อานิสงส์ การเจริญเมตตา
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อานิสงส์ การเจริญเมตตา  (อ่าน 4470 ครั้ง)
ntt♥
กลุ่มสนับสนุนLSV+มีน้ำใจ
member
****

คะแนน287
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 848



อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 31, 2008, 10:29:30 pm »

                                                                                                                                                                                                                                                    อานิสงส์ การเจริญเมตตา

เอวัม เม สุตัง, ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้, เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม, สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า, เสด็จประทับอยู่ที่เชตวันมหาวิหาร, ซึ่งเป็นอารามของอนาถปิณฑิกคฤหัสบดี ใกล้เมืองสาวัตถี ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขุ อามันเตสิ ภิกขะโวติ, ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายว่า, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภะทันเตติ ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง, ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว, ภะคะวา เอตะทะโวจะ,

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า, เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เมตตาอันเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นแห่งจิตนี้, อาเสวิตายะ, อันบุคลบำเพ็ญจนคุ้นแล้ว ทำให้มากแล้ว, พะหุลีกาตายะ ยานีกะตายะ, ทำให้มากคือ, ชำนาญให้เป็นยวดยานของใจ, วัตถุกะตายะ อะนุฎฐิตายะ, ให้เป็นที่อยู่ของใจตั้งไว้เป็นนิตย์, ปะริจิตายะ, อันบุคคลส่งเสริมอบรมแล้ว บำเพ็ญดีแล้ว, เอกาทะสานิสังสา ปาฎิกังขา, ย่อมมีอานิสงส์ สิบเอ็ดประการ, กะตะเม เอกาทะสะ,
อานิสงส์สิบเอ็ดประการ อะไรบ้าง,
(๑) สุขังสุปะติ, คือ (ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น) หลับอยู่ก็เป็นสุฃสบาย
(๒) สุขัง พุชฌะติ, ตื่นขึ้นก็เป็นสุขสบาย,
(๓) นะปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ, ไม่ฝันร้าย
(๔) มะนุสสานัง ปิโยโหติ, เป็นที่รักของเหล่ามนุษย์ทั้งหลาย,
(๕) อะมะนุสสานัง ปิโยโหติ, เป็นที่รักของเหล่าอมนุษย์ทั่วไป,
(๖) เทวะตารักขันติ, เทวดาย่อมคุ้มครองรักษา
(๗) นาสสะอัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ, ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี ศัตราก็ดี ย่อมทำอันตรายไม่ได้,
(๘) ตุวะฎัง จิตตังสะมาธิยะติ, จิตย่อมเป็นสมาธิได้โดยเร็ว,
(๙) มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ, ผิวหน้าย่อมผ่องใส,
(๑๐) อะสัมมุฬโห กาลัง กะโรติ, เป็นผู้ไม่ลุ่มหลง ทำกาลกิริยาตาย,
(๑๑) อุตตะรัง อัปปะฎิวำชฌันโต, พรัหมะโลกูปะโค โหติ, เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษอันยิ่งๆขึ้นไป, ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล,

เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เมตตาอันเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นแห่งจิตนี้, อาเสวิตายะ, อันบุคลบำเพ็ญจนคุ้นแล้ว ทำให้มากแล้ว, พะหุลีกาตายะ ยานีกะตายะ, ทำให้มากคือ, ชำนาญให้เป็นยวดยานของใจ, วัตถุกะตายะ อะนุฎฐิตายะ, ให้เป็นที่อยู่ของใจตั้งไว้เป็นนิตย์, ปะริจิตายะ, อันบุคคลส่งเสริมอบรมแล้ว บำเพ็ญดีแล้ว, เอกาทะสานิสังสา ปาฎิกังขา, ย่อมมีอานิสงส์ สิบเอ็ดประการ, อิทะมะโว จะ ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายอันนี้แล้ว, อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต, ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ ก็มีใจยินดี, ภาสิตัง อะภินันทุนติ, พอใจในภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น, อิติ, ด้วยประการฉะนี้แล



บันทึกการเข้า

ntt♥
กลุ่มสนับสนุนLSV+มีน้ำใจ
member
****

คะแนน287
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 848



อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 31, 2008, 10:54:08 pm »

              ปุจฉา    การเจริญเมตตา  สมาชิก LSV ผู้มีจิตเมตตา  ปกติ  ท่านกระทำอย่างไรเล่า? 
บันทึกการเข้า
ntt♥
กลุ่มสนับสนุนLSV+มีน้ำใจ
member
****

คะแนน287
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 848



อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: เมษายน 02, 2008, 11:08:08 pm »


                                     พรหมวิหาร 4
  ความหมายของพรหมวิหาร 4
- พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่

เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
กรุณา ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
อุเบกขา การรู้จักวางเฉย


คำอธิบายพรหมวิหาร 4
1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น
2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

- ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ
ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์

- ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์

3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง

4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

 
บันทึกการเข้า
ntt♥
กลุ่มสนับสนุนLSV+มีน้ำใจ
member
****

คะแนน287
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 848



อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: เมษายน 08, 2008, 10:33:02 pm »

             
           ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
       
        ๔ จำพวกเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ มีใจประกอบด้วย
เมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้อง
บน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยใจ
ประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียนอยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจเมตตาฌานและถึงความปลื้มใจด้วย
เมตตาฌานนั้น ยับยั้งอยู่ในเมตตาฌานนั้น น้อมใจไปในเมตตาฌานนั้น อยู่จนคุ้น
ด้วยเมตตาฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ
เทวดาเหล่าพรหมกายิกา ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่งเป็นประมาณอายุของเทวดา
เหล่าพรหมกายิกา ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยัง
ประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิด
ดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นพรหม
กายิกานั้นตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้น
ไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผก
แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ
อุบัติมีอยู่ ฯ
             อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีใจประกอบด้วยกรุณาแผ่ไป
ตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้อง
ล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลกทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วย
กรุณาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียด
เบียนอยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจกรุณาฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วย
กรุณาฌานนั้น ยับยั้งอยู่ในกรุณาฌานนั้น น้อมใจไปในกรุณาฌานนั้น อยู่จน
คุ้นด้วยกรุณาฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ
เทวดาเหล่าอาภัสสระ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่า
อาภัสสระ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุ
ทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง
เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น ตราบ
เท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อม
ปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ
             อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีใจประกอบด้วยมุทิตาแผ่ไป
ตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้อง
ล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบ
ด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวรไม่มีความเบียด
เบียนอยู่ บุคคลนั้น พอใจ ชอบใจมุทิตาฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยมุทิตา-
*ฌานนั้น ยับยั้งอยู่ในมุทิตาฌานนั้น น้อมใจไปในมุทิตาฌานนั้นอยู่จนคุ้นด้วยมุทิตา
ฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่า
สุภกิณหะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของ
เทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยัง
ประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้น
เอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้
ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ฯ
             อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไป
ตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้อง
ล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบ
ด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวรไม่มีความเบียด
เบียนอยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจอุเบกขาฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วย
อุเบกขาฌานนั้น ยับยั้งอยู่ในอุเบกขาฌานนั้น น้อมใจไปในอุเบกขาฌานนั้น อยู่จน
คุ้นด้วยอุเบกขาฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ
เทวดาชั้นเวหัปผละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่า
เวหัปผละ ปุถุชนดำรงอยู่ในเวหัปผละนั้นตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมด
ของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัย
บ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาค ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้นตราบเท่าตลอด
อายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานใน
ภพนั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกันระหว่างอริย-
*สาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏในโลก ฯ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: