สมานแผลแก้กระเพาะลำไส้ด้วยใบแมงลักใบแมงลัก เป็นพืชล้มลุกที่มีลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย คล้ายกระเพราและโหระพา ใบมีสีเขียวอ่อนหยักเล็กน้อยมีขนอ่อนที่ใบและก้าน ทั้งต้นของแมงลักจะมีกลิ่นหอม ดอกเป็นช่อยาวชูขึ้น มีสีขาว เมล็ดสีดำ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือการปักชำ เจริญเติบโตดีหากได้น้ำหรือปลูกในฤดูฝน ส่วนใหญ่นิยมปลูกเป็นพืชสวนครัว หรือไม่ก็ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ ใบแมงลักกินได้ทั้งสด ๆ หรือนำมาประกอบอาหาร
การนำใบแมงลักมาประกอบอาหารจะนิยมกินที่ยอดอ่อนของมันหรือใบที่ยังไม่แก่ บางคนไม่ชอบกินแมงลักเพราะมีรสเผ็ดนิด ๆ และมีกลิ่น บางคนก็ชอบทานสด ๆ เช่นทานเป็นผักคู่กับขนมจีน นำมาทำแกงเลียงรสชาติหอม หรือนำมาทำแกงกะทิใบแมงลักจะได้รสชาติเผ็ดร้อนถึงใจ เมล็ด ใช้ผสมกับน้ำหวานหรือน้ำเชื่อม กินแล้วช่วยดับร้อนในกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ บำรุงหัวใจให้ชื่นฉ่ำ
สรรพคุณทางยา เมล็ดแมงลักเป็นยาระบาย ช่วยให้ถ่ายสะดวก ส่วนที่ใช้เป็นยา คือ เม็ดแมงลักแก่
ใบแมงลักช่วยขับเหงื่อ ขับลม โดยรับประทานใบสดหรือกับขนมจีน
แก้ไอ แก้โรคทางเดินอาหาร หรือโรคที่เกี่ยวกับลำไส้ โดยรับประทานน้ำต้มใบแมงลัก และบรรเทาอาการปวดฟัน โดยอมหรือบ้วนปากด้วยน้ำต้มใบแมงลักเช่นกัน
แก้ไข้หวัดในเด็ก โดยให้รับประทานน้ำคั้นใบแมงลัก โดยต้องระวังเรื่องการแพ้สารภายในจากต้นแมงลักด้วย
ใบใช้ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง
น้ำมันแมงลักมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อวัณโรค
แก้ขับลมในกระเพาะและลำไส้ บำรุงธาตุ แก้โรคลำไส้พิการ แก้พิษตาลซางในเด็กทารก อารมณ์แจ่มใส ช่วยสมานแผล ช่วยให้แผลหายเร็ว และโรคกระเพาะลำไส้
นอกจากใบแมงลักจะมีสรรพคุณทายาและสามารถรักษาโรคแล้ว ก็ยังประกอบไปด้วยวิตามินต่าง ๆ เช่น วิตามินบี 2 วิตามินซี ธาตุเหล็ก เส้นใยอาหาร และแคลเซียม ที่ช่วยบำรุงร่างกายอีกด้วย
เครดิต :
www.thaihealth.or.t h