จะเช็คแบต(แห้ง)อย่างไรว่าเสียหรือไม่
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 24, 2024, 01:41:59 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จะเช็คแบต(แห้ง)อย่างไรว่าเสียหรือไม่  (อ่าน 17825 ครั้ง)
pimdown
ชุมชนคนรักอาชีพช่าง
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 161


อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 07, 2008, 01:45:13 pm »

จะเช็คแบต(แห้ง)อย่างไรว่าเสียหรือไม่ มีมิเตอร์(ของน้า)แต่ไม่ทราบวิธีการวัดครับ


บันทึกการเข้า

jukkrit
member
*

คะแนน5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 544


ซ่อมในราคาเหมาจ่าย


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2008, 04:56:46 pm »

เหมือนกันทั่วไป ที่ชาทเต็มที่แล้ว12โวลล์จะมีไฟ13โวลล์นั่นแสดงว่ายังแจ๋วแต่จะนานไหมต้องใช้งานจริง
ส่วนการใช้มิเตอร์วัดใช้สายสีดำจับขั้วลบ สายแดงจับบวกตั้งมิเตอร์ย่านDC โวลล์
บันทึกการเข้า

ซ่อมราคาเหมา
DDP Servisc
69/5 ต.ลำภู อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู 39000
0861576639
บริการเครื่องเสียงพร้อมเวที
pimdown
ชุมชนคนรักอาชีพช่าง
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 161


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 08, 2008, 08:36:22 am »

ลองวัดแล้วได้12 โวล แต่พอเอาไปใช้งานกลับใช้ไม่ได้ไฟไม่พอครับ
บันทึกการเข้า
sss0224
member
*

คะแนน7
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 148


ความรู้ไม่มีวันตาย

sss_0224@hotmail.com
« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 08, 2008, 01:26:01 pm »

ลองวัดแล้วได้12 โวล แต่พอเอาไปใช้งานกลับใช้ไม่ได้ไฟไม่พอครับ

ที่ว่าใช้แล้วไฟไม่พอ  เอาไปใช้กับอะไรครับ   ชาร์ตไฟเต็มหรือยัง  ถ้าหากว่าชาร์ตไฟเต็มแล้วใช้ได้แป๊ปเดี่ยว  ก็แบตเก็บไฟไม่อยู่หรือแบตเสื่อมแล้วครับ.... Sad
บันทึกการเข้า

ทำไม่เป็น ทำไม่ได้ หรือไม่ได้ทำ
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: ตุลาคม 09, 2008, 03:50:03 pm »

วิธีใช้มัลติมิเตอร์

          มิเตอร์ เป็นเครื่องมือในการวัดเพื่อบอกปริมาณ กระแส,แรงดัน ,ความต้านทานไฟฟ้า เป็นต้น เรียกชื่อตามการวัดเช่น โวลท์มิเตอร์ ใช้เพื่อวัดแรงดัน หน่วยการวัดเป็น โวลท์ (V) ,โอห์มมิเตอร์ ใช้เพื่อวัด ความต้านทานไฟฟ้า แอมป์มิเตอร์ ใช้เพื่อวัดกระแสไฟฟ้า แต่มีมิเตอร์ที่นิยมการใช้งานมากคือ มิเตอร์ที่สามารถวัด โวลท์,โอห์ม,แอม เรียกว่า มัลติมิเตอร์ การแสดงค่า มี 2 แบบคือแบบ เข็มหรือ อนาล็อก (Analog Meter) หรือแบบตัวเลข (Digital)
      1.แบบอนาล็อก ช่างทั่วไปเรียกง่ายๆว่าแบบเข็ม ตามรูป โวลท์มิเตอร์มีเสกลวัดได้เต็มที่ 5 โวลท์ แต่ละโวลท์ แบ่งเป็นสเกลย่อยได้10ขีดๆละ 0.1 โวลท์ จากรูปจะเห็นว่า อ่านได้1.25 โวลท์ อาจมีบางคนอ่านประมาณว่า 1.2หรือ1.3ก็ได้ จะเห็นได้ว่า ข้อจำกัดคือ ความละเอียดของสเกล
 การอ่าน ค่าที่วัดได้ต้องอ่านระดับสายตา ตรง 90 องศา
ไม่เอียงจะได้ค่าที่แม่นยำขึ้น โดยที่มิเตอร์จะมีกระจก สะท้อน ด้านหลัง
เข็มซึงการอ่านที่ถูกต้อง จะต้องมองไม่เห็นเงา เข็ม ตามรูป
             การอ่านที่ถูกต้อง  การอ่านค่าที่ไม่ถูกต้อง
เปรียบเทียบ ข้อดี-ข้อเสียของมิเตอร์แบบเข็ม
ข้อดี   ข้อเสีย
1.ราคาถูก   .1.ความละเอียดต่ำกว่าแบบ ดิจิตอล
2.ใช้งานง่าย โดยทั่วไปจะคุ้นเคยกว่า   2.ความเที่ยงตรงต่ำกว่าแบบ ดิจิตอล
3.คุณภาพ ปานกลาง   3.ไม่มีระบบป้อง เมื่อวัดผิดขั้ว
4.ใช้กับงานซ่อม เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปได้   4.ไม่นิยมใช้กับโรงงานอุสาหกรรม
5.วัดปริมาณเล็กไม่ได้ เช่น มิลลิโวลท์,มิลลิแอมป์ไม่ได้    
      2.แบบดิจิตอล เป็นการแสดงผลแบบ ตัวเลขใช้งานง่าย แสดงผลชัดเจนกว่าแบบเข็ม มีการพัฒนาการออกแบบใหม่ ไม่ใช่เพียงแสดงผลเท่านั้น
                 
                ตารางเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย ของมิเตอร์แบบดิจิตอล
ข้อดี   ข้อเสีย
1.ใช้งานง่าย อ่านค่าง่าย   1.ราคาแพงกว่าแบบเข็ม
2.มีระบบป้องกันการวัดกลับขั้ว   2.อาจผิดพลาดได้เมื่อวัด เซมิคอนดัคเตอร์
3.เลือกความละเอียด ได้ (ทศนิยม 2-3 ตำแหน่ง)   
4.บางรุ่นเปลี่ยนย่านการวัดอัตโนมัติ (Auto range)    
5. ใช้กับงานวัดอุตสาหกรรมที่ต้องการความละเอียดได้    
6.วัดละเอียดได้เป็น มิลลิแอมป์ หรือ ไมโครแอมป์ ได้    
ข้อสังเกต สำหรับการใช้งานมิเตอร์ ทั้ง 2 แบบ
•  โดยทั่วไป มิเตอร์จะมีแบตเตอร์รี่ภายใน ประมาณ 9 โวลท์
•  ขั้ววัดจะมี สีแดงสำหรับการวัดขั้ว บวก (+) และ สีดำสำหรับการวัด ขั้ว ลบ (-)
•  เมื่อนำไปวัด อุปกรณ์เซมิคอนดัคเตอร์ จะมีการจ่ายไฟออกมากลับขั้ว เช่น สีแดงจะเป็นไฟลบ สีดำจะเป็นไฟบวก
•  เพื่อการใช้งานที่ถูกต้อง ควรต่อขั้วการวัดให้ถูกต้อง แดงคือขั้ว + ดำคือขั้ว - แม้จะมีวงจรป้องกันก็ตาม
ประเภทของมิเตอร์ แบ่งตามประเภทการวัดได้ดังนี้
    1. แอมป์มิเตอร์ (Amp Meter) ใช้วัด กระแสไฟฟ้า ที่ไหลผ่าน มีย่านการวัดตั้งแต่ ไมโครแอม์ ,มิลลิแอมป์,แอมป์ (uA,mA,A)
 
       ลักษณะการต่อวัดเป็นแบบ อนุกรม ( series)
ตามรูป ซึ่งกระแสจะไหลจากขั้วบวกไปลบ หน่วยการวัดเป็น แอมป์ เปรียบเทียบได้ คือ1000 mA=1A=1000000 uA โดยปรกติ ความต้านทานภายในของแอมป์มิเตอร์ต้องต่ำมากเมื่อเทียบกับโหลด เพื่อความเที่ยงตรงในการวัด
     2.โวลท์มิเตอร์ (Volt Meter) เป็นเครื่องมือวัด แรงดัน (Voltage) ซึ่งมีหน่วยการวัดเป็น โวลท์ การวัดต้องวัดคร่อม โหลดที่ต้องการวัด ตามรูปจะวัด แรงดันที่ตกคร่อมหลอดไฟ ต้องต่อขนานกับหลอดไฟ (Parallel) และต้องมีความต้านทานภายใน สูงมาก
 
