รู้จักลุ่มน้ำปากพนังการแบ่งเขตพื้นที่น้ำจืดและน้ำกร่อย เนื่องจากในพื้นที่มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม อาชีพทำนาข้าวและทำนากุ้งในเรื่องของการใช้น้ำและการระบายน้ำทิ้ง การทำนากุ้งจะต้องมีการถ่ายเทน้ำเสียจากบ่อกุ้งทิ้ง ซึ่งน้ำเสียดังกล่าวได้ทำความเสียหายและเดือดร้อนแก่ชาวนามาก เพราะทำให้ดินเค็ม ปลูกข้าวได้ผลผลิตต่ำ การแบ่งเขตระหว่างพื้นที่น้ำจืดและน้ำกร่อยอย่างชัดเจนจะเป็นการแก้ปัญหาดัง กล่าวได้อย่างดี ดังนั้นทางกรมชลประทาน กรมประมง กปร. และกองทัพภาคที่ 4 ได้ประชุมปรึกษาหารือและมีความเห็นร่วมกันว่า หากต้องการรักษาระบบนิเวศวิทยาของลำน้ำในเขตพื้นที่โครงการ ควรจะมีการแบ่งเขตการใช้ที่ดินระหว่างนากุ้งและนาข้าว โดยได้ตกลงให้มีการแบ่งเขตดังนี้
1. ด้านทิศตะวันออกเลียบชายฝั่งทะเล กำหนดให้คลองหัวไทรตั้งแต่อำเภอหัวไทรไปทางทิศเหนือจนถึงบรรจบคลองเสือหึง เป็นเขตน้ำกร่อย แนวกั้นน้ำเค็มช่วงนี้ส่วนใหญ่จะลัดเลาะไปตามแนวถนนเดิมแนวแบ่งเขตที่ต่อไป ทางทิศเหนือจะวิ่งลัดเลาะไปตามแนวถนนท้องถิ่นไปจนถึงคลองท่าพญา แนวคันกั้นน้ำช่วงนี้จะมีบางช่วงที่ไม่ใช่แนวถนนเดิม จึงต้องมีการจัดหาที่ดินเพื่อการนี้ต่อจากคลองท่าพญาขึ้นไปทางเหนือ คันกั้นน้ำเค็มจะเลียบไปทางฝั่งตะวันออกของคลองท่าพญาตามแนวถนนเดิมทั้งหมด จนไปถึงประตูระบายน้ำปากพนัง สำหรับทางด้านใต้ของอำเภอหัวไทร แนวกั้นน้ำเค็มจะเริ่มจากถนนหลวง 4017 ตัดผ่านท้องนาแล้วมาบรรจบกับถนนเดิมเลียบคลองหัวไทรไปจนถึงปากระวะ
2. ด้านทิศเหนือเลียบอำเภอปากพนัง ใช้ แนวถนนลูกรังเดิม เป็นแนวคันกั้นน้ำเค็ม โดยเริ่มจากประตูระบายน้ำปากพนังขึ้นไปทางเหนือจนถึงถนนหลวง 4013 แล้วลัดเลาะไปตามแนวถนนที่ขนานไปกับอ่าวปากพนังจนถึงบริเวณคลองบางจาก แล้วใช้แนวถนนริมคลองบางจากทั้งสองฝั่งเป็นแนวคันกั้นน้ำเค็มต่อจากคลองบาง จากไปทางทิศตะวันตกจะมีแนวถนนที่สามารถต่อไปจนถึงคลองปากนครหรือคลองหัวตรุด
การรุกตัวของน้ำเค็ม อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงที่ปากแม่น้ำเป็นตัวแปรที่ สำคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อการรุกล้ำของน้ำเค็ม ถ้าการขึ้นลงของระดับน้ำทะเลที่ปากแม่น้ำมีความรุนแรงมาก ปริมาณน้ำเค็มก็จะถูกดันเข้าไปในแม่น้ำได้มาก การรุกล้ำของน้ำเค็มจะมีมาก และในทางกลับกันถ้าการขึ้นลงของระดับน้ำทะเลที่ปากแม่น้ำมีความรุนแรงน้อย การรุกล้ำของน้ำเค็มจะมีน้อย ซึ่งจากผลการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาเมื่อปี พ.ศ.2537 ช่วงเดือนเมษายน พบว่าระดับการขึ้นลงของระดับน้ำทะเลส่งผลไปถึงบริเวณอำเภอชะอวดที่อยู่ห่าง จากแม่น้ำปากพนังประมาณ 100 กิโลเมตร
นอกจากนี้ ปัจจัยทางธรรมชาติและปัจจัยที่มนุษย์ก่อขึ้นเองอีกหลายประการมีผลต่อการ รุกล้ำของน้ำเค็ม ปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น ลักษณะทางกายภาพของลำน้ำ ความลึกตื้นของลำน้ำ ส่วนปัจจัยที่มนุษย์ก่อขึ้น เช่น การนำน้ำจืดจากต้นน้ำไปใช้เพื่อการเกษตรมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้ง ทำให้น้ำจืดที่ใช้ผลักดันน้ำเค็มมีน้อยลงและการระบายน้ำเค็มลงสู่ลำน้ำ เนื่องจากมีการเพาะเลี้ยงกุ้งตามแนวชายฝั่งแม่น้ำปากพนังมาก การเปลี่ยนถ่ายน้ำในนากุ้งลงสู่คลองต่างๆ ที่ต่อเชื่อมกับแม่น้ำปากพนังจะเป็นผลให้น้ำเค็มจากนากุ้งไหลลงสู่แม่น้ำปาก พนัง
สภาพน้ำท่วม ลุ่มน้ำปากพนังประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี ระดับความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมในแต่ละพื้นที่ของลุ่มน้ำปากพนังจะมีความ แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสูงต่ำของพื้นที่ ระดับน้ำท่วม และระยะเวลาที่น้ำท่วม ซึ่งสาเหตุของการเกิดน้ำท่วมในบริเวณลุ่มน้ำปากพนัง สามารถสรุปได้ดังนี้
