Cholesterol
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 24, 2024, 12:09:02 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: Cholesterol  (อ่าน 4238 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13886


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2007, 06:41:56 am »

สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องโคเลสเตอรอลสูง
ภาวะไขมันผิดปกติในเลือด ประเภทของไขมันในเลือด ที่สำคัญและควรทราบ ได้แก่ ไขมันโคเลสเตอรอล ( Cholesterol)
เป็นไขมันที่มีประโยชน์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์สมอง แต่หากมีไขมันโคเลสเตอรอลมากเกินไป ไขมันเหล่านี้จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย เช่น หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดที่ไต ไม่เว้นแม้แต่อวัยวะเพศ เมื่อการตีบตันของหลอดเลือด ก็ทำให้อวัยวะนี้ขาดเลือดไปเลี้ยง เกิดอาการต่างๆ ตามมา เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจ รวมไปถึงการหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย เรายังอาจแบ่งไขมันโคเลสเตอรอล ได้ย่อยๆ อีก ที่สำคัญ 2 ชนิด คือ
แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล ( Low Density Lipoprotein Cholesterol, LDL-C) หรือ โคเลสเตอรอล ชนิดร้าย
เป็นตัวที่มีบทบาทสำคัญในการสะสมที่ผนังของหลอดเลือดแดง ไขมันชนิดนี้ร่างกายสร้างขึ้นเองส่วนหนึ่ง และมาจากอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันจากสัตว์
เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล ( High Density Lipoprotein Cholesterol, HDL-C) หรือ โคเลสเตอรอล ชนิดดี
ไขมันชนิดนี้จะช่วยในการขนถ่ายโคเลสเตอรอลที่สะสมอยู่ออกมาทำลาย จึงช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นหากยิ่งสูงจะยิ่งเป็นผลดี ไขมันนี้ร่างกายสร้างขึ้นเอง และจะสูงขึ้นในผู้ที่ออกกำลังแบบแอโรบิค อย่างสม่ำเสมอ
ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride )
เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งที่มาจากอาหารร่วมกับร่างกายสร้างขึ้นที่ตับ ไตรกลีเซอไรด์เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย โดยอาหารพวกแป้งและน้ำตาล รวมทั้งโปรตีนที่เหลือใช้ จะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ และถูกเก็บสะสมไว้ที่ชั้นไขมัน เพื่อเป็น พลังงานสำรอง ปัจจุบันมีข้อมูลบ่งชี้ว่าการมีไขมันชนิดนี้สูงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่อ้วน เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมีระดับ เอช ดี แอล โคเลสเตอรอลต่ำ ระดับไขมันในเลือด สูงเท่าไรจึงเป็นอันตราย
ความจริงแล้วตัวไขมันในเลือดที่สูงนั้นไม่ได้ทำให้เกิดอาการ อาการต่างๆ เป็นผลมาจากการตีบตันของหลอดเลือดแดง ซึ่งต้องอาศัยเวลาหลายปี การสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดแดงนี้ เริ่มพบได้ตั้งแต่ในวัยรุ่น จากข้อมูลการศึกษาต่างๆ พบว่าระดับไขมันโคเลสเตอรอลมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

วิธีสำรวจว่าระดับไขมันในเลือดสูงหรือไม่ ทางการแพทย์จะเทียบกับค่าระดับ แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล ที่พึงปรารถนา ซึ่งค่าดังกล่าวขึ้นกับว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือเป็นโรคเบาหวาน หรือไม่

ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องคำนึงในการจัดระดับแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลที่พึงปรารถนามีอยู่ 6 ประการ อายุ : ชายเกิน 45 ปี , หญิงเกิน 55 ปี มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ก่อนวัยอันควร (ชายก่อนอายุ 55 ปี , หญิงก่อนอายุ 65 ปี) ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สูบบุหรี่ ค่าเอช ดี แอล โคเลสเตอรอล น้อยกว่า 40 มก./ดล. ตารางแสดงระดับไขมันในเลือดที่เหมาะสม

แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอล ( LDL-Cholesterol) - เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือเป็นโรคเบาหวาน ควรน้อยกว่า 100 มก./ดล. - ไม่เป็นหลอดเลือดโรคหัวใจและโรคเบาหวาน
   แต่มีปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป ควรน้อยกว่า 130 มก./ดล. - ไม่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคเบาหวาน
   และมีปัจจัยเสี่ยงน้อยกว่า 2 ข้อ ควรน้อยกว่า 160 มก./ดล. ไตรกลีเซอไรด์ ควรน้อยกว่า 150 มก. / ดล. เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล ( HDL-Cholesterol) ควรมากกว่า 40 มก./ ดล. หากสามารถลดระดับโคเลสเตอรอลรวมลงได้ 1 % จะสามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจลงได้ 2 % การควบคุมระดับโคเลสเตอรอล

1. ควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารพวกไข่แดง เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ส่วนที่ติดมันทุกชนิด สมองสัตว์ อาหารทะเลบางชนิด เช่น หอยนางรม ปลาหมึก หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน หรือใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันสัตว์ น้ำมันพืชที่สกัดจากเมล็ดพืช จะมีกรดไลโนเลอิก ( Linoleic acid ) ที่เป็นตัวนำโคเลสเตอรอลไปเผาผลาญได้ดี ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันมะพร้าว หรือ กะทิ ควรดื่มนมพร่องมันเนยแทนนมที่มีไขมันเต็มส่วน พยายามเปลี่ยนแปลงการปรุงอาหารเป็น นึ่ง ต้ม ย่าง อบ แทนการทอด หรือผัด พยายามลดน้ำหนักตัวในกรณีที่มีน้ำหนักเกิน ควรเพิ่มอาหารพวกผักใบต่างๆ และผลไม้บางชนิดที่มีกากใย เช่น ผักคะน้า ผักกาด ฝรั่ง ส้ม ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมไขมันน้อยลง
2. ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยเพิ่มระดับเอช ดี แอล โคเลสเตอรอล ลดแอล ดี แอล โคเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอไรด์ ข้อแนะนำในการออกกำลังกายมีดังนี้ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ออกกำลังกายชนิดต่อเนื่อง ไม่วิ่งๆ หยุดๆ จะเป็นผลดีต่อหัวใจมากกว่า เช่น เต้นแอโรบิค , ว่ายน้ำ , ขี่จักรยาน ฯลฯ ออกกำลังกายแต่ละครั้งให้นานพอ และหนักพอ แต่อย่าหักโหมเกินกำลัง
 3.ใช้ยาช่วยลดระดับไขมันในเลือด
การควบคุมระดับโคเลสเตอรอลสูงอย่างปลอดภัย ควรจะอยู่ในความดูแลของแพทย์ กรณีที่การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ( ไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ป่วยขาดวินัย หรืออาจปฏิบัติเคร่งครัดแล้ว ระดับโคเลสเตอรอลก็ยังคงสูง) ก็จำเป็นที่จะต้องพิจารณาการใช้ยาลดระดับไขมันในเลือดร่วมด้วย ทั้งนี้ ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์เป็นผู้สั่งการและติดตามรักษาต่อไป
    ผมกำลังเจอปัญหานี้เลยเอามาบอกกัน


บันทึกการเข้า

supoj007
member
*

คะแนน286
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1555



อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2007, 10:40:53 am »

ผมไม่เป็นครับ..พี่ แต่เป็นห่วงลูกชาย...มันกินไม่อิ่ม มันโมโหหิว..หงุดหงิด...ดูซิว่า..อดอาหารตอนบวชเณรจะเป็นอย่างไร..ผอมลงหรืออ้วนขึ้น Tongue
บันทึกการเข้า
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2007, 10:46:26 am »

คนผอมก็เป็นได้นะครับ......หมอเคยบอกผ่าน TV ครับ
บันทึกการเข้า
supoj007
member
*

คะแนน286
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1555



อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2007, 11:44:37 am »

ผอมไม่ออกกำลังอะดิ Angry
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!