      สัญลักษณ์  ลักษณะการต่อวัด
 
           ตัวอย่างการวัดโวลท์ในวงจร
วิธีการวัดมีขั้นตอนดังนี้
1.ใช้ขั้วดำ (ลบ) จับที่จด 0V เช่น ที่ขั้วลบแบตเตอรี่
2. ใช้ขั้วแดง(บวก) วัดตามจุดที่ต้องการเช่นขา 8 หรือ ขา2 ของ IC 555
3. อ่านค่าที่วัดได้
    3. โอห์มมิเตอร์ (Ohm Meter)เป็นเครื่องมือในการวัดความต้านทาน มีหน่วยเป็น โอห์ม (Ohm)
หน่วยในการวัดเทียบได้ดังนี้ 1000  = 1K  ,1000 K  = 1000000  = 1M 
    4. มัลติมิเตอร์ (Multimeter) เป็นเครื่องมือวัดที่นิยมมากในงานซ่อม ซึ่งเป็นการรวม เอา โวล์ทมิเตอร์,แอมมิเตอร์ ,โอห์มมิเตอร์ เข้าด้วยกัน โดยมีสวิทช์ เลือก ย่านการวัดและประเภทที่จะวัด วัดได้ทั้งไฟตรง (D.C= Direct Current)
และไฟสลับ (Alternating Current) ในบางรุ่นหรือบางยี่ห้อสามารถวัด ไดโอด หรือ ทรานซิสเตอร์ได้อีกด้วย
 มัลติมิเตอร์ แบบเข็ม  มัลติมิเตอร์แบบ ดิจิตอล
      4.1 มิลติมิเตอร์แบบเข็มหรือ Analog Multimeter เป็นที่นิยมตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน การทำงานโดยใช้ กระแสไฟฟ้า ไหลผ่านแล้ทำให้ เกิดสนามแม่เหล็ก ผลักให้เข็มเคลื่อนที่ สิ่งที่ต้องคำนึงในการใช้งานคือ ความไวในการ วัด หรือ Sensitivity โดยทั่วไปอยู่ที่ 20 K  / V แหล่งจ่ายจากแบตเตอรี่ภายใน แบบก้อนสี่เหลี่ยม 9โวลท์ นอกจากจ่ายเลี้ยงวงจรแล้วยัง ใช้เพื่อการวัด ไดโอด หรือ ทรานซิสเตอร์ด้วย ย่าน (Range) การวัดของมัลติมิเตอร์ โดยทั่วไปเป็นดังนี้
DC Volt มีย่าน 0.5 V,2.5V,10V,50V,250V,1000 V
AC Volt มีย่าน 10 V,50V ,250V ,1000 V
DC Current มีย่าน 50 µ A,2.5 mA,25 mA,250 mA
R มีย่าน 20  ,200  ,2 K  ,20 K  ,200 K 
นอกจากนี้ยังสามารถวัด ไดโอด ,ทรานซิสเตอร์ ,วัดหาขา ทรานซิสเตอร์ ,วัดไฟสูง 10 KV ,วัดกระแสสูง 10 A เป็นส่วนเพิ่มเติม
การใช้งานมัลติมิเตอร์ เพื่อให้การใช้งานอย่างถูกต้อง และยืดอายุการใช้งาน มัลติมิเตอร์ ขอแนะนำการใช้เบื้องต้นดังนี้
•  เลือกย่านการวัด สูงกว่าค่าที่จะวัด ไว้ก่อน หากไม่แน่ใจ ให้ตั้ง ย่านสูงๆ ไว้แล้วค่อยลด ย่านลงมาที่ละย่าน
•  การวัดต้องแน่ใจว่า ขั้วที่จะต่อวัดถูกต้องแล้ว โดยเฉพาะการวัดไฟ DC หากมีการวัดกลับขั้วจะทำให้มิเตอร์เสียได้ ถึงจะมีบางรุ่นที่มีวงจรป้องกัน ก็ไม่ควรประมาท
•  เมื่อทำการวัด สังเกตเห็นเข็มมิเตอร์ขึ้นอย่างรวดเร็ว ขวาสุด ให้รีบถอดสายวัดทันที เพื่อเลือกย่านให้สูงขึ้น ค่อยวัดใหม่อีกครั้ง
การอ่านค่าการวัด
 สเกลมัลติมิเตอร์ แบบเข็ม
ก่อนที่จะวัด เราต้องทราบก่อนว่าเราตั้งย่านการวัดเป็นอะไร ต้องมีการคูณ 10หรือ 100 หรือไม่ต้องคูณ เนื่องจากมัลติมิเตอร์มีหลายสเกล ในหน้าปัดเดียวกัน อาจทำให้สับสนกับค่าที่อ่านได้ ตัวอย่างง่ายๆสำหรับการอ่านค่า ตามรูปเมื่อวัด และเข็มชี้ตามรูปนั้นเราอ่านได้ดังนี้
DC volt อ่านได้ 4.4 โวลท์ สำหรับย่าน 10 โวลท์
DC Volt อ่านได้ 22 โวลท์ สำหรับย่าน 50 โวลท์
DC mA อ่านได้ 11 มิลลิแอมป์ สำหรับย่าน 25 มิลลิแอมป์
AC volt อ่านได้ 4.45 โวลท์ สำหรับย่าน 10 โวลท์
