เมื่อมีการจ่ายแรงดัน 12v. เข้าที่จุด B ทำให้มีกระแสไหลผ่าน R2 เข้าสู่ขา base ของ Q2 และมีกระแสไหลผ่าน R4 เข้าสู่ขา base ของ Q4 ทำให้ Q2 และ Q4 ทำงาน (On) เปรียบเสมือนสวิทช์ปิดวงจร ส่งผลให้มีกระแสไหลจากแหล่งจ่าย (12v.) ผ่านขา Collecter และEmitter ของ Q4 ผ่านเข้าสู่ขั้วลบ (-) ของมอเตอร์ ผ่านไปยังขา Collecter และEmitter ของ Q2 ทำให้มีกระแสไหลผ่านมอเตอร์ในทิศทางลบ และครบวงจร จึงทำให้มอเตอร์สามารถหมุน ในทิศทาง Reward ได้
สำหรับผู้ที่คิดจะทดลองทำวงจรนี้เล่นดู แต่กลัวว่าจะหาซ้ออุปกรณ์ไม่ได้นั้น ผมขอให้ทุกคนสบายใจได้ครับ ทุกอย่างมีขายในประเทศไทยครับ เพราะผมไม่ได้อุ๊ปอิ๊ปไปก๊อปฟรั่งมา (คือพอดีที่บ้านมีเบอร์นี้ครบ 4 ตัวน่ะครับ) ทรานซิสเตอร์ถ้าซื้อตามร้านอิเล็กทรอนิคส์ทั่วไป ราคาไม่น่าจะเกินตัวละ 5 บาท (ผมซื้อที่บ้านหม้อ ร้านโชคชัย ตัวละสองบาทกว่าๆ) ไดโอดตัวละ 3 บาท (ซื้อบ้านหม้อตัวละบาทเดียว) รีซิสเตอร์ ตัวละห้าสิบสตางค์ (ซ้อบ้านหม้อตกตัวละสิบสตางค์) เพราะฉะนั้น ถ้าอยากทำ ก้อทำเถอะครับ ทั้งวงจรตกสามสิบกว่าบาทเอง....
ระวัง!!! อย่าทำให้ทรานซิสเตอร์ทั้ง 4 ตัว ทำงานพร้อมกันอย่างเด็จขาด เพราะจะทำให้เกิดการลัดวงจร (ไม่เชื่อก็ลองจิ...)
ถึงแม้ว่าการสร้างวงจร H-Bridge switching จาก Transistor นั้นจะไม่มีปัญหา การรบกวนจากอำนาจสนามแม่เหล็ก และยังสามารถตอบสนองการทำงานได้เร็วมาก (เร็วกว่ารีเลย์แสนเท่า) แต่ก็ยังมีอุปกรณ์หลายตัว ทำให้วงจรมีขนาดใหญ่ และวุ่นวาย คราวหน้า ผมจะมาแนะนำวงจร H-Bridge Switching ที่อยู่ในรูปแบบของ IC ที่สามารถนำมาใช้งานได้ง่าย และสะดวกสบายกว่านี้ครับ (ที่ชมรมก็ใช้ตัวนี้ครับ) @^_^@
เครดิต >
http://www.mut.ac.th/~c_micro/knowledge/circuit/dc_con03.html