจียนอย่างหนัก หายใจถี่แรง ต้องแก้ไขโดยการล้างท้อง
และรักษาประคับประคองตามอาการ
*แย่งยาอื่นจับกับโปรตีนในเลือด ทำให้ระดับยานั้นในเลือดสูงขึ้นจนอาจเกิดผลไม่พึง
ประสงค์ได้
* อาจมีผลพิษต่อไตและตับในระยะยาว
* ข้อแตกต่างระหว่าง NSAID ที่สำคัญคือระยะเวลาการออกฤทธิ์ ซึ่งมีผลต่อการใช้ยา
Aspirin (วันละ 3 ครั้ง)
Sulindac (วันละ 2 ครั้ง)
Diclofenac (วันละ 4 ครั้ง)
Naproxen (วันละ 2 ครั้ง)
Ibuprofen (วันละ 4 ครั้ง)
Nabumetone (วันละ 1 ครั้ง)
Indomethacin (วันละ 3 ครั้ง)
Piroxicam (วันละ 1 ครั้ง)
ผลของยาแก้ปวด-ลดไข้พาราเซตามอลยาแก้ปวด-ลดไข้พาราเซตามอล เป็นยาที่ใช้กันมาก สำหรับอาการปวดทั่วไป เนื่องจากราคาถูก และมีผลไม่พึงประสงค์น้อย
* มีฤทธิ์ระงับปวดและลดไข้โดยออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลางโดยกลไกไม่ทราบชัด
* ไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ
* มีผลระคายเคืองกระเพาะอาหารน้อย
* ใช้ระงับอาการปวดศีรษะทั่วไป โดยเฉพาะในกรณีที่แอสไพรินระคายเคืองกระเพาะ
อาหารมาก
* ขนาดที่ใช้คือ 500-1,000 มก. ทุก 4-6 ชั่วโมง สำหรับผู้ใหญ่ ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า
12 ขวบให้ใช้ขนาดครึ่งหนึ่งของผู้ใหญ่ อย่างไรก็ดีสำหรับอาการปวดทั่วไปขอแนะนำ
ให้เริ่มใช้ที่ขนาด 500 มก. ทุก 4 ชั่วโมง เฉพาะช่วงที่มีอาการปวด
* การใช้ยาขนาดสูงและ/หรือติดต่อกันระยะยาวอาจทำให้เกิดผลพิษต่อตับอย่างค่อยเป็น
ค่อยไปโดยทำให้เซลตับตาย ทั้งนี้โดยปกติพาราเซตามอลส่วนหนึ่งถูกตับเปลี่ยนเป็นสาร
พิษแต่ตับเองใช้สารป้องกันตัวเองที่มีอยู่กำจัดสารพิษดังกล่าวได้ทัน อย่างไรก็ดีเมื่อใช้
พาราเซตามอลไปนานๆ สารป้องกันนั้นถูกใช้จนหมดจึงไม่สามารถกำจัดสารพิษได้
ผลก็คือเซลตับซึ่งสร้างสารพิษนั้นเองถูกสารพิษทำลายจนเกิดภาวะตับเสื่อมสภาพ
ดังนั้นการใช้ยาแก้ปวดพาราเซตามอลจึงต้องระวังเรื่องผลพิษที่รุนแรงต่อตับจากการใช้
ต่อเนื่อง โดยไม่ควรรับประทานยานี้ในขนาดสูงมากกว่าครั้งละ 1,000 มก. (2 เม็ด)
หรือเกินวันละ 6,000 มก. (12 เม็ด) และไม่ควรใช้ยาติดต่อกันมากกว่า 7 วัน
และไม่ควร
ใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับตับ เช่น ตับอักเสบ ดีซ่าน ตับแข็ง เป็นต้น
* ใช้ระยะสั้นเป็นยาลดไข้ในเด็ก
* มักใช้สลับกับยาแก้ปวด NSAID เมื่อต้องใช้ยาแก้ปวดระยะยาว ซึ่งตัวที่นิยมใช้สลับ
กับพาราเซตามอลก็คือไอบูโปรเฟนหรือแอสไพรินชนิดเคลือบพิเศษ
* ไม่ควรใช้ระงับปวดเรื้อรังร่วมกับยาแก้ปวดชนิดเสพย์ติด โดยเฉพาะในรายผู้ป่วยสูงอายุ
* ควรตรวจการทำงานของตับเมื่อต้องใช้ระยะยาว
เมื่อมีอาการปวดหลัง หรือปวดกล้ามเนื้อ จะใช้ยาแก้ปวดอย่างไรและควรปฏิบัติตนอย่างไร อาการปวดหลังหรือปวดกล้ามเนื้อมีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น ปวดเมื่อยจากการออกกำลัง
กายหรือทำงานหนัก ปวดจากการอักเสบเฉียบพลันของกล้ามเนื้อหรือเอ็น ปวดสืบเนื่อง