* เกิดจากฝนตกลงมามาก โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคม ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลมาจากต้นน้ำของแม่น้ำปากพนังและลำน้ำสาขามีมาก จากรายงานของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย 2532 ได้สรุปสถิติข้อมูลฝนตกมากที่สุดในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง อันดับ 1 และ 2 ตั้งแต่ปี 2505 พบว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชมีปริมาณน้ำฝนสูงติดอันดับ 1 และ 2 ของภาคใต้ฝั่งตะวันออกถึง 13 ครั้ง ใน 27 ปี ดังนั้นพอสรุปได้ว่าอุทกภัยในลุ่มน้ำปากพนังซึ่งมีพื้นที่ไม่ห่างไกลจากตัว จังหวัดนครศรีธรรมราชมากนัก เกิดขึ้นบ่อยครั้งในอดีต
* เกิดจากระดับน้ำทะเลขึ้นสูง จนน้ำในแม่น้ำปากพนังระบายออกไปได้น้อยหรือมีประสิทธิภาพในการระบายต่ำลง
* ลักษณะทางกายภาพของลุ่มน้ำปากพนัง สภาพพื้นที่มีความลาดชันน้อยประมาณ 22.36 เมตรต่อตารางกิโลเมตร ค่า drainage density = 0.64 กิโลเมตรต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งแสดงว่ามีการระบายน้ำเลวหรือระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้ช้า
* พื้นที่ราบลุ่มในลุ่มน้ำปากพนังมีขนาดกว้างใหญ่มาก เป็น แหล่งเก็บกักน้ำของพื้นที่น้ำท่วมริมฝั่งแม่น้ำเมื่อปริมาณน้ำที่กักขังอยู่ ยังระบายออกไม่หมด และมีพายุลูกใหม่เข้ามาเสริมทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมมากยิ่งขึ้น
* เกิดจากการพัฒนาระบบคมนาคมทั้งถนนและทางรถไฟ ทำ ให้กีดขวางการไหลออกของน้ำในที่ราบลุ่มที่ถูกน้ำท่วม อาทิเช่น ถนนสาย 4017 ระหว่างอำเภอปากพนัง-อำเภอหัวไทร ถนนสาย 4013 ระหว่างอำเภอเมิงและอำเภอปากพนัง และถนนสาย 4151 ระหว่างอำเภอเชียรใหญ่-อำเภอชะอวด นอกจากนี้ยังมีถนน รพช. ซึ่งเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน ถนนเหล่านี้มีท่อลอดหรือทางระบายน้ำน้อยมาก
สภาพภูมิอากาศ เนื่องจากลุ่มน้ำปากพนังตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกภาคใต้ของ ประเทศไทย สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เกิดฤดูกาล 2 ฤดู คือ ฤดูฝนและฤดูร้อน โดยลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ก่อให้เกิดปริมาณฝนในบริเวณพื้นที่ไม่มากนักเพราะมีภูเขาสูงด้านทิศตะวันตก วางแนวขวางทิศทางลม ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านบริเวณอ่าวไทยในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม ก่อให้เกิดปริมาณฝนตกชุก
ลักษณะทางกายภาพและภูมิประเทศ ลุ่มน้ำปากพนังมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม สภาพภูมิประเทศประกอบด้วยเทือกเขาสูงชันทางด้านตะวันตกของพื้นที่ลุ่มน้ำโดย ทอดตัวยาวตามแนวเหนือ-ใต้ เกือบขนานกับแนวชายฝั่งทะเล สภาพของพื้นที่จะลาดเอียงลงมาทางด้านตะวันออกของลุ่มน้ำจนถึงชายฝั่งทะเล โดยจุดสูงสุดของพื้นที่อยู่ที่เทือกเขาหลวงสูง 1,365 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง สภาพพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังแบ่งออกได้ 4 ลักษณะ คือ บริเวณที่เป็นเทือกเขาบรรทัดทางด้านตะวันตกของพื้นที่ลุ่มน้ำ อันเป็นแหล่งต้นกำเนิดของแม่น้ำปากพนังซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของลุ่มน้ำ มีความลาดชันของพื้นที่โดยเฉลี่ยมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ถัดจากพื้นที่ภูเขามาทางด้านตะวันออก สภาพพื้นที่จะค่อยๆ ลาดลงมาเป็นที่ลาดเชิงเขามีลักษณะพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนชันถึงพื้นที่ค่อน ข้างเรียบ ถัดลงมาตอนกลางของพื้นที่ลุ่มน้ำจะปรากฏมีแนวสันทรายทะเลเก่าอยู่ 2 แนว ทอดตัวตามแนวเหนือใต้ และในระหว่างแนวของสันทรายทะเลเก่าทั้งสองนี้จะเป็นที่ราบลุ่มต่ำประกอบด้วย พื้นที่พรุและพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดเป็นส่วนใหญ่ ถัดจากสันทรายทะเลเก่าออกมาทางด้านตะวันออก เป็นพื้นที่ราบลาดเทลงสู่แม่น้ำปากพนังฝั่งตะวันตก เป็นแหล่งปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของลุ่มน้ำปากพนัง ส่วนพื้นที่ฝั่งขวาของแม่น้ำปากพนังกับสันทรายริมทะเลเป็นพื้นที่ราบลุ่ม แอ่งที่ลุ่มอยู่ค่อนไปทางสันทรายและมีแนวเกือบขนานกับสันทราย ด้านที่ชิดกับสันทรายเป็นแอ่งน้ำมีน้ำท่วมขัง