ในการใช้ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ วัด กระแสและโวลท์ สามารถอ่านค่าได้โดยตรง แสดงเป็นตัวเลขค่าที่ถูกต้อง ไม่ยุ่งยากเหมือน มิเตอร์แบบเข็ม
การวัด ความต้านทาน มีข้อที่ต้องระวังคือ 1.ต้องเป็นการวัดอุปกรณ์โดยตรง จึงจะมีความเที่ยงตรง การวัด ความต้านทานในวงจรจะได้ค่าไม่ถูกต้อง เพราะ มีอุปกรณ์ตัวอื่นต่ออยู่ จึงควรถอดอกมาวัดจะดีกว่า 2. ต้องไม่มีแหล่งจ่ายไฟอยู่ เพราะจะทำให้มิเตอร์เสียหายได้
การวัดความต้านทานด้วยมิเตอร์แบบเข็ม ปกติสเกลของ โอห์มมิเตอร์จะอยู่บนสุด และค่า สเกลจะกลับด้านกับ แอมหรือโวลท์ โดย ศูนย์ (zero) จะเริ่มจากขวามือ และ สเกลแต่ละช่วงไม่เท่ากันตลอด (non linear) และที่สำคัญมีสเกลเดียว ไม่เหมือนโวลท์ มีหลายสเกล หลักการใช้คือ
•  เลือกย่านการวัดให้เหมาะกับค่า ค.ต.ท ที่จะวัด เพื่อจะได้อ่านค่าได้ง่าย
•  ก่อนทำการวัดต้องทำการปรับตำแหน่งเข็มให้ชี้ที่ ศูนย์เสมอ โดยการแตะสายวัด แดงและดำเข้าด้วยกัน ค้างไว้และทำการปรับ Zero Adjust ที่ปุ่ม 0  ADJ จะค่าอ่านได้ 0 หากปรับแล้วยังไม่ลงที่ ศูนย์ เป็นไปได้ว่าแบตเตอร์รี่ ภายในหมด
•  เมื่อปรับได้แล้วให้นำขั้วสาย แดงและดำจับที่ขาของอุปกรณ์ที่ต้องการวัด และอ่าค่าเมื่อเข็ม นิ่ง
การอ่านค่า ต้องอ่านที่เสกล บนสุด และ ดูที่ย่านการวัดว่าตั้งเท่าไหร่จึงจะต้อง คำนวณอีกครั้งว่าต้องคูณ 1 หรือ คูณ10 หรือ คูณ 100
การวัดความต้านทานด้วยมิเตอร์แบบดิจิตอล มีหลักการวัดดังนี้
•  เลือกย่านการวัด ให้สูงกว่าค่าที่จะวัด หากเลือกย่าต่ำแต่ค่าอุปกรณ์สูง จะมีข้อความบอก
•  แตะสายวัดทั้งสอง สีดำและแดง เข้ากันเพื่อทำการปรับ ศูนย์ และอ่านค่า ได้ 0 โอห์มหรือไม่ หากไม่ได้ให้กดปุ่มเซ็ท set zero
•  นำสายวัด แตะที่ขาอุปกรณ์เพื่อวัดและอ่านค่าที่วัดได้ ระวังอย่าให้มือแตะที่ขาอุปกรณ์หรือ ปลายโลหะขณะทำการวัดเพราะจะทำให้ผิดพลาดได้
                                                             
บันทึกการเข้า
pimdown
ชุมชนคนรักอาชีพช่าง
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 161


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2008, 07:59:42 am »

ขอบคุณครับกระจ่างมากเลย.....
บันทึกการเข้า
bancha.2518
member
*

คะแนน42
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1066


ลูกสาว ครับ


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2008, 12:08:35 am »

ไม่ขั้ว บวก ก็ ลบ แหละครับ ข้างในขาด javascript:void(0);
เยี่ยมมาก
บันทึกการเข้า
ถาวร-LSVteam
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน955
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7987



อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2008, 11:31:33 am »

ง่ายๆ ต่อโหลดแล้วไฟตก  ลองเอาไฟ16Vมาต่ช๊าจมันดู วัดไฟไว้เลย ถ้าไฟ ขึ้นมาที่13 ก็น่าจะดี แต่ถ้าขึ้นมา15-16Vโยนทิ้งได้เลย ไม่ใช่สิเอาไปเทินยังพอมีค่าหน่อย
บันทึกการเข้า

ยังสร้างความฉิบหายให้ประเทศไทยไมพอกันอีกหรือ 
 ผู้ใดคิดร้ายให้ร้ายพระองค์ มันจงพินาจฉิบหายในเวลาอันใกล้
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!