จากโรคอื่นๆ เช่น โรคไต โรคหวัด กระดูกสันหลังเสื่อม เป็นต้น สำหรับอาการปวดหลังจาก
การทำงานหนักนั้นอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยารับประทาน เพียงแต่พักผ่อนและใช้ยาถูนวดบริเวณ
ที่ปวดเมื่อยหรือประคบด้วยน้ำร้อนให้เลือดไปเลี้ยงส่วนที่ปวดสักระยะหนึ่งก็จะทุเลา ถ้าหากใช้
ยาควรใช้ระยะสั้นโดยยาที่ใช้ได้แก่ยาแก้ปวดที่ผสมยาคลายกล้ามเนื้อด้วย การปวดจากการ
อักเสบเฉียบพลันของกล้ามเนื้อหรือเอ็นใช้ยาแก้ปวด NSAID โดยอาจใช้ขนาดยาที่สูงกว่า
ที่ใช้ทั่วไปติดต่อกันระยะสั้น อาจใช้ยาคลายกล้ามเนื้อร่วมไปด้วยในระยะแรก การปวดจาก
โรคอื่นนอกจากใช้ยาแก้ปวดทั่วไปแล้วจะต้องรักษาโรคต้นเหตุควบคู่ไปด้วย
การรับประทานยาแก้ปวด NSAID นั้นควรรับประทานหลังอาหารทันทีหรือพร้อมอาหารเพื่อ
ป้องกันการระคายเคืองต่อผนังกระเพาะอาหารและลำไส้ และควรระวังอาการแพ้ยาด้วย
เนื่องจากยากลุ่มนี้ทำให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อยครั้งกว่ายากลุ่มอื่นๆ อาการแพ้ที่พบบ่อยได้แก่
ปื้นบวม ลมพิษ หอบหืด โดยทั่วไปควรเลือกใช้ยาที่รับประทานน้อยครั้งต่อวัน หรือถ้า
รับประทานร่วมกับยาคลายกล้ามเนื้อควรเลือกยาที่รับประทานด้วยช่วงเวลาที่เท่ากันเพื่อ
ความสะดวก
เมื่อกล้ามเนื้อ เอ็น หรือข้ออักเสบควรงดเว้นการออกกำลังที่ใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นมาก และ
ควรใช้ผ้ายืดอีลาสติกพันยึดไม่ให้เอ็นหรือข้อส่วนนั้นเคลื่อนไหวมาก เพราะการใช้กล้ามเนื้อ
ส่วนนั้นหรือทำให้เอ็นหรือข้อส่วนนั้นเคลื่อนไหวมากอาจทำให้การอักเสบลุกลามได้
สำหรับผู้ที่กล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลันบ่อยครั้งเนื่องจากกล้ามเนื้อหลังนั้นอ่อนแอ
เพราะขาดการออกกำลัง เช่น ผู้ที่นั่งทำงานอยู่ทั้งวันโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบท เมื่อออกกำลัง
รุนแรงโดยกระทันหันจะเกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อหลังอย่างเฉียบพลัน ควรใช้การบำบัด
อย่างอื่นร่วมไปกับยาแก้ปวดด้วย เช่น กายภาพบำบัด การบำบัดด้วยคลื่นอัลตราซาวน์ หรือ
การออกกำลังกล้ามเนื้อหลังอย่างถูกต้อง และต้องเปลี่ยนลักษณะการนั่งทำงานของตน
ให้เหมาะสม
เพราะเหตุใดในบางครั้ง แพทย์จึงจ่ายยาคลายกังวล หรือยาลดกรด ร่วมกับยาแก้ปวด สาเหตุที่แพทย์บางรายมักจ่ายยาคลายกังวลร่วมกับยาแก้ปวดเนื่องจากผู้ป่วยที่มีอาการปวด
โดยเฉพาะการปวดเรื้อรังมักมีอาการวิตกกังวลร่วมอยู่ด้วยซึ่งทำให้การรับรู้ความเจ็บปวด
สูงขึ้น ยิ่งผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุความวิตกกังวลนั้นอาจรุนแรงจนเป็นปัญหาต่อการนอนหลับ
ดังนั้นยาคลายกังวลที่ใช้จึงช่วยทำให้ผู้ป่วยสนองตอบต่อยาแก้ปวดได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดีการใช้
ยาคลายกังวลร่วมกับยาแก้ปวดนั้นต้องพิจารณาแล้วว่ามีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเฉพาะรายนั้น
จริงๆ จึงไม่ใช่วิธีปฏิบัติทั่วไป และใช้กับอาการปวดเรื้อรังเป็นส่วนใหญ่
