ผมเอาข้อมูลเรื่องไมโครโฟน มาให้ดูเบื้องต้นก่อนนะครับ เผื่อเป็นประโยชน์
ส่วนรูปการต่อเดี๋ยวตามมา
Microphone Impedance ไมโครโฟนอิมพีเด้นท์ค่าอิมพีเด้นท์ของไมโครโฟนคือ ค่าความต้านทานทางไฟฟ้ากระแสสลับต่อการไหลของกระแสไฟฟ้า โดยทั่วไปค่าอิมพีเด้นท์ของอุปกรณ์ที่ต่อกับไมโครโฟนหรือ Load ในที่นี้คือ Mixer หรือภาค Pre-Amp จะต้องมีค่าเป็น 10 เท่าของค่าอิมพีเด้นท์ของไมโครโฟน เราสามารถแบ่งไมโครโฟนตามค่าอิมพีเด้นท์ได้เป็น 2 แบบ คือ แบบ ไฮ อิมพีเด้นท์ (High Impedance) และ แบบ โล อิมพีเด้นท์ (Low Impedance)
ไฮ-อิมพีเด้นท์ไมโครโฟน (High Impedance Microphone)จะมีค่าอิมพีเด้นท์ (Impedance) อยู่ระหว่าง 5 กิโลโอห์ม(Kilo Ohm) หรือมากกว่านี้โดยไมโครโฟนประเภทนี้ได้แก่ ไมโครโฟนประเภท ไพอีโซ อีเลคทริก (Piezo Electric) คอนเทค พิกอัพ (Contact Pick- up) และกีตาร์ พิกอัพ (Guitar Pick-up) และไมโครโฟนที่มีราคาถูกทั้งหลายที่พบเห็นในท้องตลาดหรือที่พบเห็นกันบ่อยๆ คือไมโครโฟนที่แถมมากับเครื่องเล่น V D O KARAOKE ทั้งหลาย
โล -อิมพีเด้นท์ไมโครโฟน ( Low Impedance Microphone)จะมีค่าอิมพีเด้นท์(Impedance) อยู่ระหว่าง 150 - 400 โอห์ม ในงานระบบเสียงมืออาชีพจะใช้ไมโครโฟนที่เป็นแบบโล -อิมพีเด้นท์ไมโครโฟน (Low Impedance Microphone) ทั้งหมดเนื่องจากมีความจำเป็นจะต้องเดินสายไมโครโฟนที่ค่อนข้างยาว ซึ่งคุณสมบัติของการรับคลื่นรบกวนจากภายนอกนั้นมีน้อยกว่าไมโครโฟนที่เป็นแบบไฮ อิมพีเด้นท์ไมโครโฟน(High Impedance Microphone) และยิ่งกว่านั้น คือ ไมโครโฟนประเภท โล -อิมพีเด้นท์ไมโครโฟน (Low Impedance Microphone) จะสามารถใช้กับสายไมโครโฟนที่มีความยาวมากๆ เป็นร้อยๆ ฟุตได้แต่ไมโครโฟนประเภท High Impedance จะจำกัดอยู่ที่ไม่เกิน 20 ฟุต ซึ่งถ้าเกินกว่านี้ก็จะทำให้เกิดการรบกวนเข้ามาทางสายได้
ในการใช้งาน ไฮ -อิมพีเด้นท์ไมโครโฟน (High Impedance Microphone) เมื่อต่อเข้ากับโล อิมพีเด้นท์ โหลด (Low Impedance Load) หรือต้องการเดินสายให้ยาวขึ้นนั้นมีความจำเป็นต้องใช้ แมทชิ่งทรานฟรอมเมอร์ (Matching Transformer) เพื่อเปลี่ยนจากค่าไฮ -อิมพีเด้นท์ (High Impedance) มาเป็นค่าโล -อิมพีเด้นท์ (Low Impedance) ที่เหมาะสมจะไปใช้งานกับอินพุท (Input) ของอุปกรณ์ที่ต่อร่วมอยู่ สิ่งที่แตกต่างกันและสังเกตได้ไม่ยากระหว่าง ไฮ -อิมพีเด้นท์ไมโครโฟน (High Impedance Microphone) กับโล -อิมพีเด้นท์ไมโครโฟน (Low Impedance Microphone) คือการสังเกตที่ตัวคอนเนคเตอร์ (Connector) ที่ใช้กับสาย ไมโครโฟนแบบ High Impedance จะใช้ Connector ประเภทโฟนปลั้ก ( Phone Plug) และใช้สายแบบอันบาลานซ์ (Unbalance) ส่วนโล -อิมพีเด้นท์ไมโครโฟน (Low Impedance Microphone)จะใช้ คอนเนคเตอร์ประเภท X L R คือมีขา 3 ขาซึ่งสายที่ใช้ก็มี 3 เส้นซึ่งเป็นแบบ บาลานซ์ ( Balance Cable) ด้วย
Balance & Unbalance Cable (สายไมโครโฟน แบบบาลานซ์ และแบบอันบาลานซ์)สายไมโครโฟนนั้นมีความสำคัญมากและรวมถึงการต่อสายไมโครโฟนก็สำคัญมากด้วยสายไมโครโฟนนี้ทำหน้าที่เป็นเส้นทางเดินของสัญญาณเสียงไปสู่จุดหมายปลายทาง ซึ่งคุณสมบัติของสายก็มีความสำคัญต่อสัญญาณเสียงที่ผ่านไปด้วยแต่จะไม่ขอกล่าวในที่นี้ แต่อยากจะกล่าวถึงการต่อสายไมโครโฟนซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบบาลานซ์(Balance Circuit) และ แบบอันบาลานซ์ (Unbalance Circuit)
การต่อแบบอันบาลานซ์ ( Unbalance Circuit)เหมาะกับการเดินสายแบบสั้นๆ และเป็นแบบระบบ 2 ตัวนำ ตัวนำหนึ่งจะนำสัญญาณเสียง ส่วนอีกตัวนำหนึ่งหรือเรียกว่า ชีลด์ (Shield) จะต่ออยู่กับกราวน์ (Ground) ข้อเสียของการต่อแบบนี้คือ ไม่สามารถเดินสายให้ยาวได้ตามต้องการเนื่องจากจะเกิดการรบกวนขึ้นตามสายเป็นเงาตามตัวกับความยาวของสายที่ใช้ การรบกวนนี้เรียกว่าการรบกวนแบบ อีเลคโตรสแตติกอินเตอร์เฟียร์เร็น (Electro Static Interference) ซึ่งการรบกวนนี้เกิดมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น หลอดฟลูโอเรสน์เซนต์ และมอเตอร์ไฟฟ้าโดยจะทำให้เกิดเสียงบัส( Buzz ) ที่ทางเอ้าพุท( Output )ของระบบเสียงและยังทำให้ค่าอิมพีเด้นท์ ( Impedance ) ของการต่อระบบอันบาลานซ์ (Unbalance ) ยิ่งสูงตามไปด้วย เพราะฉะนั้นการต่อสายแบบอันบาลานซ์ ( Unbalance) จึงไม่เหมาะกับการต่อเพื่อใช้งานในระยะไกล ส่วนใหญ่แล้วไม่ควรเกิน 6 เมตร หรือประมาณ 20 ฟุต ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องไมโครโฟนอิมพีเด้นท์ (Microphone Impedance)
การต่อแบบบาลานซ์ (Balance Circuit)จะเป็นแบบระบบ 3 สาย โดยตัวนำ 2 ตัวจะเป็นตัวนำสัญญาณเสียง และอีกตัวหนึ่งตัวนำหรือที่เรียกว่า ชีลด์ (Shield) นั้นต่ออยู่กับกราวน์ (Ground) การต่อแบบบาลานซ์ (Balance) นี้จะใช้กับไมโครโฟนที่เป็นแบบ โล-อิมพีเด้นท์ (Low Impedance Microphone) โดยระบบบาลานซ์ (Balance)นี้จะปลอดสัญญาณรบกวนได้ดีกว่าแบบอันบาลานซ์ (Unbalance) และใช้กันมากในระบบเสียงที่เป็นแบบมืออาชีพโดยตัวคอนเนคเตอร์ (Connector) ที่มาต่อกับสายแบบบาลานซ์ (Balance) นี้จะเป็นแบบ X L R เสียเป็นส่วนใหญ่ซึ่งเหตุผลที่ใช้คอนเนคเตอร์แบบ XLR นี้เพราะมี 3 ขาและมีการชีลด์ (Shield) ที่ดีและสามารถล๊อคได้และขา กราวน์ (Ground ) จะสัมผัสก่อนขาอื่นๆเพื่อป้องกันการเกิดเสียงปุ๊บขึ้นและตัดการรบกวนจากสายออกไปด้วย มาถึงตอนนี้แล้วเราคงเข้าใจและสามารถเลือกได้ว่าในการต่อสายใช้งานไมโครโฟนควรจะเป็นแบบ บาลานซ์ (Balance) หรือแบบอันบาลานซ์ (Unbalance) ซึ่งแบบบาลานซ์ (Balance) ดูเหมือนจะเป็นการต่อใช้งานที่ได้ผลดีที่สุดในงานระดับอาชีพแล้วนั้นหมายความว่าค่าใช้จ่ายก็สูงตามไปด้วยแต่ก็คุ้มกับการลงทุนไม่ใช่หรือ