สำหรับ แม่น้ำสายปากพนังมีต้นกำเนิดจากควนหินแท่นและควนหินแก้วทางด้านตะวันตกเฉียง ใต้ของพื้นที่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาบรรทัด บริเวณที่เป็นรอยต่อระหว่างเขต 3 อำเภอ คือ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง และอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ลำน้ำมีทิศทางการไหลจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอชะอวด อำเภอเชียรใหญ่ และอำเภอปากพนัง ลงสู่อ่าวปากพนังบริเวณบ้านปากน้ำ ความยาวของลำน้ำปากพนังจากต้นน้ำถึงจุดที่ไหลลงอ่าวปากพนังยาวประมาณ 150 กิโลเมตร โดยที่แม่น้ำปากพนังตอนต้นเรียกว่าห้วยน้ำใสและคลองไม้เสียบ ช่วงที่ไหลผ่านอำเภอชะอวดและอำเภอเชียรใหญ่เรียกว่าคลองชะอวด ช่วงที่ไหลผ่านอำเภอปากพนังเรียกว่าแม่น้ำปากพนัง ลำน้ำสาขาซึ่งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนของแม่น้ำปากพนังส่วนใหญ่จะไหลลงมาจากเทือก เขาบรรทัดซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตก ลำน้ำสาขาที่สำคัญ ได้แก่ คลองลาไม คลองถ้ำพระ คลองรากไม้ คลองฆ้อง คลองเชียรใหญ่ คลองบางไทร คลองเสาธง คลองชะเมา ฯลฯ ส่วนลำน้ำสาขาทางทิศตะวันออกของแม่น้ำปากพนัง ตั้งแต่ตอนใต้ของอำเภอเชียรใหญ่ลงไปเป็นลำน้ำที่ช่วยระบายน้ำจากแม่น้ำปาก พนังลงทะเล ได้แก่ คลองปากพนัง (คลองหัวไทร) คลองท่าพญา คลองบางพรุ คลองบางทราย คลองบางโด คลองบางไทรปก ฯลฯ
ที่ตั้งและอาณาเขต ลุ่มน้ำปากพนังตั้งอยู่ในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกส่วนที่ 4 ซึ่งเป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลักภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีพื้นที่รวมประมาณ 3,183.89 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,989,932 ไร่ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างลองจิจูดที่ 7 องศง 45 ลิบดา - 8 องศา 30 ลิบดาเหนือ และละติจูดที่ 99 องศา 41 ลิบดา - 100 องศา 30 ลิบดาตะวันออก ครอบคลุมจังหวัดนครศรีธรรมราช 11 อำเภอ ได้แก่ พื้นที่ทั้งหมดของอำเภอปากพนัง อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอชะอวด อำเภอหัวไทร อำเภอพระพรหม และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ บางส่วนของอำเภอลานสกา อำเภอทุ่งสง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช บางส่วนของอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง และอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
อาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง
* ทิศเหนือ จรด อำเภอเมืองและอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
* ทิศใต้ จรด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา และอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
* ทิศตะวันออก จรด อ่าวไทย
* ทิศตะวันตก จรด อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
http://pakpanang.wu.ac.th/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=3&Itemid=8&limitstart=5----------------------------------------
อาหารกินกันแบบง่ายๆรวมญาติพี่ๆน้องๆ .. อร่อยหลายๆ กินไปอ่านข่าวไป