การจ่ายยาลดกรดร่วมกับยาแก้ปวด NSAID นั้นเนื่องจากต้องการป้องกันผลกระทบต่อ
กระเพาะอาหารของยาแก้ปวด เนื่องจากยาแก้ปวด NSAID นั้นอาจทำให้เกิดแผลใน
กระเพาะอาหารจากการระคายเคืองโดยตรงและจากการยับยั้งการสังเคราะห์พรอสตา-
แกลนดินที่มีฤทธิ์เพิ่มความต้านทานของผนังกระเพาะอาหาร การใช้ยาลดกรดจะช่วยสะเทิน
กรดในกระเพาะซึ่งเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดแผลในกระเพาะและลดการระคายเคืองโดยตรงของ
ยา อย่างไรก็ตามยาลดกรดไม่ได้เสริมความต้านทานของผนังกระเพาะอาหาร ดังนั้นจึงแก้
ปัญหานี้ได้เพียงบางส่วน ในบางครั้งการใช้ยาลดกรดร่วมกับยาแก้ปวดหรือยาอื่นอาจรบกวน
การดูดซึมของยานั้นซึ่งเกิดผลเสียต่อการรักษา ดังนั้นแพทย์หลายรายมักให้ยาที่เป็นอนุพันธุ์
ของพรอสตาแกลนดินร่วมกับยาแก้ปวด NSAID เพื่อช่วยเสริมความต้านทานของผนัง
กระเพาะอาหาร แต่ในขณะเดียวกันก็จะเพิ่มผลข้างเคียงของพรอสตาแกลนดินเข้าไปด้วย
และไม่ควรใช้กับป่วยที่ตั้งครรภ์
ปัจจุบันมียาแก้ปวด NSAID รุ่นใหม่บางตัวที่ลดผลข้างเคียงด้านการเกิดแผลในกระเพาะ
อาหารลงโดยวิธีการต่างๆ แต่ยาเหล่านั้นราคาแพงจึงอาจไม่คุ้มค่าในการรักษาอาการปวด
ในผู้ป่วยทั่วไป มักเลือกใช้เฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยมีแนวโน้มเกิดแผลในกระเพาะอาหารอยู่ก่อน
แล้วเท่านั้น
โดยสรุปการใช้ยาแก้ปวดร่วมกับยาคลายกังวล ยาลดกรด หรือยาเพิ่มความต้านทานผนังกระ-
เพาะอาหาร ควรพิจารณาผู้ป่วยเฉพาะกรณีและเลือกใช้ให้เหมาะสมตามความจำเป็นเท่านั้น
ถ้าเด็กเล็กมีอาการไข้ (ตัวร้อน) ควรทำอย่างไร อาการไข้ (ตัวร้อน) ในเด็กทารกเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรใส่ใจให้มาก เนื่องจากเด็กทารกไม่สามารถ
บอกได้ว่ารู้สึกหรือเจ็บป่วยอย่างไร พ่อแม่ต้องคอยสังเกตุจากอาการที่ปรากฏ อาการไข้ในเด็ก
ทารกนั้นควรรีบแก้ไขเนื่องจากถ้าปล่อยให้เด็กทารกตัวร้อนจัดหรือไข้สูงนานๆ อาจเกิดการชัก
ชนิดไม่หยุดพักได้ซึ่งมีอันตรายต่อเด็กเป็นอย่างยิ่ง เพราะเด็กจะชักไม่หยุดทำให้กล้ามเนื้อทาง
เดินหายใจเกร็งจนหายใจไม่ได้และอาจขาดออกซิเจนจนเกิดผลเสียต่อสมองได้ ดังนั้นเมื่อเด็ก
ทารกตัวร้อนให้รีบเช็ดตัวเด็กเพื่อระบายความร้อนและให้ยาลดไข้ นอกจากนั้นต้องคอยดูแลเด็ก
อยู่ตลอดเวลาเพื่อสังเกตุอาการ พร้อมกันนั้นต้องหาสาเหตุของอาการไข้นั้นว่าเกิดจากอะไร
และแก้ไขรักษาที่ต้นเหตุ เช่น ถ้าเกิดจากการติดเชื้อก็ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น
ยาลดไข้ส่วนใหญ่ที่ใช้กับเด็กทารกคือยาน้ำเชื่อมหรือยาหยดพาราเซตามอล อย่างไรก็ดีในกรณี
ที่ต้องใช้ยาลดไข้ติดต่อกันระยะยาวในเด็กเล็กควรสลับกันไประหว่างพาราเซตามอลและแอส-
ไพริน ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงผลพิษต่อตับจากพาราเซตามอล เนื่องจากระบบการป้องกันตัว
ของตับในเด็กทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่
creatie :
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์